https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/issue/feed
วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
2024-10-09T19:01:18+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิศา มีจินดา
panisa_m@rmutt.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพทางด้านการบริหาร จัดการ และการตลาดของบุคลากรทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย 2) เป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และบุคคลทั่วไป 3) เป็นแหล่งในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยของบุคลากร คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป</p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/article/view/271232
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของ ผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี
2024-03-27T11:45:53+07:00
วัฒนา อำพรรรัตน์
watana_a@mail.rmutt.ac.th
วาสนา ศิลป์รุ่งธรรม
wasanasin@rmutt.ac.th
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายขนาดเล็กที่มีสาขาตั้งแต่ 1-4 สาขา และอายุ 18 ปีขึ้นไป ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 390 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายที่ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านบุคลากร และด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี และ 3) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี </p>
2024-10-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/article/view/269115
กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อพัฒนาจัดการแหล่งท่องเที่ยว หลังสถานการณ์ COVID-19 ภายใต้เงื่อนไขการรีวิวจากสื่อออนไลน์ด้วยวิจัยตลาด Sentiment Analysis ผ่านกลไก Chat GPT กรณีศึกษา ตลาดกลางคืนเชียงรายไนท์บาซาร์
2024-03-25T15:24:37+07:00
ศิรินาฏ จันทนะเปลิน
sirinat@rmutl.ac.th
สุเมธี เกียรติเฉลิมคุณ
sumathee.k@rsu.ac.th
มงคลกร ศรีวิชัย
srivichai.m@gmail.com
ปองสุข ศรีชัย
pongsooks@rmutl.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะศึกษาการพัฒนาและการบริหารจัดการในสถานที่ท่องเที่ยวโดยการใช้ปัจจัยทางตลาด โดยใช้เทคโนโลยี Chat GPT เพื่อการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการรีวิวของนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมตลาดไนท์บาซาร์ในจังหวัดเชียงรายผ่าน Google Maps ภายหลังจากสถานการณ์โควิด 19 จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคิดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น</p> <p>ผลการศึกษาสรุปได้ว่ามีรีวิวทั้งหมด 434 รีวิวในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม 2566 โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรีวิวที่ 4.2 จาก 5 ดาว ส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มสื่อสังคม Google Maps นักท่องเที่ยวประเทศอังกฤษเป็นผู้รีวิวมากที่สุด โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ร้อยละ 39 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด คำวิจารณ์ที่พบบ่อยที่สุดเป็นคำวิจารณ์เชิงบวก คิดเป็นร้อยละ 55 และรองลงมาเป็นคำวิจารณ์กลาง ๆ คิดเป็นร้อยละ 23 การใช้เทคโนโลยี Chat GPT สำหรับการวิเคราะห์ทางตลาด การวิจัยมีการนำเสนอกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่เน้นการเพิ่มความหลากหลายของอาหาร รักษาความสะอาด เสริมประสบการณ์การชอปปิง ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวก และที่พักที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยว และส่งเสริมความร่วมมือกับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง</p>
2024-12-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/article/view/270511
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช (Plant-based Food) ในกรุงเทพมหานคร
2024-03-19T14:35:26+07:00
วราภรณ์ นิลเทียม
waraporn.nintiem@gmail.com
ลัดดาวัลย์ เลขมาศ
Laddawan_lek@utcc.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช (Plant-based Food) ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 509 ชุด จากผู้บริโภคที่เคยรับประทานอาหารที่ผลิตมาจากพืชในเขตกรุงเทพมหานคร และมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยใช้สถิติ Independent, Sample T-Test, One-way ANOVA และ Multiple Regression</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านสถานภาพ อาชีพ และระดับการศึกษา ปัจจัยทัศนคติด้านความรู้สึก ความเข้าใจ และพฤติกรรม และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช (Plant-based Food) ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยผลของการศึกษานี้สามารถเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารที่ผลิตมาจากพืชมีความเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้นและนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/article/view/271171
