วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru <p><strong>วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา <a href="https://drive.google.com/file/d/1X7iYpx4jSI9M4sfEb48N7vBEJfo3b3WJ/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a><br /></strong></p> <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต</strong></p> <p>วารสารวิจัยและพัฒนา เป็นวารสารวิชาการระดับชาติที่สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพหรือด้าน ศึกษาศาสตร์ วารสารเป็นสื่อกลางในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง </p> <p><strong>ข้อมูลวารสาร</strong></p> <p>วารสารวิจัยและพัฒนาเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา บทความจะได้รับการประเมินคุณภาพของบทความ ทั้งในด้านเนื้อหา และความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ</p> <p><strong>เลขประจำวารสาร (</strong><strong>ISSN):</strong> <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2229-2802">2229-2802</a></p> <p><strong>เลขประจำวารสาร </strong><strong>E-ISSN: </strong><a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2697-634X">2697-634X</a> (Online)</p> <p><strong>ปีที่ก่อตั้ง</strong><strong>:</strong> 2551</p> <p><strong>การประเมิน:</strong> Double-blind (ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน) </p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ </strong>สาขาศึกษาศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง <strong><br /></strong></p> <ul> <li>ปรัชญาการศึกษา</li> <li>การพัฒนาหลักสูตร</li> <li>การจัดการเรียนรู้</li> <li>การประเมินผล</li> <li>จิตวิทยา</li> <li>นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา</li> <li>วิจัยและสถิติการศึกษา</li> </ul> <p><strong>บทความที่เปิดรับ :</strong><strong> </strong>บทความวิจัย</p> <p><strong>ภาษา</strong><strong>:</strong> ภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่</strong><strong>:</strong> ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน)</p> <p> 1,000 บาท (ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) </p> <p><strong>การเผยแพร่</strong><strong>:</strong> 2 ฉบับต่อปี <strong><a href="https://drive.google.com/file/d/1X7iYpx4jSI9M4sfEb48N7vBEJfo3b3WJ/view?usp=drive_link">ปฏิทินรับบทความ</a></strong></p> <p>เล่ม 1 (มกราคม-มิถุนายน)</p> <p>เล่ม 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร:</strong> <a href="https://ird.ssru.ac.th/en/home">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา</a></p> <p><strong>การวัดดัชนีและบทคัดย่อ</strong></p> <p>วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการจัดอันดับโดย <a href="https://tci-thailand.org/?p=3796">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a>, <a href="https://scholar.google.com/">Google Scholar</a>, <a href="https://www.asean-cites.org/aci_search/journal.html?b3BlbkpvdXJuYWwmaWQ9NDgz">ASEAN Citation Index (ACI)</a></p> th-TH <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ <a href="http://www.ird.ssru.ac.th/th/home" target="_blank" rel="noopener">สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา</a></p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> </div> [email protected] (Khajonwong Srivareerat) [email protected] (Anuphan Suttimarn) Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การตกเป็นเหยื่อไซเบอร์ของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี: การวิเคราะห์โมเดลมิมิค https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/265777 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตกเป็นเหยื่อไซเบอร์ของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี และศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ของเพศที่มีต่อการตกเป็นเหยื่อไซเบอร์ของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ นักเรียนและนักศึกษา อายุ 13-20 ปี ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 534 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบทดสอบ Cybervictimization Questionnaire (CYVIC) for Adolescents แบบออนไลน์ มีค่าอำนาจจำแนกกรายข้อระหว่าง .20 - .85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติสำหรับวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบ MIMIC Model ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่นักเรียนในจังหวัดชลบุรีมีการตกเป็นเหยื่อไซเบอร์นาน ๆ ครั้ง และโมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของการตกเป็นเหยื่อไซเบอร์ของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (มีค่าดัชนีความเหมาะสมสอดคล้อง: ค่า <img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}" /> = 2.01, df = 3, P-Value = .57, GFI = .99, CFI = 1.00, TLI = 1.00, RMR = .00, RMSEA = .00) ดังนั้นจึงเป็นโมเดลที่เหมาะสมที่สุดสําหรับอธิบายความสัมพันธ์ของเพศที่มีต่อการตกเป็นเหยื่อไซเบอร์ของในจังหวัดชลบุรี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผลการวิจัยนี้ คือ รณรงค์การใช้สื่อออนไลน์ที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมในโลกไซเบอร์ที่สร้างสรรค์ และมีประโยชน์ให้กับนักเรียนหรือนักศึกษาในสถานศึกษาได้เข้าร่วม และควรกำหนดนโยบาย หรือกฎหมายเกี่ยวข้องกับการตกเป็นเหยื่อในโลกไซเบอร์ที่มีความชัดเจน และเหมาะสม</p> ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน, ธิติดา ลีลาปัญญาเลิศ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/265777 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถด้านวัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266569 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านวัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวัฒนธรรมจีนและการใช้ภาษา 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อวัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปี 3 ที่ลงทะเบียนรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาจำนวน 69 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการสอนรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2565 จำนวน 18 แผน 2) แบบประเมินความสามารถด้านวัฒนธรรมและการใช้ภาษาจีน 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรายวิชา ZH202 วัฒนธรรมจีนกับการใช้ภาษาโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐาน One sample t- test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถด้านวัฒนธรรมและการใช้ภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กิจกรรมส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชา ZH202 นักศึกษามีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=9.164* sig.=0.000) 3) ภาพรวมของความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.59, S.D. = 0.54) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.62, S.D. = 0.49) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.56, S.D. = 0.50) และด้านผู้เรียน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.42, S.D. = 0.61)</p> ณพล ม่วงงาม Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266569 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารายวิชากิจกรรมพลศึกษาที่สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266702 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนารายวิชากิจกรรมพลศึกษาที่สอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ จำนวน 20 คนและนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 361 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็น มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI<sub>modified</sub>) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินความต้องการจำเป็นโดยรวมของรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.59,<strong> S.D.</strong> = .53) และสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.72, <strong>S.D.</strong> = .30) ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นที่ควรได้รับการพัฒนาโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าดัชนี PNI<sub>modified</sub> = .50 รองลงมา ได้แก่ ด้านสื่อ แหล่งการเรียนรู้ มีค่าดัชนี PNI<sub>modified </sub>= .45 และผลการประเมินความต้องการจำเป็นโดยรวมของนักศึกษา ตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.42, <strong>S.D.</strong> = .58) และสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.60, <strong>S.D.</strong> = .39) ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นที่ควรได้รับการพัฒนาโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าดัชนี PNI<sub>modified</sub> = .52 รองลงมา ได้แก่ ด้านสื่อ แหล่งการเรียนรู้ มีค่าดัชนี PNI<sub>modified </sub>= .51</p> จรูญศักดิ์ พันธวิศิษฏ์, ธนากร ศรีชาพันธุ์, พิชามญช์ จันทุรส, เอกราช ถ้ำกลาง Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266702 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/267196 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยใช้โครงการเป็นฐานเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับ<br />ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มจากรายวิชาการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (VGE118) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบประเมินผลการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยใช้โครงการเป็นฐานแบ่งกิจกรรมการเรียนรู้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.ระยะก่อนพัฒนาผลงาน 2. ระยะพัฒนาผลงาน 3. ระยะหลังการพัฒนาผลงาน 2) ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) รายวิชาการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (รหัสวิชา VGE118) คะแนนเฉลี่ยโดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 88.88 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เฉลี่ยร้อยละ 78.