https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/issue/feed
วารสารปรัชญาปริทรรศน์
2025-05-15T00:00:00+07:00
พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร.
jpv.mbu@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารปรัชญาปริทรรศน์ก่อต้ังเมื่อปี พ.ศ. 2538 จากนั้น ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน กองบรรณาธิการของวารสารได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของบทความ ตั้งแต่กระบวนการรับบทความ การกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการเบื้องต้น การประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก จำนวน 3 ท่าน เพื่อรักษาและพัฒนาคุณภาพของบทความให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) </p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาตลอดจนบุคคลภายนอกที่สนใจ ได้มีโอกาสนำผลงานวิชาการและงานวิจัยในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้ (1) พระพุทธศาสนาและปรัชญา (2) รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ (3) การศึกษา (4) ภาษาและวัฒนธรรม </li> <li>เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยน เรียนรู้งานด้านวิชาการและเป็นแหล่งอ้างอิงในการเผยแพร่บทความของนักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ</li> </ol> <p><strong>รูปแบบการดำเนินการตีพิมพ์บทความ</strong></p> <p>กองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความ การประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยการประเมินในรูปแบบการปกปิดชื่อผู้ประเมินและผู้แต่ง (Double-blind Peer Review) และบทความต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> <p><strong>ประเภทของบทความ (</strong><strong>Types of Articles)</strong></p> <p>1) บทความวิจัย (Research Article)</p> <p>2) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p>3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ (</strong><strong>Languages)</strong></p> <p>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ<em><br /></em></p> <p><strong>การกำหนดตีพิมพ์ (</strong><strong>Publication Frequency) </strong></p> <p>กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) คือ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p>เมื่อท่านลงทะเบียนและส่งบทความ (Submission) เข้ามาในระบบของวารสารออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ให้ชำระค่าธรรมเนียม บทความละ 3,000 บาท โดยดำเนินการดังนี้</p> <p>1) โอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย รหัสสาขา 459 เลขที่บัญชี 981-8-88235-0</p> <p>2) ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (เงินรายได้)</p> <p>3) เมื่อชำระแล้ว ส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนเงิน) แนบมาในช่องกระทู้สนทนาในระบบวารสารออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการต่อไป</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p><a href="https://philo.mbu.ac.th/">คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย</a></p> <p><strong>หน่วยงานสนับสนุน (</strong><strong>Source of Support) </strong></p> <p>คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย</p> <p><strong>การเผยแพร่ (</strong><strong>Publication)</strong></p> <p>เผยแพร่วารสารฉบับออนไลน์ ผ่านฐานข้อมูลวารสารระดับชาติ ด้วยระบบ ThaiJO และอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI ฐาน 2 (ตั่งแต่ปี 2564-2568) และจัดส่งฉบับตีพิมพ์ให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง </p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277336
แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี
2025-01-18T16:31:39+07:00
แพรวรุ่ง ศรีประภา
moopraew54@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) วิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารและด้านศาสนา จำนวน 9 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการสื่อสารองค์กรมีความต้องการจำเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะว่า ผู้บริหารและครู มีการสื่อสารองค์กรที่สร้างสรรค์สามัคคี (PNI<sub>modified</sub>=0.072) มีภาวะความเป็นผู้นำองค์กร (PNI<sub>modified</sub>=0.072) ในการสร้างบรรยากาศองค์กร (PNI<sub>modified</sub>=0.061) กับเพื่อนร่วมงานในองค์กร (PNI<sub>modified</sub>=0.046) และไม่สร้างความขัดแย้งในองค์กร (PNI<sub>modified</sub>=0.046) 2. ผลการศึกษาวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 มีดังนี้ 1) ผู้บริหารมีการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เป็นบรรยากาศที่น่าเรียนรู้ 2) มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร 3) การบริหารจัดการองค์กรหรือสื่อสารอย่างสร้างความสามัคคีเพื่อสร้างเชื่อมั่นในองค์กร 4) การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมแก่บุคลากรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรับผิดชอบงานด้วยความโปร่งใส 3. แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี ดังนี้ 1) การพัฒนาสภาพแวดล้อม 2) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร 3) การบริหารจัดการองค์กร และ 4) คุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/273875
บูรณาการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุควิถีชีวิตใหม่ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์
2024-07-17T13:24:52+07:00
เสาวลักษณ์ สุทธิพรโอภาส
sounwaluk@gmail.com
พระสุทธิสารเมธี
chaiyan1971@gmail.com
