ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru <p><strong>Peer Review Process</strong><br /> บทความที่จะเสนอตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องเป็นผลงานที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และทุกบทความจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer-review) อย่างน้อยบทความละ 3 คน โดยปกปิดชื่อผู้แต่งและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความ (Triple-blind peer review) และบทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก นอกจากนี้ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนดและผู้นิพนธ์ต้องยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นสุดท้ายก่อนเผยแพร่<br /><br /><strong>Publication Frequency</strong></p> <table> <tbody> <tr> <td><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> ปีละ 2 ฉบับ </td> <td> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน</td> </tr> <tr> <td> </td> <td> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</td> </tr> </tbody> </table> <p><strong>ISSN 0859-8185 (Print)</strong><br /><strong>ISSN 2821-9988 (Online)</strong></p> <p><strong>Published: </strong>2022-07-01 </p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> [email protected] (Assistant Professor Dr.Kristiya Moonsri) [email protected] (Ms.Chutima Phut-orn) Thu, 28 Dec 2023 18:55:42 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาท้องถิ่นด้านประเพณีทางพระพุทธศาสนาของวัดหลวงพ่อสด ธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/268389 <p> การพัฒนาท้องถิ่นด้านประเพณีทางพระพุทธศาสนาของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ได้แก่ เทศน์มหาชาติ และพิธีกวนข้าวทิพย์ เป็นแนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสานประเพณีทางพระพุทธศาสนา และการตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีทางพระพุทธศาสนาของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับวัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามตลอดจนผู้มีใจบุญและศรัทธาในพระพุทธศาสนา</p> <p> บทความนี้นำเสนอแนวทางการการพัฒนางานประเพณีทางพระพุทธศาสนา เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการจัดงานประเพณี เทศมหาชาติ และ พิธีกวนข้าวทิพย์ ก่อเกิดการอนุรักษ์ รักษาดูแล ที่สะท้อนมิติความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน และนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องประเพณีทางพระพุทธศาสนาและภาคธุรกิจการท่องเที่ยว</p> ชิเนนนท์ พวงพันธ์, คมกฤษ จิตแก้ว Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/268389 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265095 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในถนนคนเดินไทหล่ม จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวต้องการให้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายในด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ได้แก่ หมอนอิง และกล่องกระดาษทิชชู และผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก/ของชำร่วย ได้แก่ ซองใส่โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าถือ โดยผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายนั้น ต้องมีสีดั้งเดิม นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 2 ประเภท อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.24) ผลการศึกษายังพบว่าสมาชิกของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว สามารถผลิตชิ้นงานและเข้าใจกระบวนการผลิตชิ้นงานทุกขั้นตอน และสามารถคำนวณกำไรต้นทุน ตั้งราคาขายสินค้า สามารถประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เพื่อจำหน่ายทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ได้</p> อภิชาต สุวรรณชื่น, สุภาพร บางใบ, ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร, จิตราทิพย์ บุญพิทักษ์ Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265095 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมแพศึกษา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265106 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส 2) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ห้อง 7 โรงเรียนชุมแพศึกษา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทีซีที-ดีพี แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกอนุทินและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์ส เป็นการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1.กระตุ้นความสนใจ 2.ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3.ค้นคว้าและคิด 4.นำเสนอและ 5.