@article{สาตราวุธ_2021, title={ ความทุกข์จากมุมองของเขตแดนแห่งอัตถิภาวะในปรัชญาของเคียร์เคอการ์ด}, volume={26}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/252479}, abstractNote={<p>บทความวิจัยชิ้นนี้มีเป้าประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยแนวคิดเรื่องความทุกข์และการจัดการความทุกข์ในปรัชญาของเคียร์เคอการ์ดผ่านมุมมองเรื่องเขตแดนแห่งอัตถิภาวะอันได้แก่อัตถิภาวะแบบศิลปิน แบบจริยธรรม และแบบศาสนา โดยทั่วไปงานศึกษาประเด็นเรื่องความทุกข์ในปรัชญาของเคียร์เคอการ์ดมักวางตนเองอยู่ที่เทววิทยา จริยศาสตร์การแพทย์ และมโนทัศน์ทั่วไปทางปรัชญาไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นใหม่หรือแม้แต่นามแฝง งานวิจัยชิ้นนี้จึงดำเนินไปในอีกทิศทางหนึ่งกล่าวคือเป็นความพยายามในกรสำรวจมโนทัศน์เขตแดนแห่งอัตถิภาวะ เราจะพบว่าอัตถิภาวะแบบศิลปินพยายามมองความทุกข์และการจัดการความทุกข์ผ่านผลงานอันอาจมองได้ว่าเป็นเรื่องของคำหรืออุดมการณ์ ในขณะที่อัตภาวะแบบจริยธรรมมุ่งเน้นที่การผนวกตนเองเข้ากับคุณค่าสากลทางสังคมเพื่อหาพื้นที่ปลอดภัยโดยหลงลืมไปว่าตัวตนของตนเองอาจหายไปในสังคม อัตถิภาวะแบบศาสนาอันเป็นคำตอบของเคียร์เคอการ์ดเสนอว่ามนุษย์ควรวิ่งเข้าหาความทุกข์ในนามของศรัทธาและความสัมพันธ์กับพระเจ้า ด้วยวิธีนี้เองที่มนุษย์สามารถจัดการกับความทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>}, number={1}, journal={วารสารปรัชญาปริทรรศน์}, author={สาตราวุธ รชฎ}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={128–136} }