วารสารปรัชญาปริทรรศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv <p>วารสารปรัชญาปริทรรศน์ก่อต้ังเมื่อปี พ.ศ. 2538 จากนั้น ได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน กองบรรณาธิการของวารสารได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของบทความ ตั้งแต่กระบวนการรับบทความ การกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการเบื้องต้น การประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก จำนวน 3 ท่าน เพื่อรักษาและพัฒนาคุณภาพของบทความให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) </p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาตลอดจนบุคคลภายนอกที่สนใจ ได้มีโอกาสนำผลงานวิชาการและงานวิจัยในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้ (1) พระพุทธศาสนาและปรัชญา (2) รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ (3) การศึกษา (4) ภาษาและวัฒนธรรม </li> <li>เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยน เรียนรู้งานด้านวิชาการและเป็นแหล่งอ้างอิงในการเผยแพร่บทความของนักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ</li> </ol> <p><strong>รูปแบบการดำเนินการตีพิมพ์บทความ</strong></p> <p>กองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดทำวารสาร ตั้งแต่การคัดเลือกบทความ การประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยการประเมินในรูปแบบการปกปิดชื่อผู้ประเมินและผู้แต่ง (Double-blind Peer Review) และบทความต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> <p><strong>ประเภทของบทความ (</strong><strong>Types of Articles)</strong></p> <p>1) บทความวิจัย (Research Article)</p> <p>2) บทความวิชาการ (Academic Article)</p> <p>3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ (</strong><strong>Languages)</strong></p> <p>ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ<em><br /></em></p> <p><strong>การกำหนดตีพิมพ์ (</strong><strong>Publication Frequency) </strong></p> <p>กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) คือ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p>เมื่อท่านลงทะเบียนและส่งบทความ (Submission) เข้ามาในระบบของวารสารออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ให้ชำระค่าธรรมเนียม บทความละ 3,000 บาท โดยดำเนินการดังนี้</p> <p>1) โอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย รหัสสาขา 459 เลขที่บัญชี 981-8-88235-0</p> <p>2) ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (เงินรายได้)</p> <p>3) เมื่อชำระแล้ว ส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิปการโอนเงิน) แนบมาในช่องกระทู้สนทนาในระบบวารสารออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินการต่อไป</p> <p><strong>เจ้าของวารสาร</strong></p> <p><a href="https://philo.mbu.ac.th/">คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย</a></p> <p><strong>หน่วยงานสนับสนุน (</strong><strong>Source of Support) </strong></p> <p>คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย</p> <p><strong>การเผยแพร่ (</strong><strong>Publication)</strong></p> <p>เผยแพร่วารสารฉบับออนไลน์ ผ่านฐานข้อมูลวารสารระดับชาติ ด้วยระบบ ThaiJO และอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI ฐาน 2 (ตั่งแต่ปี 2564-2568) และจัดส่งฉบับตีพิมพ์ให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง </p> th-TH <p>บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น</p> <p>สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์</p> jpv.mbu@gmail.com (พระมหาจักรพล อาจารสุโภ, ดร.) jpv.mbu@gmail.com (ดร.สุรชัย พุดชู) Fri, 21 Jun 2024 07:29:20 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 วิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264524 <p>งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาประวัติและการสร้างเจดีย์ในยุครัตนโกสินทร์ 3) เพื่อวิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารทางวิชาการ วิเคราะห์หลักพุทธสุนทรียศาสตร์จากพระไตรปิฎก แบบสำรวจรูปแบบเจดีย์ด้วยวิธีสังเกตุผลการวิจัย พบว่าสุนทรียศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ทฤษฎี ได้แก่ 1) กลุ่มจิตนิยม 2) กลุ่มวัตถุนิยม 3) กลุ่มสัมพัทธนิยม 4) พุทธสุนทรียศาสตร์ การสร้างเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอันทรงคุณค่านำมาซึ่งความงามทางสุนทรียะในยุครัตนโกสินทร์พบเจดีย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จำนวน 4 รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา และ เจดีย์พระปรางค์ วิเคราะห์เจดีย์ยุครัตนโกสินทร์ตามแนวสุนทรียศาสตร์ 1) เจดีย์ทรงเครื่อง จิตสัมผัสได้ถึงความเด่นชัดทางศิลปะเกิดอารมณ์ให้คล้อยตามเกิดความรู้สึกที่น่าทึ่ง รูปทรงอยู่บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แสดงออกถึงความเชื่อวัฒนธรรมประเพณี 2) เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ความงามขององค์เจดีย์ทำให้มีความรู้สึกถูกดึงดูดเข้ามายังอีกมิติหนึ่ง จัดวางไว้ในส่วนสำคัญของวัด สร้างตามบริบทแบบแผนมีมิติความงาม 3) เจดีย์ทรงระฆังคว่ำแบบลังกา มีความเด่นชัดในการปรากฏต่ออารมณ์ รู้สึกเกิดความศรัทธา มีความงามที่เป็นระบบสมเหตุสมผล 4) เจดีย์ทรงพระปรางค์ สะท้อนออกมา ได้ความทึ่ง ลักษณะการจัดวางมีการวางตามคติ การทิ้งเส้นมีลักษณะชดช้อย รูปทรงของเจดีย์ทั้ง 4 รูปแบบ สื่อความหมายในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา</p> พระยอดคม คุณสิทฺโธ (ชัยนิรัติศัย), พระสุทธิสารเมธี, ผศ.