<p> </p> <p>บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุควิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ที่เหมาะสมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์3) เพื่อบูรณาการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุควิถีชีวิตใหม่ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ 4)เพื่อนำเสนอรูปแบบ เก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัย สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 21 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุควิถีชีวิตใหม่ (1) ด้านกาย (2) จิต (3) ปัญญา (4) สังคมให้มีสมรรถนะและสติ รอบรู้สุขภาพ บริหารทุนมนุษย์ทางปัญญา อารมณ์ สังคม คิดบวก ปรับตัว มีความสุข เชื่อมโยงสัมพันธ์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ระบบ จิตวิทยาและการเรียนรู้ อย่างสมดุล 2) หลักพุทธจริยศาสตร์ที่เหมาะสมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ หลักอายุสสธรรม เพื่อการมีอายุยืนอย่างมีคุณค่าและคุณภาพ พรหมวิหาร 4 เพื่อพัฒนาจิตกำกับการดำเนินชีวิตทุกสภาวะ ปรับกุศลจิตคิดแบบโยนิโสมนสิการ เกิดปัญญา สว่าง บริสุทธิ์ มีสังคหวัตถุ 4 ครองใจตน ครองคน ครองงาน สานสามัคคี 3) บูรณาการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ (1) ด้านร่างกายด้วยหลักอายุสสธรรม สร้างสุขนิสัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะทางร่างกายแข็งแรง ปลอดภัย มีภูมิคุ้มกัน เศรษฐกิจพอเพียง (2) ด้านจิตด้วยหลักพรหมวิหาร 4 สุขภาวะจิต พอเพียง ผ่อนคลาย มีสติควบคุมตนเอง (3) ด้านปัญญาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ สุขภาวะปัญญา เข้าถึงความจริง ลด ละ ความเห็นแก่ตัว ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ (4) ด้านสังคมด้วยหลักสังคหวัตถุ สุขภาวะสังคมสมานฉันท์ รวมเป็นหนึ่ง เข้าใจตนเองและผู้อื่น 4) องค์ความรู้ใหม่ คือ “IMPR -MODEL” ที่ส่งผลมีภูมิคุ้มกันต่อตนเอง จิตมีคุณภาพ สมรรถภาพ สุขภาพดี เพียรระวัง ป้องกันอกุศล ลดกิเลส รักษาศีล ดุลยภาพดี สบาย พอดี พลังปัญญาทางความคิด รับรู้เข้าใจสังคม สมานฉันท์รวมเป็นหนึ่งเดียว มีสันติสุข คุณภาพชีวิตที่ดี</p>
2025-05-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277431
แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2025-01-14T18:18:37+07:00
มนตรี พุฒิสนธิ์
montree1651@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและแนวทางการสัมภาษณ์ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทางการศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยภาพรวม 9 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านครูใช้เทคโนโลยีได้หลากหลาย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านครูนำเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์มาใช้ในการสร้างบทเรียน 2. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 คือ ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครูเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ การวางตัว การพูดและการแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน การปฏิบัติงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูยุคดิจิทัล ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 พบว่า ครูยุคดิจิทัลควรพัฒนาคุณลักษณะทั้งด้านความสัมพันธ์กับผู้เรียน ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และความเป็นแบบอย่างที่ดีในกระบวนการเรียนรู้ โดยการนำหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 มาใช้เป็นกรอบแนวคิด จะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีและความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียนให้มีความหมายและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277338
พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ตามหลักปัญญา 3 ของบุคลากรโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี
2025-01-06T11:11:42+07:00
อรวรรณ พุดมอญ
orawan9797@gmail.com
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นทักษะการคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ตามหลักปัญญา 3 ของบุคลากรโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ตามหลักปัญญา 3 ของบุคลากรโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี งานวิจัยแบบผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) และใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบประเมิน สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นด้านทักษะการคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะว่า การใช้คำกระตุ้นความคิด (PNI<sub>modified</sub>=0.090) ทำให้เกิดความคิดละเอียดลออ (PNI<sub>modified</sub>=0.084) คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (PNI<sub>modified</sub>=0.079) และคิดคล่องแคล่ว (PNI<sub>modified</sub>=0.076) ตามลำดับ 2. วิธีการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ตามหลักปัญญา 3 มีผลดังนี้ 1) ทักษะการคิดคำกระตุ้นส่งเสริมสร้างสรรค์ 2) ทักษะการคิดสื่อสารใช้คำถามที่ชัดเจน 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 4) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 3. แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ตามหลักปัญญา 3 ของบุคลากรโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี ดังนี้ 2) ด้านคิดคำกระตุ้นส่งเสริมสร้างสรรค์ ควรใช้คำถามเปิด สะท้อนประสบการณ์ 2) ด้านคิดสื่อสารอย่างชัดเจน ควรใช้คำถามต้องประเด็น วิเคราะห์ข้อมูล 3) ด้านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ควรวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 4) ด้านคิดเชิงนวัตกรรม ควรมองหาวิธีที่แตกต่าง คิดนอกกรอบ และใช้ประโยชน์ในระดับมาก</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/275475
ศึกษาวิเคราะห์ทัศนะเรื่องสวรรค์ในพุทธศาสนา
2024-10-10T16:09:24+07:00
พระธงชัย อธิปญฺโญ (อยู่ยิ่ง)
tavanna003@gmail.com
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม
maghavin.pur@mbu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเรื่องสวรรค์ในนิกายเถรวาท 2) เพื่อศึกษาเรื่องสวรรค์ในนิกายมหายาน 3) เพื่อวิเคราะห์ทัศนะเรื่องสวรรค์ในพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสารคือสำรวจและรวบรวมเอกสารข้อมูล จากเอกสารปฐมภูมิคือพระไตรปิฎก และเอกสารทุติยภูมิทางวิชาการ</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. สวรรค์ในนิกายเถรวาท สวรรค์เป็นภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี จำแนกออกได้เป็น 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตวสวัตตี สวรรค์ทั้ง 6 นี้ เป็นภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดาผู้ได้สร้างบุญกุศลไว้ครั้งเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานเป็นที่อยู่อาศัย มีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มีอาหารทิพย์บังเกิดขึ้น มีบริวารรับใช้ มีเสื้อผ้าเป็นทิพย์ กิจกรรมแต่ละวันเที่ยวเพลิดเพลินกับการชมสวน มีสังสรรค์ระหว่างทวยเทพทั้งหลาย 2. สวรรค์ในนิกายมหายาน เชื่อในดินแดนสุขาวดีว่า เป็นแดนอันมีความสุขและเป็นสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธเจ้า สุขาวดีเป็นชื่อของสรรค์ ตั้งอยู่ทิศตะวันตก เป็นแดนแห่งความสุขอันไพบูลย์ เป็นแดนที่ประทับของพระอมิตาภพุทธเจ้า ผู้ทรงรัศมีหาที่สุดมิได้ 3. วิเคราะห์ทัศนะเรื่องสวรรค์ในพุทธศาสนาแบ่ง 3 ส่วน ได้แก่ 1. วิเคราะห์ความหมายของสวรรค์ 2. วิเคราะห์ลักษณะของสวรรค์ 3. วิเคราะห์การปฏิบัติเพื่อไปเกิดในสวรรค์</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277481
การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
2025-01-02T10:44:47+07:00
จารุกิตติ์ ใจบุญ
jarukit142523@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษาวิธีการการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา และ(3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยาโดยใช้วิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้บริหารและครู จำนวน 205 คน ผ่านแบบสอบถามความคิดเห็น ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสกัดหาแนวทางการบริหารที่เหมาะสม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 การวิเคราะห์สภาพการบริหารงานบุคคล ตามลำดับรายด้านมี 2 ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการอบรมพัฒนาบุคลากร กับด้านการวางแผนอัตรากำลัง และด้านที่เหลือมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง และด้านเงินเดือนและเลื่อนขั้นเงินเดือน<strong> </strong>2. ผลการศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มีวิธีการดังนี้ 1) เมตตา การบริหารงานบุคคลมีการฟังและดูแลบุคลากรอย่างใส่ใจ 2) กรุณา การบริหารงานบุคคลมีการดูแลบุคลากรอย่างเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาของบุคลากร 3) มุทิตา การบริหารงานบุคคลมุ่งเน้นการสนับสนุนความสำเร็จของบุคลากร ทั้งในด้านการทำงานและการพัฒนาตนเอง 4) อุเบกขา การบริหารงานบุคคลมุ่งเน้นการประเมินผลอย่างเป็นกลางและยุติธรรม 4. แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลัง ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านเงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการอบรมพัฒนาบุคลากร ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มีแนวทางการบริหารบุคคล คือ 1) เมตตา 2) กรุณา 3) มุทิตา 4) อุเบกขา</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277342
แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูตามหลักพรหมวิหาร 4 อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2024-12-31T12:02:53+07:00
ขวัญฤทัย กองอุนนท์
JessieJoy.Kwanruthai@gmail.com
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักสามประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการทํางานเป็นทีมของครูของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาในการส่งเสริมการทํางานเป็นทีมของครูของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาในการการส่งเสริมการทํางานเป็นทีมของครูของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 185 คน โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครู ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและศาสนาจำนวน 7 คน เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อค้นหามุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้บริหาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.67 สะท้อนให้เห็นการมีส่วนร่วมที่สำคัญของผู้บริหารในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและวิเคราะห์รายด้าน พบว่า 1) ด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 2) ด้านการให้โอกาสทุกคน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 3) ด้านความเชื่อมั่นและการยอมรับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.72 4) บรรยากาศการทำงานที่ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 5) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 2. ผลการศึกษาหลักการและวิธีการพัฒนาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครูตามหลักพรหมวิหาร 4 ทั้ง 3 ด้าน 1) ด้านมนุษยสัมพันธระหว่างกัน 2) ด้านบรรยากาศในการทำงาน 3) ด้านการไว้เนื้อเชื่อใจและยอมรับนับถือกันพบว่า การส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ในทีม โดยการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร การส่งเสริมการช่วยเหลือและการแบ่งปันทรัพยากร การเฉลิมฉลองความสำเร็จและยอมรับผู้อื่น และการจัดการปัญหาด้วยความยุติธรรมและเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีกันในทีม จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีกันในทีม 3. แนวทางการพัฒนา ผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของครู ตามหลักพรหมวิหาร 4 อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีแนวทางดังนี้ 1) มนุษยสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้บริหารมีความเมตตาและความปรารถนาดีต่อกัน ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีในทีม 2) ด้านบรรยากาศในการทำงาน มีการส่งเสริมกรุณาในการช่วยเหลือและแบ่งปัน ตลอดการแสดงมุทิตาต่อยินดีในความสำเร็จของกันและกัน สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร 3) ด้านการไว้เนื้อเชื่อใจและยอมรับนับถือกัน ผู้บริหารควรใช้หลักอุเบกขา บริหารจัดการปัญหาอย่างยุติธรรมและเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง เสริมสร้างความเชื่อมั่นในทีม</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/275476
วิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระสีวลีในพุทธศาสนาเถรวาท
2024-10-10T16:17:03+07:00
พระอนันต์ สุธีโร (ดวงศรี)
unun832539@gmail.com
กฤตสุชิน พลเสน
