https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/issue/feed
วารสารปณิธาน
2024-06-29T21:24:56+07:00
ผศ.ดร.ปิยะมาศ ใจไฝ่
piyamas.j@cmu.ac.th
Open Journal Systems
<div id="journalDescription"> <p style="text-align: left;">วารสารปณิธาน ก่อตั้งขึ้นโดยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนทักษะทางวิชาการ มีขอบเขตการตีพิมพ์เนื้อหาเน้นบทความด้านปรัชญา (Philosophy) และศาสนา (Religion) เป็นหลัก และด้านวรรณกรรม (Literature) วัฒนธรรม (Culture) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ที่สัมพันธ์กับปรัชญาและศาสนา ในรูปแบบผลงาน 4 ประเภท คือ (1) บทความวิจัย (research article) (2) บทความวิชาการ (academic article) (3) บทความปริทัศน์ (review article) (4) บทวิจารณ์หนังสือ (book review) รับบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ตีพิมพ์ทั้งสอง 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้กระบวนการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่านเป็นผู้ประเมินบทความ ซึ่งผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind peer review) กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุกๆ 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)</p> </div> <p>ISSN 2985-2919 (Online)</p> <div id="additionalHomeContent"> </div>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269139
การ ปฏิเสธโลกหน้าในทรรศนะของครูอชิตเกสกัมพล
2023-11-22T17:53:47+07:00
พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ
warantorn999@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดของครูอชิตเกสกัมพลโดยมุ่งเน้นประเด็นการปฏิเสธโลกหน้า แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ได้วิพากษ์แนวคิดของครูอชิตเกสกัมพลเพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องและได้วิเคราะห์ตีความแนวคิดของครูอชิตเกสกัมพลแล้วเสนอแนวทางการอธิบายแนวคิดของท่านให้มีเหตุผลมากยิ่งขึ้นเพื่อปิดช่องโหว่การถูกโต้แย้ง ส่วนที่ 2 ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการถกเถียงเรื่องโลกหน้าระหว่างครูอชิตเกสกัมพลและพุทธปรัชญาและได้ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเบื้องหลังการปฏิเสธโลกหน้าของครูอชิตเกสกัมพล คือ สสารนิยม ส่วนที่ 3 ได้นำอุบัติเหตุนิยมมาสนับสนุนการปฏิเสธโลกหน้าของครูอชิตเกสกัมพล และส่วนที่ 4 ได้อธิบายว่า ความไม่เชื่อเรื่องโลกหน้าไม่ได้ขัดแย้งกับคุณค่าทางจริยธรรมแต่อย่างใด เพราะว่า การทำความดีความชั่วขึ้นอยู่กับจิตใจที่รักความดีรังเกียจความชั่ว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อเรื่องโลกหน้า พร้อมกับให้เหตุผลว่า แนวคิดของครูอชิตเกสกัมพลเป็นสสารนิยม ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจ มองชีวิตเป็นกลไกของสสาร จะอย่างไรก็ตาม คนที่ยึดถือในแนวคิดของท่านกลัวถูกดำเนินคดีและถูกลงทัณฑ์จึงเลือกที่จะกระทำความดี</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269771
ภาษา วัตถุ และวิวัฒนาการ
2024-04-17T15:49:09+07:00
Garn Poonsiri
garn.poonsiri@gmail.com
<p>บทความนี้สำรวจปัญหาเรื่องความหมายของคำ ข้อขัดแย้งสำคัญที่ปรากฏในปัญหาดังกล่าวคือความหมายขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างคำกับวัตถุ หรือความสัมพันธ์ระหว่างคำกับความคิดของผู้ใช้ภาษา ดังปรากฏเป็นทรรศนะคู่ตรงข้ามระหว่างธรรมชาตินิยมและธรรมเนียมนิยมตามลำดับ และได้ตั้งข้อสังเกตต่อแนวโน้มของข้อเสนอที่เอนเอียงไปทางทรรศนะธรรมเนียมนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ภาษาถูกพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์กับโลกภายนอกความคิดน้อยลงและทำให้เกิดปัญหาทางญาณวิทยา จากนั้น บทความนำเสนอแนวคิดรากเหง้าภาษาของเจิ่นดึ๊กถ่าวว่าการเกิดขึ้นของภาษาเป็นวิวัฒนาการของพฤติกรรมการสื่อสารสืบเนื่องจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมของการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปตามวิภาษวิธีเชิงวัตถุ การเกิดขึ้นของภาษาจึงถือเป็นกระบวนการเชิงวัตถุที่ไม่ขึ้นอยู่กับความคิด นอกจากนี้ถ่าวยังกล่าวถึงวิวัฒนาการของความหมายที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และโลกวัตถุเสมอ ข้อเสนอของถ่าวจึงถือเป็นท่าทีแบบ “องค์รวม” ที่แสดงให้เห็นพลวัตระหว่างภาษา ความคิด และโลกวัตถุ ซึ่งสามารถใช้เป็นกรอบในการประนีประนอมข้อขัดแย้งในปัญหาเรื่องความหมายของคำได้</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274087