ดร. Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264524 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263798 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริตโดยตรง (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของนักวิชาการไทยเกี่ยวกับแนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต (3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 2 แหล่ง คือ (1) เอกสารชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา (2) เอกสารชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย ในช่วงระยะเวลา 18 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2547 – 2564 ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริตโดยตรง ได้แก่ (1) หิริ (2) โอตตัปปะ (3) ยถาลาภสันโดษ (4) ยถาพลสันโดษ (5) ยถาสารุปปสันโดษ (6) อทินนาทานา เวรมณี (7) มุสาวาทา เวรมณี (8) อนภิชฌา (9) สัจจะ (10) อนวัชชสุข (11) สัมมาอาชีวะ และ (12) อาชชวะ 2. นักวิชาการไทยให้ข้อเสนอแนะแนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตแก่สถาบันหลัก 6 สถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา (นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน) สถาบันศาสนา หน่วยงานภาครัฐ (ข้าราชการและนักการเมือง) หน่วยงานภาคเอกชน (นักธุรกิจ) และสื่อมวลชน ดังนี้ คือด้านการสร้างความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการรักษาความซื่อสัตย์สุจริต ด้านการป้องกันการทุจริตคดโกง และด้านการแก้ไขการทุจริตคดโกง 3. แนวทางเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) สังวรปธาน: ด้านการป้องกันการทุจริตคดโกง (2) ปหานปธาน: ด้านการแก้ไขการทุจริตคดโกง (3) ภาวนาปธาน: ด้านการสร้างพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต และ (4) อนุรักขนาปธาน: ด้านการรักษาคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตให้มั่นคงยืนยาว</p> ประดิษฐ์ ปะวันนา Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263798 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบาทและวิธีการรำหน้าพาทย์สำหรับพระนารายณ์ในการแสดงโขน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264023 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการรำหน้าพาทย์ของพระนารายณ์ในการแสดงโขนโดยการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การฝึกปฏิบัติจากศิลปินแห่งชาติ <br />ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทยโขนพระ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่าพระนารายณ์ปรากฏในวรรณกรรมการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์<br />ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรวมทั้งสิ้น 2 ตอนคือ ตอนอัญเชิญพระนารายณ์อวตาร<br />และตอนพระนารายณ์ปราบนนทกซึ่งในการแสดงบทบาทพระนารายณ์มีกระบวนการรำที่ใช้เฉพาะกับพระนารายณ์ในเพลงหน้าพาทย์ 3 เพลง ได้แก่ 1. ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ 2. กลมนารายณ์ และ 3. ตระนารายณ์ <br />โดยผู้แสดงบทบาทพระนารายณ์นอกจากต้องรำได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนทางนาฏศิลป์ไทยแล้วนั้นยังต้องศึกษาภูมิหลังของตัวละครเพื่อนำมาประกอบการแสดงจึงทำให้การแสดงบทบาทพระนารายณ์นั้นสมบูรณ์และน่าชมมากยิ่งขึ้นเนื่องจากพระนารายณ์เป็นตัวละครประเภทเทพเจ้าจึงมีการรำที่มีกระบวนท่าที่ใช้ทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทยเป็นหลักผู้แสดงต้องแม่นยำในท่ารำรวมถึงต้องศึกษาตัวละครให้แตกฉานเพื่อให้เข้าถึงตัวละครทำให้ผู้แสดงออกลีลาไปตามกระบวนท่ารำและสวมบทบาทเป็นพระนารายณ์ในการแสดงโขนได้อย่างถูกต้องงดงาม</p> วิสะรุต อิ่มเอิบ, สุภาวดี โพธิเวชกุล Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264023 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263884 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน ที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์ในการสอนต่างกัน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 125 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอนโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี ด้านการอบรมสั่งสอน ด้านการจัดกิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน จำแนกตามเพศ อายุ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการสอน แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนของครูผู้สอน ในประเด็นโรงเรียนควรมีการปรับปรุงการจัดกิจกรรม และกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจน เพื่อเน้นการอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน</p> พระครูใบฎีกา ชลากร อตฺถกาโร (โพธิธีรบุตร), ดร.พันธุ์ธัช ศรีทิพันธุ์ Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263884 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264487 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักกุศลกรรมบถ 2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน 3) บูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน 4) นำเสนอองค์ความรู้การบูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) หลักกุศลกรรมบถ เป็นเครื่องมือในการทำกรรม ประกอบไปด้วย ทางกาย เรียกว่ากายกรรม ทางวาจา เรียกว่าวจีกรรม และทางใจ เรียกว่ามโนกรรม รวมเรียกว่ากุศลกรรมบถ (2) การพัฒนามนุษย์จะต้องพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม เป็นการฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การพัฒนาทางกาย เป็นการรักษาความสมดุลของสุขภาพพร้อมในการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมต่างให้เป็นไปตามวิถีหน้าที่การงาน ด้านจิตใจเป็นการดูแลรักษาสุขภาพจิตให้เกิดสันติสุขภายใน ขจัดสิ่งที่ทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้ามาครอบงำจิตใจด้านสติปัญญา (3) การบูรณาการหลักกุศลกรรมบถในการพัฒนามนุษย์บริบทสังคมปัจจุบัน ทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านคุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตมีความสำคัญทั้งต่อบุคคล และสังคม ด้านวัฒนธรรม การเกิดขึ้นของพฤติกรรมรวมหมู่และขบวนการสังคม ระบบสังคมจำต้องมีการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านสังคมมีการจัดระเบียบทางชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความมั่นคง ด้านความเชื่อสังคมไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยมอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหลักธรรมเรื่องกรรมถูกบิดเบือนไปจากหลักคำสอนตามแนวพุทธปรัชญาซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องแต่ไม่ได้มองไปที่ผลของมัน คือ ความดี ความชั่ว อันมีอยู่แล้วในกรรมนั้น (4) องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย สามารถสังเคราะห์เรียกว่า “MAI MODEL”</p> พระกิตฺติภทฺโธ กิตติภัทธ (อนันต์เมธากุล), รศ.ดร.บุญร่วม คำเมืองแสน Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264487 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดปราจีนบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263857 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับของการจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดปราจีนบุรี และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดปราจีนบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การถดถอยพหุคูณแบบง่าย การทดสอบค่าที (t-test) และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของ Schaffer และค่าเฉลี่ยของตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปใช้ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรีมีคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศและตำแหน่งในสายงานที่ต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ณฐพล หาดเจียง, ผศ.พ.ต.อ.ดร.ภีมพจน์ น้อมชอบพิทักษ์ Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263857 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263810 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล 3) เพื่อบูรณาการการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง “การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์” โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยรับราชการตำรวจ จำนวน 6 คน นักวิชาการผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 6 รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 12 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นข้อมูลนำเสนอ </p> <p>ผลจากการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ให้ตำรวจมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีจริยธรรมตำรวจ และวิธีการเสริมสร้างจริยธรรมตำรวจ ให้มีหลักในการครองตน ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างรอบคอบและไม่ประมาท การครองคน ให้ดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข การครองงาน ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์และบรรลุเป้าหมาย 2) พุทธจริยศาสตร์ในการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาล ได้แก่ หลักเบญจศีล-เบญจธรรม สิ่งที่ควรเว้นและธรรมที่ควรปฏิบัติ หลักสังคหวัตถุ 4 ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน หลักอิทธิบาท 4 คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ 3) การส่งเสริมการดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ พบว่า การดำเนินชีวิตของตำรวจสันติบาลใช้หลักเบญจศีล-เบญจธรรมในการครองตน ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการครองคน ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการครองงาน โดยบูรณาการกันในการส่งเสริมด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ประการมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 4) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้เรียกว่า “SPJ MODEL” S มาจาก Good Self ครองตนดี ตำรวจสันติบาลจะครองตนที่ดีจะต้องยึดมั่น ทำให้มีความสุขกายสุขใจ P มาจาก S Good People หมายถึง ครองคนดี ตำรวจสันติบาล มีธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หลักการครองใจคน และ J มาจาก Good Job หมายถึง ครองงานดี ตำรวจสันติบาลต้องมีความอดทน ความเพียรพยายาม ความจริงใจต่อประชาชน</p> ประกาศิต ชัยรัตน์, พระสุทธิสารเมธี, ผศ.ดร. Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263810 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263865 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านบริบท 2) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านกระบวนการ 4) ประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครู จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามรูปแบบการประเมินซิปโมเดล ของสตัฟเฟิลบีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า 1) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านบริบท อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก 2) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก 3) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก 4) โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก</p> ศิลชัย ถาวร, ผศ.ดร.