@article{ทับทิมจรูญ_2017, title={การพัฒนาศูนย์นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุด้วยวิธีการเทียบรอยคุณภาพ}, volume={9}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/85031}, abstractNote={<p>          งานวิจัยส่วนนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาศูนย์นันทนาการผู้สูงอายุที่เป็นเลิศ (best practice) เพื่อค้นหาเคล็ดลับ (enabler) และนำมาเป็นต้นแบบสำหรับการดำเนินการจัดการศูนย์นันทนาการ บนพื้นฐานการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเทียบรอยคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการเยี่ยมชมเป็นเครื่องมือ มีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์นันทนาการ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อดำเนินการเทียบรอยคุณภาพสามารถค้นพบการปฏิบัติที่เป็นเลิศและเคล็ดลับของคู่เทียบรอยคุณภาพ คือชมรมผู้สูงอายุประดู่งาม อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการในลักษณะโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุประดู่งาม มีศักยภาพด้านการดำเนินงานประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ได้รับรางวัลยืนยันการดำเนินงาน สมาชิกชมรมมีศักยภาพ มีความภาคภูมิใจในตน กิจกรรมนันทนาการของชมรมมีเป้าหมายชัดเจน กำหนดปฏิทินการดำเนินกิจกรรม จัดหาสถานที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรม โดยคำนึงถึงความสะดวก อากาศถ่ายเท มีความปลอดภัยต่อผู้สูงอายุเป็นหลัก และเป็นจุดศูนย์รวมการดำเนินกิจกรรมต่างๆ</p><p>          เคล็ดลับที่ได้จากการเทียบรอยคุณภาพ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต. ชีน้ำร้าย 1 สามารถนำมาเรียนรู้เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินงานคือ ขั้นตอนแรก องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่งามให้การสนับสนุนการดำเนินงานให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ ขั้นตอนที่สอง กิจกรรมนันทนาการ องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่งามให้การสนับสนุนจัดหาสถานที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้ ขั้นตอนที่สาม การดำเนินกิจกรรมนันทนาการ องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่งามได้จัดหาเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานและดำเนินกิจกรรมโดยเฉพาะเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้านการสร้างความภาคภูมิใจในตนของผู้สูงอายุนั้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ขั้นตอนที่สี่ การทบทวนผลการดำเนินกิจกรรมนันทนาการ เจ้าหน้าที่ประสานงานได้จัดทำข้อมูลเพื่อทบทวนการดำเนินกิจกรรม และขั้นตอนสุดท้ายการปรับปรุงแก้ไขมีกระบวนการทำงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA)</p><p>          กลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต. ชีน้ำร้าย 1 ที่ได้จากการเทียบรอยคุณภาพ ที่สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยที่คำนึงถึงบริบท ทรัพยากร ทุนเดิมของชมรมที่มีอยู่และสามารถดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ หรือยากลำบากต่อการพัฒนา ปรับปรุง สามารถดำเนินการได้ 2 ประเด็นคือ 1) การจัดการประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมนันทนาการให้กับผู้สูงอายุสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของผู้สูงอายุ และ 2) การจัดหาอาคาร สถานที่เพื่อเป็นศูนย์รวมสำหรับการดำเนินกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน โดยอาคารได้รับการออกแบบสำหรับเป็นต้นแบบศูนย์นันทนาการผู้สูงอายุ ซึ่ง รพ.สต. ชีน้ำร้าย 1 สนับสนุนพื้นที่ตั้งอาคาร งบประมาณบางส่วน และการสมทบทุนจากกลุ่มผู้สูงอายุ</p><p><strong> </strong></p><p>          This research aims to study the aging recreation center is best practice to find enabler and used as a prototype for the management of the recreational center base on qualitative research methods through benchmarking. Using in-depth interview, observation and site visit are tools. The study and collected data from who have been involved in the management of the recreational center. The research result found that when benchmarking process cab found the best practice and enabler of benchmarking partner. The benchmarking partner is The Society District Elderly Prodoongarm, Srithep, Phetchabun province in model Pradoongarm elderly happiness school. The potential operating successfully established, awards, high potential member, the self esteem, activities are targeted, activities calendar, providing a matching place with the activities (comfortable, airy, safety) and are activities center.</p><p>          The enabler, The Society Elderly of Chi Nam Rai 1 health promoting hospital can be learned to improve operational strategy are the first step is the Prodoongarm sub district administrative organization office are supporter for operate and focus on elders. The second step is prepared the place and facilities for the appropriate activities. The third step is procurement offer to coordinate and carry out activities specifically to operation in ongoing. The pride in the self esteem to encourage elderly to participate willingly. The forth step is a staff were prepared to review the activities. And the last step is improve work process with the PDCA cycle.</p><p>          The recreation strategy for the society elderly of Chi Nam Rai 1 got through benchmarking that can be implemented immediately without regard to the context, resources and the capital of the society elderly are available. And can be implemented without and consequences or difficulties in the development can be carries in 2 issues are 1) The society elderly meeting committee to conduct activities for the elderly in accordance with the requirements and context and 2) Provide the building to a center for recreational activities together. The building was designed as a prototype for the recreation center for the elderly. Which the Chi Nam Rai 1 health promoting hospital support area building, some budget and contributions from the elderly.</p>}, number={1}, journal={วารสารปัญญาภิวัฒน์}, author={ทับทิมจรูญ ณตา}, year={2017}, month={เม.ย.}, pages={149–162} }