https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/issue/feed
ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
2024-06-28T16:15:27+07:00
Assistant Professor Dr.Kristiya Moonsri
phetchabun_rajabhat_journal@outlook.com
Open Journal Systems
<p><strong>Peer Review Process</strong><br /> บทความที่จะเสนอตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องเป็นผลงานที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และทุกบทความจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer-review) อย่างน้อยบทความละ 3 คน โดยปกปิดชื่อผู้แต่งและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความ (Triple-blind peer review) และบทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก นอกจากนี้ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนดและผู้นิพนธ์ต้องยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นสุดท้ายก่อนเผยแพร่<br /><br /><strong>Publication Frequency</strong></p> <table> <tbody> <tr> <td><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> ปีละ 2 ฉบับ </td> <td> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</td> </tr> </tbody> </table> <p><strong>ISSN 0859-8185 (Print)</strong><br /><strong>ISSN 2821-9988 (Online)</strong></p> <p><strong>Published: </strong>2022-07-01 </p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/269664
การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
2024-01-05T16:15:48+07:00
วันเฉลิม วงค์สวัสดิ์
wanzachip@gmail.com
นิคม นาคอ้าย
wanzachip@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเรียนรู้ของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารและครูวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 156 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของต้องการจำเป็น</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงในการบริหารจัดการเรียนรู้ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ในภาพรวมพบว่า การจัดการความเสี่ยง มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ การติดตามผล การประเมินความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง และการกำหนดวัตถุประสงค์ ตามลำดับ</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/269706
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
2024-01-05T16:16:49+07:00
สุรวัจ แก้วหมุด
surachai.k@psru.ac.th
ณิรดา เวชญาลักษณ์
surachai.k@psru.ac.th
จารุวรรณ นาตัน
surachai.k@psru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาสถานศึกษากลุ่ม เครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 จำนวน 113 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอน จำนวน 103 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายอำเภอวังโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 3 การพัฒนาครู อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.40) รองลงมา คือ ด้านที่ 4 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.39) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านที่ 1 การกำหนดวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.26)</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/269456
การศึกษาการสร้างคำใหม่ของผู้รับชมการสตรีมมิ่งเกม League of Legends บนแพลตฟอร์ม Twitch
2023-12-20T17:13:13+07:00
ศิริวิมล นกทรัพย์
siriwimonnoksub@gmail.com
กลมทิพย์ เจนใจ
siriwimonnoksub@gmail.com
นรากร กาญจนประเสริฐ
siriwimonnoksub@gmail.com
ปริศนา โพธิ์ขาว
siriwimonnoksub@gmail.com
พุทิตา พิมพ์สมุทร
siriwimonnoksub@gmail.com
ศิริยาภรณ์ อินทยักษ์
siriwimonnoksub@gmail.com
สุกฤตา ชำนาญผล
siriwimonnoksub@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับชมการสตรีมมิ่งเกมออนไลน์ League of Legends บนแพลตฟอร์ม Twitch ในบัญชีผู้เล่น loltyler1 ผ่านวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ตารางทฤษฎีการสร้างคำใหม่ อ้างอิงจากทฤษฎีการสร้างคำของเฟล็กซ์เนอร์ (Flexner) โอเกรดี้ (O’Grady) และ ยูล (Yule) เพื่อหาความถี่และค่าร้อยละซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ประเมิน และพบว่า ผู้รับชมการสตรีมมิ่งเกมออนไลน์มีการสร้างคำโดยใช้ตัวย่อมากที่สุดร้อยละ 37.5 โดยลำดับรองลงมาคือการสร้างคำแบบหลายวิธี คิดเป็นร้อยละ 25 การสร้างคำสแลงสังเคราะห์และประดิษฐ์ คิดเป็นร้อยละ 12.5 การสร้างคำเฉพาะบุคคล คิดเป็นร้อยละ 7.5 ส่วนการสร้างคำแบบตัดคำ และการเลียนเสียงธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 5 และการสร้างคำที่พบน้อยที่สุด ได้แก่ การขยายคำ การประสมคำ และการสร้างคำรื่นหูกับคำต้องห้าม คิดเป็นร้อยละ 2.5 เท่ากัน</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/269571
ผลของการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาในรายวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
2024-01-10T15:08:48+07:00
ฤทธิศักดิ์ สดคมขำ
ritisaktk10@gmail.com
อภินันต์ อันทวีสิน
ritisaktk10@gmail.com
รตินันท์ จินดา
ritisaktk10@gmail.com
พิไลรัตน์ ศรีวิเชียรอำไพ