บทบรรณาธิการ
2024-06-29T21:10:43+07:00
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274088
หลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความ PNT20(1) 215-223
2024-06-29T21:14:53+07:00
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/267368
กลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่
2023-08-20T22:54:57+07:00
ชวลิต ขอดศิริ
chawalit_kod@g.cmru.ac.th
วชิรา เครือคำอ้าย
Wachira_kru@g.cmru.ac.th
<p>วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่ 2) การใช้แผนกลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เสนอแนวทางนโยบายสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ “หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัย<br />และพัฒนา มีการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายที่ประกอบด้วยผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการเก็บข้อมูลประกอบด้วย การศึกษาเอกสารพื้นฐานการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีการนำหลักการของสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ทั้งหมด 5 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย การบริหารจัดการสื่อเทคโนโลยี การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ คณะกรรมการดำเนินงานสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ สมาชิกสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์<br />และเครือข่ายสัมพันธ์ โดยการปรับใช้แผนกลยุทธ์สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์“หัวใจกตัญญู” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมชนบท และเสนอแนวทางนโยบาย<br />ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567) และแนวทางนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชนระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและประเทศ</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/270876
การ ตีความว่าด้วยระยะห่างและการครอบครองตามแนวทฤษฎีของปอล ริเกอร์
2024-02-20T15:34:24+07:00
KANYAPAK MAGEE
kpakpink@gmail.com
<p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการตีความตามทัศนะปอล ริเกอร์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยระยะห่าง (Distanciation) และการครอบครอง (Appropriation) ตามแนวคิดของปอล ริเกอร์ จากผลการวิจัยพบว่า การตีความตามทัศนะปอล ริเกอร์ เป็นกระบวนการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสหอัตวิสัยความเข้าใจ (Intersubjective) ระหว่างตัวบท (Text) และผู้ตีความ (Interpreter) โดยการพิจารณาทั้งสองทิศทางกล่าวคือ เริ่มจากความเข้าใจนำไปสู่การอธิบาย (Explanation to Understanding) และจากการอธิบายไปสู่ความเข้าใจ (Explanation to Understanding) ในกระบวนการดังกล่าว ระยะห่าง (Distanciation) ก่อให้เกิดความเข้าใจสองระดับได้แก่ ความเข้าใจระดับแรก เป็นความเข้าใจความหมายของตัวบทโดยรวมอย่างไร้เดียงสา (Naïve Understanding) จากนั้นผู้ตีความนำความเข้าใจเบื้องต้นนี้มาอธิบายและตีความ จนเกิดความเข้าใจในระดับที่สอง เป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งสนับสนุนโดยขั้นตอนการอธิบาย ความเข้าใจในระยะนี้เป็นไปตามมโนทัศน์ว่าด้วยการครอบครอง (Concept of Appropriation) ซึ่งสอดคล้องกับประเภทของระยะห่าง ที่เชื่อมโยงกับการทำให้ตัวบทกลายเป็นปรวิสัยโดยสมบูรณ์ การอธิบาย จึงปรากฏเป็นสื่อกลางระหว่างความเข้าใจทั้งสองระดับและเป็นระยะที่ริเกอร์เพิ่มเสริมให้การตีความแข็งแกร่งขึ้นเพื่อบูรณาการทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยหรือที่ตรงข้าม การอธิบายและการตีความ (Explanation and Interpretation) เป็นกระบวนการที่หมุนวนไปตามส่วนขอบโค้งเฉพาะตัว (Unique Hermeneutical Arc) แสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทหรือโลกของตัวบท (World of Text) และผู้ตีความหรือโลกที่ดำรงอยู่ของผู้ตีความ (World of Interpreter) ตามบระยะของการเคลื่อนจากความเข้าใจในเบื้องต้นสู่การเข้าใจตัวเองใหม่ (New Self-Understanding)</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/270332
การ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการวัดบันดาลใจ
2024-03-13T16:04:37+07:00
พระมหา ธณัชพงศ์
thanatpong.kit@mcu.ac.th
พระครูพิลาสธรรมากร (ณัฐพล ประชุณหะ) (ณัฐพล ประชุณหะ)
Natthaphon.pra@mcu.ac.th
สมบูรณ์ ตาสนธิ
Sdtasonth@gmail.com
อำนาจ ขัดวิชัย
Kingkong_emmi@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุ อุปสรรคการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ โครงการวัดบันดาลใจ 2) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้โครงการวัดบันดาลใจ 3) เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ในโครงการวัดบันดาลใจ พื้นที่วิจัยได้แก่ โรงเรียนพุทธศาสตร์ วัดบุญชุม ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสาน (Mixed Method) ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 38 รูป/คน 2) กลุ่มเป้าหมายทดสอบโปรแกรมกิจกรรม 114 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ แบบวัดความสุขเชิงพุทธ แบบประเมินความพึงพอใจ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้มีลักษณะไม่เป็นทางการ ไม่เน้นวิชาการ แต่เน้นกิจกรรมสังสรรค์ นันทนาการ และการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาพบปะเพื่อนฝูง พูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนคติ ตลอดถึงความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ 2) กิจกรรมการเรียนรู้และหลักสูตรที่จะใช้ ต้องมาจากความร่วมมือกับเครือข่าย การพัฒนาหรือออกแบบหลักสูตรใดๆ จะต้องตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ที่สำคัญต้องเป็นกิจกรรมง่ายๆ สิ่งที่ง่ายๆ เข้ากับวิถีชีวิตใช้งานได้จริง มีกิจกรรมหลากหลาย มีวัสดุอุปกรณ์ มีงบประมาณ มีวิทยากร จิตอาสา เน้นกิจกรรมภาคปฏิบัติ มีการสาธิต มีตัวอย่าง มีของรางวัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 3) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมมิติ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา แบบเป็นองค์รวมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/270416
การ สร้างสรรค์พระพุทธรูปดอกไม้ โดยความร่วมมือ ของคนในชุมชนป่าตุ้มดอน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
2024-02-14T13:58:10+07:00
สมศักดิ์ พรมจักร
g500331011@cm.edu
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี
sak_api@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ เกิดจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์พระพุทธรูปดอกไม้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนป่าตุ้มดอน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ทั้งนี้แกนนำที่เข้าร่วมโครงการมี 20 รูป/ท่าน ส่วนใหญ่มีอายุเกิน 40 ปี และมีพระสงฆ์ 1 รูป คือ เจ้าอาวาสวัดป่าตุ้มดอน ทั้งหมดเป็นคนในชุมชน ใช้วัดป่าตุ้มดอนเป็นสถานที่ในการดำเนินงาน ประกอบด้วยกิจกรรม 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การบอกเล่าโครงการและเก็บดอกไม้ในชุมชน 2) คัดเลือกและออกแบบงานพุทธศิลปกรรม 3) การสร้างสรรค์ต้นแบบ 4) การร่วมกันเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์พระพุทธรูปดอกไม้ 5) การร่วมกันถวายพระพุทธรูปดอกไม้ การดำเนินการเป็นไปตาม 4 กระบวนการตามแนวคิดของโคเฮน และอัพฮอฟ (Cohen & Uphoff) อันประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/270330
