@article{ภิญโญ_2019, title={ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี}, volume={11}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/186143}, abstractNote={<p>          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบฝ่บริหารของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครู จำนวน 340 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยกำหนดชั้นภูมิเป็นขนาดสถานศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.825 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยกำหนดค่านัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านจริยธรรมนำทาง รองลงมา ด้านวิสัยทัศน์พัฒนา ด้านสังคมยั่งยืน และด้านบุคคลสัมพันธ์ 2) ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านบุคคลสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่มีภาวะผู้นำในด้านดังกล่าวสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยการเข้าใจและเห็นคุณค่าของสังคมการสื่อสารแบบสองทาง การใช้สารสนเทศเชิงกลุ่มเพื่อสร้างแนวคิดการพัฒนา การสร้างกระบวนการเรียนรู้หลายแบบ และการสร้างวัฒนธรรมเชิงเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน</p>}, number={1}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={ภิญโญ ธีระดา}, year={2019}, month={เม.ย.}, pages={207–220} }