ritisaktk10@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบซิปปาในรายวิชาแคลคูลัส 1 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเรียนรู้ของนักศึกษาของการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบซิปปาในรายวิชาแคลคูลัส 1 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงกึ่งทดลองในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 86 คน ได้ทำการสุ่มแบบเจาะจงนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชา แคลคูลัส 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบซิปปา ในรายวิชา แคลคูลัส 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปาส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม มีการตื่นตัวในการเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะในการวางแผนและสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเรียนมากเพิ่มขึ้น 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้รูปแบบซิปปา ในรายวิชา แคลคูลัส 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (<img title="x\bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x\bar{}" /> = 4.56, S.D. = 0.58) อีกทั้ง ยังส่งผลให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการทำงานเป็นกลุ่มและสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเรียนมากเพิ่มขึ้น</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265474
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม องค์ความรู้บูรณาการวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2023-12-21T15:36:46+07:00
แขก บุญมาทัน
khak.bo@hotmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร 2) สร้างและทดลองนำร่องหลักสูตร 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) ประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมองค์ความรู้บูรณาการวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น โดยสังเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร และวัฒนธรรม 30 คน 2) สร้างและทดลองนำร่องหลักสูตรด้วย 2 กิจกรรมคือ 2.1) จัดทำหลักสูตรและตรวจสอบด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน 2.2) หาประสิทธิภาพหลักสูตรโดยทดลองใช้กับนักเรียน 2 ครั้ง 3) ทดลองนำร่องหลักสูตรและและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนกับนักเรียน 30 คน แบบ One Group Pre- Posttest Design 4) ประเมินหลักสูตรกับครู ผู้ปกครองและนักเรียน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรมีความจำเป็นมากที่สุด 2) หลักสูตร มี 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) ครอบครัวและบทบาทหน้าที่ของฉัน 2) การดูแลคนในครอบครัว 3) การช่วยเหลืองานตามหน้าที่ 4) การประพฤติตนให้เหมาะสม เน้นการปฏิบัติจริงโดยใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 3) หลักสูตรมีประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2 </sub>เท่ากับ 94.20/96.44 4) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 5) ผลการประเมินหลักสูตรอยู่ระดับดีมากที่สุด (<img title="x\bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x\bar{}" /> = 4.77, S.D. = 0.15)</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/270857
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ซื้อสินค้าโอทอป บนแพลตฟอร์มออนไลน์
2024-04-09T08:56:52+07:00
ศิริกานดา แหยมคง
chatchavan.pan@uru.ac.th
ชัชวาล ภานุศุภนิรันดร์
chatchavan.pan@uru.ac.th
<p> วัตถุประสงค์การวิจัยมี 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ ความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์ และความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้ซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวน 348 คน เลือกกลุ่มอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ และความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ และคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยมีความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์ และความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นตัวแปรส่งผ่าน นอกจากนี้ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยมีความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวแปรส่งผ่าน ดังนั้น การวางแผนและพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าโอทอป ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ และความจงรักภักดีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ซื้อมีความตั้งใจซื้อซ้ำสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงมีพฤติกรรมซื้อบ่อย และซื้อปริมาณมากขึ้น</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/270843
อิทธิพลของระดับคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความสุขของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร
2024-04-24T12:19:17+07:00
กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล
kingkeaw.po@spu.ac.th
ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์
kingkeaw.po@spu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและระดับความสุขของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตลอดจนเพื่อศึกษาอิทธิพลของระดับคุณภาพชีวิตที่มีต่อระดับความสุขของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน จากตารางกำหนดหนดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินความสุข การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยการรวบรวมแบบประเมินความสุขที่รับมาทั้งหมด นำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ด้านความสุขของผู้สูงอายุในภาพรวม พบว่า ผู้สูงอายุ มีความสุขอยู่ในระดับน้อยกว่าคนทั่วไปตามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย ด้านการเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันผู้สูงอายุมีความสุขต่างกัน</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/268111
รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยการสร้างฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนหมู่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
2023-12-06T16:34:46+07:00
พงษ์ศักดิ์ เจริญงามเสมอ
phannee.ro@ssru.ac.th
พรรณี โรจนเบญจกุล
phannee.ro@ssru.ac.th
ทิพย์วารินทร์ เบ็ญจนิรัตน์
phannee.ro@ssru.ac.th
จตุพร อุ่นประเสริฐสุข
phannee.ro@ssru.ac.th
ศศิเพ็ญ ครุธชั่งทอง
phannee.ro@ssru.ac.th
รุ่งตะวัน เมืองมูล
phannee.ro@ssru.ac.th
จิรวัฒน์ สุดสวาท
phannee.ro@ssru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักท่องเที่ยว 2) เพื่อยกระดับสินค้าให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และ3) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนหมู่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการวิจัยโดยสร้างฐานการเรียนรู้ 5 ฐาน คือ (1) ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (2) ฐานการเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์ (3) ฐานการเรียนรู้การเพาะปลูกพืช (4) ฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ และ(5) ฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชและ/หรือสัตว์ ต่อด้วยการยกระดับสินค้าให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยจัดสนทนากลุ่มและถอดบทเรียนการพัฒนาฐานเรียนรู้ทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน การทำชาจากดอกมะลิ และพัฒนาการทำเพจเฟซบุ๊กเพื่อความสามารถในการแข่งขัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สามารถสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงฐานการเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน โดยใช้รูปแบบการบรรยายตามฐานต่าง ๆ ให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถบริหารจัดการได้โดยมีเครือข่ายชุมชน มีระดับความพึงพอใจ 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การยกระดับสินค้าให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน เป็นการพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรจากดอกมะลิเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านสีสันของผลิตภัณฑ์จากดอกมะลิมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ของชุมชนสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนได้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และ3) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ มีการจัดสร้างเพจเฟซบุ๊กเป็นรูป “ฐานการเรียนรู้เกษตรผสมผสาน” มีความทันสมัยน่าสนใจ และทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีรายได้เพิ่มขึ้น ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในระดับมาก และการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/271276
การศึกษาการออกเสียงเน้นหนักในคำภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคแชโดอิ้ง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
2024-04-22T16:17:34+07:00
กุสุมา นะสานี
pornpen@aru.ac.th
พรเพ็ญ ไพศาลศุภนิมิต
pornpen@aru.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการออกเสียงเน้นหนักในคำภาษาอังกฤษก่อนและหลังการฝึกด้วยเทคนิคแชโดอิ้ง 2) ศึกษาความพึงพอใจ ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบการออกเสียง 30 คำ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีทักษะการออกเสียงเน้นหนักก่อนและหลังการฝึกด้วยเทคนิคแชโดอิ้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนฝึกมีค่าเท่ากับ 12.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 40.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกมีค่าเท่ากับ 22.07 คิดเป็นร้อยละ 73.57</p> <p> ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกออกเสียงอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (<img title="x\bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x\bar{}" />) เท่ากับ 4.58 พบว่าประเด็นการเรียนรู้เสียงในภาษาอังกฤษ ทำให้กล้าใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือประเด็นนักศึกษาเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองทุกครั้ง ส่วนประเด็นนักศึกษารู้สึกสนุกสนานกับการฝึกออกเสียง และรู้สึกภูมิใจที่สามารถฝึกออกเสียงได้ตามกำหนดเวลาทุกครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน</p> <p> งานวิจัยสรุปได้ว่าแชโดอิ้งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียง และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการฝึกด้วยเทคนิคแชโดอิ้งเป็นอย่างมาก</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/271430
ผลการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2024-04-22T16:47:54+07:00
วิธววรธน์ สีชื่น
withawat.see@pcru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 40 คน ดำเนินการจัดการกลุ่มตัวอย่าง เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน กำหนดให้กลุ่มทดลองได้รับจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ โดยทำทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการรู้วิชาพลศึกษาตามหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้เกมเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 5 ฉบับ ทำการวัดก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” t – test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-06-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร