https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/issue/feed วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร 2024-12-29T00:12:55+07:00 Asst.Prof.Dr. Widchaporn Taipjutorus jmct@rmutp.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร</strong></p> <p><strong> ISSN:</strong> 2985-2927 (Online)</p> <p>กำหนดการออก : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong>: วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) แบบเต็มรูปแบบ (Full Paper) ทางนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน สื่อสารการตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิทัลคอนเทนท์ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย สื่อดิจิทัล การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วารสารเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยทั้<wbr />งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภายในและภายนอกประเทศ </p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/269981 การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษา ประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2024-05-21T12:58:27+07:00 กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ kuntida.tha@kmutt.ac.th พรปภัสสร ปริญชาญกุล kuntida.tha@kmutt.ac.th ธิติพงษ์ สงวนงาม kuntida.tha@kmutt.ac.th ธีรสุทธิ์ บินสะตีระ kuntida.tha@kmutt.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) ประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) ประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแจงร้อนวิทยา ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยชมดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" />=3.95, S.D.=1.12) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" />=4.21, S.D.=0.59) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" />=4.37, S.D.=0.71) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" />=4.15, S.D.=0.74) ดังนั้น สื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273630 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม วิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2024-08-05T07:37:45+07:00 พรรณวรท เนืองทอง nawaphat.c@ku.th ไพฑูรย์ ศรีฟ้า panwarot.n@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม วิชาภาษาจีน สำหรับประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพในระดับดี และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ 2) นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ห้อง 7 จำนวน 42 คน (ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มของประชากรด้วยวิธีการจับสลากจากนักเรียนจำนวน 9 ห้อง) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน สำหรับประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 3) แบบทดสอบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาจีน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพด้านเทคนิคและวิธีการอยู่ในระดับดีมาก มีคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก และสื่อมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/94.12 2) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงวิชาภาษาจีน เท่ากับ 0.73 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน สำหรับประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/272960 อิทธิพลของประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพตะวันออก 2024-08-06T11:09:19+07:00 พิชศาล พันธุ์วัฒนา pitsarn_ph@rpca.ac.th <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการต่อประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจ และ 2) อิทธิพลของการเข้าถึงคู่มือประชาชน การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการเข้าถึงช่องทางร้องเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนที่เข้ารับการบริการจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ใน 8 สถานี จำนวน 400 คน ใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=5.87 จากคะแนนเต็ม 10, S.D.=0.69) โดยพึงพอใจการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=2.82 จากคะแนนเต็ม 5, S.D.=0.67) รองลงมาไล่เรียงลำดับ ได้แก่ การเข้าถึงช่องทางร้องเรียน การเข้าถึงคู่มือประชาชน และการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรเป็นลำดับท้าย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=2.59 จากคะแนนเต็ม 5, S.D.=0.77) และ 2) การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารของสถานีตำรวจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta" alt="equation" />=0.834) ส่วนการเข้าถึงคู่มือประชาชนมีอิทธิพลทางอ้อมและผลรวมมากที่สุดต่อประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารของสถานีตำรวจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta" alt="equation" />=1.472 (ทางอ้อม)/<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\beta" alt="equation" />=2.283 (ผลรวม)) ทั้งนี้การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คู่มือประชาชนให้ประชาชนผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว เนื่องเพราะทั้งสองประเด็นข้างต้นมีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม และผลรวมมากที่สุดต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจ</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/275384 ศักยภาพการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนต่อระบบการรายงานทางบัญชีในประเทศไทย 2024-09-13T09:32:56+07:00 ภัทราพร จิตสร้างบุญ 39livings@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนต่อระบบการรายงานทางบัญชีในประเทศไทย โดยเน้นศึกษาผลกระทบและความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในทางปฏิบัติ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนในประเทศไทย จำนวน 192 คน ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน นักศึกษา และมีประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาก่อน โดยมีระยะเวลาในตำแหน่งงานปัจจุบันตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในระบบการรายงานทางบัญชีคือ ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการนำบล็อกเชนมาใช้ในระบบการรายงานทางบัญชี โดยเฉพาะในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการทำธุรกรรมทางการเงิน</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/274255 การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด 2024-10-15T11:12:56+07:00 ประภาภรณ์ รัตโน prauey@gmail.com สุธัญญา กฤตาคม Prapaporn.r@reru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล 2) ศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ 3) ศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์กับการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลกับการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 389 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ One-way ANOVA และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลเมื่อจำแนกรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยด้าน Empathic Concern Scale มากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.65 รองลงมาคือ ด้าน Perspective-taking Scale คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.43 ตามมาด้วย ด้าน Fantasy Scale คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.36 และด้าน Personal Distress Scale คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.29 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ยต่อวันต่างกันมีการรู้เท่าทันสื่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ยต่อวันต่างกันมีการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลไม่แตกต่างกัน การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลไม่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อ ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัดและแนวทางในการพัฒนาการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลต่อไป</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273895 การพัฒนาระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2024-11-12T11:36:37+07:00 ธันยรัศมิ์ ผุริจันทร์ siriphon@kku.ac.th บังอร ละเอียดออง Siriphon@kku.