Ramkhamhaeng Law Journal https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal <p style="text-align: justify;"> วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ ได้จัดทำเป็น 2 รูปแบบ ทั้งรูปแบบตีพิมพ์ ISSN 2286-8518 (Print) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2651-1827 (Online) โดยในรูปแบบตีพิมพ์ (Print) ได้เริ่มดำเนินการจัดทำปี พ.ศ.2555 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) ได้เริ่มดำเนินการจัดทำปี พ.ศ.2559</p> <p><strong> จริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสำหรับการดำเนินงานของวารสารรามคำแหง </strong><strong>ฉบับนิติศาสตร์ (</strong><strong>Publication Ethics)</strong></p> <p> เพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ กองบรรณาธิการวารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ จึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานสำหรับการดำเนินงานของวารสาร ตามบทบาทหน้าที่ดังนี้</p> <p><strong> 1. หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ</strong><strong> (Duties of Editors) </strong></p> <p> 1.1 บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่บทความในวารสารที่ตนรับผิดชอบ</p> <p> 1.2 บรรณาธิการจะต้องมีการตรวจสอบบทความในเรื่องการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) และการคัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism) ในบทความอย่างจริงจัง โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงาน</p> <p> 1.3 หากในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการตรวจพบการคัดลอกผลงาน บรรณาธิการจะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธการตีพิมพ์” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ</p> <p> 1.4 บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เมื่อตรวจพบการคัดลอกผลงานในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ เพื่อขอคำชี้แจงและประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธการตีพิมพ์” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ</p> <p> 1.5 ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง</p> <p> 1.6 ในการคัดเลือกบทความตีพิมพ์ บรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความหลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความใหม่ ความสำคัญ ความชัดเจนของเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ</p> <p> 1.7 บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน</p> <p> 1.8 บรรณาธิการต้องตีพิมพ์บทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่แหล่งตีพิมพ์อื่น</p> <p> <strong>2. บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (</strong><strong>Duties of Authors)</strong></p> <p> 2.1 ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์นั้นนั้น เป็นผลงานใหม่และไม่มีการส่งให้วารสารอื่นพิจารณาตีพิมพ์ในช่วงเวลาเดียวกัน</p> <p> 2.2 ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง ให้ปรากฏในผลงานของตน หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของตน รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ</p> <p> 2.3 ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยโดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารนี้ และถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำการตีพิมพ์”</p> <p> 2.4 ผู้นิพนธ์ร่วม (Co-author) ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความ จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยจริง</p> <p> 2.5 ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงและผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่ควรมีการบิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ</p> <p> 2.6 ในกรณีที่เป็นบทความวิจัย ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้</p> <p><strong> 3. บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (</strong><strong>Duties of Reviewers)</strong></p> <p> 3.1 เมื่อผู้ประเมินบทความได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความทราบอยู่แล้วว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่อาจทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระในทางวิชาการได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ</p> <p> 3.2 ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญโดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน โดยไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความหรืองานวิจัยนั้นๆ</p> <p> 3.3 หากผู้นิพนธ์มิได้อ้างถึงผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความเข้าไปในการประเมินบทความผู้ประเมินบทความต้องระบุเข้าไปในบทความที่กำลังประเมินด้วย เพื่อให้บทความเกิดคุณค่าในเชิงวิชาการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย</p> <p> 3.4 ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง</p> en-US [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณทิชา ภักดีคง) [email protected] (นายณศุท