สายสุดา เตียเจริญ Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263865 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 มายาคติต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสี จิ้นผิง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263646 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าความเชื่อต่อพรรคคอมมิวนิสต์และ สี จิ้นผิง สอดคล้องกับความจริงเพียงใด โดยความเชื่อดังกล่าวคือเห็นว่าทั้งคู่มีความเสียสละ มุ่งสร้างประโยชน์และความยิ่งใหญ่ให้กับประเทศจีนจนกลายเป็นมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกจนทำให้พรรคและสีได้รับความนิยมรวมถึงความศรัทธาอย่างยิ่งจากประชาชนทั้งประเทศ การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร ทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาตรวจสอบความน่าเชื่อถือและคุณภาพโดยการตรวจสอบสามเส้า</p> <p> ผลจากการศึกษาพบว่าความเชื่อมายาคตินั่นคือการมองภาพอันสวยงามเกินจริงต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสี อันเกิดจากกลยุทธ์ของพรรคทั้ง 4 ด้านคือ 1) การโฆษณาชวนเชื่อและลัทธิเชิดชูบุคคล 2) การเซ็นเซอร์ของรัฐบาล 3) การกดขี่ทางการเมืองของรัฐบาลและ 4) การไม่ให้มีโพลที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่ท้าทายมายาคติของพรรคคอมมิวนิสต์และสี อันได้แก่ 1) จีนในฐานะสังคมที่เหลื่อมล้ำในด้านชนชั้นและเป็นวัตถุนิยม 2) ปัญหาด้านต่าง ๆ ของประเทศ และ 3) การทุจริตคอรัปชั่นและการแย่งอำนาจในพรรคคอมมิวนิสต์</p> <p> อย่างไรก็ตาม มายาคติดังกล่าวได้รับการส่งเสริมจากพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อความชอบธรรมและอำนาจทางการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศ แม้ไม่ควรนำจีนไปเปรียบเทียบกับประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยม มายาคติดังกล่าวยังทำให้มีการมองข้ามบทบาทของกลุ่มทางสังคมและการเมืองของจีน และเกิดคำถามว่าถ้าจีนเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐและสังคมพหุนิยม จีนจะยังคงเป็นมหาอำนาจหรือมีสภาพที่ดีกว่าในปัจจุบันหรือไม่</p> อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์ Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263646 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263864 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ประชากรคือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบถามความความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการนิเทศ 2) ด้านการวางแผนการนิเทศ 3) ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 4) ด้านการประเมินผลและรายงานผล 5) ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ 2. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านคาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 1) สนับสนุน ส่งเสริมให้คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนรวบรวมปัญหาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างจริงจังและเป็นระบบ 2) สนับสนุน ส่งเสริมให้คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนนำเอานโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี มาเป็นแนวทางในการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน 3) กำหนดให้จัดทำคู่มือการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อให้เข้าใจถึงขอบข่ายของการนิเทศภายในโรงเรียน 4) สนับสนุน ส่งเสริมให้คณะกรรการนิเทศภายในโรงเรียนได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อและเครื่องมือเทศต่าง ๆ 5) กำหนดให้มีการทดลองใช้สื่อและเครื่องมือนิเทศ ประเมินผลการใช้สื่อและเครื่องมือการนิเทศเพื่อหาข้อบกพร่อง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องก่อนนำเครื่องมือนิเทศไปใช้ปฏิบัติการนิเทศ 6) กำหนดให้มีการนิเทศภายในอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง 7) ให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการประเมินผลการนิเทศว่าการดําเนินงานนิเทศภายในที่ผ่านมาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ 8) ประชุมครูและบุคลากรเพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการนิเทศในครั้งต่อไป</p> อนุพงษ์ ตาบสกุล, ผศ.ดร.นุชนรา รัตนศิระประภา Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263864 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มนิมิตใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264271 <p>The objectives of the independent study were to find out: 1) behavior of academic Leader of school administrations in the Nimitmai group under the office of Lopburi primary education area 1 2) guideline on the development of the instructional management behavior of school Administrations in the Nimitmai group under the office of Lopburi primary education area 1. The samples were 72 directors and teachers who have been in the Nimitmai group. The instruments used in this study were 1) the questionnaire about the behavior of academic leaders by Hallinger and Murphy. 2) The questionnaire for guidelines on the development of the instructional management behavior. Data were analyzed by using frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The study was found that: 1) The behavior of the academic leaders of school administrations in the Nimitmai group is overall at a high level. Considering each aspect, eleven aspects are at a high level. In descending order by arithmetic mean are: supervising and evaluation instruction, framing school goals, providing incentive for student, monitoring student progress, coordinating curriculum, communicating school goals, promoting professional development, providing incentives for teachers, protecting instructional time, enforcing academic standards and maintaining high visibility. 