Ramkhamhaeng Law Journal
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal
<p style="text-align: justify;"> วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ ISSN 2286-8518 (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2651-1827 (Online) โดยในรูปแบบตีพิมพ์ (Print) ได้เริ่มดำเนินการจัดทำปี พ.ศ.2555 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ได้เริ่มดำเนินการจัดทำปี พ.ศ.2559</p> <p><strong> จริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสำหรับการดำเนินงานของวารสารรามคำแหง </strong><strong>ฉบับนิติศาสตร์ (</strong><strong>Publication Ethics)</strong></p> <p> เพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ กองบรรณาธิการวารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ จึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสำหรับการดำเนินงานของวารสาร ตามบทบาทหน้าที่ดังนี้</p> <p><strong> 1. หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ</strong><strong> (Duties of Editors) </strong></p> <p> 1.1 บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความในวารสารที่ตนรับผิดชอบ</p> <p> 1.2 บรรณาธิการจะต้องมีการตรวจสอบบทความในเรื่องการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) และการคัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) ในบทความอย่างจริงจัง โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงาน</p> <p> 1.3 หากในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงาน บรรณาธิการจะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธการตีพิมพ์” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ</p> <p> 1.4 บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เมื่อตรวจพบการคัดลอกผลงานในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ เพื่อขอคำชี้แจงและประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธการตีพิมพ์” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ</p> <p> 1.5 ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง</p> <p> 1.6 ในการคัดเลือกบทความตีพิมพ์ บรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความหลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความใหม่ ความสำคัญ ความชัดเจนของเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ</p> <p> 1.7 บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน</p> <p> 1.8 บรรณาธิการต้องตีพิมพ์บทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่แหล่งตีพิมพ์อื่น</p> <p> <strong>2. บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (</strong><strong>Duties of Authors)</strong></p> <p> 2.1 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นนั้น เป็นผลงานใหม่และไม่มีการส่งให้วารสารอื่นพิจารณาตีพิมพ์ในช่วงเวลาเดียวกัน</p> <p> 2.2 ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง ให้ปรากฏในผลงานของตน หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของตน รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ</p> <p> 2.3 ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยโดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารนี้ และถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำการตีพิมพ์”</p> <p> 2.4 ผู้นิพนธ์ร่วม (Co-author) ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยจริง</p> <p> 2.5 ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงและผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่ควรมีการบิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ</p> <p> 2.6 ในกรณีที่เป็นบทความวิจัย ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้</p> <p><strong> 3. บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (</strong><strong>Duties of Reviewers)</strong></p> <p> 3.1 เมื่อผู้ประเมินบทความได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความทราบอยู่แล้วว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่อาจทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระในทางวิชาการได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ</p> <p> 3.2 ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญโดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความหรืองานวิจัยนั้นๆ</p> <p> 3.3 หากผู้นิพนธ์มิได้อ้างถึงผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความเข้าไปในการประเมินบทความผู้ประเมินบทความต้องระบุเข้าไปในบทความที่กำลังประเมินด้วย เพื่อให้บทความเกิดคุณค่าในเชิงวิชาการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย</p> <p> 3.4 ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง</p>
en-US
Ramkhamhaeng Law Journal
2286-8518
-
สภาพบุคคลตามกฎหมายของปัญญาประดิษฐ์ จำเป็นหรือไม่ ?
