@article{ปัญจวัฒนคุณ_2020, title={ปริศนาธรรม (Koan) แก้ปัญหาสังคมไทยยุคเทคโนโลยี}, volume={22}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/243316}, abstractNote={<p>สังคมของประเทศไทยยุคเทคโนโลยี มีสภาพที่เป็นวิกฤต มีปัญหามากมาย เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาโสเภณี เป็นต้น เนื่องจากเป็นยุคแห่งวัตถุนิยม บริโภคนิยม ปัญหามาจากความเห็นแก่ตัวเป็นต้นเหตุ จึงแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยหลักธรรมโกอัน</p> <p>            โกอัน คือ ปริศนาธรรม เป็นหลักธรรมในนิกายเซน ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของพระพุทธศาสนา   โกอันเป็นปริศนาธรรมการแสดงออกแห่งธรรมะอันเป็นสากลที่แท้จริง แสดงเป็นนิทาน เป็นคำสอนที่อาจารย์ตั้งปริศนาถามศิษย์ คำตอบต้องฉับพลัน เป็นการเห็นแจ้งจากจิตเดิมแท้</p> <p>            โกอัน : koan แสดงเป็นโมเดล ได้ว่า</p> <p><strong>            K </strong>ในโกอานสื่อถึง <strong>Keen</strong> หมายความว่า ฉลาด มีไหวพริบ เฉียบแหลม ข้ามความสงสัยในตัวตนได้อย่างฉับพลัน ทำให้พบความเป็นอนัตตา</p> <p><strong>            O </strong>ในโกอานสื่อถึง<strong> Origin </strong>หมายความว่า ต้นกำเนิด จุดกำเนิด จุดเริ่มต้น จุดตั้งต้น บ่อเกิด แหล่งกำเนิด ของเดิม ความหมายเหล่านี้บ่งบอกถึงของความจริงแท้ของจิตเดิมแท้</p> <p><strong>            A </strong>ในโกอานสื่อถึง<strong> Arise</strong> หมายความว่า เป็นการยกจิตให้สูงขึ้น เพื่อวิเคราะห์ว่าทุกสิ่งในโลกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสอนจิตให้ใช้จิตมองจิตของเรา การมองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา การยกจิตมองจิตจะทำให้พบจิตเดิมแท้ที่บริสุทธิ์</p> <p><strong>            N</strong> ในโกอานสื่อถึง <strong>Natural </strong>หมายความว่า เป็นธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ธรรมดา ตามธรรมดา แต่กำเนิด เป็นปกติ บ่งบอกถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ</p> <p><strong>            </strong>Keen บ่งบอกความว่าง ความไม่มีแก่นสาร Origin บ่งบอกจิตเดิมแท้ที่บริสุทธิ์ Arise บ่งบอกถึงไตรลักษณ์ ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และNatural บ่งบอก อิทัปปัจจยตาหรือ ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันและกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น หลักธรรมเหล่านี้มุ่งเน้นให้ปล่อยวางจากการยึดมั่น    ถือมั่น การคลายความยึดมั่นถือมั่นและมองเห็นทุกสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกๆอย่างอิงอาศัยกันเป็นปัจจัยต่อกัน การคิดดี พูดดี ทำดี ก็ย่อมส่งผลให้เกิดผลดี การยึดมั่นในวัตถุที่เรียกกันว่าวัตถุนิยมในปัจจุบันที่เจริญไปด้วยเทคโนโลยี ย่อมก่อทุกข์เกิดเป็นปัญหาต่างๆ มีความอยากเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมเห็นแก่ตัว ส่งผลกระทบเป็นปัญหาต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติและโลก</p>}, number={2}, journal={วารสารปรัชญาปริทรรศน์}, author={ปัญจวัฒนคุณ จิตศริณย์พร}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={125–143} }