2. Guidelines on the development of the instructional management behavior of school administrations in the Nimitmai group include eight guidelines: 1) Directors should collaborate with teachers involved in setting academic goals. 2) There should be more media to promote school goals. 3) Developing the school’s curriculum should be defined as a plan. 4) There should be activities that involve parents to monitor progress. 5) The academic calendar of the school should be defined. 6) There should be an encouragement for the teachers to attend training. 7) There should be enrichment curriculum. 8) Encourage the teacher to teach the student through active learning.</p> พัลลภ รัชนิพนธ์, ผศ. ดร.นุชนรา รัตนศิระประภา Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264271 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาวิเคราะห์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263447 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการให้ทาน, เพื่อศึกษาการให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและอานิสงส์การให้ทานที่ปรากฏในคัมภีร์วิมานวัตถุ โดยใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ตามหัวข้อสำคัญ</p> <p>ผลจากการวิจัยพบว่า ในคัมภีร์วิมานวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้กล่าวถึงเรื่องของการให้ทาน เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สามารถพบได้ว่าการให้ทานเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่จะนำบุคคล ไปสู่คุณธรรมขั้นที่สูงขึ้น เพราะทานนั้นเป็นธรรมขั้นพื้นฐานของสังคม ถ้าขาดธรรมในข้อนี้ จะทำให้สังคมนั้นจะหาความสุขไม่ได้เลย สังคมจะมีแต่การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ทำให้ขาดความเอื้อเฟื้อ ดังนั้น ทุกคนควรปฏิบัติต่อกันด้วยการเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อ มีการแบ่งปันกัน มีเมตตาจิตที่ดีต่อกัน และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งทานนั้นสามารถนำมาใช้กับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างสันติสุข ซึ่งเป็นหลักธรรมเบื้องต้นนั่นเอง</p> พระอธิการสุรเดช ธมฺมทินฺโน (วโรรส) Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/263447 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 How to Effectively Carry Out Online Teaching of Chinese National and Folk Dance https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264982 <p>In recent years, due to the impact of the novel coronavirus epidemic in China and even the world, many schools have been unable to carry out offline teaching activities normally, and they have changed from offline to online home class teaching models. In this new situation, dance teaching, as a practical class, has been more suitable for the traditional offline teaching model. However, due to the popularity and development of Internet classrooms, as well as responding to the requirements of national policies, dance education needs to face innovation and reform. As a basic professional course of dance performance major in Chinese colleges and universities, how to effectively carry out online teaching is particularly important. This article studies the problems encountered in the network class of college folk dance course and finds the corresponding solutions.</p> Ming Yuan, Supavadee Potiwetchakul Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264982 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 Inheritance and Application of Hegang Dance in Dance Education in College Education https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264969 <table> <tbody> <tr> <td width="414"> <p>This article aims to study the necessity of Hegang dance in dance education in College education, (2) to study the inheritance form of Hegang dance in dance education in College education, and (3) to study the application strategies of Hegang dance in dance education in College education protect and preserve Yihuang Heng Dance, emphasizing its value as cultural heritage. The study employs literature research, induction, and summary methods to explore the inheritance and application of crop dance in college dance education. The findings indicate that current college crop dance education lacks a unified development of spirit and dance form. However, crop dance plays a significant role in promoting the all-around development of students, advancing social aesthetic education, and enhancing students' understanding of art. Consequently, it is essential to inherit and apply crop dance through four key aspects.