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273931
<p> ปัจจุบันแนวความคิดเรื่อง สภาพบุคคลตามกฎหมายสำหรับปัญญาประดิษฐ์ เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในขอบเขตทางกฎหมายและจริยธรรม คำถามพื้นฐานที่ว่าปัญญาประดิษฐ์ควรมีสภาพบุคคลตามกฎหมายหรือไม่ นำมาซึ่งการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น จิตสำนึกของปัญญาประดิษฐ์ การตระหนักรู้ในตนเอง และศีลธรรมของปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะความซับซ้อนในการกำหนดคุณลักษณะว่าหลักเกณฑ์ใดที่ปัญญาประดิษฐ์ควรมีสภาพบุคคลตามกฎหมาย หลายประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ หากแต่ยังมิได้มีการกล่าวถึงสภาพบุคคลของปัญญาประดิษฐ์ในทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การใช้งานที่มีความโปร่งใสปราศจากอคติ การใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นหลัก </p> <p> วิวัฒนาการของแนวคิดในการให้สภาพบุคคลแก่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มิใช่มนุษย์มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานบนพื้นฐานของเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น การให้สภาพบุคคลกับทาสในสมัยโบราณ การให้สภาพบุคคลกับบริษัท การให้สภาพบุคคลกับแม่น้ำ (แม่น้ำวังกานุย เมืองมานาวาตู ประเทศนิวซีแลนด์) การให้สิทธิทางกฎหมายแก่ทะเลสาบ (ทะเลสาบอีรี เมืองโทลีโด รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นต้น ซึ่งสภาพบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เหล่านั้น นำมาซึ่งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามกฎหมายในเวลาต่อมาด้วยเช่นกัน เช่น สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน สิทธิในการฟ้องร้อง หรือถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น </p> <p> หนึ่งในประเด็นสำคัญที่สนับสนุนให้ปัญญาประดิษฐ์มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย ก็คือ “ความรับผิดชอบ” เนื่องจากปัจจุบันระบบปัญญาประดิษฐ์ถูกสร้างและดำเนินการโดยมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าระบบเหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยมนุษย์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีความก้าวหน้า ทำให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถคิดและตัดสินใจได้เอง จึงกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นสำหรับมนุษย์ที่จะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจหรือการสร้างสรรค์ของปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้น หากปัญญาประดิษฐ์ได้รับสภาพบุคคลตามกฎหมาย ก็หมายความว่า ปัญญาประดิษฐ์สามารถรับผิดชอบต่อการกระทำและการตัดสินใจของตนได้ สิ่งนี้จะผลักภาระความรับผิดชอบจากมนุษย์ไปสู่ระบบปัญญาประดิษฐ์เอง อันเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถทำการตัดสินใจหรือดำเนินการได้เอง</p> <p> หนึ่งในประเด็นสำคัญที่คัดค้านมิให้ปัญญาประดิษฐ์มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย ก็คือ “นักพัฒนาและผู้ผลิตอาจละทิ้งความรับผิดชอบ” เนื่องจากปัจจุบัน นักพัฒนาและผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่ออันตรายใด ๆ ที่เกิดจากระบบปัญญาประดิษฐ์ของตนที่ได้พัฒนาหรือสร้างขึ้น ดังนั้น หากปัญญาประดิษฐ์ได้รับสภาพบุคคลทางกฎหมายแล้ว ความรับผิดต่างๆ อาจถูกถ่ายโอนมายังปัญญาประดิษฐ์ได้ ทำให้นักพัฒนาและผู้ผลิตมิได้ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มที่</p> <p> คำตอบของคำถามที่ว่า สภาพบุคคลบุคคลตามกฎหมายของปัญญาประดิษฐ์จำเป็นหรือไม่ ? นั้น ในวงการวิชาการปัจจุบันก็ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ และยังไม่มีประเทศใดที่รับรองสภาพทางกฎหมายของปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นทางการ กับทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน มีประเด็นประกอบหลักเหตุผลที่หนักแน่นด้วยกันทั้งสองฝ่าย หากแต่เป็นมุมมองที่แตกต่างกันเท่านั้น การให้สภาพบุคคลกับปัญญาประดิษฐ์เป็นประเด็นที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความรอบคอบอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นประเด็นที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบกฎหมายตามมา เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนผลกระทบทางโครงสร้างทางสังคมในวงกว้างที่อาจมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของปัญญาประดิษฐ์ไปตลอดกาล หากแต่ในทางปฏิบัติ อาจไม่จำเป็นต้องมอบสถานะทางกฎหมายให้แก่ปัญญาประดิษฐ์โดยตรงเพื่อจัดการกับผลทางกฎหมายที่ต้องการ แต่อาจใช้วิธีการหรือเครื่องมือทางกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน เช่น การสร้างมาตรฐานการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น การรับมือกับความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานปัญญาประดิษฐ์อาจพัฒนากองทุนความรับผิด หรือกำหนดให้มีการทำประกันความเสียหายจากการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในบางสถานการณ์ เป็นต้น</p>
ปรีดา โชติมานนท์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
1
34
-
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอายุความและระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273938