ความ เปลี่ยนแปลงทางสุนทรียทัศน์ในหนังตะลุงภาคใต้
2024-01-22T17:19:19+07:00
Phonsawan Kaeokliang
phonsawan_kaeok@cmu.ac.th
วิโรจน์ อินทนนท์
viroj.i@cmu.ac.th
<p>บทความเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรียทัศน์ในหนังตะลุงภาคใต้ : บทสะท้อนคิดจากมโนทัศน์การเล่นของฮันส์-เก-ออร์ก กาดาเมอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางสุนทรียทัศน์ในหนังตะลุงภาคใต้, ศึกษามโนทัศน์การเล่นของกาดาเมอร์ และเพื่อสะท้อนคิดมโนทัศน์การเล่นของกาดาเมอร์จากหนังตะลุงภาคใต้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นศึกษาจากตำรา เอกสารเชิงวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ณ จุดเริ่มต้นหนังตะลุงภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ทำให้มีลักษณะเป็นการแสดงที่มุ่งสั่งสอนศีลธรรมแก่ผู้ชม ซึ่งเนื้อเรื่อง ตัวหนัง ไม่ได้มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับชีวิตประจำวัน ในยุคต่อมาหนังตะลุงได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเนื้อเรื่อง ตัวหนัง วิธีการนำเสนอทำให้เป็นการเล่นที่มีการโต้ตอบ และเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงมากขึ้น เมื่อทำความเข้าใจการเล่นจากมโนทัศน์ของกาดาเมอร์จะพบว่า การเล่นคือการทำความเข้าใจงานศิลปะในรูปแบบหนึ่งผ่านการเข้าไปมีส่วนร่วมที่ไม่ได้ยึดโยงกับการตัดสินของผู้ชมในฐานะองค์ประธานแห่งการรับรู้ ตัวงานศิลปะเองก็มีความสำคัญไม่ใช่แค่วัตถุที่รอคอยการถูกตัดสิน ในขอบเขตการเล่นจะเห็นได้ถึงการเคลื่อนไหวไปมาระหว่างผู้เล่นที่เกิดขึ้นเสมอ แสดงให้เห็นว่าสุนทรียทัศน์ของหนังตะลุงภาคใต้ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงจากการแสดงที่เป็นของสูงมีความศักดิ์สิทธิ์มาเป็นการเล่นที่สามารถโต้ตอบไปมาและอยู่ในระนาบเดียวกันกับผู้ชม</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/268850
ความ เสื่อมถอยของจิตวิญญาณในทัศนะมาร์คุส ออเรลิอุส ในวรรณกรรมของออสการ์ ไวลด์
2024-02-07T17:14:56+07:00
Adisak Puma
pumaadisak44@gmail.com
สมหวัง แก้วสุฟอง
somwang.k@cmu.ac.th
<p>วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ การวิเคราะห์ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณในทัศนะมาร์คุส ออเรลิอุส ในวรรณกรรมของออสการ์ ไวลด์ ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณในทัศนะของมาร์คุส ออเรลิอุส หมายถึงความเสื่อมถอยหรือความเสื่อมสภาพทางศีลธรรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเชิงลบภายใน หรืออิทธิพลจากเหตุการณ์ภายนอก ที่ทำให้สูญเสียค่านิยมและหลักการที่แท้จริงไป ซึ่งจะนำมาสู่ชีวิตที่ไม่กลมกลืน</p> <p>ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณปรากฏได้ในหลายวิธี เมื่อเรายอมจำนนต่ออารมณ์ลบ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความกลัว หรือความอิจฉา ซึ่งจะทำให้จิตใจขุ่นมัวและขัดขวางการคิดอย่างมีเหตุผล หรือเกิดขึ้นจากการที่คนเรามีพฤติกรรมในทางที่เลวร้าย เช่นวิถีสุขนิยม บริโภคนิยม การกระทำที่ตอบสนองความพึงพอใจหรือตัณหามากจนเกินไป หรือการกระทำที่ผิดศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มุ่งร้ายต่อผู้อื่น นอกจากนี้ความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณ เกิดจากเหตุการณ์ภายนอกได้เช่นกัน เช่นสังคมวัตถุนิยม ทำให้คนเราเกิดความโลภและการยึดติดกับวัตถุภายนอก ไม่รู้จักยับยั้งควบคุมตนเอง การใช้ชีวิตอย่างไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับคุณธรรมและหลักเหตุผล โดยอิทธิพลเหล่านี้จะทำให้คนเราไขว้เขวไปจากค่านิยมและหลักการที่แท้จริง คือสูญเสียศีลธรรมและเหตุผล ทำให้จิตวิญญาณเสื่อมถอยลง นำไปสู่ความวุ่นวายภายใน ความไม่พึงพอใจกับตนเอง จนกระทั่งสูญเสียความกลมกลืนกับระเบียบชีวิตและธรรมชาติในที่สุด </p> <p>เพื่อป้องกันความเสื่อมถอยของจิตวิญญาณ มาร์คุสเสนอให้ปลูกฝังคุณธรรม คือปัญญา ความกล้าหาญ ความยุติธรรม และการควบคุมตนเอง โดยปรับการกระทำให้สอดคล้องกับเหตุผลและคุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ ไม่ยอมจำนนต่ออารมณ์โลภ โกรธ กลัว หรืออิจฉา และไม่ยึดติดกับสิ่งภายนอก เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ภายนอกเข้ามามีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบต่อสภาวะภายในหรือจิตวิญญาณ</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269334
