วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru
<p><strong>วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา <a href="https://drive.google.com/file/d/1X7iYpx4jSI9M4sfEb48N7vBEJfo3b3WJ/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a><br /></strong></p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>วารสารวิจัยและพัฒนา เป็นวารสารวิชาการระดับชาติที่สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพหรือด้าน ศึกษาศาสตร์ วารสารเป็นสื่อกลางในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง </p> <p><strong>ข้อมูลวารสาร</strong></p> <p>วารสารวิจัยและพัฒนาเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา บทความจะได้รับการประเมินคุณภาพของบทความ ทั้งในด้านเนื้อหา และความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ</p> <p><strong>เลขประจำวารสาร </strong><strong>ISSN: </strong><a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2697-634X">2697-634X</a> (Online)</p> <p><strong>ปีที่ก่อตั้ง</strong><strong>:</strong> 2551</p> <p><strong>การประเมิน:</strong> Double-blind (ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน) </p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ </strong>สาขาศึกษาศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง <strong><br /></strong></p> <ul> <li>ปรัชญาการศึกษา</li> <li>การพัฒนาหลักสูตร</li> <li>การจัดการเรียนรู้</li> <li>การประเมินผล</li> <li>จิตวิทยา</li> <li>นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา</li> <li>วิจัยและสถิติการศึกษา</li> </ul> <p><strong>บทความที่เปิดรับ :</strong><strong> </strong>บทความวิจัย</p> <p><strong>ภาษา</strong><strong>:</strong> ภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่</strong><strong>:</strong> ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน)</p> <p> 1,000 บาท (ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) </p> <p><strong>การเผยแพร่</strong><strong>:</strong> 2 ฉบับต่อปี <strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1X7iYpx4jSI9M4sfEb48N7vBEJfo3b3WJ/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></strong></p> <p>เล่ม 1 (มกราคม-มิถุนายน)</p> <p>เล่ม 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร:</strong> <a href="https://ird.ssru.ac.th/en/home">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</a></p> <p><strong>การวัดดัชนีและบทคัดย่อ</strong></p> <p>วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการจัดอันดับโดย <a href="https://tci-thailand.org/?p=3796">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a>, <a href="https://scholar.google.com/">Google Scholar</a>, <a href="https://www.asean-cites.org/aci_search/journal.html?b3BlbkpvdXJuYWwmaWQ9NDgz">ASEAN Citation Index (ACI)</a></p>
Institute for Research and Development, Suan Sunandha Rajabhat University
th-TH
วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2697-634X
<div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ <a href="http://www.ird.ssru.ac.th/th/home" target="_blank" rel="noopener">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา</a></p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div>
-
การศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน ของนักศึกษาไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/268317
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ และเปรียบเทียบคำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน 2) ศึกษาสภาพความเข้าใจในการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน 3) ปัญหาข้อผิดพลาดในการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนด้านการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นสาขาวิชาเอกทั้งกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภูมิภาคต่างๆ จำนวน 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบ 2) แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และค่า ร้อยละ และวิธีการวิเคราะห์เอกสาร</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทความหมาย ถึงแม้ว่าความหมายจะเหมือนหรือพ้องกัน แต่เมื่อขอบเขตความหมายต่างกัน เป้าหมายการใช้จึงมีความแตกต่างกัน รวมทั้งระดับความหมายทางอรรถศาสตร์หนักเบาหรือความเข้มข้นต่างกัน ด้านลักษณะหน้าที่ทางการใช้คำทางไวยากรณ์ พบว่า การที่ใช้คำประกอบกันส่งผลทำให้คำพ้องความหมายมีความแตกต่างในบริบทการใช้ ด้านชนิดของคำ คำนั้นสามารถทำหน้าที่ได้หลายประเภท รวมทั้งรูปแบบโครงสร้างของคำ โดยคำประสมแบบรวมคำ-คำประสมแบบรวมคำมีจำนวนสูงสุด, 2) สภาพการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีนของนักศึกษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่อัตราการใช้ที่ถูกต้องมากกว่า ร้อยละ 50 3) ปัญหาข้อผิดพลาดในการใช้คำกริยาพ้องความหมายหน่วยคำปรากฏร่วมภาษาจีน พบว่า มีข้อผิดพลาดด้านความหมายของคำ และข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ถูกต้องและเป็นระบบ 4 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านระดับความยากของภาษา ด้านผู้สอนและการจัดการเรียนการสอน รวมถึงด้านตำราเรียน</p>
พิมพร วัฒนากมลกุล
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-10
2024-06-10
16 1
1
14
-
การประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/268882
