TY - JOUR AU - แสงสว่าง, เกรียงศักดิ์ AU - ไวสำรวจ, กฤษณา PY - 2019/10/09 Y2 - 2024/03/29 TI - การจัดระบบบริการแท็กซี่โดยสารสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก JF - วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา JA - irdssru VL - 10 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - 10.53848/irdssru.v10i1.220525 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/220525 SP - 46 AB - <p>บทความนี้มุ่งศึกษา 1) การจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการขนส่งทางบก 2) องค์ประกอบที่เป็น ปัญหาในการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการขนส่งทางบก และ 3) แนวทางการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะต่อ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีของกรมการขนส่งทางบก เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพเป็นหลักในการศึกษาข้อ มูลจากปรากฏการณ์ที่เกิดขนึ้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มี ประสบการณ์ในกิจการของระบบการให้บริการแท็กซี่สาธารณะและการสนทนากลุ่ม จากการศึกษาพบว่า (1) การจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ดำเนินการโดยการจดทะเบียนรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) และ ใบขับขี่ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ (2) องค์ประกอบที่เป็นปัญหาในการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะของกรมการ ขนส่งทางบกคือ การร้องเรียนต่อรถแท็กซี่สาธารณะกับปัญหาของกรมการขนส่งทางบกและกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการให้บริการแท็กซี่สาธารณะรูปแบบใหม่อูเบอร์ และ (3) แนวทางควบคุมระบบ แท็กซี่โดยสารสาธารณะ ปัจจุบันยังไม่มีองค์กรเฉพาะด้านที่เข้าลามาควบคุมดูแลอย่างจริงจัง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือระบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมในรถแท็กซี่ยังไม่เหมาะสม การ ประสานงานของกรมการขนส่งทางบกยังไม่สามารถที่จะบังคับให้รถแท็กซี่ที่มีอยู่ในปัจจุบันติดเครื่อง GPS ได้ เนื่องจากความไม่พร้อมในหลายๆ ด้านของระบบการจัดการของกรมการขนส่งทางบก และการร้องเรียนของ ประชาชนที่ใช้บริการแท็กซี่สาธารณะและการใช้สื่อเพื่อการแก้ไขปัญหา ช่องทางร้องเรียนมีหลากหลายช่องทาง แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้รถแท็กซี่โดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมายได้อย่างทันท่วงที ผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ สาธารณะส่วนใหญ่จึงเลือกใช้บริการร้องเรียนสื่อโซเชียลซึ่งทำให้ได้รับการแก้ไขปัญหาและได้รับการชี้แจงเร็วกว่า ช่องทางการร้องเรียนกับกรมการขนส่งโดยตรง ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดระบบแท็กซี่สาธารณะคือ (1) การกำหนดนโยบายบริหารจัดการ ติดตาม ควบคุมเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ขับขี่รถแท็กซี่โดยสารสาธารณะให้เป็นไปตามกฎหมาย (2) การวางนโยบายและแผนการ บริหารจัดการระบบแท็กซี่โดยสารสาธารณะในการจัดการข้อร้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ และ (3) การจัด กระบวนการบริหารความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการเอกชนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ทันสมัย ท่ามกลางบริบทการแข่งขันในหลากหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการแท็กซี่ สาธารณะที่ดีที่สุด</p> ER -