<p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอายุความและระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากการศึกษาพบว่าการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาอาจไม่ใช่อายุความเสมอไป ซึ่งในทางกฎหมายระยะเวลาและอายุความมีความแตกต่างกัน อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง โดยกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในเวลานั้น หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องย่อมขาดอายุความ ส่วนการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาอย่างอื่นที่มิใช่อายุความ จึงไม่นำบทบัญญัติกฎหมายเรื่องอายุความมาใช้บังคับ แต่อย่างไรก็ตาม อายุความและกำหนดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมควรเป็นบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการตั้งข้อขีดคั่นไว้เป็นกรอบระยะเวลาให้บุคคลกระทำการหรือใช้สิทธิภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่อาจมีการตกลงให้แตกต่างเป็นอย่างอื่นได้ หากฝ่าฝืนย่อมตกเป็นโมฆะ</p>
กรณ์กมล ประเสริฐศักดิ์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
35
56
-
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแพ่งสำหรับคดีซื้อขายออนไลน์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273942
<p> การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแพ่งสำหรับคดีซื้อขายออนไลน์การติดต่อสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบันนั้นเป็นที่แพร่หล่ายเป็นอย่างมาก ทำให้การซื้อขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จึงทำให้การเกิดข้อพิพาทในการซื้อขายออนไลน์มีสูงตามไปด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ศาลยุติธรรมจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสำหรับการดำเนินคดีซื้อขายออนไลน์ในการอำนวยประโยชน์แห่งความยุติธรรม เพื่อให้บุคคลทุกคนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมง่ายขึ้น ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ได้รับการชดเชย การเยียวยาอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดข้อพิพาทจากการซื้อขายออนไลน์ ในการนี้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงได้มีมติจัดตั้ง “แผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง” เพื่อรองรับปัญหาข้อพิพาทอันเกิดจากการซื้อขายออนไลน์ และได้มีการออกประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่งเพื่อดำเนินการระงับข้อพิพาทในเรื่องการซื้อขายออนไลน์โดยเฉพาะ โดยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาประกอบกับข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 และประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีซื้อขายออนไลน์</p> <p> เขตอำนาจของศาลแพ่งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์นั้นสามารถรับคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งได้ทั่วราชอาณาจักรไม่ว่าคดีนั้นจะเกิดในเขตหรือนอกเขตของศาลแพ่ง หรือคดีที่เกิดในศาลแขวงซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนกับเขตของศาลแพ่งก็ตาม เพื่อเป็นช่องทางอำนายความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไป โดยคดีที่อยู่ในอำนาจของแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่งนี้ครอบคลุมถึงเฉพาะคดีผู้บริโภค หมายความว่าฝ่ายหนึ่งของคู่สัญญาต้องเป็นผู้บริโภคและอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งการทำสัญญาดังกล่าวจะต้องเป็นการทำสัญญาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยแม้ชื่อของแผนกจะใช้ชื่อว่าคดี “ซื้อขาย” ออนไลน์ แต่หากดูในคำนิยามคำว่า “ซื้อ” หรือ คำว่า “ขาย” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประกอบด้วย โดยคำนิยามมาตรา 3 ให้หมายความรวมถึง การเช่า การเช่าซื้อ หรือได้มาหรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ด้วยเหตุนี้อำนาจของแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่งจึงครอบคลุมไปถึงการซื้อขายและการให้บริการต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย อีกทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาในแผนกคดีซื้อขายออนไลน์นี้จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การยื่นคำฟ้องผ่านระบบ e-Filling การส่งหมายเรียกและเอกสารต่าง ๆ ตลอดไปถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาผ่านระบบ Google Meet รวมทั้งการทำคำพิพากษาที่จะต้องทำในรูปแบบของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเช่นกัน</p>
พิชญ์ วิทยารัฐ
ภคิน อัครธีรนุภาพ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
57
76
-
หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในในบริบทอาเซียน: เปรียบเทียบกับกฎบัตรสหประชาชาติ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273944
<p> สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน กำหนดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐสมาชิกอาเซียนอื่นไว้ในกฎบัตรอาเซียน ข้อ 2 (2) อี หลักการนี้กำหนดว่ารัฐสมาชิกอาเซียนจะต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น เช่น การไม่ใช้กำลังโดยตรงต่อรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น ไม่วิพากษ์สถานการณ์ภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น รวมทั้งไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการก้าวก่ายเขตอำนาจภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนอื่น</p> <p> บทความนี้มุ่งศึกษาประเด็นหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในตามกฎบัตรอาเซียนเป็นสำคัญ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในตามกฎบัตรสหประชาชาติ ทำให้เห็นได้ว่ารัฐสมาชิกอาเซียนมีแนวปฏิบัติต่อหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐสมาชิกอื่นตามกฎบัตรอาเซียนอย่างเคร่งครัดกว่า</p> <p> ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าการที่รัฐสมาชิกอาเซียนมีแนวปฏิบัติที่เคร่งครัดต่อหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในรัฐสมาชิกอื่น อาจเป็นอุปสรรคในการให้ความร่วมมือ การจัดการ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาค</p>