แนวคิดเรื่องออร่าในทัศนะ วอลเตอร์ เบนยามิน ที่ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชัน ของ ฮายาโอะ มิยาซากิ
2024-01-12T16:50:07+07:00
โชติกา ดวงทิพย์
chottawng@gmail.com
<p>งานวิจัยเรื่องแนวคิดเรื่องออร่าในทัศนะ วอลเตอร์ เบนยามิน ที่ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันของ ฮายาโอะ มิยาซากิมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดเรื่องออร่าของวอลเตอร์ เบนยามิน 2. วิเคราะห์แนวคิดเรื่องออร่าในทัศนะของ วอลเตอร์ เบนยามิน ที่ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันของ ฮายาโอะ มิยาซากิ งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดเรื่องออร่าของวอลเตอร์ เบนจามิน หมายถึง คุณค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของชิ้นงานศิลปะ โดยมีองค์ประกอบ คือ คุณค่าพิธีกรรมซึ่งเป็นคุณค่ารากฐานของการสร้างผลงานศิลปะ และคุณค่าจัดแสดงอันเป็นภาคปรากฏของชิ้นงานศิลปะ 2.แนวคิดเรื่องออร่าที่ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันของฮายาโอะ มิยาซากิ จากการวิเคราะห์ผลงานทั้ง 12 เรื่อง พบว่าปรากฏแนวคิดเรื่องออร่า 6 ประเด็น ได้แก่ ออร่าการให้ความสำคัญกับโลกในจินตนาการ ออร่าการให้ความสำคัญกับผู้หญิง ออร่าการให้ความสำคัญกับท้องฟ้า ออร่าการให้ความสำคัญกับเป้าหมายของตัวละครหลัก ออร่าการให้ความสำคัญกับความเชื่อเรื่องวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ และออร่าการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/272179
พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา
2024-05-08T10:43:36+07:00
วิโรจน์ อินทนนท์
viroj.i@cmu.ac.th
<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา : การปริวรรต ตรวจชำระและวิเคราะห์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรต ตรวจชำระและวิเคราะห์พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารชั้นต้นคือพรหมชาลสูตต์ฉบับวัดนาปัง จังหวัดน่าน วัดดวงดี และวัดร่ำเปิง จังหวัดเชียงใหม่ และเอกสารรวมทั้งงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า พรหมชาลสูตต์สำนวนล้านนา ถูกเขียนขึ้นโดยพระสัทธัมมกิตติ วัดโปฏฐการาม (ช่างลาน) เชียงใหม่ โดยไม่ได้ระบุปีที่เขียนไว้ ต่อมา โปราณาจารย์ทางล้านนาได้นำมาคัดลอกเพื่อการศึกษาและเก็บรักษาไว้ตามหอธรรมของวัดต่าง ๆ โครงสร้างของคัมภีร์ประกอบด้วยปณามคาถา เนื้อหาและนิคมนคาถา ในส่วนของเนื้อหานั้นเป็นการนำเอาเนื้อหาในสุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นอัตถกถาทีฆนิกาย ของพระสุตตันตปิฏกมาแปลแบบนิสสัย การปริวรรตได้ใช้เกณฑ์การปริวรรตโดยการเทียบเคียงอักษรล้านนากับภาษาไทย ตามหลักการเทียบอักษรของอุดม รุ่งเรืองศรี ในหนังสือพจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง การตรวจชำระภาษาบาลี ได้ใช้บาลีที่เป็นหลักสูตรของการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นภาษาล้านนานั้นได้ใช้พจนานุกรมล้านนา-ไทย ส่วนการวิเคราะห์นั้นได้วิเคราะห์โครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยปณามคาถา เนื้อหาและนิคมนคาถา และสำนวนการแปลซึ่งเป็นการแปลแบบนิสสัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/269680
เอเจนซี่ของครอสเดรสประเทศไทยผ่านทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์
2024-02-07T17:18:34+07:00
Panthanit Jaithon
panthanito1998@outlook.com
อำนวยพร กิจพรมมา
