@article{จันทรัตน์_คงตระกูลเทียน_2022, title={การประเมินผลโครงการระหว่างดำเนินการผลิตปาล์มนํ้ามัน กรณีศึกษา บริษัท สวนละออ จำกัด จังหวัดตาก}, volume={14}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/259305}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อทำการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (On-going Evaluation) โครงการการผลิตปาล์มนํ้ามันในจังหวัดตาก และเพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนปาล์มนํ้ามันโดยทำการเก็บข้อมูลการปลูกปาล์มนํ้ามันซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6.45 ไร่ มีจำนวนปาล์มนํ้ามัน 142 ต้น อายุปาล์มประมาณ 10 ปีครึ่ง ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 2 ส่วน ส่วนแรกใช้ข้อมูลจริงในช่วงปี 2553-2562 และส่วนที่สองใช้ข้อมูลประมาณการ โดยใช้วิธี Polynomial ในช่วง 2563-2572 โดยกำหนดให้กรอบเวลาของการวิเคราะห์โครงการการผลิตปาล์มนํ้ามันนี้มีอายุโครงการรวม 20 ปี การวิจัยครั้งนี้จะใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และใช้สถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย เป็นต้น</p> <p>ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินพบว่า โครงการผลิตปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ประมาณ 6.45 ไร่โดยมีระยะเวลาของโครงการ 20 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 55,043.43 บาท/ไร่ อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 8.28 % และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.39 เท่า ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าทางการเงิน และผลการวิเคราะห์ค่าการแปรเปลี่ยน (SVT) จากการทดสอบค่าการแปรเปลี่ยนด้านต้นทุนมีค่าเท่ากับ 38.65% หมายความว่า ต้นทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 38.65% และการทดสอบการแปรเปลี่ยนด้านผลตอบแทน มีค่าเท่ากับ 27.88%  หมายความว่า ผลตอบแทนสามารถลดลงได้ 27.88% จึงทำให้มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนพอดี แสดงว่าความเสี่ยงของโครงการอยู่ในระดับตํ่า และเมื่อวิเคราะห์ตามแนวคิด Capital Recovery Factor (CRF) เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนปาล์มนํ้ามันพบว่าบริษัทสามารถปลูกทดแทนได้ในปีที่ 25 </p>}, number={2}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={จันทรัตน์ มลฤดี and คงตระกูลเทียน มนตรี}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={147–160} }