ชนันภรณ์ บุญเกิดทรัพย์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
77
102
-
คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ: ภาษีเงินได้จากการโอนทุนสำรองของบริษัทจำกัดไปเป็นกำไรสะสม
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273952
<p> ภายใต้ประมวลรัษฎากรของประเทศไทยอันเป็นกฎหมายหลักในการจัดเก็บภาษีนั้น ได้กำหนดให้บุคคลจะต้องเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมิน<a href="#_ftn1" name="_ftnref1">[1]</a> อันหมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ ซึ่งหมายถึงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) – (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตลอดจนทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ<a href="#_ftn2" name="_ftnref2">[2]</a>ด้วย</p>
สรรพร สรรพัชญา
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
309
322
-
มาตรการป้องกันการกักเก็บกําไรไว้ในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำของประเทศไทยหลังการเข้าร่วม OECD BEPS Project: ศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการของกลุ่มสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273946
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการกักเก็บกําไรไว้ในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ โดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบไปด้วยการวิจัยทางกฎหมายและการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักสามกลุ่มคือกลุ่มองค์กรภาครัฐ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ กลุ่มนักวิชาการและที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งใช้เทคนิคการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาจากการที่นักลงทุนผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยออกไปลงทุนยังต่างประเทศและกักเก็บกำไรไว้ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการป้องกันการกักเก็บกําไรไว้ในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ เป็นเหตุให้สูญเสียรายได้ทางภาษีอย่างมหาศาล หลายประเทศทั่วโลกต่างก็ประสบกับปัญหาการกักเก็บกำไรเช่นกันและได้มีการออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้แล้ว แม้การออกแบบมาตรการของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย แต่ก็อยู่ภายใต้หลักการสำคัญเดียวกันคือให้มีการจัดสรรปันส่วนเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศแหล่งเงินได้ มาเสียภาษีในประเทศถิ่นที่อยู่ของนักลงทุน</p> <p> งานวิจัยนี้จึงได้เสนอแนะให้ออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร กำหนดให้นักลงทุนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายไทยนำเงินได้ที่เกิดขึ้นในบริษัทต่างชาติที่ถูกควบคุมมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร ในการนี้ ต้องเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายใน 6 หัวข้อสำคัญ อันได้แก่ บทนิยามของบริษัทต่างชาติที่ถูกควบคุม เงื่อนไขและข้อยกเว้นของบริษัทต่างชาติที่ถูกควบคุม นิยามของเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษี วิธีการคำนวณเงินได้ที่ต้องนำมาเสียภาษี วิธีการวิเคราะห์สัดส่วนเงินได้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาภาษีซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ การออกแบบมาตรการป้องกันการกักเก็บกําไรไว้ในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ ต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการรักษาฐานภาษีของประเทศไทยกับการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคแก่นักลงทุนในการหารายได้และขยายโอกาสทางธุรกิจ</p>
กิตติยา พฤกษารุ่งเรือง
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
103
142
-
การศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเรา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273947
<p> การศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเรา เป็นศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทย และการเปรียบเทียบกฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และเครือรัฐออสเตรเลีย โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมตามเขตพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนากฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราในประเทศไทยมีการกำหนดให้การกระทำที่เป็นการข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาไว้ตั้งแต่มีกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และมีการปรับปรุงบทบัญญัติต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยพบว่าปัญหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเพศนั้นควรมีความชัดเจนใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การกำหนดฐานความผิด 2) การกำหนดบทที่ต้องทำให้รับโทษหนักขึ้น และ 3) การกำหนดมาตรการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดฐานกระทำชำเรา นอกจากนี้ บทบัญญัติของกฎหมายในต่างประเทศ ควรถูกนำมาพิจารณามาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย</p>
ปัณณวิช ทัพภวิมล และคณะ
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