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2560) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการประเมินหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยการประเมินแบบ CIPP<sub>IEST</sub> Model มีจำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) อาจารย์ประจำสาขา 4 คน 2) นักศึกษาในหลักสูตร 44 คน 3) บัณฑิตที่จบจากหลักสูตร 13 คน 4) ผู้ใช้บัณฑิตจากสถานประกอบการ 9 คน และสถานศึกษา 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประเมินหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 2) ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 3) ค่าความถี่ 4) ค่าร้อยละ 5) ค่าเฉลี่ย 6) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรในด้านบริบทโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก 4) ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบอยู่ในระดับมาก 6) ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก 7) ด้านความยั่งยืนความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ คือ เพิ่มเครื่องมือที่เหมาะสมกับรายวิชาที่มีความเฉพาะ และเพิ่มรายวิชาให้ครอบคลุมกับนักศึกษาที่มีความสนใจเฉพาะด้าน</p>
ชไมธร กลมประโคน
พิสุทธิ์ ยงทางเรือ
ชลธิศ ปิติภูมิสุขสันต์
เมธา อึ่งทอง
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-07
2024-06-07
16 1
15
28
-
การพัฒนาเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/268925
<p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 28 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) แบบประเมินคุณภาพของเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้เกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ประกอบด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรีประกอบ เสียงบรรยาย และมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะของเกมแนวแพลตฟอร์ม (Platform) ช่วยเสริมสร้างความสนุกในการเรียนรู้ 2) ผลการประเมินคุณภาพเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
วีระพงษ์ จันทรเสนา
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-10
2024-06-10
16 1
29
39
-
การพัฒนาทักษะอาชีพผ่านโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านในสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/269000
<p> การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านในสอย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ ความสามารถด้านทักษะอาชีพ องค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านกระบวนการผลิต 3) ด้านการตลาด และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มประชากร มีทักษะอาชีพค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 33.68 แต่หลังการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มประชากร มีทักษะอาชีพค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 65.03 ซึ่งสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้กลุ่มประชากรมีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ซึ่งเป็นความพึงพอใจที่ต่อการจัดกิจกรรมโครงงานผลิตภัณฑ์งาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงบวก</p>
ศรายุทธ เงาคำ
ชลธิดา ณ ลำพูน
ปรภัทร คงศรี
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-10
2024-06-10
16 1
40
48
-
การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยสื่อการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอของรายวิชาการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/269141
<p> การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนภายในกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อประเภทเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนระหว่างกลุ่มด้วยการใช้สื่อการสอนประเภทเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อประเภทเพื่อนสอนเพื่อนและวีดีโอของรายวิชาการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่าง ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ประจำปีการศึกษา 2/2565 จำนวน 58 คน โดยทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการทำแบบทดสอบ และทำแบบประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติ t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยสื่อเพื่อนสอนเพื่อนและแบบวีดีโอ พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 3) ความพึงพอใจพบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อเพื่อนสอนเพื่อนและสื่อวีดีโอ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด และมาก ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนทั้ง 2 เทคนิค โดยเฉพาะเทคนิคการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อน ดังนั้นควรมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเพื่อนสอนเพื่อน เพิ่มเติมในรายวิชาปฏิบัติอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและตรงตามความต้องการของนักศึกษามากขึ้น</p>
กัญธิมา หล่าดอนดู่
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-14
2024-06-14
16 1
49
59
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการใช้ปัญหาปลายเปิดที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/269809
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ทางการเรียน และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการใช้ปัญหาปลายเปิด กลุ่มเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 6 แผน แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 3 ฉบับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 77.58 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.85 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70</p>
อารียา ภูมิรินทร์
วิศรุต พยุงเกียรติคุณ
ณัฐพล หงษ์ทอง
ทิพย์อุบล ทิพเลิศ
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-10
2024-06-10
16 1
60
72