ประเมินผล ผู้เรียนได้รวมกลุ่มตั้งคำถามและศึกษาสิ่งที่สนใจ ภายใต้สภาพแวดล้อมเมตาเวิร์สซึ่งอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีพื้นที่ให้ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ได้ตามต้องการ สามารถเข้าทบทวนและแบ่งปันความรู้กับผู้อื่นได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา 2) ผู้เรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนอยู่ในระดับสูง และ 3) ผู้เรียนมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p> ธีรภัทร นาหนองตูม, ประวิทย์ สิมมาทัน, ทรงศักดิ์ สองสนิท Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265106 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/264135 <p> การวิจัยศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาเฟซบุ๊ก เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก เพื่อศึกษาการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบภูมิหลังส่วนบุคคลกับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ ซึ่งมีระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากผู้เข้าชมเพจเฟซบุ๊ก จำนวน 385 คน โดย ศึกษาผลการเปรียบเทียบเฟซบุ๊กความสัมพันธ์กับความพึงพอใจรูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์แนวใหม่ ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์โดยใช้ค่าความถี่ หาค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุใหม่ โดยจำแนกตาม เพศ รายได้ อายุ การศึกษาโดยใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test และANOVA และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ โดยเข้าทำการการสัมภาษณ์ก่อน และหลังการจัดทำเพจเฟซบุ๊กของฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า จากการที่ผู้วิจัยได้จัดทำการสัมภาษณ์เพื่อจัดสร้างเฟซบุ๊กซึ่งมีความทันสมัย สามารถดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมได้จากการแสดงเฟซบุ๊ก และทำให้ผู้ร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก พบว่าผู้เข้าใช้บริการอยู่ในเฟซบุ๊กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งจากการศึกษาการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ พบว่าการแข่งขันเฟซบุ๊กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการเปรียบเทียบเปรียบเทียบภูมิหลังส่วนบุคคลกับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับตลาดยุคใหม่ พบว่า อายุ และรายได้ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุณัฐชา เชาว์ไว, พรรณี โรจนเบญจกุล, พงษ์ศักดิ์ เจริญงามเสมอ, จตุพร อุ่นประเสริฐสุข, ทิพย์วารินทร์ เบ็ญจนิรัตน์, ศศิเพ็ญ ครุธชั่งทอง, จิรวัฒน์ สุดสวาท, ปริญญา สีม่วง Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/264135 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) เรื่อง พื้นฐานตัวโน้ตดนตรีสากล เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265543 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม 2) สร้างและหาคุณภาพของชุดกิจกรรม และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนระโนดวิทยา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากล และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม ต้องการให้ชุดกิจกรรมมีสื่อที่หลากหลาย จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม มีการวัดและประเมินผลโดยการทำแบบฝึกหัดและสอบปฏิบัติหน้าชั้นเรียน 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ความสามารถในการอ่านโน้ตดนตรีสากลของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58</p> เมธิชา ฮวดเส็ง, จุไรศิริ ชูรักษ์, ปรีดา เบ็ญคาร Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265543 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบประดิษฐ์ท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265489 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อได้รูปแบบท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้รูปแบบท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้มารับบริการสุขศาลาอโรคยาธรรมกวี วัดราชาธิวาส ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p> ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบประดิษฐ์ท่านวดมีรูปแบบทั้งหมด จำนวน 8 หมวด 30 และหลังผู้เข้ารับบริการรูปแบบนวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ มีความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับคะแนน 4.11 ซึ่งการนวดไทยมีจุดแข็ง โดยทบทวนหลักวิชาการ มีความจำเป็นต้องรู้หลักทฤษฏีเส้นประธานสิบ และกายวิภาคศาสตร์สรีระร่างกายสำคัญที่สุด จุดตำแหน่งรูปแบบท่าที่เหมาะสม ความอ่อนช้อย นุ่มนวล ละมุนละม่อม ละเอียดอ่อน มีความปราณีตในการนวดที่ใส่ใจเป็นการสัมผัสที่รับรู้ได้ทั้งลีลาท่าทางการนวด ร่วมกับสายตาการบริการด้วยใจ ระยะเวลาให้บริการ จุดอ่อนหากไม่มีความรู้จะเกิดอันตรายได้ วิธีการนวดขั้นตอนของลายละเอียดรูปแบบการให้บริการเป็นขั้นตอนหัวใจสำคัญเป็นเอกลักษณ์ของไทย</p> กิ่งแก้ว แจ้งสวัสดิ์, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, ธัญญะ พรหมศร, นงนุช บุญแจ้ง Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/265489 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/263529 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย 2. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย 3. เพื่อทดลองการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมและ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและ วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติ การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้เพื่อชีวิต จึงควรมีการวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และผลของแบบสอนถามพบว่า การสรุปองค์ความรู้ และการสะท้อนความคิดของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.33) 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.49) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยพบว่าโดยภาพรวมทุกด้านมีค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 43.81 4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.67, S.D. = 0.37)</p> สรวงพร กุศลส่ง, เบญญาภา นาขัน Copyright (c) 2023 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jpcru/article/view/263529 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700