TY - JOUR AU - แสงจันทร์, ณภัค AU - นามวงษ์, จุฑาทิพย์ PY - 2019/09/04 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาภูมิปัญญาการย้อมสีย้อมธรรมชาติจากต้นฝาดดอกแดงสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน JF - วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา JA - irdssru VL - 7 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - 10.53848/irdssru.v7i1.214569 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214569 SP - 65 AB - <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองและเชิงปฏิบัติการแบบส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการย้อมสีจากต้นฝาดดอกแดง ซึ่งมีกรรมวิธีการดังนี้คือ 1) ขั้นตอนการสกัดสีด้วยวิธีการต้มเปลือกต้นฝาดดอกแดงโดยมีอัตราส่วน เปลือกต้นฝาดดอกแดง 1 ก.ก. ต่อน้ำ 1 ลิตร 2) ขั้นตอนการย้อมสีแบ่งเป็น การย้อมร้อนและการย้อมเย็น โดยมีการใช้สารช่วยติดสี 4 ชนิดคือ เกลือแกง น้ำด่างขี้เถ้า น้ำมะขามเปียก และสารส้มโดยมีอัตราส่วนระหว่าง น้ำสี 1 ก.ก. ต่อ เกลือแกง 30 กรัม สารส้ม 30 กรัม น้ำมะขามเปียก 100 กรัม และน้ำด่างขี้เถ้า 500 กรัม ตามลำดับ ซึ่งสามารถสรุปผลการย้อมได้ว่า สารช่วยติดสีที่ช่วยติดสีได้ดี เกลือแกงและน้ำด่างขี้เถ้า ส่วนสารส้มและน้ำมะขามเปียกช่วยให้ติดสีเพียงเล็กน้อย วิธีการย้อมที่ดีที่สุดคือกรรมวิธีการย้อมร้อนและย้อมเย็นโดยผสมเกลือแกงระหว่างย้อม การย้อมร้อนระยะเวลา 1 ช.ม.และย้อมเย็นมีระยะเวลาแช่ผ้าทิ้งไว้ในน้ำสี 1 ช.ม. 6 ช.ม. และ 1 วัน เมื่อย้อมเสร็จนำมาแช่ทิ้งไว้ในน้ำด่างขี้เถ้าทิ้งระยะเวลา 1 ช.ม. 6 ช.ม. และ 1 วัน และนำไปตากแห้งและนำไปซักด้วยน้ำเปล่าผ้ามีการติดสีได้ดี โดยเมื่อทิ้งระยะเวลาที่แช่ผ้าในน้ำด่างยิ่งนานสียิ่งเข้มขึ้นแต่ผ้าที่ผ่านกรรมวิธีย้อมร้อนนั้นสีเข้มน้อยกว่าผ้าที่ผ่านกรรมวิธีย้อมเย็นเมื่อเทียบในระยะเวลาเดียวกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือควรจะทดสอบความคงทนของสีหลังการย้อม โดยทดสอบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์</p> ER -