TY - JOUR AU - ชัยปาณี, ปิยสุนีย์ AU - สนามทอง, เอกสิทธิ์ AU - สุวทันพรกูล, อิทธิพัทธ์ AU - จันทร์เจริญ, ดวงเดือน PY - 2020/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - กลยุทธ์ทางเลือกการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากร ในองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในประเทศไทย JF - วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา JA - irdssru VL - 12 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - 10.53848/irdssru.v12i2.248720 UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/248720 SP - 88-104 AB - <p>การวิจัยนี้ศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจของความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากรในองค์กรที่มีสมรรถนะสูง พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากรและเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางเลือกการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากรในองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในประเทศไทย มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ศึกษาองค์ประกอบของความสมดุลในชีวิตและการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน ต่อมาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากร โดยสมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน และกำหนดกลยุทธ์ทางเลือกการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากรโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน พบว่า องค์ประกอบเชิงสำรวจของความสมดุลในชีวิตและการทำงาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สภาพแวดล้อมในการทำงาน (2) องค์กรแห่งความสุข (3) การพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน (4) ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นทีม และ (5) การบริหารจัดการเวลา ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลในชีวิตและการทำงานคือการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อความสมดุลในชีวิตและการทำงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบอีกว่าอายุต่างกันมีผลต่อความสมดุลในชีวิตและการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีกลยุทธ์ทางเลือกของการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงาน พบว่า กลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป ได้แก่ กลยุทธ์ “งานประสานเที่ยว” กลยุทธ์ “เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” กลุ่มอายุ ระหว่าง 40-49 ปี ได้แก่ กลยุทธ์ “เราเลือกได้”&nbsp; ลยุทธ์ “เสาเข็มชีวิต” กลุ่มอายุ ระหว่าง 30-39 ปี ได้แก่ กลยุทธ์ “วันแห่งความสุข” กลยุทธ์ “พลังมดสร้างเมือง” และกลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี ได้แก่ กลยุทธ์ “เรียนเล่นเน้นความสุข” กลยุทธ์ “เวลาคุณค่า”</p> ER -