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อประเมินคุณภาพระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา และนักศึกษาปริญญาตรี ที่มาใช้บริการเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณภาพของระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ การพัฒนาระบบใช้กระบวนการพัฒนาแบบ SDLC โดยใช้ภาษา PHP และเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล MySQL ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและดำเนินการด้านการเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเองแบบออนไลน์ ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 2) ผลการประเมินคุณภาพระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.57, S.D.=0.53) โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้มีการสำรองข้อมูล และการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้เหมาะสม และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ โดยผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.60, S.D.=0.50) ผู้ใช้งานเสนอแนะให้สามารถใช้งานระบบการเบิกจ่ายวัสดุสำหรับงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับระบบงานอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกันได้</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273231 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้กล้องวงจรปิดในการปฏิบัติงานของตำรวจนครบาล 4 2024-08-06T14:02:18+07:00 พิชศาล พันธุ์วัฒนา pitsarn_ph@rpca.ac.th <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่ออุปกรณ์ ผู้ปฏิบัติการสื่อสาร สถานที่ และการใช้กล้องวงจรปิด และ 2) อิทธิพลของอุปกรณ์ ผู้ปฏิบัติ การสื่อสาร และสถานที่ที่มีต่อการใช้กล้องวงจรปิด CCTV วิธีการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพตะวันออก (ตามการแบ่งพื้นที่เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จากประชาชนในพื้นที่สถานีตำรวจแห่งละ 50 คน จำนวน 8 สถานี รวมจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแปลผลค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้กล้องวงจรปิดของตำรวจนครบาล 4 ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.75) โดยพึงพอใจด้านสถานที่เป็นลำดับแรก (ร้อยละ 47.00) รองลงมาไล่เรียงลำดับ ได้แก่ อุปกรณ์ การสื่อสาร และผู้ปฏิบัติเป็นลำดับท้าย (ร้อยละ 10.50) ทั้งนี้ในภาพรวมประชาชนจำนวนมากกว่าครึ่ง (256 คน) คิดเห็นว่าการใช้กล้องวงจรปิดของตำรวจนครบาล 4 ควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการพัฒนาให้ดีขึ้น (ร้อยละ 64.00) และ 2) อุปกรณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม และผลรวมมากที่สุดต่อการใช้กล้องวงจรปิดของตำรวจนครบาล 4</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273504 การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยโมชันกราฟิก เรื่อง เส้นทางสายมูพระธาตุประจำวันเกิดนครพนม 2024-10-01T13:54:03+07:00 ธวัชชัย สหพงษ์ thawatchai.s@rmu.ac.th <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท วิเคราะห์แนวทางของการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม 2) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยโมชันกราฟิกเรื่อง เส้นทางสายมูพระธาตุประจำวันเกิดนครพนม 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของสื่อ 4) เพื่อเผยแพร่และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสม จำนวน 5 ท่าน ประชาชนทั่วไปในการประเมินความพึงพอใจ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) โมชันกราฟิกเรื่อง เส้นทางสายมูพระธาตุประจำวันเกิดนครพนม 2) แบบประเมินความเหมาะสม 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาบริบท วิเคราะห์แนวทางของการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม พบว่า โมชันกราฟิกเป็นสื่อที่มีความเหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ผลการพัฒนาสื่อ ได้สื่อโมชันกราฟิกที่มีความยาว 7.37 นาที โดยจะมีการนำเสนอเนื้อหาด้านเส้นทางการท่องเที่ยวพระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม พร้อมโมเดล 3 มิติของตัวองค์พระธาตุทั้ง 8 แห่ง 3) ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.52, S.D.=0.54) และ 4) ความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายที่มีสื่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.52, S.D.=0.64)</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273914 การพัฒนาระบบสารสนเทศร้านชาบู กรณีศึกษา ชาบูนางใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-10-09T16:24:48+07:00 จันจิรา ดีเลิศ janjira_d@aru.ac.th ณัฐพล จินะสาม janjira_d@aru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศร้านชาบู 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศร้านชาบู และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศร้านชาบู โดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2015 และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MS SQL ในการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศร้านชาบู และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศร้านชาบู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบสารสนเทศ จำนวน 3 คน และผู้ใช้งานระบบ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศร้านชาบูสามารถจัดเก็บข้อมูลหลัก เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลอาหาร ข้อมูลประเภทอาหาร และข้อมูลผู้ขายวัตถุดิบ เป็นต้น โดยระบบสามารถจัดการการสั่งซื้อวัตถุดิบ การขายอาหารให้กับลูกค้า รวมทั้งสามารถออกใบเสร็จและรายงานผลการดำเนินงานได้ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.94, S.D.=0.51) และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.51, S.D.=0.52)</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/275765 ความต้องการในการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 2024-11-15T09:32:51+07:00 อรรถการ สัตยพาณิชย์ arttakarn.s@rmutp.ac.th วิมลพรรณ อาภาเวท wimonpan.a@rmutp.ac.th ธีรวัจน์ อุดมสินเจริญกิจ theerawat.u@rmutp.ac.th เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ nerisa.c@rmutp.ac.th <p>บทความวิจัยเรื่อง ความต้องการในการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม 400 ชุด ศึกษาความต้องการรับบริการทางการศึกษาและความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในการเปิดศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากผู้ใช้บัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้นำชุมชนที่อยู่ในรัศมีใกล้เคียงอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 10 คน และการตอบแบบสอบถามโดยนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ การใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า อำเภอชัยบาดาล มีความต้องการแรงงานทักษะสูง และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ส่งผลให้มีความต้องการบัณฑิตที่มีทั้งทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นต่อวิชาชีพ (Hard Skill) และทักษะที่องค์กรต้องการในการทำงาน (Soft Skill) รวมทั้งควรมีการพัฒนาทักษะทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่องภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานวิชาชีพ ทั้งนี้นักเรียนตัดสินใจศึกษาต่อจากความสนใจในสาขาวิชา โอกาสในการประกอบอาชีพ และสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย โดยมีความคาดหวังว่าจะได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ทันสมัยมีคุณภาพ และมีโอกาสในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อการจัดตั้งศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านมาตรฐานและความพร้อม ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านชื่อเสียงและบริการ</p> 2024-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร