วารสารปณิธาน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana <div id="journalDescription"> <p style="text-align: left;">วารสารปณิธาน ก่อตั้งขึ้นโดยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนทักษะทางวิชาการ มีขอบเขตการตีพิมพ์เนื้อหาเน้นบทความด้านปรัชญา (Philosophy) และศาสนา (Religion) เป็นหลัก และด้านวรรณกรรม (Literature) วัฒนธรรม (Culture) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ที่สัมพันธ์กับปรัชญาและศาสนา ในรูปแบบผลงาน 4 ประเภท คือ (1) บทความวิจัย (research article) (2) บทความวิชาการ (academic article) (3) บทความปริทัศน์ (review article) (4) บทวิจารณ์หนังสือ (book review) รับบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ตีพิมพ์ทั้งสอง 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้กระบวนการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่านเป็นผู้ประเมินบทความ ซึ่งผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind peer review) กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุกๆ 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)</p> </div> <p>ISSN 2985-2919 (Online)</p> <div id="additionalHomeContent"> </div> th-TH <p>เนื้อหาของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธานถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปณิธาน ห้ามเผยแพร่ ตัดต่อ แก้ไข หรือนำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต</p> <p>ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเผยแพร่เนื้อหาในวารสารปณิธานได้ที่ panidhana-human@cmu.ac.th</p> piyamas.j@cmu.ac.th (ผศ.ดร.ปิยะมาศ ใจไฝ่) panidhana-human@cmu.ac.th (ผศ.ดร.ปิยะมาศ ใจไฝ่) Thu, 26 Dec 2024 14:45:45 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/277704 <p class="p1"><strong>วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา</strong></p> <p class="p1">ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p> <p class="p1">ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) พ.ศ. 2567</p> <p class="p1">ISSN: 2985-2919 (Online)</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะมาศ ใจไฝ่ Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/277704 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 คำแนะนำสำหรับผู้เขียน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/277706 <p class="p1"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตวารสาร<br></strong></p> <p class="p3">วารสารปณิธาน ก่อตั้งขึ้นโดย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<span class="Apple-converted-space">&nbsp; </span>มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนทักษะทางวิชาการ มีขอบเขตการตีพิมพ์เนื้อหาเน้นบทความด้านปรัชญา (Philosophy) และศาสนา (Religion) เป็นหลัก และด้านวรรณกรรม (Literature) วัฒนธรรม (Culture) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ที่สัมพันธ์กับปรัชญาและศาสนา ในรูปแบบผลงาน 4 ประเภท คือ (1) บทความวิจัย (Research article) (2) บทความวิชาการ (Academic article) (3) บทความปริทัศน์<span class="Apple-converted-space">&nbsp; </span>(Review article) (4) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) รับตีพิมพ์บทความทั้งสอง 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เผยแพร่ผ่านระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ Thai Journals Online (ThaiJO) ทุกบทความใช้กระบวนการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่านเป็นผู้ประเมินบทความ ซึ่งผู้ประเมินบทความและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind Peer Review) กําหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุก ๆ<span class="Apple-converted-space">&nbsp; </span>6 เดือนฉบับ ที่ 1<br>(มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)</p> <p class="p2">&nbsp;</p> <p class="p3"><strong>ข้อกำหนด ข้อตกลง และเงื่อนไขในการส่งบทความของวารสารปณิธานสำหรับผู้เขียน</strong></p> <p class="p3">1. ก่อนส่งบทความเพื่อเข้ารับการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ผู้เขียนจะต้องอ่านและรับทราบในข้อตกลงของวารสาร และลงนามในแบบฟอร์มนำเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารปณิธานเพื่อส่งควบคู่กับบทความของท่าน (Manuscript)</p> <p class="p3">2. บทความของท่านจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือลงตีพิมพ์ในเอกสารอื่นใดอย่างเป็นทางการมาก่อน</p> <p class="p3">3. บทความของท่านจะต้องไม่อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งจะไม่นำส่งไปเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นอีกนับจากวันที่ได้นำส่งบทความนี้มายังกองบรรณาธิการวารสารปณิธาน</p> <p class="p3">3. ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหา ผลการศึกษา ข้อความ การอ้างอิง และความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ แผนภูมิ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนและผู้เขียนร่วมแต่เพียงฝ่ายเดียว</p> <p class="p3">4. ผลการพิจารณาจากทางวารสารปณิธานในทุกขั้นตอนถือว่าเป็นที่สิ้นสุด</p> <p class="p3">ทั้งนี้ หากมีการละเมิดข้อกำหนด ข้อตกลง และเงื่อนไขดังกล่าว รวมไปถึงที่ปรากฏในแบบฟอร์มฯ ที่ผู้เขียนลงนาม ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายและค่าดำเนินการวารสารที่เกิดขึ้นทั้งหมด และกระบวนการการตัดสินของกองบรรณาธิการวารสารปณิธานถือเป็นที่สิ้นสุด</p> <p class="p2">&nbsp;</p> <p class="p3"><strong>บทความที่เสนอตีพิมพ์</strong></p> <p class="p3">บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารปณิธาน จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความทุกประเภทเพื่อตีพิมพ์ในวารสารปณิธานอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารปณิธาน</p> <p class="p3">ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารปณิธาน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารปณิธาน ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะมาศ ใจไฝ่ Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/277706 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบแนวคิดอำนาจอ่อนของโจเซฟ เนย์ และแนวคิดอำนาจนำของอันโตนิโอ กรัมชี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273278 <p class="p1">บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความทับซ้อนและความแตกต่างระหว่างแนวคิดอำนาจอ่อน (soft power) โดยโจเซฟ ไน และอานจนำ (hegemony) โดยอันโตนิโอกรัมชี โดยการวิเคราะห์เอกสาร เนื่องด้วยแนวคิดอำนาจอ่อนมุ่งสร้างความเห็นพ้องในแนวร่วมการเมืองระหว่างประเททศ เช่นเดียวกับแนวคิดอำนาจนำของกรัมชีที่มุ่งสร้างความเห็นพ้องให้เกิดขึ้นในการวิวัฒน์รัฐสหการสู่รัฐแบบองค์รวม<br /><br />ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดอำนาจอ่อนและอำนาจนำมีอาณาบริเวณที่เหมือนกัน คือการใช้ความเห็นพ้องในการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตนเอง และภาคปฏิบัติของผู้แสดงที่รัฐ ในการอำนวยกิจกรรมที่ส่งเสริมอำนาจอ่อนและอำนาจนำเกิดขึ้น แต่ส่วนที่เหลือนั้นแตกต่าง ในขณะที่อำนาจนำมุ่งกลืนกลุ่มปัญญาชนของกลุ่มอื่น อำนาจอ่อนมุ่งแทรกแซงความคิดเพื่ออุดมการณ์ร่วมการเอื้อประโยชน์โดยที่กลุ่มดั้งเดิมยังคงอยู่ และในขั้นตอนการสร้างการครองอำนาจนำนั้นอาศัยการผันประชากรในประชาสังคมสู่ปัญญาชน ซึ่งเปรียบได้กับ “เจ้าหน้าที่รัฐ” แล้วอาศัยพื้นที่ทางการเมืองในการรับรองปัญญาชนของตนเองเพื่อสร้างการครองอำนาจนำ กล่าวคือ ในแนวคิดอำนาจนำมีเพียงผู้แสดงที่เป็นรัฐที่มีบทบาทเผยแพร่อำนาจนำ ส่วนแนวคิดอานจอ่อนมองว่ากิจกรรมของผู้แสดงที่ไม่รัฐสามารถสร้างอำนาจอ่อนได้เช่นกัน ซึ่งผลการศึกษาของบทความนี้เป็นการยืนยันความแตกต่างในแนวคิดทั้งสองแม้จะเป็นอำนาจจากความเห็นพ้องเช่นเดียวกัน</p> อธิป ดวงทิพย์ Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273278 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 พิธีกวนข้าวทิพย์ วัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274754 <p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งจัดขึ้นในวันแปดเป็งหรือวันวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร เก็บข้อมูล ณ วัดดอนไฟ ดังกล่าว ด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ร่วมพิธีกรรม ผลการวิจัยพบว่า พิธีกวนข้าวทิพย์เป็นเหตุการณ์สื่อสารหนึ่งในสถานการณ์สื่อสารวันแปดเป็งหรือวันวิสาขบูชา พิธีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีกรรมทางศาสนา เป็นการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์สื่อสารพิธีพุทธาภิเษก โดยพิจารณาตามแนวคิด <em>SPEAKING</em> พบว่า พิธีกวนข้าวทิพย์มีองค์ประกอบที่หลากหลาย ได้แก่ มณฑลพิธีที่จัดสร้างขึ้นโดยใช้พื้นที่ภายนอกอุโบสถ แต่อยู่ในอาณาบริเวณของวัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีราชวัตรกั้นเป็นรั้วมณฑลพิธี มีมุมทั้งหมด 4 มุม มีช่องทางสำหรับเข้าและออกทั้งหมด 4 ทาง มีผู้ร่วมเหตุการณ์ ได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มสาวพรหมจรรย์ผู้กวนข้าวทิพย์ กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ในการดูแลพิธีกวนข้าวทิพย์ และกลุ่มชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาและประสงค์จะช่วยเหลือกิจงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกวนข้าวทิพย์ มีการลำดับวัจนกรรมโดยเริ่มจากการเตรียมการ การกวนข้าวทิพย์ การบรรจุภัณฑ์ และการถวาย ตามลำดับ มีการใช้ทั้งอวัจนภาษาและวัจนภาษา อีกทั้งยังมีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันภายใต้บรรยากาศของความสำรวมและความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงภายใต้ความเคร่งครัดในข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาและตามที่ได้ประชุมตกลงกันไว้ เพื่อให้ได้ข้าวทิพย์ที่ได้จากการกวนของสาวพรหมจรรย์ สำหรับนำขึ้นไปถวายแก่พระรัตนตรัยในอุโบสถ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้บูชาข้าวทิพย์รวมถึงสิ่งประกอบพิธีต่าง ๆ กลับบ้านตามจิตศรัทธา นอกจากนี้ พิธีกวนข้าวทิพย์ของวัดดอนไฟ ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ยังสามารถพิจารณาคุณค่าได้ 3 ด้าน ได้แก่ คุณค่าด้านสังคม คุณค่าด้านประเพณี และคุณค่าด้านเศรษฐกิจ</p> ภคภต เทียมทัน Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274754 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 มนุษย์ในโลกเทคโนโลยี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273240 <p>บทความนี้มุ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีผ่านประเด็นปัญหาความเป็นกลางทางเทคโนโลยี