kitsuchin.pon@mbu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพระสีวลี 2) เพื่อศึกษาความเชื่อในพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระสีวลีในพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร มุ่งเน้นให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพระสีวลีในพุทธศาสนาเถรวาท</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเกี่ยวกับพระสีวลี เกิดขึ้นจากความเชื่อ ในเรื่องของโชคลาภ ผู้คนหวังการได้มาซึ่งการประสบความสำเร็จ ด้วยการบูชาขอบารมีจะพระสีวลี ซึ่งตามประวัติของพระสีวลีนั้น ได้กล่าวว่า พระสีวลีเถระ เป็นพระอรหันต์ที่มีบารมีทางด้านโชคลาภ ผู้ที่เคารพบูชาท่านได้รับผลเป็นความสงบสุขร่มเย็น และสมบูรณ์พูนสุขด้วยโภคทรัพย์ 2) ความเชื่อในพุทธศาสนาเถรวาท ไม่ได้ให้คนหลงงมงายต่อสิ่งใด ควรประกอบไปด้วยความเชื่อตามเหตุตามผล หรือต้องประกอบไปด้วยอุบาสกธรรม 5 ธรรมของอุบาสกที่ดี โดยสมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม 1. มีศรัทธา 2. มีศีล 3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว แต่ให้เชื่อกรรม 4. ไม่แสวงหาทักขิไณยบุคคลภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพุทธศาสนา 5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนา 3) การวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระสีวลีในพุทธศาสนาเถรวาทได้วิเคราะห์ 3 ประเด็นประกอบด้วย 1) พระสีวลีเกี่ยวกับโชคลาภ เชื่อว่า การบูชาแล้วจะมีโชคลาภเพราะเกิดกำลังใจในการทำบุญและผลแห่งการทำเช่นนี้จะเกิดลาภผลตามมาภายหลัง 2) พระสีวลีเกี่ยวกับกรรม ในอดีตชาติของพระสีวลีเคยทำกรรมดีไว้จึงส่งผลในชาติปัจจุบัน ทำกรรมดีจึงได้รับผลดี 3) พระสีวลีเกี่ยวกับความสุขสมหวัง ความศรัทธาทำให้น้อมใจฟังเทศน์ฟังธรรม และยังเชื่อว่า พระสีวลีก็ให้ศีลให้พรจนเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สินเงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมา สมความมุ่งมาดปรารถนา</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277606
แนวทางการรักษาวินัยนักเรียนตามหลักภาวนา 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี
2024-12-30T10:26:34+07:00
อมรรัตน์ ปากครอง
meaw.ap151@gmail.com
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการรักษาวินัยของนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 2) เพื่อศึกษาวิธีการรักษาวินัยนัยตามหลักภาวนา 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการรักษาวินัยตามหลักภาวนา 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 162 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) และใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบประเมิน สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการรักษาวินัยของนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เพราะว่า ครูมีข้อมูลความจำเป็นที่ชัดเจนในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน (PNI <sub>modified</sub>=0.122) ด้านการปฏิบัติตนตามระเบียบ (PNI <sub>modified</sub>=0.109) ด้านการวางตนให้ถูกต้องตามกาลเทศะ (PNI <sub>modified</sub>=0.107) ด้านการมีความรับผิดชอบ (PNI <sub>modified</sub>=0.106) ในการนำไปวางแผนการส่งเสริมการรักษาวินัยแก่นักเรียนต่อไป 2. ผลการศึกษาวิธีการรักษาวินัยตามหลักภาวนา 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 มีดังนี้ 1) ด้านวินัยนักเรียน 2) ด้านความมีน้ำใจ 3) ด้านความรับผิดชอบ 4) ด้านการแก้ปัญหา ครูจัดกิจกรรมคุณธรรมเพื่อฝึกสมาธิ การตัดสินใจอย่างมีสติ และวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบคอบ 3. แนวทางการรักษาวินัยตามหลักภาวนา 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 มีแนวทางดังนี้ 1) ด้านวินัยนักเรียน 2) ด้านความมีน้ำใจ 3) ด้านความรับผิดชอบ และ 4) ด้านการแก้ปัญหา</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277345
แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูตามหลักสุจริต 3 โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี
2025-01-01T16:45:21+07:00
วรรณนิษา พุ่มอุไร
wannisa1381@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูตามหลักสุจริต 3 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูตามหลักสุจริต 3 โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี งานวิจัยแบบผสานวิธี งานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) ใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบประเมิน สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูและด้านศาสนา จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะว่า ผู้บริหารและครูมีความขยัน (PNI<sub>modified</sub>=0.069) มีความคิดริเริ่ม (PNI<sub>modified</sub>=0.068) มีความซื่อสัตย์ (PNI<sub>modified</sub>=0.068) มีความเสียสละ (PNI<sub>modified</sub>=0.065) ความสามารถในการพึ่งตนเอง (PNI<sub>modified</sub>=0.061) จิตสำนึกในหน้าที่การงาน (PNI<sub>modified</sub>=0.061) และมีระเบียบวินัย (PNImodified =0.059) ตามลำดับ 2. วิธีการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูตามหลักสุจริต 3 มีวิธีการดังนี้ 1) ครูต้องเตรียมสอนให้พร้อม 2) การส่งเสริมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ 3) ผู้บริหารและครูปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจริงจัง 4) ผู้บริหารต้องส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพครู 5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา 6) ส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 3. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูตามหลักสุจริต 3 ดังนี้ 1) ด้านการเตรียมสอน 2) ด้านการเตรียมสอนอย่างสร้างสรรค์ 3) ด้านซื่อสัตย์ต่อองค์กร 4) ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพ และ 6) ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/275730
พระพุทธศาสนากับความคาดหวังของเยาวชนไทย
2024-10-17T08:56:33+07:00
อริสา สายศรีโกศล
arisa.saisrikosol@gmail.com
พระสุทธิสารเมธี
arisa.saisrikosol@gmail.com
<p>บทความนี้วิเคราะห์บทบาทของพระพุทธศาสนาต่อความคาดหวังของเยาวชนไทย โดยเน้นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาในการสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมในสังคมไทย ซึ่งมีอิทธิพลอย่างยาวนานในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม การศึกษาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนและครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชน เยาวชนไทยคาดหวังว่า พระพุทธศาสนาจะปรับตัวตามยุคสมัย โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ในการเผยแผ่ธรรมะเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเสริมสร้างการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในระบบการศึกษา และการส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาในชุมชน</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277832