</p> <p> </p> </td> </tr> </tbody> </table> Dong Ting, Assoc.Prof.Dr.Supavadee Potiwetchakul Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264969 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 Coping Strategies for Piano Learning Anxiety Among Preschool at Qujing Technician College in Yunnan Province, China https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/267488 <p>This study aimed to propose appropriate teaching methods to alleviate students' piano learning anxiety among students majoring in preschool education. The research utilized the "Piano Learning Anxiety Scale" to measure students' anxiety levels and adopted SPSS 25.0 for data analysis. Before the experiment, an independent sample T-test was conducted to ensure the comparability of the experimental and control groups. The experiment spanned two semesters, during which anxiety-alleviating teaching methods were implemented in the experimental class, while the control class received traditional teaching.</p> <p>The results showed that the anxiety levels in the experimental class significantly decreased after the intervention, whereas the control class displayed no significant change. The independent sample T-test confirmed the effectiveness of the anxiety-alleviating intervention in reducing anxiety levels. Furthermore, the experimental class achieved significantly higher average scores compared to the control class, indicating the positive influence of the intervention on learning outcomes. These findings highlight the positive impact of anxiety-alleviating teaching methods on teaching effectiveness and learning outcomes in the piano foundation course for preschool education students. The study supports the importance of creating a supportive and anxiety-free learning environment to enhance students' overall learning experiences. The results are essential steps to continuous improvement of anxiety-alleviating teaching methods in music education.</p> Zichun Wei, Assoc.Prof.Dr.Supavadee Potiwetchakul, Prof.Dr.Xiulei Ren Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/267488 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 The Contemporary Value and Promotion Path of Jiangxi Yihuang Hegang Dance https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264973 <p>This article aims to highlight the role of traditional dances in preserving historical experiences and cultural memories. Various traditional dances from different regions and ethnicities in China, including the Yihuang Hegang dance, hold significant historical and cultural values. In the context of modern civilization, how can the Yihuang Hegang dance demonstrate its contemporary relevance? This paper seeks to integrate the artistic form of Yihuang Hegang dance into the core aspects of social, cultural, and spiritual values. It explores the historical origins, contemporary significance, and promotion strategies for the Yihuang Hegang dance. The research findings emphasize linking the promotion of Yihuang Hegang dance culture with modern new media technology to diversify its publicity methods. The article explains and analyzes the combination of traditional "intangible cultural heritage" and modern civilization through artistic practice and theory. This approach serves as a means to study the sustainable development of agricultural civilization in contemporary society through creative transformation.</p> Wuhua Liu, Assoc.Prof.Dr.Supavadee Potiwetchakul Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264973 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 Aesthetic Characteristics of Mongolian Dance Under Ecological Environment https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/267961 <p>This article aims to study the current state of the aesthetic characteristics of Mongolian dance within the context of the present ecological environment. The research involves interviews with choreographers from Inner Mongolia who have directly participated in choreography and have won the "Chinese Dance Lotus Award." The primary focus is to identify the themes and issues related to how the ecological environment influences the aesthetics of dance. Based on the ecological environment of Inner Mongolia, the findings introduce and analyze the region's environmental context. The paper then explores the aesthetic characteristics of Mongolian dance, highlighting its rich national identity and unique regional features. Under the influence of the ecological environment, Mongolian dance has developed distinctive aesthetic traits characterized by a combination of roughness, softness, and resoluteness. Mongolian dance, as a unique expression of grassland culture, reflects the history, culture, customs, and aesthetic values of the Mongolian people. It continually inherits and develops the cultural and spiritual heritage of the Mongolian community.