โดยพิจารณาว่าเทคโนโลยีมีคุณค่าในตัวเองหรือไม่ หรือมีสถานะเป็นกลางที่มีมนุษย์เป็นผู้กำหนดคุณค่า บทความนำเสนอมุมมองของแนวคิดหลังปรากฏการณ์วิทยา ที่อธิบายลักษณะความสัมพันธ์ที่ไม่แยกขาดออกจากกันระหว่างมนุษย์ที่อยู่ร่วมกับเทคโนโลยี โดยมี Don Ihde เป็นนักปรัชญาหลักของแนวคิดนี้ ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีไม่สามารถเป็นกลางได้ เนื่องจากมันมีจุดประสงค์และคุณค่าแฝงอยู่ตั้งแต่การออกแบบ การใช้งานเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการรับรู้และประสบการณ์ของมนุษย์ สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสังคม ในข้อสรุปบทความนี้เสนอว่าการยอมรับความไม่เป็นกลางของเทคโนโลยีจะช่วยให้เราสามารถกำหนดแนวทางการอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ในการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีที่คำนึงถึงผลกระทบต่อมนุษย์และสังคมอย่างปลอดรอบด้าน</p> ปิยบุตร สุเมตติกุล Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273240 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 หลักการให้เหตุผลทางญาณวิทยาของการอ่านไพ่ทาโรต์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/270977 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการให้เหตุผลทางญาณวิทยาของการอ่านไพ่ทาโรต์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีญาณวิทยาและการอ่านไพ่ทาโรต์ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น ผู้อ่านไพ่ทาโรต์ จำนวน 10 คน และผู้รับคำทำนาย จำนวน 10 คน หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ผ่านกรอบหลักการให้เหตุผลทางญาณวิทยา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การอ่านไพ่ทาโรต์เป็นการทำนายซึ่งอิงกับความเชื่อและประสบการณ์ส่วนบุคคลผ่านกระบวนการตีความไพ่ โดยหลักการให้เหตุผลทางญาณวิทยาที่นำมาประยุกต์ใช้ในการอ่านไพ่ทาโรต์ทำให้มีการตัดสินความจริงในมิติที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทฤษฎีสมนัย ตัดสินความจริงจากการตีความที่ตรงกับเหตุการณ์จริงหรือสถานการณ์ของผู้รับคำทำนาย ทฤษฎีสหนัย ตัดสินความจริงจากการตีความที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือประสบการณ์อื่นๆ ของผู้รับคำทำนาย และทฤษฎีปฏิบัตินิยม ความจริงถูกตัดสินจากผลลัพธ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้ทฤษฎีหลักการให้เหตุผลในการตีความไพ่ ได้แก่ มูลฐานนิยม เน้นการมีฐานความรู้พื้นฐานที่ชัดเจนและเชื่อถือได้เกี่ยวกับสัญลักษณ์และความหมายของไพ่ทาโรต์ และสหนัยนิยม เน้นการประเมินความสอดคล้องของความเชื่อต่างๆ ในการสร้างความสอดคล้องระหว่างสัญลักษณ์บนไพ่กับประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ และสถานการณ์ปัจจุบันของผู้รับคำทำนาย ผลลัพธ์จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้หลักการเหล่านี้สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับปรุงการตีความไพ่ครั้งแรกและไพ่ขยาย ทำให้เพิ่มโอกาสในการทำนายที่สอดคล้องลงรอยของการทำนาย ที่มีเหตุผลอันควรแก่การเชื่อถือได้มากขึ้น</p> พงศ์วิทย์ เอี่ยมมงคล Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/270977 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความงามของดนตรีในฐานะคุณสมบัติแบบอุบัติการณ์ใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273559 <p class="p1">บทความวิชาการชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความงามในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียภาพของดนตรีนั้นมีแนวทางทฤษฎีที่อธิบายได้อย่างน้อยสองแนวทางที่แตกต่างกันคือจิตวิสัยนิยม และสัมบูรณนิยม อย่างไรก็ดี มีปัญหาทางสุนทรียศาสตร์ที่ทำให้เห็นว่ายังไม่ได้มีความเด็ดขาดที่จะพิจารณาว่าทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งจะมีความถูกต้องในทางเหตุผลมากกว่ากันเมื่อนำมาตัดสินคุณค่าความงามของดนตรี ทั้งนี้ ในทางวิชาการพบว่าการจะตัดสินคุณค่าของศิลปะชิ้นใดได้นั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งค่านิยมของผู้ตัดสิน การจะตัดสินความงาม หรือคุณค่าทางสุนทรียภาพจึงไม่อาจใช้ทฤษฎีแบบจิตวิสัยนิยม หรือทฤษฎีแบบสัมบูรณนิยมเพียงทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งได้ เพราะแต่ละทฤษฎีต่างก็มีข้อจำกัดในการอธิบายถึงประเด็นดังกล่าว อันนำมาซึ่งปัญหาของความไม่สามาารถตัดสินได้ จากการศึกษา พบแนวเหตุผลของฝ่ายแนวทางทฤษฎีที่อธิบายความงามในฐานะคุณสมบัติแบบอุบัติการณ์ใหม่ ว่าสามารถมีแนวเหตุผลที่สนับสนุนด้วยกันได้ทั้งคู่ไม่ว่าจะเป็นแบบจิตวิสัยนิยมหรือสัมบูรณนิยม อีกทั้งยังอธิบายถึงที่มาของความไม่อาจตัดสินได้เด็ดขาดที่เป็นปัญหาข้างต้นได้อีกด้วย ผู้เขียนจึงนำเสนอความเป็นไปได้ของทฤษฎีอุบัติการณ์ใหม่นิยม เพื่ออธิบายเรื่องความงามในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียภาพของดนตรี</p> มนต์ณัฐ​ เ​ฮงภู่เจริญ​ Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273559 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 จาก “สุราเมรัย” ในสมัยพุทธกาล ถึง “ยาเสพติด” ในสังคมไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274627 <p>บทความนี้มุ่งตีความและสังเคราะห์หลักเบญจศีลข้อ 5 สุราเมรัยฯ กับ ยาเสพติดในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า ศีลข้อนี้มีความหมาย 2 ประการ คือ 1) เจตนางดเว้นจากของมึนเมาคือสุราเมรัย และ 2) เจตนางดเว้นจากสุราเมรัยและของมึนเมา ซึ่งมีการตีความวัตถุต้องห้าม 2 แนวทาง ได้แก่ 1) เน้นวัตถุต้องห้าม 2 ประการ ได้แก่ สุรา และ เมรัย โดยใช้หลักมหาปเทสขยายความหมายให้ครอบคลุมยาเสพติดชนิดอื่น ๆ แต่ต้องเป็นยาเสพติดที่เสพโดยการดื่มหรือกินเท่านั้น จึงจะมีองค์ประกอบการกระทำความผิดครบครบสมบูรณ์ และ 2) เน้นวัตถุต้องห้าม 3 ประการ ได้แก่ สุรา เมรัย และของมึนเมา ข้อนี้ไม่ต้องใช้หลักมหาปเทส แต่อาศัยการตีความ “ของมึนเมา” ให้ครอบคลุมยาเสพติดที่เสพโดยการดื่มหรือกินเช่นกัน จึงจะมีองค์ประกอบการกระทำความผิดครบสมบูรณ์ เมื่อสังเคราะห์ยาเสพติดกับหลักเบญจศีลข้อ 5 สามารถจำแนกผลได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ <em>กลุ่ม 1</em> ยาเสพติดที่ทำให้ผิดศีล หากเสพด้วยวิธีการดื่มหรือกิน แต่ไม่ผิดศีลหากเสพด้วยวิธีการสูด ดม สูบ หรือฉีด เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน ยาบ้า ยาอี กระท่อม เคตามีน และกัญชา และ <em>กลุ่ม 2</em> ยาเสพติดที่ไม่ทำให้ผิดศีล เพราะเสพด้วยวิธีการสูด ดม สูบ หรือฉีด เช่น เฮโรอีน ไอซ์ และโคเคน ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยกับทั้งสองกลุ่มนี้ นอกจากนี้ การมีศีลข้อ 5 นี้ยังต้องประกอบด้วยเบญจธรรม คือ สติ และ ความไม่ประมาท ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติศีลข้อนี้มีความเข้าใจและสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความมัวเมาได้ครอบคลุมทุกอย่าง</p> อำนาจ ยอดทอง Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/274627 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 สุนทรียภาพในคำประพันธ์ล้านนาประเภทค่าว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273566 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุนทรียภาพในคำประพันธ์ล้านนาประเภทค่าว โดยรวบรวมข้อมูลจากวรรณกรรมประเภทค่าวที่เด่น ๆ และแต่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ค่าวมีความไพเราะงดงามหรือมีสุนทรียภาพมี 3 ประการ คือ 1) จำนวนคำในวรรค 2) ตำแหน่งสัมผัส 3) เสียงวรรณยุกต์ กล่าวคือ จำนวนคำในวรรคต้องเป็นไปตามที่กำหนด คือ อยู่ระหว่าง 7-8 คำ หากจำนวนคำน้อยหรือเกินกว่าที่กำหนด ส่งผลให้ค่าวมีความไพเราะลดลง เช่นเดียวกับตำแหน่งสัมผัสบังคับต้องตรงตามฉันทลักษณ์ อีกทั้งคำในตำแหน่งสัมผัสบังคับไม่ควรเป็นคำเดียวกันส่งสัมผัสกัน เพราะจะทำให้ความไพเราะลดลง ส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่สำคัญและทำให้ค่าวแต่ละวรรคมีความไพเราะหรือไม่ คือเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ซึ่งมีทั้งเสียงวรรณยุกต์สามัญ เสียงโท (โทพิเศษ หรือเสียงครึ่งตรีครึ่งโทหรือโทเลื่อน) เสียงตรี และเสียงจัตวา ฉะนั้นจะต้องเลือกคำที่มีเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคตามที่กำหนด ค่าวจึงไพเราะสุนทรีย์ ลักษณะเช่นนี้จัดเป็นความไพเราะเชิงวัตถุวิสัย ส่วนความไพเราะอันเกิดจากการใช้เสียงสัมผัสอักษร การซ้ำเสียงพยัญชนะ การซ้ำคำ รวมถึงการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่โวหารอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิพากษ์ ปฏิปุจฉา สัทพจน์ บุคลาธิษฐาน นามนัย อติพจน์ การอ้างถึง และอุปมานิทัศน์ ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกันอย่างพอเหมาะก่อให้เกิดความไพเราะและสุนทรีย์ในคำประพันธ์ประเภทค่าว</p> หทัยวรรณ ไชยะกุล Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/273566 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 สำรวจแนวคิดการรู้คิดสมานกายและการรู้คิดแบบ 4E https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/272446 <p class="p1">บทความวิชาการชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจแนวคิดการรู้คิดสมานกายและการรู้คิดแบบ 4E เนื้อหาจะเริ่มต้นด้วยทฤษฎีประชานศาสตร์แบบดั้งเดิมซึ่งเป็นทฤษฎีเดิมที่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการอธิบายระบบประชานศาสตร์ จากนั้นบทความจะกล่าวถึงขบวนการเคลื่อนไหวใหม่ที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีประชานศาสตร์แบบดั้งเดิม ขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวนำเสนอข้อวิพากษ์วิจารณ์และเสนอแนวคิดใหม่แก่ระบบประชานศาสตร์ ขบวนการที่ว่านี้คือ การรู้คิดสมานกาย<span class="Apple-converted-space"> </span>เนื้อหาในส่วนต่อมาจะนำเสนอเกี่ยวกับหลักใหญ่ใจความสำคัญพื้นฐานโดยสังเขปของแนวคิดการรู้คิดสมานกายและระบบสัญญะเชิงผัสสะของบาร์ซาลูอันเป็นหลักการที่สนับสนุนการรู้คิดสมานกาย และ เป็นมุมมองที่นำเสนอการประกอบสร้างการรู้คิดผ่านระบบเชิงผัสสะ นอกจากนี้ เสาหลักของของการประกอบสร้างมโนทัศน์การรู้คิดสมานกายจะถูกกล่าวถึงเช่นกันเพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจขับเคลื่อนให้เกิดการรู้คิดสมานกาย ในส่วนสุดท้าย ข้าพเจ้าผู้เขียนบทความได้นำเสนอความหมายพื้นฐานของแนวคิดการรู้คิดแบบ 4E ซึ่งเป็นตัวแทนให้กับ สมานกาย ฝังตัวตน ยืดขยาย และบัญญัติร่วม และ ได้เสนอข้อวิจารณ์สองประการต่อการรู้คิดแบบ 4E คือ การรู้คิดแบบ 4E สอดคล้องกับวิธีวิทยาแบบโพสต์โมเดิร์น และ การรู้คิดแบบ 4E เป็นกระบวนการทำปรัชญาที่เข้มข้นสุดโต่ง</p> ภัทรพล เป็งวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารปณิธาน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/272446 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700