amnuaypond.k@cmu.ac.th
<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องเอเจนซี่ของครอสเดรสประเทศไทยในทัศนะของฮันนาห์ อาเรนดท์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอเจนซี่ของครอสเดรสไทยผ่านทัศนะเรื่องพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะของฮันนาห์ อาเรนดท์ โดยการค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกับการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มครอสเดรสผู้ซึ่งเป็นผู้ชายแท้โดยทั้งทางจิตใจและทางกายภาพแต่มีความชื่นชอบหรือมีรสนิยมแต่งเป็นผู้หญิงขึ้นมาเป็นกลุ่มศึกษาเอเจนซี่ ผลการศึกษาพบว่าเอเจนซี่ของพวกเธอคือความสามารถในการแสดงตัวตนผ่านร่างที่แต่งเป็นหญิงและร่างนี้กลายเป็นองค์ประธาน (subject) ที่ซึ่งมีชีวิตและมีความสามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ และองค์ประธานที่แต่งหญิงคือชีวิตใหม่ อันเป็นผลจากการเรียนรู้ความแตกต่างของสภาวะระหว่างความเป็นชายแท้ในร่างดั้งเดิมกับความเป็นผู้หญิงจากเสื้อผ้า สถานการณ์ของผู้หญิง และผู้คนที่ปะทะสังสรรค์กับเธอในฐานะที่เธอคือผู้หญิง ผลการวิจัยมีสอดคล้องกับทัศนะของอาเรนดท์ โดยผู้วิจัยพบว่าภายในพื้นที่ส่วนตัวเอเจนซี่ของครอสเดรสสามารถเกิดขึ้นได้และดำเนินการได้อย่างเป็นอิสระ ส่วนภายในพื้นที่สาธารณะสามารถดำเนินการได้อย่างมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางสังคมที่พวกเธอได้นำร่างกายที่แต่งเป็นหญิงออกไปปะทะสังสรรค์</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/266007
Puerpera Salvation and Avalokiteśvara’s Gender Transformation
2024-01-12T16:54:27+07:00
Lele Huang
huanglele31@gmail.com
<p>In the Buddhist pantheon, <em>Avalokiteśvara</em>, the deity who looks down, is considered the most important deity and is revered throughout Mahayana and Vajrayana Buddhism. The perfect embodiment of compassion, <em>Avalokiteśvara</em> guides believers towards knowledge and self-realization to vanquish ignorance. He is believed to have made a great vow to assist sentient beings in times of difficulty and to postpone his own Buddhahood until he has assisted every sentient being in achieving nirvana. In China, however, <em>Avalokiteśvara</em>, known as Kuan-yin/Guan-yin, 观音, is considered a goddess and is dubbed “Kuan-yin Niangniang (Goddess Kuan-yin)”. Significantly, the transformation of Kuan-yin from male to female is a phenomenon that has been observed to be specific to China. The Sui-Tang dynasty period is considered the turning point for the gender transformation of Kuan-yin. Kuan-yin in China is worshipped mainly for three functions: soul-guiding, baby-giving and puerpera salvation. The excavation of manuscripts from Dunhuang indicates the importance of puerpera salvation during the Sui-Tang period. However, scholars made attempts to connect the function of baby-giving to Kuan-yin’s gender transformation but not puerpera salvation, which is supposed to associate with women/women’s roles more closely. This paper highlights the connection between puerpera salvation and Kuan-yin’s gender transformation. It argues that the gender of Kuan-yin in China had to transform from a male to a female because Kuan-yin was worshipped for women’s labour safety, even during the process of delivering a child, which is considered highly private in ancient China, and it is not appropriate to pray to a male deity in such scenario.</p>
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274089
PNT ฉบับเต็ม 20(1) 1-223
2024-06-29T21:15:41+07:00
Nattakarn Sanit-in
nattakarn.sa@cmu.ac.th
2024-06-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน