TY - JOUR AU - คง, พระมหาสุเธียร์ AU - สมใจ, สุดาวรรณ AU - กุลโรจนภัทร, ศิรวิทย์ PY - 2019/10/09 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน ในโรงเรียนขั้น พื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร JF - วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา JA - irdssru VL - 10 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - 10.53848/irdssru.v10i1.220587 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/220587 SP - 84 AB - <p>การวิจัยเรื่อง ปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนขั้นพื้นฐาน&nbsp;สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาและพฤติกรรมของ&nbsp;นักเรียนในโรงเรียนขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยแบบประสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 209 คน คือผู้อำนวยการสถานศึกษา สุ่มแบบง่าย ใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าร้อยละ&nbsp;ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่ม&nbsp;ตัวอย่าง 5 คน คือหัวหน้าฝ่ายการศึกษา ผู้อำนวยการและกรรมการสถานศึกษา เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล&nbsp;เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารวิชาการ การวิจัยในชั้นเรียนสำคัญที่สุด รองลงมาคือการสอน&nbsp;และการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการบริหารงานบุคคล ครผู้สอนสำคัญที่สุด รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ และภารโรง ด้านการบริหารงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ และการดำเนินงานงบประมาณสำคัญที่สุด รองลงมาคือ&nbsp;การจัดเตรียมงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป การพัฒนาความร่วมมือสำคัญที่สุด รองลงมาคือ การประเมิน&nbsp;ส่วนพฤติกรรมของนักเรียน ความซื่อสัตย์สำคัญที่สุด รองลงมาคือการมีจิตสาธารณะ การมีวินัย การใฝ่เรียนรู้ และ&nbsp;การอยู่อย่างพอเพียง และ 2) การบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไปมีผลทางตรง ส่วนการบริหารบุคลากร&nbsp;และการบริหารงบประมาณมีผลทางอ้อมต่อพฤติกรรมของนักเรียน จากการศึกษานี้พบว่า การวิจัยในชั้นเรียน ครู&nbsp;การอนุมัติและการดำเนินงานงบประมาณ การพัฒนาความร่วมมือ มีความสำคัญที่ต้องพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้บริหาร&nbsp;ควรนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ แผนปฏิบัติการในการบริหารการศึกษา เพื่อยกระดับพฤติกรรมนักเรียนและ&nbsp;ประสิทธิภาพของการศึกษาที่สูงขึ้นไป</p> ER -