อิทธิพลการก่อตัวของขบวนการนักศึกษาในพม่า ในปี ค.ศ. 1974
2025-01-27T10:51:58+07:00
พรรณวดี พลสิทธิ์
phanawadee.phonsit@gmail.com
อริสา สายศรีโกศล
arisa.saisrikosol@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการก่อตัวของขบวนการนักศึกษาในพม่า ในปี ค.ศ. 1974 เป็นการวิจัยตามแนวทางประวัติศาสตร์ด้วยการศึกษาเอกสารชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอดีตนักศึกษาผู้มีประสบการณ์เข้าร่วมขบวนการนักศึกษาพม่าตั้งแต่ ค.ศ.1962-1990</p> <p>ผลจากการศึกษาพบว่า อิทธิพลจากปัจจัยมีดังต่อไปนี้ (1) ด้านการเมืองการปกครองประเทศ การเมืองรัฐบาลทหารพม่ายังคงปกครองประเทศตามแนวทางสังคมนิยมของรัฐบาลนายพลเนวิน รวมทั้งมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1974 ที่ยังคงรูปแบบการปกครองสังคมนิยมดังเดิม (2) ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลของนายพลเนวินได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นนโยบายเศรษฐกิจ ตามแผนสี่ปี หากแต่นโยบายดังกล่าวยังคงยึดแนวทางสังคมนิยมที่รัฐบาลทหารพม่าจะเป็นผู้กำดูแลทั้งหมดส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานออกมาประท้วงร่วมกับกลุ่มนักศึกษาด้วยและ (3) ด้านสังคม นักศึกษาพม่าได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของระบอบประชาธิปไตย จากสถานีวิทยุของชาติตะวันตก สำนักข่าวของชาติตะวันตกปัญญาชน รวมถึงหนังสือ วรรณกรรม เรื่องสั้น โดยนำหลักการและแนวความคิดประชาธิปไตยถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา ผู้วิจัยจึงนำเอากรอบแนวคิดของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเข้ามาอธิบายการเคลื่อนไหวของขบวนการของนักศึกษา โดยใช้ทฤษฎีระดมทรัพยากรภายใต้กรอบเงื่อนไขด้านองค์กรเคลื่อนไหวทางสังคม และนำทฤษฎีกระบวนการทางการเมืองวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางสังคม รวมทั้งใช้กรอบแนวคิดของขบวนการนักศึกษาในภูมิภาคเอเชียมองอิทธิพลของการก่อตัวขบวนการนักศึกษาพม่า </p> <ol> <li><strong> บทนำ</strong></li> </ol> <p>ปรากฎการณ์การประท้วงและต่อต้านรัฐโดยมีผู้นำเป็นคนรุ่นใหม่ ทั้งกลุ่มนักศึกษาและนักเรียน เริ่มขึ้นอีกครั้งในภูมิภาคเอเชีย ดังจะเห็นจากประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง ไทย และพม่า โดยมีข้อเรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลลงจากตำแหน่ง เรียกร้องการแก้ไขปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและศาสนา การประท้วงได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประท้วง ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบไม่มีแกนนำ การใช้ภาษาใหม่ที่สื่อสารระหว่างผู้ชุมนุม ไปจนถึงวิธีใช้แฟลชม็อบหรือม็อบฉับพลัน ซึ่งเป็นการนัดชุมนุมแบบพร้อมเพรียงกันอย่างกะทันหันและแยกย้ายหลังจากเวลาผ่านไปไม่นานนัก การใช้สัญญาณมือในการสื่อสารต่าง ๆ ในขบวนการรวมถึงการเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนที่เรียกเสียงสนับสนุนจากผู้คนในต่างประเทศ (ประชาไท, 2563)</p> <p>ประวัติศาสตร์การเมืองของขบวนการนักศึกษาพม่าเริ่มก่อตัวพร้อมกับการตั้งมหาวิทยาลัยย่างกุ้งใน ค.ศ. 1920 นักศึกษามีความตื่นตัวทางการเมืองสูง ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวจนทำให้พม่าได้รับเอกราชจากอาณานิคม ในปี ค.ศ. 1948 ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราช กิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษายังดำรงอยู่และกลับมามีบทบาทเคลื่อนไหวอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นไม่นานกิจกรรมหลายอย่างถูกจำกัดลงเมื่อนายพลเนวินรัฐประหารก้าวขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดที่ควบรวมอำนาจตั้งรัฐบาลทหารและตั้งสภาปฏิวัติเป็นผู้ปกครองและมีอำนาจสูงสุดแทน ขณะเดียวกันได้ปรับเปลี่ยนให้พม่าเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมด้วยการตั้งพรรคโครงสร้างนิยมพม่า (Burma Socialist Program Party; BSPP) เพื่อใช้สนับสนุนอำนาจทางการเมืองและเป็นเพียงพรรคเดียวที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงประกาศใช้นโยบายวิถีพม่าสู่ระบอบสังคมนิยม (Burmese Way to Socialism) และความเป็นชาตินิยมพม่า</p> <p>นอกจากนี้ รัฐบาลนายพลเนวินได้ทำการปฏิรูปการศึกษาเพื่อต้องการสร้างรัฐที่เข้มแข้ง โดยมีประชาชนที่เชื่อมั่นในอุดมการณ์เดียวจึงจะพัฒนาประเทศได้และรัฐได้ทำการขับไล่ชาวต่างชาติที่มีบทบาททางการศึกษาออกนอกประเทศ ทำให้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา จึงมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรด้วยการสร้างสำนึกความเป็นชาติ ถ่ายทอดแนวคิด อุดมการณ์ของสังคมนิยม ผ่านระบบการศึกษา รวมทั้งรัฐยังเข้าควบคุมสื่อทุกประเภท โดยรัฐอ้างถึงความสงบและเป็นระเบียบของบ้านเมือง เนื่องด้วยบริบทโลกที่ถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายภายใต้สงครามเย็นที่มีความแตกต่างกันทางอุดมการณ์ ซึ่งรัฐบาลนายพลเนวินดำเนินการปิดประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่แนวคิดทั้งสองอุดมการณ์เข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นผลให้ขบวนการนักศึกษาเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1974 รวมถึงปัจจัยภายนอก โลกได้เข้าสู่ยุคสงครามทางอุดมการณ์ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ กับค่ายทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ สงครามดังกล่าวถูกเรียกว่า สงครามเย็น งได้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้</p> <p>เมื่อโลกได้เข้าสู่ยุคสงครามทางอุดมการณ์ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำกับค่ายทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ สงครามดังกล่าวถูกเรียกว่า สงครามเย็น ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงสงครามเย็นพม่าประกาศตนว่า มีสถานะเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า พม่าได้รับแนวความคิดระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมเพื่อเข้ามาแทนที่ในระบอบเผด็จการทหาร ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นการส่วนหนึ่งของระดมคนและสร้างโอกาสทางการเมืองให้แก่กลุ่มนักศึกษาเพื่อใช้การประท้วง แต่เหตุการณ์อันเป็นชนวนที่ทำให้ประชาชนหันมาเข้าร่วมประท้วงครั้งใหญ่ เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลิกธนบัตรราคา 25-35-75 จ๊าต ซึ่งเป็นการยกเลิกโดยไม่มีการชดเชยแต่ประการใด ธนบัตรราคาเหล่านี้รวมเป็นเงินประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของเงินทั้งหมดที่พอจะมีอยู่ในมือของชาวบ้าน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2533: 101) มาตรการดังกล่าวทำให้ผู้คนในประเทศได้รับผลกระทบ ส่งผลให้มีการประท้วงจนกลายเป็นการประท้วงใหญ่ในปี ค.