กองแก้วอาริยะ ประจำกองบรรณธิการ วารสารรามคำแหงฯ) Wed, 27 Dec 2023 15:50:45 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัญหาบางประการเกี่ยวกับบทบัญญัติที่ถูกปกป้องเป็นพิเศษตามมาตรา 256(8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269867 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; “แนวความคิดบทบัญญัติที่ถูกปกป้องเป็นพิเศษ” เป็นกลไกหนึ่งที่รัฐธรรมนูญสมัยใหม่นำมาใช้เพื่อปกป้องตัวมันเองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้รัฐธรรมนูญดำรงอยู่ให้สอดคล้องกับเจตจำนงของประชาชน ด้วยการผ่อนคลายความตายตัวของบทบัญญัติชั่วนิรันดร์หรือเรื่องพื้นฐานของการปกครองหรือส่วนประกอบของความเป็นประชาธิปไตยเรื่องที่สำคัญสามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้โดยวิถีทางของรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกันยังคงคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้ด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยการกำหนดกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องเหล่านั้นให้ต้องใช้กระบวนการพิเศษ ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนจนในความเป็นจริงแล้วแทบไม่สามารถแก้ไขได้เลย เพราะเหตุว่าการจะแก้ไขหลักการเรื่องดังกล่าวได้สำเร็จต้องอาศัยเสียงเห็นพ้องต้องตรงกันของกลุ่มการเมืองทุกฝ่ายในชาติร่วมกัน โดยเฉพาะต้องได้รับความเห็นชอบจาก “ประชาชน” โดยตรงหรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องโดยอ้อมในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของอำนาจอธิปไตย&nbsp;</p> กิตติทร สุดประเสริฐ, สมคิด เลิศไพฑูรย์ Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269867 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหาทางกฎหมายของการที่ผู้จำนองยกทรัพย์จำนองให้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269868 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความวิจัยนี้มุ่งนำเสนอปัญหาทางกฎหมายกรณีผู้จำนองยกทรัพย์จำนองให้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยนำปัญหาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14595/2558 มาแยกวิเคราะห์ พบว่ามีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลสมบูรณ์ของสัญญา ปัญหาในการแสดงเจตนาและผลที่เกิดขึ้น แนวทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย สิทธิของผู้จำนองที่จะยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตลอดจนผู้จำนองควรได้รับการเยียวยาเพียงใด อีกทั้งความรับผิดทางอาญาฐานฉ้อโกงเจ้าหนี้ จากการศึกษาพบว่าเมื่อการยกทรัพย์สินของตนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่มีขั้นตอนทำได้โดยง่าย เมื่อตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305,1306 และ 1307 ผู้วิจัยจึงเสนอแนะเพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีดังเช่นคำพิพากษาฎีกาที่ยกมาวิเคราะห์ จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา525 ให้ใช้บังคับกับกรณีการยกให้ทรัพย์สินอันตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินด้วย</p> ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์, พินิจ ทิพย์มณี Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269868 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269869 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้ มุ่งนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ในศาลไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ เขตอำนาจศาลปกครองและศาลยุติธรรมทั้งของประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นคดีที่มีเนื้อหาของคดีคาบเกี่ยวระหว่างหลักกฎหมายปกครองอันเป็นกฎหมายมหาชนและหลักกฎหมายแพ่งอันเป็นกฎหมายเอกชน คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ทั้งศาลปกครองและศาลยุติธรรม จึงเกิดปัญหาว่าคดีลักษณะดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาพิพากษายังศาลใด ประเทศไทยแม้จะมีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเขตอำนาจระหว่างศาล แต่ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาการนำคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์มาสู่ศาล เพราะต้นตอของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและถูกต้องตามหลักกฎหมาย ซึ่งคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์จะเป็นคดีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และเป็นเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางปกครอง และเป็นคดีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินในขณะเดียวกัน การต่อสู้ทางคดีจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญในการสนับสนุนทางคดีเป็นส่วนใหญ่ ราษฎรทั่วไปที่มีข้อพิพาทกับฝ่ายรัฐจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบทางคดี เพราะหน่วยงานรัฐจะมีข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสนับสนุนคดีฝ่ายตนได้มากและดีกว่าฝ่ายราษฎรทั่วไป อีกทั้งหากคดีถูกนำไปสู่ศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบการพิจารณาแบบกล่าวหา ฝ่ายราษฎรก็จะตกอยู่ในภาวะกฎหมายปิดปาก