TY - JOUR AU - อินฺทปญฺโญ (นิติศร) , พระโกษา PY - 2021/01/04 Y2 - 2024/03/28 TI - ศึกษาธาตุ 5 กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท JF - วารสารปรัชญาปริทรรศน์ JA - JPV VL - 24 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/249158 SP - 85-92 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาธาตุ 5 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาธาตุ 5 กับการเจริญวิปัสสนา-ภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า ธาตุ ในทางพระพุทธศาสนา คือ สภาวะที่ทรงลักษณะเฉพาะ หรือสิ่งที่เป็นมูลเดิมของตนเองไว้ เช่น ธาตุดิน เป็นรูปธาตุซึ่งมีความแข็งเป็นลักษณะ มีการรองรับรูปทั้งหลายเป็นกิจ มีการรับไว้ซึ่งรูปธาตุทั้งปวงเป็นผล มีมหาภูตรูป และวิสยรูปที่เหลือเป็นเหตุใกล้ ล้วนเป็นเช่นนั้นเองตามเหตุปัจจัยเดิมของธรรมชาติ ธาตุ 5 มีองค์ประกอบ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ และ อากาสธาตุ การปฏิบัติวิปัสสนาต้องมีธาตุประกอบ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จึงจะทำให้เกิดความสมบูรณ์แห่งการพิจารณาวิปัสสนาญาณได้สำเร็จ ดังนั้นความเข้าใจในการเจริญธาตุจึงมีความสำคัญยิ่งในการเจริญ-วิปัสสนาภาวนาวิปัสสนายานิกที่เริ่มเจริญวิปัสสนาเป็นลำดับแรก โดยมิได้เจริญสมถภาวนาก่อนนั้นควรกำหนดรู้รูปนามมีธาตุ เป็นต้นก่อน แล้วอบรมให้เกิดวิปัสสนาขณิกสมาธิ ซึ่งมีอำนาจกำจัดนิวรณ์ได้ และเมื่อขณิกสมาธิมีกำลังกล้าแข็งขึ้น ก็จะเกิดวิปัสสนาปัญญาที่รู้เห็นรูปนามชัดเจนโดยปราศจากสมมุติบัญญัติใด ๆ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ</p> ER -