ศ. 1988</p> <p>เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของพม่าที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า เหตุการณ์ 8888 เป็นเหตุการณ์การประท้วงครั้งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 เพื่อเรียกร้องให้ยุติระบอบเผด็จการภายใต้การปกครองของนายพลเนวิน ต่อมาขบวนการเคลื่อนไหวได้เรียกร้องประชาธิปไตยที่แพร่ขยายไปทั่วประเทศ และถือเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ.1948 โดยมีผู้นำเป็นกลุ่มนักศึกษา การประท้วงใหญ่ในปี ค.ศ. 1988 มีบุคคลสำคัญ คือ นางอองซาน ซูจี ซึ่งออกมาประท้วงร่วมด้วย เป็นจุดเริ่มต้นที่กลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อการต่อสู้ในพม่า อันส่งผลให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงปราบปราบผู้ประท้วงจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้นานาชาติรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงและประณามการกระทำของรัฐบาลทหาร รวมถึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพม่า เพราะอย่างน้อยที่สุดในเหตุการณ์นี้ทำให้นายพลเนวิน ประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาล แต่กลุ่มนายทหารภายใต้ชื่อสภาฟื้นฟูกฎและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council; SLORC) เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1988 ส่งผลให้สภาฟื้นฟูกฎและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC) เป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองประเทศ และทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ควบคุมและดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศ (วีรศักดิ์ ฉัตรรุ่งนพคุณ, 2560: 45)</p> <p>เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 กองทัพพม่าภายใต้การนำของ พล.อ. มิน อ่อง หลาย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ก่อรัฐประหารขึ้น ทำให้นักศึกษาประชาชนและพระสงฆ์ในพม่าหันมาแสดงความไม่พอใจและเดินประท้วงเรียกร้องให้คณะนายทหารออกจากอำนาจ ดังนั้น พลังคนหนุ่มสาวในพม่าจึงเป็นกำลังหลักของการสร้างประชาธิปไตยในพม่า ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงตั้งคำถามว่า ขบวนการนักศึกษาพม่ามีปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่ส่งผลต่อการก่อตัวของขบวนการนักศึกษาในพม่า ในปี ค.ศ. 1974 รวมถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวของนักศึกษากับภาคประชาชนที่นำสู่เหตุการณ์อย่างไร</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/265630
รูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
2024-11-19T17:57:18+07:00
กฤตพิศิษฏ์ ปูรณภัทร์ธนากุล
aekkachai.kha@mbu.ac.th
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม
maghavin.pur@mbu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสัมมาทิฏฐิ 2) เพื่อพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อศึกษารูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 พระสังฆาธิการ จำนวน 5 รูป กลุ่มที่ 2 นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 รูป/คน กลุ่มที่ 3 อุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา จำนวน 5 คน รวม 15 รูป/คน</p> <p>ผลจากการวิจัยพบว่า 1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ นำมาซึ่งความดีงาม และความเจริญรุ่งเรืองเพียงอย่างเดียว สัมมาทิฏฐิชื่อว่า เป็นพื้นฐานแห่งความเกิดขึ้นแห่งความดีงาม หรือกุศลธรรมทั้งหลาย และเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งมวล 2) การพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท คือความสำคัญกับการสร้างปัจจัยแห่งการเกิดสัมมาทิฏฐิเป็นอย่างมาก สัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีหลักธรรมหลายหมวดที่มักจะเริ่มต้นด้วยการแสดงปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ 3) รูปแบบในการพัฒนาสัมมาทิฏฐิตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นรูปแบบที่มีปรโตโฆสะโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และอยู่ภายใต้ ศีล สมาธิ ปัญญา 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “WARM MODEL” โดย W = Wisdom หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบสรรพสิ่งด้วยปัญญา A = Auspiciousness หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบปรารถนาความมงคล R = Real หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบตามเป็นจริง M = Middle Path หมายถึง พัฒนาการเห็นชอบยิ่งทางสายกลาง</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277348
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้หลักภาวนา 4 กลุ่มโรงเรียนเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2024-12-27T15:47:49+07:00
ทาริกา ไกรยะถา
ningwow1234@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้หลักภาวนา 4 กลุ่มโรงเรียนเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้หลักภาวนา 4 กลุ่มโรงเรียนเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยแบบผสานวิธี คือ งานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ งานวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มประชากรผู้บริหารและครู จำนวน 161 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) และวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ สมรรถนะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณครู (PNI<sub>modified</sub>=0.091) สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง (PNI<sub>modified</sub> =0.079) สมรรถนะด้านการบริการที่ดี (PNI <sub>modified</sub>=0.076) สมรรถนะด้านการปฏิบัติงาน (PNI<sub>modified</sub>=0.074) และสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานเป็นทีม (PNI<sub>modified</sub>=0.067) 2) ผลการศึกษาวิธีการการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้หลักภาวนา 4 กลุ่มโรงเรียนเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผลดังนี้ 1) กายภาวนา การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ หรือการฝึกโยคะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจเพื่อสร้างวินัยในชีวิตประจำวัน 2) ศีลภาวนา ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและการปฏิบัติตามจริยธรรม ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากผู้อื่น โดยเน้นคุณธรรม 3) จิตตภาวนา ส่งเสริมการฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มความสงบ สร้างเป้าหมายการพัฒนาตนเองระยะสั้นและระยะยาว 4) ปัญญาภาวนา ส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับจริยธรรม 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้หลักภาวนา 4 กลุ่มโรงเรียนเพนียด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้ 1) สมรรถนะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณครู ผู้บริหารควรส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและใจของครู รวมถึงการปลูกฝังจริยธรรมและสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี 2) สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเอง ผู้บริหารควรส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและใจ การฝึกจริยธรรมและการพัฒนาความคิดอย่างมีสติ เพื่อเสริมสร้างพลังในการพัฒนาตนเองและการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีคุณธรรม 3) สมรรถนะด้านการบริการที่ดีผู้บริหารควรสนับสนุนสุขภาพกายและใจของผู้ให้บริการ พร้อมปลูกฝังจริยธรรมและการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/276537
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรม ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
2024-11-29T14:27:28+07:00
วัชรศักดิ์ แย้งจันทร์
thezenith.nui@gmail.com
เก็จกนก เอื้อวงศ์
Nui_utt@utd.ac.th
มนพันธ์ ชาญศิลป์
Nui_utt@utd.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 327 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 และ 0.91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านความคิดความเข้าใจในระดับสูง ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรในองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับสูงมาก กับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 84.20</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/272136
Cross-level Influencing Factors of Employees' Innovative Behavior in Chinese Enterprises: The Mediating Role of Psychological Capital
2025-01-30T12:26:11+07:00
Hongxia Feng
fhx2003@126.com
Pratikshya Bhandari
Pratikshya.b@siu.ac.th
<p>In today's dynamic and competitive global market, innovation is a critical driver of regional and organizational success. This study investigates the factors influencing employees’ innovative behavior within Chinese enterprises, focusing on four key constructs: Psychological Capital, Knowledge Sharing, Organizational Innovation Climate, and Leader-Member Exchange. The research objectives are: (1) to examine the effects of these four factors on employees' innovative behavior; (2) to explore the mediating role of Psychological Capital in the relationship between Organizational Innovation Climate and innovative behavior; (3) to assess the mediating role of Psychological Capital in the link between Leader-Member Exchange and innovative behavior; and (4) to analyze the mediating role of Psychological Capital in the relationship between Knowledge Sharing and innovative behavior.</p> <p>A mixed-methods approach was employed, including a literature review, in-depth interviews, and a questionnaire survey yielding 445 valid responses. Quantitative data were analyzed using SPSS 23.0 and AMOS 26.0, applying regression and Structural Equation Modeling (SEM) techniques.</p> <p>The results reveal that Psychological Capital, Knowledge Sharing, Organizational Innovation Climate, and Leader-Member Exchange each have a significant positive impact on employees' innovative behavior. Moreover, Psychological Capital fully mediates the effect of Organizational Innovation Climate, and partially mediates the effects of Leader-Member Exchange and Knowledge Sharing on innovative behavior. These findings underscore the importance of enhancing innovation by simultaneously strengthening individual psychological resources, fostering a supportive organizational climate, promoting open communication between leaders and employees, and encouraging knowledge sharing.</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277356
การบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมอคติ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 1 จังหวัดปทุมธานี
2025-01-18T16:16:13+07:00
ชุติมา จอมดวง
