@article{น้ำใจดี_2022, title={การพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในย่านเมืองเก่าเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย}, volume={14}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/249965}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้เป็นวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและประเมินคุณค่าของทรัพยากรวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าเชียงราย ในการนำไปออกแบบและพัฒนาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม 2) เพื่อพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยทุนทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าเชียงรายที่แสดงถึงอัตลักษณ์ย่านเมืองเก่าเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสำรวจแหล่งทรัพยากรวัฒนธรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเจ้าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมและนักวิชาการด้านการออกแบบ จำนวน 13 คน นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากเอกสาร เพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรม และแนวทางการพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์เมืองเก่าเชียงราย</p> <p>ผลการศึกษา 1) ทรัพยากรทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในย่านเมืองเก่า 3 ประเภท สาขามนุษยศาสตร์ประเพณีท้องถิ่น 17 เทศกาล สาขาศิลปะ และการช่างฝีมือ 2 ประเภท คือ การวางผังเมืองเชียงราย และอาคารการค้า สาขาคหกรรมศิลป์ ภูมิปัญญาอาหารจีนแคะ 2) การพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ย่านเมืองเก่าเชียงราย ได้คัดเลือกอาคารร้านซีเปียวพาณิชย์ มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ จำนวน 2 ชิ้น คือ 1) ถุงบรรจุภัณฑ์ ออกแบบด้วยการใช้สี รูปแบบตัวอักษรที่ปรากฏบนแผ่นป้ายของร้าน 2) กล่องบรรจุภัณฑ์ออกแบบภายใต้การนำรูปทรงของอาคารร้านซีเปียวพาณิชย์ ซึ่งเป็นอาคารไม้สองชั้นแห่งแรกในย่านเมืองเก่าเชียงราย และเป็นอาคารไม่กี่หลังที่ยังคงหลงเหลือในย่านเมืองเก่าเชียงรายในปัจจุบัน</p>}, number={2}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={น้ำใจดี นครินทร์}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={218–231} }