@article{โภคินจารุเสถียร_เทิดอุดมธรรม_สมกำเนิด_2021, title={การพัฒนานโยบายการใช้เรือนจำเอกชน}, volume={26}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/252840}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ เพื่อทราบสภาพปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำในประเทศไทย เพื่อทราบรูปแบบเรือนจำเอกชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการใช้เรือนจำเอกชนในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเชิงลึก มีการอภิปรายกลุ่มย่อย มีให้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบไปด้วย ผู้บริหาร (ผู้บัญชาการเรือนจำ) ผู้ปฏิบัติงานและผู้ต้องขังจากเรือนจำประจำจังหวัดที่มีสถิติผู้ต้องขังสูงและเกินความจุ 5 อันดับแรกของประเทศไทย เรือนจำละ 3 คน รวม และนักวิชาการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านอาชญาวิทยา ด้านกฎหมาย ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านละ 2 คน เจ้าหน้าที่ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการของกรมราชทัณฑ์ กรมคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพ สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก สำนักงานอัยการสูงสุด ศาล กรมคุมประพฤติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทนายความ หน่วยงานละ 2 คนและ นักลงทุนและผู้ประกอบการ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน</p> <p>ผลการศึกษา ทราบถึงสภาพปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำในประเทศไทย ทราบถึงรูปแบบของเรือนจำที่เหมาะสมกับประเทศไทย (รูปแบบที่รัฐจ้างเหมาในกิจการบางอย่างและรูปแบบที่รัฐให้เอกชนบริหารจัดการทั้งหมด) ทั้งนี้ การใช้เรือนจำเอกชนในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ ควรถูกขับเคลื่อนในเชิงนโยบายระดับประเทศ และควรให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่ควรแก้ไขและเสนอเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในประเด็นอื่นๆด้วยข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ ควรให้ความสำคัญกับการลดจำนวนผู้กระทำความผิดเข้าสู่เรือนจำและลดการบังคับโทษจำคุกในกระบวนการยุติธรรมและศึกษาหาแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลที่ควรพิจารณามาตรการลงโทษทางเลือกแทนการจำคุกให้มากขึ้น</p>}, number={1}, journal={วารสารปรัชญาปริทรรศน์}, author={โภคินจารุเสถียร เขมชยุตม์ and เทิดอุดมธรรม ธรรมวิทย์ and สมกำเนิด นวภัทร}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={202–212} }