@article{สุธรรมานนท์_2021, title={การวินิจฉัยองค์การด้วย 13 หลักการบริหารเพื่อความเป็นเลิศของเครือเจริญโภคภัณฑ์}, volume={13}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/254319}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครื่องมือประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาองค์การ โดย ใช้กรอบของหลักการ 13 ข้อในการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศของกลุ่ม ซี.พี. เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) โดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บข้อมูลจาก 31 องค์กรธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Conventional Content Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า องค์กรต่างให้ความสำคัญโดยมองแต่หลักการบริหารมีความจำเป็น (Important: I) ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 5.62) และมีสภาพความเป็นอยู่จริง (Degree of Success: D) ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 4.02) กล่าวได้ว่าเครื่องมือวินิจฉัยองค์กรนี้สามารถแยกแยะให้เห็นสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง และความต้องการที่ควรจะ มีได้อย่างค่อนข้างชัดเจนในทุกระบบองค์กรเป็นอยู่จริง ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างหลักการ การบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศกับผลลัพธ์การดำเนินธุรกิจพบว่า การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การ มุ่งเน้นคน การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ การมุ่งเน้นลูกค้า การจัดการเศรษฐกิจสีเขียว การวัด การวิเคราะห์ผล การดำเนินงาน การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการตัดสินใจเพื่อความยั่งยืน การสร้างนวัตกรรม การจัดการ ข้อมูล สารสนเทศและระบบไอที และการกำกับดูแลองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลลัพธ์การดำเนินธุรกิจที่ ระดับ 0.01</p>}, number={3}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={สุธรรมานนท์ เลิศชัย}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={118–134} }