TY - JOUR AU - พันธุ์วิโรจน์, ปิยพันธ์ AU - ครุฑกะ, ชมสุภัค AU - จัตุชัย, วรรณวิภา AU - แสงสุข, นวลละออ PY - 2020/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวน ของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ JF - วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา JA - irdssru VL - 12 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - 10.53848/irdssru.v12i2.248718 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/248718 SP - 68-87 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (2) เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และ (3) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวน กลุ่มตัวอย่างคือ กำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำนวน 196 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .987 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็นการสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นมีองค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม คือ สภาพปัญหาและความจำเป็น จุดมุ่งหมาย หลักสูตร กำหนดหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหน่วยการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม เนื้อหา กิจกรรมและวิธีการอบรม สื่อประกอบการอบรม การวัดและประเมินผล นำโครงร่างหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสม และความสอดคล้อง จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการประเมินโครงร่างหลักสูตรมาปรับปรุงเพื่อให้โครงร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนที่ 3 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็น ทั้ง 5 ด้านของกำลังพลนายทหารชั้นประทวน เป็นการประเมินโดยการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ 1. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ของกำลังพลนายทหารประทวนหลังการอบรม (= 8.47, SD = .54) สูงกว่าก่อนการอบรม (= 7.51, SD = .75) อย่างมีนัยสำคัญ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า นายทหารประทวนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะจำเป็นทั้ง 5 ด้านเพิ่มมากขึ้น 2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของกำลังพลนายทหารประทวนหลังการอบรม (= 4.18, SD = .43) สูงกว่าก่อนการอบรม ( = 4.08, SD = .42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า นายทหารประทวนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น 3. การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมหลังอบรม ได้แก่ ด้านเนื้อหาของหัวข้อการอบรม ด้านวิทยากร ด้านกิจกรรมและวิธีการสอน ด้านเอกสารและสื่อประกอบการฝึกอบรมด้านสถานที่และระยะเวลาการฝึกอบรม และการวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 4. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ของกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลังการอบรมสิ้นสุด (= 8.47, SD = .54) กับหลังการอบรมผ่านไป 12 สัปดาห์ (= 8.57, SD = .53) สูงกว่าหลังการอบรมสิ้นสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือ หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศมีความคงทน 5. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะของกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลังการอบรมสิ้นสุด (= 4.18, SD = .43) กับหลังการอบรมผ่านไป 12 สัปดาห์ (= 4.26, SD = .40) สูงกว่า หลังการอบรมสิ้นสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือ หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศมีความคงทน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ มีสมรรถนะที่จำเป็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ได้แก่ มีคุณธรรม ด้านร่วมคิดทำงานเป็นทีม ด้านดำรงความถูกต้องพร้อมรับผิด ด้านมุ่งมั่นในผลสัมฤทธิ์ และด้านเสียสละ 2. โครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประกอบด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็น จุดมุ่งหมาย หลักสูตร และหน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วยการเรียนรู้ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกองค์ประกอบความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบความรู้และสมรรถนะที่จำเป็น พบว่า นายทหารชั้นประทวนมีความรู้และสมรรถนะหลังอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความคงทนเมื่อระยะเวลาผ่านไป 12 สัปดาห์ และนายทหารชั้นประทวน มีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ER -