วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp <p><strong>วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร</strong></p> <p><strong> ISSN:</strong> 2985-2927 (Online)</p> <p>กำหนดการออก : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong>: วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) แบบเต็มรูปแบบ (Full Paper) ทางนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน สื่อสารการตลาด เทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิทัลคอนเทนท์ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย สื่อดิจิทัล การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วารสารเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยทั้<wbr />งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภายในและภายนอกประเทศ </p> th-TH <p>Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร</p> <p><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/" rel="license"><img src="https://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png" alt="Creative Commons License" /></a></p> <p>วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/" rel="license">Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License</a>. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต</p> jmct@rmutp.ac.th (Asst.Prof.Dr. Widchaporn Taipjutorus) jmct@rmutp.ac.th (นภาพร ภู่เพ็ชร์) Fri, 28 Jun 2024 09:36:49 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาแชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/268708 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน 2) ศึกษาประสิทธิภาพของแชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลและการยอมรับแชท บอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 20 คน ได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพแชทบอทสำหรับตรวจสอบ<br />การคัดลอกผลงาน และ 3) แบบประเมินประสิทธิผลและการยอมรับแชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ<br />ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการได้ 2) แชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.34 และ 3) ประสิทธิผลและการยอมรับแชทบอทสำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.37</p> ศิริลักษณ์ บุญมาพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/268708 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/269315 <p>ในปัจจุบันประเทศไทยมีลักษณะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2566 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ จากสภาพปัญหาในอดีตพฤติกรรมของผู้สูงอายุยังขาดการเรียนรู้และเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของผู้สูงอายุ แต่สถานการณ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และนโยบายรัฐบาลสนับสนุนผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 2) ประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการใช้สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก และอินสตาแกรม ผู้วิจัยใช้หลักการออกแบบและพัฒนาระบบ โดยประยุกต์ใช้วงจรพัฒนาระบบ ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลที่มีประสบการณ์การทำงานสายวิชาการด้านการออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล อายุงานมากกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน พบว่า คะแนนประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และรายข้ออยู่ในระดับดีมากทุกข้อ ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการใช้สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวบริเวณตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 100 คน พบว่า ค่าระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ</p> <p> </p> ทินวงษ์ รักอิสสระกุล, กิ่งกาญจน์ พิจักขณา, พิมพ์จุฑา พิกุลทอง Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/269315 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ บนสื่อสังคมออนไลน์ของ บมจ.อสมท https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/266255 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ บนสื่อสังคมออนไลน์ของ บมจ.อสมท 2) ประเมินผลการรับรู้ และ 3) ประเมินความพึงใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่บนสื่อสังคมออนไลน์ของ บมจ.อสมท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานและลูกจ้างชั่วคราวภายในบมจ.อสมทที่เคยชมดิจิทัลคอนเทนต์ และยินดีตอบแบบสอบถาม โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ซึ่งผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อรวมจำนวน 6 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.86, S.D. = 0.36) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.70,S.D. = 0.47) ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.74, S.D. = 0.51) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.66, S.D. = 0.53) ดังนั้นชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ บนสื่อสังคมออนไลน์ของบมจ.อสมท สามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีคุณภาพ</p> กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล ปริญชาญกล, ชญานิน บัณฑิศักดิ์, ภิรดา บินรามัน Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/266255 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/271840 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร และความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย <br />ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ t-test, ANOVA (F- test) และการทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ข่าวสาร ส่วนใหญ่รับรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต/สังคมออนไลน์ ร้อยละ 90.25 และความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในระดับมาก และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาอาศัยในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและรายได้เฉลี่ยแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่า