เพราะภาระการพิสูจน์จะตกแก่ฝ่ายราษฎรที่อ้างข้อต่อสู้ข้อเถียงของตนว่าเอกสารที่ฝ่ายรัฐทำขึ้นมานั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ตามมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อีกทั้งศาลยุติธรรมไม่อาจพิพากษาเกินคำฟ้องหรือคำขอตามมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ไม่อาจค้นหาความจริงได้มากเท่าศาลปกครองที่ใช้การวิธีพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543 ข้อ 5 วรรคแรก จึงมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีได้มากกว่าศาลยุติธรรม ซึ่งศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 71(4) อีกทั้งมีอำนาจในการวินิจฉัยประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอันเป็นประเด็นรองแห่งคดีได้ตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 41 วรรคสอง คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์จึงเป็นคดีปกครองและควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง</p> เฉลิมพงษ์ เพ็ญโรจน์ Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269869 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme - ETS) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269871 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน กลไกหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศใช้คือระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนำแรงจูงใจทางการเงินมาใช้เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสามารถนำสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับจัดสรรจากภาครัฐมาซื้อขายระหว่างกันในระบบได้ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าสหภาพยุโรปและประเทศเกาหลีใต้ต่างก็มีองค์กรภาครัฐในการกำกับดูแลระบบอย่างเข้มงวดและมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้ควบคุมการดำเนินการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะนำระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาปรับใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ผู้วิจัยจึงกำหนดขอบเขตในการศึกษาโดยเน้นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายต่อระบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ระบบมีความโปร่งใสและมีมาตรฐานสากล จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีองค์กรในการกำกับดูแลระบบแม้ว่าจะมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการลดก๊าซเรือนกระจกก็ตาม แต่หน่วยงานดังกล่าวเป็นองค์การมหาชนที่มีข้อจำกัดในส่วนอำนาจหน้าที่ จึงไม่สามารถกำกับดูแลระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อีกทั้งประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ จึงทำให้ขาดกฎหมายในการกำกับดูแลระบบ ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของอำนาจหน้าที่ อบก. ให้สามารถดำเนินการใด ๆ ในระบบได้โดยไม่เป็นการกระทบสิทธิของผู้ประกอบการในระบบ และควรมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้กำกับดูแลระบบให้มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่อไป</p> ธนพร ปักษาจันทร์ Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269871 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการควบคุมมลพิษทางทะเลจากแหล่งมลพิษทางบก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269873 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาปัญหามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการควบคุมมลพิษทางทะเลจากแหล่งมลพิษทางบก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายของไทยให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์และปฏิบัติตามพันธกรณีที่ไทยมีต่อกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ว่าด้วยเรื่องของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 มีพันธกรณีอนุวัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะ แต่ต้องอาศัยพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ประกอบกับ พ.ศ. 2561 ซึ่งก็ไม่ได้กล่าวถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างชัดเจน ส่งผลต่อการแก้ปัญหาขยะทะเลที่จะอาศัยเพียงพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบกับนโยบายและแผนการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติซึ่งไม่มีสภาพบังคับ นอกจากนี้ ปัญหากฎหมายภายในประเทศก็ยังไม่สามารถป้องกัน (Prevent) ลด (Reduce) หรือควบคุม (Control) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้อเสนอแนะ ประเทศไทยควรพิจารณาการตรากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติการป้องกันและควบคุมมลพิษทางทะเล รวมถึงจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมเป็นศาลชำนัญพิเศษ สำหรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมควรนำทฤษฎีและการดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุวัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อกฎหมายระหว่างประเทศต่อไป</p> ศศิมาพรรณ อัครภูรีรัชต์ Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269873 