THE IMPACT OF WECHAT USAGE ON INFORMATION SHARING AMONG CHINESE SECONDARY STUDENTS
2024-04-22T13:18:14+07:00
Yang Zixuan
zxuanyang2023@163.com
<p>This research investigates the impact of WeChat usage on information sharing behavior among secondary students in China, with a specific focus on analyzing the direct and indirect effects of information communication and self-disclosure on information sharing. Furthermore, it compares these impacts to the role of perceived pleasure during information exchange. The study employs quantitative data analysis based on collected sample responses. Preliminary findings indicate that both information communication and self-disclosure have a direct influence on information sharing, which is slightly stronger than their indirect influence through perceived pleasure. Surprisingly, the results suggest that perceived pleasure does not significantly determine how information communication and self-disclosure affect information sharing. Additionally, the influence of self-disclosure on information sharing surpasses that of data obtained through sample collection responses.</p> <p>These findings enhance our understanding of how Chinese secondary students utilize and engage with digital communication platforms such as WeChat, providing implications for educators and policymakers aiming to promote effective behaviors related to information sharing. Future studies may explore additional mediating factors' roles and examine broader academic outcomes resulting from the use of digital communication platforms.</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/article/view/270517
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการรับชมวิดีโอรูปแบบสั้นที่มีโฆษณาแฝง บนแอปพลิเคชัน TikTok ของ Generation Y ในกรุงเทพมหานคร
2024-03-27T08:53:57+07:00
ชนกานต์ บุตรสา
chonnakan.b@ku.th
ภัทรจาริน เขียวบุตรพิพัฒน์
pattaracharin.kh@ku.th
ปุณยวีร์ เล็กธนาเลิศ
punyavee.l@ku.th
พุฒิเมธ แหวนหลวง
Puttimet.w@ku.th
จารุพร ตั้งพัฒนกิจ
tangpattanakitj@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการรับชมวิดีโอรูปแบบสั้นที่มีโฆษณาแฝงบนแอปพลิเคชัน TikTok ของ Generation Y ในกรุงเทพมหานคร โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยรับชมวิดีโอรูปแบบสั้นที่มีโฆษณาแฝงบนแอปพลิเคชัน TikTok จำนวนทั้งสิ้น 275 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านความบันเทิง ด้านข้อมูล ด้านฆ่าเวลา ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชากร Generation Y ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ปัจจัยด้านการผ่อนคลาย ปัจจัยด้านการหลีกหนี ไม่ส่งผลต่อทัศนคติ ในส่วนของปัจจัยด้านความบันเทิง ปัจจัยด้านบรรทัดฐานทางสังคม ปัจจัยด้านทัศนคติ ส่งผลต่อความตั้งใจในการรับชมวิดีโอรูปแบบสั้นที่มีโฆษณาแฝงบนแอปพลิเคชัน TikTok ของ Generation Y ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางต่อผู้ที่ประกอบกิจการทางธุรกิจที่มีความต้องการที่อยากจะทำวิดีโอรูปแบบสั้นที่มีโฆษณาแฝงบนแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวางแผนในการทำการตลาดให้กับองค์กรและสามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/mmr/article/view/270123
คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของลูกค้า สำนักงานบัญชีที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: บทบาทการส่งผ่านของความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
2024-01-09T16:03:41+07:00
สุขมงคล เลิศภิรมย์สุข
sukmongkol_ac@thonburi-u.ac.th
สมชาย เลิศภิรมย์สุข
somchai_ac@thonburi-u.ac.th
อรสา อร่ามรัตน์
fbusosa@ku.ac.th
สุนา สุทธิเกียรติ
sunamaria90@gmail.com
ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ
preyanuch1935@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัญชีที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชี จำนวน 391 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ตอบแบบสอบถามส่วนมาก ประกอบกิจการอยู่ในภาคการบริการ มีการประกอบธุรกิจมาแล้ว 5-10 ปี มีการจ้างงานตั้งแต่ 6-30 คน มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท มีพื้นที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี มีค่า χ2/df = 2.738, GFI = 0.856, NFI = 0.912, RFI = 0.901, IFI = 0.943, TLI = 0.935, CFI = 0.942 และ RMSEA = 0.67 ผลการทดสอบพบว่า คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำ และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผลการวิจัยนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและนำไปสู่การกลับมาใช้บริการสำนักงานบัญชีซ้ำของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอนาคต</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี