@article{จันทร์สาส์น_จันทร์สาส์น_2022, title={ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย}, volume={14}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/249510}, abstractNote={<p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 9 แห่ง ระหว่างปีพ.ศ. 2543-2562 โดยอาศัยการวิเคราะห์ Fixed Effects Regression และ Random Effects Regression สภาพคล่องในงานวิจัยเรื่องนี้วัดโดยอัตราส่วนทางการเงิน 2 ตัว ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว ในขณะที่ความสามารถในการทำกำไรวัดโดยอัตราส่วนทางการเงิน 2 ตัว ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตรากำไรสุทธิ จากการศึกษาพบว่า ทั้งอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม โดยหากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วสูงขึ้น 1 เท่า จะทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของธุรกิจโรงแรมที่ทำการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 1.305 และ 1.301 ตามลำดับ ในขณะที่ทั้งอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วไม่มีความสัมพันธ์กับอัตรากำไรสุทธิแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม สามารถสรุปได้ว่า สภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก ดังนั้นการบริหารสภาพคล่องที่เหมาะสมจะช่วยให้กิจการมีความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้นได้</p>}, number={2}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={จันทร์สาส์น ศุภเจตน์ and จันทร์สาส์น ธันยกร}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={57–73} }