143
166
-
ปัญหากฎหมายว่าด้วยหนี้ของเทศบาลที่ส่งผลต่อหนี้สาธารณะ: ศึกษาเฉพาะมาตรการการจัดการและการปรับโครงสร้างหนี้
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273948
<p> จากสภาวะวิกฤติของประเทศหลายปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้รัฐบาลจำต้องก่อหนี้ ซึ่งปัญหาหนี้สินของรัฐบาลเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางของความกินดีอยู่ดีของประชากร นอกจากนี้แนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณมากขึ้น และอาจต้องกู้ยืมอันจะส่งผลให้จำนวนตัวเลขของหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จึงมีประเด็นที่น่าพิจารณาว่าหนี้สาธารณะนอกจากเกิดขึ้นด้วยการกู้ยืมเงินของรัฐบาลจากแหล่งทุนต่าง ๆ แล้ว การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นมีผลกระทบต่อหนี้สาธารณะด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อหนี้และบริหารจัดการหนี้สินอย่างไร</p> <p> ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความวิจัยและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยมุ่งศึกษาถึงหนี้สินของเทศบาลเป็นหลัก ผลจากการศึกษาในเชิงวิเคราะห์นี้พบว่ามาตรการการบริหารจัดการหนี้สินของเทศบาลส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะ อีกทั้งการขอรับชำระหนี้จากเทศบาลตามกฎหมายไทยนั้นก็ไม่อาจกระทำได้เฉกเช่นเดียวกับแนวทางตามกฎหมายเอกชน เพราะการบังคับคดีมีข้อจำกัดในส่วนทรัพย์สินของรัฐไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หรือแม้แต่การดำเนินกระบวนการล้มละลายและฟื้นฟูกิจการก็ยังไม่เปิดช่องทางให้กับการบริหารจัดการหนี้สินของเทศบาล จากการศึกษาผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะถึงทางออกด้วยวิธีการขอปรับโครงสร้างหนี้ตามประมวลกฎหมายล้มละลายของสหรัฐอเมริกา (Chapter 9 of US Bankruptcy Code) เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่อันอาจนำไปสู่ทางเลือกหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการหนี้สิน ทั้งนี้ก็เพื่อความยั่งยืนทางการคลังและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชากรประเทศโดยรวม</p>
ติณณ์ลภัส ชูพันธ์ ใจวัน
มณฑล อรรถบลยุคล
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
167
192
-
จิตวิญญาณประชาชนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้พัฒนาการรัฐธรรมนูญไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273949
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร เพื่อศึกษาแนวคิดจิตวิญญาณประชาชนตามแนวคิดสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ และค้นหาข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ลักษณะจิตวิญญาณประชาชนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน จากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ บทความวิจัย รัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาศาล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <p> แนวคิดจิตวิญญาณประชาชนตามสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนในชาติ ที่เติบโตเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของสังคม ซึ่งส่งผลสำคัญต่อกระบวนการบัญญัติกฎหมาย โดยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจทางกฎหมายของประชาชน 2) สำนึกร่วมของประชาชน 3) แบบแผนและพฤติกรรมของประชาชน และ 4) การมีส่วนร่วมของประชาชน</p> <p> ข้อเท็จจริงทางกฎหมายจากพัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เมื่อพิจารณาตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่กำหนดสิทธิไว้ทั้งสิ้น 28 ข้อ พบว่า จากรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ ปรากฏสูงสุด 27 ข้อ ปรากฏบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกในปี พ.ศ. 2475 แต่เริ่มคุ้มครองกว้างขวางในฉบับที่ 5 พ.ศ. 2492 และครอบคลุมที่สุดในฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540, ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550 และฉบับที่ 20 พ.ศ. 2560 โดยไม่เคยปรากฏสิทธิของผู้ลี้ภัยเลย แต่ปรากฏการคุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนาเสมอ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญในช่วงปฏิวัติหรือรัฐประหารแทบไม่ปรากฏเนื้อหาที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน</p> <p> จากคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และศาลฎีกา พบว่า ในช่วงแรกศาลรัฐธรรมนูญไม่ค่อยวินิจฉัยในทิศทางที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเท่าใดนัก แต่ภายหลังมีการวินิจฉัยอ้างอิงหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ส่วนศาลปกครองสูงสุด มักพิพากษาว่าการดำเนินการทางปกครองชอบด้วยกฎหมายหากดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอน แม้อาจจะมีลักษณะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน สำหรับศาลฎีกาไม่ค่อยปรากฏการพิพากษาเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยจะวินิจฉัยตามเนื้อหาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเท่านั้น</p> <p> จิตวิญญาณประชาชนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้พัฒนาการรัฐธรรมนูญไทย พบว่า ได้มีการก่อร่างสร้างตัวขึ้นที่ละเล็กทีละน้อยในรัฐธรรมนูญ แต่ในช่วงแรกไม่ค่อยยืนยันถึงสิทธิมนุษยชน และพัฒนาจนมีการนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วยการเปลี่ยนแปลงถึง 20 ฉบับ ทำให้เนื้อหาแห่งสิทธิไม่มีความมั่นคง ขาดความชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง และไม่ถูกยืนยันอย่างแท้จริง ปรากฏเนื้อหาที่ให้อำนาจรัฐจำกัดสิทธิของบุคคลได้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ประชาชนมีการรับรู้ซึ่งสิทธิมนุษยชน แต่การคุ้มครองยังไม่เกิดขึ้นอย่างจริงจังแท้จริงในกระบวนการยุติธรรม</p>
