@article{วงษ์รักษา_มีสุข_วังแก้วหิรัญ_2022, title={ปัจจัยความสำเร็จและผลลัพธ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของคุรุสภา}, volume={14}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/250929}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และผลลัพธ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของคุรุสภา โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนในโครงการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประจำปีการศึกษา 2559-2561จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ ได้แก่ 1) ด้านบริบท ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยกระบวนการ PLC 2) ด้านปัจจัยนำเข้างบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนและกิจกรรมมีความเหมาะสม 3) ด้านกระบวนการ รูปแบบการกำกับติดตามอย่างกัลยาณมิตร และการช่วยเหลือประสานงานจากคุรุสภาเป็นอย่างดี ผลลัพธ์ของโครงการ ได้แก่ 1) ด้านผลกระทบ วัฒนธรรมองค์กรปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกทั้งครู ผู้บริหาร ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ดีขึ้น 2) ด้านประสิทธิผล ครูมีความสุข สนุกในการทำงาน แก้ปัญหาในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบ และจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้านความยั่งยืน คุรุสภามีแนวทางการจัดทำแผนระยะยาวที่ชัดเจนและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้าใจกับผู้เชี่ยวชาญกลุ่มต่าง ๆ 4) ด้านการถ่ายทอดความสำเร็จ มีการจัดประชุมสัมมนาเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จในการดำเนินงาน</p>}, number={2}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={วงษ์รักษา อังค์วรา and มีสุข ปริญญา and วังแก้วหิรัญ ทิพย์วิมล}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={245–258} }