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ดาวรถา วีระพันธ์, วิศรุต ขวัญคุ้ม, ณัฐรดี อนุพงค์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/267196 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 สัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กวัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/265680 <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กวัยอนุบาล ซึ่งสัมพันธภาพ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่แสดงถึงปฏิสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องผ่านท่าทาง การเคลื่อนไหว การสัมผัสโอบกอด และอารมณ์เชิงบวก รอยยิ้ม ความเป็นมิตร หรือสนทนาโต้ตอบ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กวัยอนุบาลแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) สัมพันธภาพทางอารมณ์ เป็นการแสดงความรู้สึกเชิงบวกของครู เมื่อเด็กทำกิจกรรม เล่น หรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง และรอคอยให้เด็กคิดคำตอบหรือลงมือทำ ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและเป็นกันเองกับเด็ก 2) สัมพันธภาพทางวาจา เป็นการแสดงคำพูดของครู การสนทนา และการตั้งคำถามกระตุ้นความสงสัยของเด็กด้วยเสียงที่นุ่มนวล ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และ 3) สัมพันธภาพทางกาย เป็นการแสดงการกระทำของครู ด้วยสีหน้าและสัมผัสที่อบอุ่น แสดงการตอบสนองทางร่างกายกับเด็ก และใช้สื่อกระตุ้นความสนใจ หรือสร้างบรรยากาศให้เด็กคิด ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็ก ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้และเพิ่มแรงจูงใจให้เด็กฝึกคิดหลายลักษณะผ่านการตั้งคำถาม สร้างความเข้าใจ คาดคะเน วิเคราะห์ สร้างสรรค์ ประเมิน อธิบาย หรือแก้ปัญหา ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ 1) การใช้คำถามที่ส่งเสริมการคิดกับเด็ก 2) การให้เด็กอภิปราย 3) การให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมที่ได้คิดร่วมกัน 4) การใช้สื่อส่งเสริมการคิด และ 5) การมีส่วนร่วมในการคิดของเด็ก อันเป็นพื้นฐานที่ปลูกปั้นให้เด็กเติบโตเป็นบุคคลที่สามารถคิดและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต พร้อมปรับตัวเข้ากับสังคมยุคใหม่อย่างมีคุณภาพ </p> อัครพล ไชยโชค, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ, ณฐิณี เจียรกุล Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/265680 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266071 <p> เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการปฏิบัติงาน และสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน นักเรียนต้องได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติหลักที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการสำรวจ สร้างแบบจำลอง และสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับโลก ด้วยการส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่เพียงเรียนรู้จากผู้อื่น ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่ในการจัดสภาพแวดล้อมและส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เครื่องมือสื่อสาร และเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเข้าถึง การจัดการ การบูรณาการ การประเมิน และการสร้าง ในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้สื่อสาร เรียนรู้ ทำงาน และแก้ปัญหาร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในยุคดิจิทัล โดยครูผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้</p> ฐานิตา แก้วศรี, รุจโรจน์ แก้วอุไร, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266071 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700 การใช้โฟนิกส์สังเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียง คำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกตุพิชัยวิทยา จังหวัดสระบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266179 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้โฟนิกส์สังเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกตุพิชัยวิทยา จังหวัดสระบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้โฟนิกส์สังเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกตุพิชัยวิทยา จังหวัดสระบุรี กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกตุพิชัยวิทยา จังหวัดสระบุรี จำนวน 28 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์สังเคราะห์ แบบฝึกการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบความสามารถการอ่านออกเสียงคําภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน ผู้วิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลโดยเริ่มจากการทดสอบความสามารถการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของกลุ่มเป้าหมายก่อนการจัดการเรียนรู้ หลังจากนั้นผู้วิจัยดําเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์สังเคราะห์ร่วมกับการใช้แบบฝึกการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษรวมระยะเวลา 7 สัปดาห์ และท้ายที่สุดผู้วิจัยดําเนินการทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง ซึ่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)</p> <p> ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1) ความสามารถในการอ่านออกเสียงคําของนักเรียนหลังใช้โฟนิกส์สังเคราะห์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการอ่านออกเสียงคําภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังใช้โฟนิกส์สังเคราะห์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมด้วยแบบฝึกการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษอยู่ที่คะแนนร้อยละ 38.4 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 75</p> อรปวีณ์ กุลพรเพ็ญ, ชนากานต์ แป้นรักษา Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/266179 Wed, 20 Dec 2023 00:00:00 +0700