มงคล เจริญจิตต์
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
193
232
-
ปัญหาความเหมาะสมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอพิจารณาทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีผลกระทบต่อผู้ถูกกล่าวหา
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273950
<p> ปัญหาความเหมาะสมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอพิจารณาทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีผลกระทบต่อผู้ถูกกล่าวหาในการดำเนินการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 99 ที่ใช้บังคับในปัจจุบันอันเป็นบทบัญญัติที่ให้การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของข้าราชการซึ่งถูกลงโทษทางวินัยตามมติชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่ง พบว่า หลักเกณฑ์ ขั้นตอน ยังขาดมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญหลายประการที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ และเป็นการจำกัดดุลยพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองของผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ นอกจากนี้ยังเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยใหม่ได้อีก ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการรับฟังผู้ถูกกระทบสิทธิ และไม่สอดรับกับหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง บทความนี้มุ่งนำเสนอเพื่อให้เห็นว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยการเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของหลักเกณฑ์การขอทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และปรับปรุงแก้ไข โดยให้สิทธิแก่ผู้ถูกกล่าวหาในการขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยใหม่ได้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ</p>
กานต์ชนก จูฑะศรี
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
233
266
-
ปัญหาการบังคับทางปกครองให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน: ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/273951
<p> ในกรณีเจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายในกรณีที่ละเมิดต่อบุคคลภายนอกไปแล้วกรณีหนึ่ง หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐอีกกรณีหนึ่ง หน่วยงานของรัฐที่เสียหายนั้นมีสิทธิออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ การที่หน่วยงานของรัฐออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือให้ชำระเงินนั้น ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองจึงต้องมีการดำเนินการบังคับทางปกครอง โดยเป็นกระบวนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ มีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้ เรียกว่า “มาตรการบังคับทางปกครอง” จากการวิจัยพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ยังมีปัญหาบางประการ ทำให้การดำเนินการเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ ทำให้การบังคับทางปกครองไม่บรรลุผล อันเป็นผลให้หน่วยงานของรัฐไม่ได้รับการชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งไม่เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ซึ่งปัญหาที่พบมีดังนี้ ประการแรก คือ เรื่องของเจ้าพนักงานบังคับทางปกครองที่หน่วยงานของรัฐแต่งตั้งขึ้นนี้ มิได้เป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในราชการปกติในการบังคับทางปกครองโดยตรง จึงขาดทั้งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ประการที่สอง คือ จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบโดยส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบก่อน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในแนวปฏิบัติที่ต้องรอการตรวจสอบจากกระทรวงการคลังก่อนจึงจะออกคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินเป็นค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็มีกำหนดอายุความเรื่องละเมิด คือ อายุความสองปีนับจากวันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้เงินเป็นค่าสินไหมทดแทนเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นกรอบอายุความที่จะบังคับทางปกครองอยู่ด้วย ประการที่สามคือปัญหาเกี่ยวกับการแจ้งผลการพิจารณาหรือการตรวจสอบของกระทรวงการคลัง และประการที่สี่คือปัญหาของการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้การปฏิบัติราชการของหน่วยงานทางปกครองมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล</p> <p> ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ในส่วนที่ว่าด้วย การบังคับตามคำสั่งทางปกครอง โดยกำหนดเพิ่มเติมให้มีการบังคับโดยหน่วยงานบังคับทางปกครอง ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานบังคับทางปกครองขึ้นมา เพื่อเป็นหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่บังคับทางปกครอง โดยจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานเฉพาะในกระทรวงการคลัง เนื่องจากการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ จะต้องมีความเกี่ยวพันกับกระทรวงการคลังโดยตลอด เพื่อให้การบังคับทางปกครองเกิดผลในทางปฏิบัติและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>
ประวีณ์ธิดา จารุนิล
Copyright (c) 2024
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-27
2024-06-27
13 1
267
308