TY - JOUR AU - รองสวัสดิ์, ทวีเกียรติ PY - 2021/06/24 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ ที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง JF - วารสารปรัชญาปริทรรศน์ JA - JPV VL - 26 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/251780 SP - 73-89 AB - <p>การศึกษา เรื่อง ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ ที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค&nbsp; และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค &nbsp;การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคกลาง จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น แบบสอบถามแบบปลายปิด (Closed-end Questionnaire) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง และแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Opened-end Questionnaire) สำหรับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.วิชาชีพ) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์หาค่าสถิติบรรยาย หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการศึกษาวิจัยพบว่า</p><ol><li class="show">ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเรื่องการจัดการความปลอดภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.852 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทัศนคติที่มีต่อความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 078 รองลงมา คือ ค่านิยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.048 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.731 และการได้รับแรงจูงใจ ด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.551 ตามลำดับ</li><li class="show">ปัจจัยทางด้านองค์การ พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเห็น เรื่องการจัดการความปลอดภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.880 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า บรรยากาศด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 974 รองลงมาคือ การกำหนดนโยบาย และทิศทางองค์การ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.851 การจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.847 และการจัดให้มีการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.846 ตามลำดับ</li></ol><p>ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ การรับรู้ ข้อมูลการข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน บรรยากาศด้านความปลอดภัย และการจัดสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ และเครื่องมือในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05&nbsp; ส่วนทัศนคติที่มีต่อความปลอดภัย ค่านิยม การได้รับแรงจูงใจด้านความปลอดภัย การกำหนดนโยบาย และทิศทางองค์การ และการจัดให้มีการฝึกอบรม ไม่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน</p> ER -