chutimajomm@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 1 (2) ศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมอคติ 4 และ (3) เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมอคติ 4 ในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้บริหารและครู จำนวน 194 คน ผ่านแบบสอบถามความคิดเห็น ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสกัดหาแนวทางการบริหารที่เหมาะสม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 1 โดยภาพรวม และทุกด้านอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.06 เพราะขาดการฝึกอบรมและทรัพยากรที่เพียงพอ และไม่พร้อมในการปรับตัวต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ในองค์กร 2. ผลการศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักธรรมอคติ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 1 มีวิธีการ ดังนี้ 1) การสรรหาและคัดเลือก 2) การธำรงรักษาบุคลากร 3) การพัฒนาบุคลากร และ 4) การให้พ้นจากงาน 3. แนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ด้านการธำรงรักษาบุคลากร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน ตามหลักธรรมอคติ 4 มีแนวทางการบริหารบุคคล คือ 1) ฉันทาคติ ควรใช้ข้อมูลเทคโนโลยีในการตัดสินใจเพื่อคัดเลือกด้วยความโปร่งใส 2) โทสาคติ ควรส่งเสริมการสื่อสารที่สร้างสรรค์ 3) โมหาคติ ควรจัดโปรแกรมฝึกอบรมการคิดวิเคราะห์และ 4) ภยาคติ ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277334
แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพหูสูตของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี
2025-01-03T11:22:33+07:00
จิระพันธุ์ ปากวิเศษ
jira5725@gmail.com
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการส่งเสริมคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 2. เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพหูสูต ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพหูสูต ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 165 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กับนักบริหารและนักการศาสนา 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านความสามารถในการบริหารสถานศึกษา มีความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะผู้บริหารที่มีความสามารถในการบริหารสถานศึกษา (PNI<sub>modified</sub>=0.070) และสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีกับครูทุกคน (PNI<sub>modified</sub>=0.069) จะมีความเข้าใจวิสัยทัศน์ชัดเจน (PNI<sub>modified</sub>=0.062) สามารถพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่เป็นเลิศได้ (PNI<sub>modified</sub>=0.049) 2. วิธีการส่งเสริมคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพหูสูตของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 ดังนี้ 1) การพัฒนาวิสัยทัศน์ที่ยืดหยุ่น ผู้บริหารควรรับฟังแนวคิดใหม่ 2) การสร้างจิตสาธารณะ 3) การพัฒนาการเรียนรู้ 4) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 3. แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพหูสูตของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาวิสัยทัศน์ที่ยืดหยุ่น 2) ด้านการสร้างจิตสาธารณะ 3) ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ และ 4) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/273558
ศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ที่ปรากฏในกรณียเมตตสูตร
2024-10-10T16:03:21+07:00
พระเดชา จิรเตโช (จิระอนุกูลชัย)
decha011975@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3. ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาหลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในกรณียเมตตสูตร 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ที่ปรากฏในกรณียเมตตสูตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา</p> <p>ผลของการวิจัยพบว่า 1) จริยศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา เป็นหลักการทางด้านทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องความประพฤติของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ตัดสินความถูก ความผิด ควรหรือไม่ควร ด้วยการแสวงหาคุณค่าของชีวิตว่า อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์ 2) หลักจริยศาสตร์ที่ปรากฏในกรณียเมตตสูตร เป็นหลักการทางด้านทฤษฎีและทางด้านการปฏิบัติ เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่พระภิกษุจำนวน 500 รูป เพื่อนำไปสวดแผ่เมตตาให้กับรุกขเทวดา แล้วเจริญเมตตาสมถกัมมัฏฐานด้วยความเพียร โดยใช้หลักธรรมมรรคมีองค์แปดที่ย่นย่อมาเป็น ศีล สมาธิ และปัญญา ทำให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด 3) วิเคราะห์จริยศาสตร์ที่ปรากฏในกรณียเมตตสูตรแบ่งได้สามประการ คือ ด้านความดีงาม ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ด้านคุณธรรม เป็นการสั่งสมคุณงามความดี มั่นคงในพระรัตนตรัย และด้านคุณค่า ก่อให้เกิดความสุขสงบร่วมเย็นทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดถึงสัตว์ทั้งหลายในภพภูมิต่าง ๆ </p>
2025-05-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/277399
วัฒนธรรมความสุขในพระพุทธศาสนา
2024-12-28T15:09:23+07:00
พระครูโสภณธรรมวิสิฐ (ภูริวิศิษฐ์ สญฺญโต)
spurivisit@gmail.com
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมความสุขในพระพุทธศาสนา โดยการศึกษาเอกสารหลัก ได้แก่ พระไตรปิฎก หนังสือเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า ความสุขอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) โลกียสุข คือ ความสุขแบบชาวโลกทั่วไป อันประกอบด้วยความอยากที่จะให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ และ (2) โลกุตตรสุข คือ ความสุขเหนือชาวโลก อันเป็นเรื่องภายในจิตใจที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยสติปัญญา ซึ่งมีระดับความสุข 3 ระดับ ได้แก่ (1) กามสุข สุขเนื่องด้วยกาม (2) ฌานสุข สุขเนื่องด้วยฌาน และ (3) นิพพานสุข สุขเนื่องด้วยนิพพาน โดยมีดัชนีชี้วัดความสุข 4 ประการ ได้แก่ (1) วัดจากสันติภาพ โดยใช้มาตรฐานของหลักเบญจศีลเบญจธรรม (2) วัดจากความสมานฉันท์ โดยใช้มาตรฐานของหลักสาราณียธรรม (3) วัดจากความพอเพียงทางวัตถุที่เสพ ตามหลักการว่า คิหิสุขหรือความสุขของชาวบ้าน และ (4) วัดจากปัจจัยสนับสนุนคุณภาพของชีวิตตามหลักสัปปายะ 7 ประการ และการวัดความสุขตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ ความสุขทางกาย ความสุขทางสังคม ความสุขทางจิตใจ และความสุขทางปัญญา โดยการสร้างวัฒนธรรมความสุข มีวิธีการสร้างความสุขตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ได้แก่ การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การอ่อนน้อมถ่อมตน การช่วยเหลือสังคม การชักชวนคนอื่นมาทำบุญกับเรา การยอมรับและยินดีกับความดีคนอื่น การฟังธรรม การแสดงธรรม และการไม่ถือทิฐิทำความเห็นให้ถูกต้อง</p>
2025-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Philosophical Vision