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างตัวละครในวิดีโอเกมโดยใช้ภาพลักษณ์ของบุคคล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269874 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาวิดีโอเกมได้สร้างตัวละครในวิดีโอเกมโดยใช้ภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ที่เหมือนจริงในการเล่นเกม การสร้างตัวละครในวิดีโอเกมย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นตัวอย่างในการสร้างตัวละคร สภาพปัญหาคือ ผู้พัฒนาวิดีโอเกมนำภาพลักษณ์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างเป็นตัวละครในวิดีโอเกมโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงออก ศาลจะมีแนวทางในการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์อย่างไร บทความนี้ศึกษาการสร้างตัวละครในวิดีโอเกมโดยใช้ภาพลักษณ์ของบุคคลในสหภาพยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว พบว่า ในคดี Edgar Davids v. Riot Games ศาลในประเทศเนเธอร์แลนด์พิจารณาว่า การใช้ภาพลักษณ์ของบุคคลเป็นการให้ประโยชน์แก่สังคมหรือเป็นเพียงการแสวงหาประโยชน์ทางพาณิชย์ของผู้พัฒนาวิดีโอเกมเท่านั้น แต่ในคดี Pellegrino v. Epic Games, Inc. ศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาปรับหลักการใช้โดยเปลี่ยนรูปใหม่โดยพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ผู้พัฒนาวิดีโอเกมนำภาพลักษณ์ของบุคคลมาใช้อย่างแรงบันดาลใจแล้วเปลี่ยนรูปภาพลักษณ์มาเป็นตัวละครของผู้พัฒนาวิดีโอเกมเอง ซึ่งแนวทางของทั้งสองประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อศาลไทยเมื่อมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวละครในวิดีโอเกมโดยใช้ภาพลักษณ์ของบุคคล</p> วุฒิ ศรีธีระวิศาล Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269874 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตของกฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269877 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พื้นที่บนอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนพื้นที่สาธารณะดังเช่น สวนสาธารณะ โดยให้ทุกคนสามารถมีสิทธิในการใช้พื้นที่นี้และทำกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตาม อาจเกิดกรณีบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบนพื้นที่ดังกล่าวได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ดูแลไม่สามารถควบคุมได้อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers: ISPs) โดยที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่หลากหลายนำไปสู่การติดต่อสื่อสารส่งผ่านข้อมูลโดยอาศัยผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลายประเทศมีการกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลผู้ใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ การให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดโอกาสในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แม้ว่าจะมีผู้ดูแลรับผิดชอบการจัดการพื้นที่สาธารณะอยู่ ซึ่งอาจจะไม่สามารถควบคุมกิจกรรมทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตามหลักความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตบนพื้นที่สาธารณะตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ นโยบาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึง EU Electronic Commerce Directive กำหนดให้ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้ใช้บริการของตนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายในประเทศไทยที่ไม่มีการจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers: ISPs) การกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตต่อการกระทำของผู้ใช้บริการในพื้นที่บนโลกอินเทอร์เน็ต จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างการรับผิดชอบและการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการและการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญ การกำหนดความรับผิดอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีกลไกการป้องกันที่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบทางลบต่อนวัตกรรมและการแสดงออกอย่างเสรีได้</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความฉบับนี้จึงมุ่งเน้นในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีของการคุ้มครองความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตในการกระทำความผิดจากผู้ใช้บริการ ตลอดจนผลกระทบต่อการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต โดยศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์หลักพื้นฐาน นโยบาย และกฎหมายที่เป็นสากลต่อความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงหลักความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตตาม E-Commerce Directive ของสหภาพยุโรป และกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม เพื่อเสนอความจำเป็นในการวางแนวทางการคุ้มครองผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ดังนั้น การหาวิธีความรับผิดของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่มีความสมดุลและเป็นระบบ</p> รัฐสภา จุรีมาศ Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269877 