ความรู้ความเข้าใจ (r=.849) และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (r=.969) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับมากกับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> เมทิกา พ่วงแสง, อรจิรา ธรรมไชยางกูร Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/271840 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การกำหนดกรอบข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/272445 <p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการกำหนดกรอบข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ของสื่อมวลชนประเภทกิจการโทรทัศน์ และเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กเพจนำเสนอข่าวและเหตุการณ์ รวมทั้งการสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการนำเสนอข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจออนไลน์ ผู้จัดการฝ่าย Trending Content ผู้สื่อข่าว และ Creative ฝ่ายข่าวบันเทิง จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำหนดกรอบข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ สามารถเตือนภัย ให้ความรู้เชิงกฎหมายเกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ และสามารถสร้างความเห็นอกเห็นใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดการเกิดปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่เข้าข่ายการระรานทางไซเบอร์ซ้ำ รวมทั้งเพื่อสร้างการตระหนักรู้เรื่องการเคารพสิทธิของบุคคลอื่นเพื่อลดโอกาสเกิดการระรานทางไซเบอร์ในอนาคตได้ และ 2) การสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการนำเสนอข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้กำกับดูแลสื่อ และผู้ประกอบการสื่อสารมวลชน</p> รัชฎาวรรณ รองทอง, พนม คลี่ฉายา Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/272445 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273214 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้รับสาร โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบและการออกแบบประสบการณ์ผู้รับสาร ผ่านกระบวนการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินทักษะกับกลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตสื่อ นักสื่อสารภาคประชาชน นักขับเคลื่อนสังคม และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จำนวน 97 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคม ให้กับผู้ผลิตสื่อและผู้ที่ต้องการสื่อสารประเด็นสังคม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ผลิตสื่อสามารถนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาพัฒนาเนื้อหาบนสื่อดิจิทัลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้รับสารได้ผ่าน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์ผู้รับสารและประเด็นเป้าหมายเชิงลึก 2) วิเคราะห์ประสบการณ์และรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ที่จะทำให้เกิดการรับรู้เนื้อหาผ่านประสบการณ์ 3) ออกแบบกระบวนการปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วม และ 4) วางแผนการใช้สื่อต้องการผลลัพธ์เชิงพฤติกรรมจากกระบวนการสื่อสาร ผู้ผลิตสื่อมีความเห็นว่า การออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมโดยเข้าใจผู้รับสารและใช้เครื่องมือดิจิทัลสร้างประสบการณ์การรับรู้ ส่งผลให้ผลการสื่อสารมีโอกาสบรรลุเป้าหมายและสร้างคุณค่าทางสังคมได้มากขึ้น</p> สกุลศรี ศรีสารคาม, อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/273214 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/272917 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope และ 2) ศึกษาความพึงพอใจหลังการรับฟังพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) วิธีการศึกษาผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุเรื่อง Little Hope ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ทำการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาความพึงพอใจหลังการรับฟังสื่อพอดแคสต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน จากการเปรียบเทียบขนาดกลุ่มตัวอย่างทาโร่ ยามาเน่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อน 10 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุเรื่อง Little Hope จำนวน 1 ตอน ระยะเวลา 26 นาที สื่อพอดแคสต์มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กกำพร้าที่เป็นโรค Post Traumatic Stress Disorder (PTSD) หรือสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ได้ผลการประเมินคุณภาพของสื่อพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) เท่ากับ 3.96 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.99 และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการรับฟังพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) เท่ากับ 3.96 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.59การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope และ 2) ศึกษาความพึงพอใจหลังการรับฟังพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) วิธีการศึกษาผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุเรื่อง Little Hope ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ทำการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาความพึงพอใจหลังการรับฟังสื่อพอดแคสต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน จากการเปรียบเทียบขนาดกลุ่มตัวอย่างทาโร่ ยามาเน่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อน 10 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาพอดแคสต์เชิงละครวิทยุเรื่อง Little Hope จำนวน 1 ตอน ระยะเวลา 26 นาที สื่อพอดแคสต์มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กกำพร้าที่เป็นโรค Post Traumatic Stress Disorder (PTSD) หรือสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ได้ผลการประเมินคุณภาพของสื่อพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) เท่ากับ 3.96 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.99 และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการรับฟังพอดแคสต์เชิงละครวิทยุ เรื่อง Little Hope ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) เท่ากับ 3.96 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.59</p> ภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์, อ้อมใจ บุษบง, ธีรศักดิ์ นาคเพ็ชร, ธเนศ สารศิริ Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/272917 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กร เพื่อการประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มออนไลน์เรื่องการแต่งกาย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/270025 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพ 2) ประเมินผลการรับรู้ 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มออนไลน์เรื่องการแต่งกายสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์การแต่งกายสำหรับนักศึกษา แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกที่ติดตามเพจเฟซบุ๊กส่งเสริมวินัยนักศึกษา มจธ. โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เคยชมวิดีโอคอนเทนต์แบบเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์ และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ผลการวิจัยได้วิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการแต่งกายสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ความยาว 4 นาที จำนวน 1 เรื่อง ประกอบด้วย 4 ส่วนย่อย ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.79, S.D. = 0.66) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.58, S.D. = 0.50) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.82, S.D. = 0.43) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.84, S.D. = 0.39) ดังนั้นสื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพโดยนำไปใช้จริงในภาคการศึกษาที่ 2/2566</p> กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกุล, ธีรภัทร สุคำภา, ภูริพัฒน์ วิริยานุชิต Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/270025 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเว็บไซต์ของโรงแรมด้านศักยภาพในการให้ข้อมูลการท่องเที่ยวของท้องถิ่น : การเปรียบเทียบระหว่างเมืองท่องเที่ยวหลักและเมืองท่องเที่ยวรอง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/271955 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบขอบเขตของข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีอยู่บนเว็บไซต์ของโรงแรมและบนเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบขอบเขตของข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมท่องเที่ยวบนเว็บไซต์ของโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวหลักและจังหวัดท่องเที่ยวรอง การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบ Desk Research โดยผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์โรงแรม รวมถึงเว็บไซต์ของโรงแรมที่อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ประชากร ประกอบด้วย โรงแรมระดับ 3 ดาว และ 4 ดาวที่ตั้งอยู่ใน 6 จังหวัดท่องเที่ยวในประเทศไทย ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักสามจังหวัด และอีกห้าสิบเปอร์เซ็นต์เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวรองสามจังหวัด โดยดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน 2566 ผลการศึกษาพบว่า 1) เว็บไซต์โรงแรมให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวแตกต่างจากเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (sig. = .000) นอกจากนี้ยังพบว่า โรงแรมที่มีเว็บไซต์ของตนเองให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นแตกต่างจากเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ อย่างมีสำคัญ (sig. = .000) และ 2) ขอบเขตของข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวบนเว็บไซต์ของโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวหลักและจังหวัดท่องเที่ยวรองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีสำคัญ อย่างไรก็ตามจำนวนโรงแรมที่มีเว็บไซต์ของตัวเองในจังหวัดท่องเที่ยวหลักนั้น มีมากกว่าโรงแรมที่มีเว็บไซต์ในจังหวัดท่องเที่ยวรองอย่างมีสำคัญ การศึกษานี้สนับสนุนให้โรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวหลักและจังหวัดท่องเที่ยวรองพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองเพื่อให้สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมาท่องเที่ยว และไปเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวและพักที่โรงแรมของตนนานขึ้น</p> <p><strong> </strong></p> มณฑกานติ ชุบชูวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/271955 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 เสน่ห์แห่งภาพถ่ายย้อนแสงเพื่อการสื่อสาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/269577 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์อธิบายเทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสง (Silhouette) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสารผ่านภาพถ่าย ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานดังนี้ 1) โหมดการถ่ายภาพ การเลือกใช้โหมดถ่ายภาพคำนึงถึงเรื่องราวที่ปรากฏในภาพถ่ายลักษณะใด ต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุอาจใช้โหมดควบคุมความไวชัตเตอร์ (S, TV) ถ้าต้องการความชัดลึกของภาพแนะนำให้เลือกใช้โหมด (AV, A) โดยเลือกใช้ขนาดรูรับแสงแคบเพื่อความชัดลึกของภาพ 2) การวัดแสง (Exposure) ให้<br />วัดแสงบริเวณส่วนสว่างที่สุดของภาพ 3) การจัดองค์ประกอบภาพ ภาพวิวทิวทัศน์อาจเลือกใช้การจัดองค์ประกอบพื้นฐาน กฎสามส่วน ภาพบุคคลควรมีการโพสต์ท่าทางที่ไม่แนบแขน-ขาข้างลำตัว แต่ควรให้แบบแสดงอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้ภาพถ่าย 4) การใช้ภาพย้อนแสงเพื่อการสื่อสาร การมองเห็นภาพย้อนแสงเป็นเพียงโครงทึบสองมิติโดยที่ประโยชน์ของภาพย้อนแสงทำให้ผู้ชมภาพเกิดจินตนาการ (Imagine) ในการรับชมภาพซึ่งจะคล้อยไปตามประสบการณ์ทางการสื่อสาร</p> ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/269577 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700