</p> Yupeng Xing, Assoc.Prof.Dr.Supavadee Potiwetchakul, Assoc.Prof.Di Fan Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/267961 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 The Influence of University's Scientific and Technological Innovation Capability on University and Industry Collaboration Performance https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264054 <p>This research article deployed the mix methodology between qualitative by in-depth interview and quantitative of survey methodology by choose the university of science and technology innovation ability as a breakthrough for the development of university-industry collaboration performance influence factor. The study on relevant theoretical literature review and in-depth interview first, analyzed the ability of science and technology in the process of university-industry collaboration specific forms, and science and technology innovation ability affect university-industry collaboration performance are discussed in detail in the middle of the process, The empirical model and related hypotheses are established by finding the corresponding alternative variables, which aims to open up the process of how technological innovation ability affects university-industry collaboration performance. Then, the empirical data were collected from the organizational level questionnaire and the theoretical model was empirically studied by using structural equation model (SEM).</p> <p>The results show that: first, resource matching variable is the key variable in the process of university-industry collaboration in the intermediate process affecting the performance of university-industry collaboration. Secondly, the scientific and technological innovation ability of universities will affect the performance of university-industry collaboration through the resource matching in the process of university-industry collaboration. Finally, the technological innovation ability of colleges and universities also has a direct impact on the university-industry collaboration performance.</p> G, Bijay Sigdel , Pensri Bangbon Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/264054 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 Research on the Influence of Quasi-Employees on the Quality of Artificial Intelligence Artworks https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/271924 <p>The paper takes AI painting in artificial intelligence art as an example and examines the two core human resource elements, users and AI, in AI painting creation from the perspective of human resource management. In order to stimulate user creativity and the potential for human-machine collaboration, this study combines theoretical guidance from motivation theory etc, and conducts empirical analysis on factors affecting the quality of AI artwork. Research hypotheses are proposed based on specific application scenarios of AI products, and a research model is constructed in this paper. The relationship between human-machine collaboration and user collaboration, user characteristics, and high-quality AI technology on the quality of AI artwork are explored. A total of 319 valid questionnaires are collected through online distribution of surveys, and data analysis is conducted using SPSS 22 software to verify the proposed research hypotheses. The results indicate that good individual creative states and high-quality AI technology are important factors influencing the quality of AI artwork. We believe that democratic human resource management can inject vitality into the establishment of AI art platforms, stimulate the creative potential of users and AI, and contribute to the flourishing development of AI art.</p> Wu Fei, Savong Sawetwatana Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/271924 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 A Research of the Movie Culture Building and Management Activities of Zheng Yongzhi https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/268148 <p>The purpose of this study is to examine the film culture construction and management activities of Zheng Yongzhi, the leader of the China Film Corporation, the largest state-run film organization in China during the War of Resistance. By restoring historical facts, this study aims to provide valuable insights into contemporary film culture construction and management in China. Focusing on the China Motion Picture Corporation under Zheng Yongzhi's management from 1936 to 1943, this research employs a historical analysis method, utilizing first-hand historical materials, supplemented by relevant research findings and interviews with Zheng Yongzhi's descendants. The research results will address a significant gap in the history of Chinese cinema, offering perspectives on the cultural construction and management activities of cinema in China today.</p> Hua Jing, Savong Sawetwatana Copyright (c) 2024 Journal of Philosophical Vision https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phiv/article/view/268148 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700