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัญหาการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าเฉพาะอย่างที่มีชื่อเหมือนหรือพ้องกัน: กรณีศึกษาสุราพิสโกในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269878 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้าเฉพาะอย่างที่เหมือนหรือพ้องกันโดยมีกรณีศึกษา คือ กรณีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้าสุราพิสโกที่มีแหล่งที่มาจากสาธารณรัฐเปรูและสาธารณรัฐชิลี เพื่อศึกษาค้นคว้ากฎหมายไทยและความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และแสวงหาแนวทางในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลหรือเป็นไปในเชิงกว้างยิ่งขึ้นภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) ในประเทศไทยนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองในรูปแบบกฎหมายเฉพาะ (sui generic) โดยการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2547 โดยได้แบ่งระดับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในระดับทั่วไปสำหรับสินค้าทั่วไป (General Protection) และการให้ความคุ้มครองในระดับพิเศษ (Special Protection) สำหรับสินค้าประเภทข้าว ไหม ไวน์และสุรา ตั้งแต่พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ฯ มีผลบังคับใช้นั้น ได้มีการขอรับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้งสินค้าภายในประเทศไทยและสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของต่างประเทศเป็นจำนวนมาก รวมทั้งกรณีของการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้าสุราพิสโกด้วย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และกรณีศึกษาดังกล่าวข้างต้นนั้น พบว่ากฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยนั้นสามารถให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เหมือนหรือพ้องกันได้ แต่สำหรับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต่างประเทศนั้น มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่าต้องเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายภายในของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น รวมทั้งจะต้องเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีการใช้สืบเนื่องมาจนถึงวันยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย เมื่อกฎหมายได้มีการกำหนดให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต้องพิสูจน์เรื่องการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่นำมาขอขึ้นทะเบียนอย่างสืบเนื่องแต่ไม่ได้กำหนดนิยามของคำว่าการใช้สืบเนื่องมาจนถึงวันยื่นคำขอในประเทศไทย รวมถึงไม่ได้มีกำหนดว่าจะต้องเป็นการใช้ ณ ที่ใด ใช้โดยลักษณะ รูปแบบ หรือวิธีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างไรนั้น กรณีดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ว่าผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องพิสูจน์การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างไรจึงจะเพียงพอให้รับฟังได้ว่าได้มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สืบเนื่องมาจนถึงวันยื่นคำขอในประเทศไทยแล้วอย่างแท้จริง ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้สืบเนื่องมาจนถึงวันยื่นคำขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และควรมีการกำหนดว่าจะต้องเป็นการใช้ในรูปแบบหรือลักษณะใดถึงขนาดที่จะพิจารณาได้ว่าเพียงพอต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยได้ รวมถึงเห็นควรเสนอให้มีการวางแนวปฏิบัติ หรือแนวทางการตีความเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติในการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มาเป็นระยะเวลา 10 ปี ติดต่อกันก่อนวันที่ 15 เมษายน 2537 หรือเป็นการใช้โดยสุจริตก่อนวันดังกล่าวตามมาตรา 28 วรรคท้าย</p> เปมิกา รัตนกฤตยาณี, ปวริศร เลิศธรรมเทวี Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269878 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ: ผู้เสียหาย, ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายและผู้แทนเฉพาะคดีในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269880 <p> บทความนี้พิจารณาถึงความหมายของคำว่า “ผู้เสียหาย” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับคำว่า “เหยื่อ” ตามปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญา และการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความหมายของคำว่า “ผู้เสียหาย” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสอดคล้องกับคำว่า “เหยื่อ” ตามปฏิญญาฯ ดังกล่าวแล้ว รวมถึงอภิปรายเพิ่มเติมบางประเด็น นอกจากนี้ บทความนี้วิเคราะห์แนวบรรทัดฐานใหม่ที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาฎีกาที่ 4536/2565 รวมถึงอภิปรายเหตุการณ์สมมติว่า หากข้อเท็จจริงบางประการเปลี่ยนแปลงไป ผลของคำพิพากษาฎีกาฉบับที่อ้างถึงจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่</p> มณฑล อรรถบลยุคล, ปรีดิ์เฉลิม เจริญศิลป์ Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/lawjournal/article/view/269880 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700