TY - JOUR AU - มหาสินไพศาล, ทิพย์พาพร PY - 2019/04/26 Y2 - 2024/03/29 TI - แนวคิด Circular Economy เพื่อสังคมโลกที่ยั่งยืน JF - วารสารปัญญาภิวัฒน์ JA - PANYAPIWAT JOURNAL VL - 11 IS - 1 SE - บทบรรณาธิการ DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/185314 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลภาวะของสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และระบบเศรษฐกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุปทานจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตในอนาคตทำให้หลายๆ ประเทศโดยเฉพาะในสหภาพยุโรป เช่น ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ได้หันมาให้ความสำคัญกับแนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน โดยให้ความสำคัญเรื่องการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ (re-material) หรือการนำมาใช้ซ้ำ (reuse) ซึ่งข้อดีของเศรษฐกิจหมุนเวียนคือ ต้นทุนสินค้าต่ำ สร้างมลภาวะน้อยลง ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ลดปัญญาการขาดแคลนสินค้า และสร้างงานได้มากขึ้น ดังนั้น สหภาพยุโรปจึงนำ แผนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนมาใช้เพื่อเป็นแนวทางให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิกในการเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนนั้น ตั้งอยู่บนหลักการสามข้อคือ หนึ่ง การรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สอง การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการหมุนเวียนวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และ สาม การรักษาประสิทธิภาพของระบบด้วยการระบุเพื่อลดผลประทบเชิงลบให้มากที่สุด โดยหลักการทั้งสามข้อของแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีขยะ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยพลังงานหมุนเวียน การให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต สำหรับประเทศไทยได้มีการเตรียมตัวเพื่อตอบรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้ข้อตกลง ASEAN-UN Plan of Action 2016-2020 ด้วยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่เน้นการขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนจะเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารปัญญาภิวัฒน์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำเสนอเนื้อหาผลงานวิจัยและวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องการบริหาร การจัดการ การจัดการเกษตร การเรียนการสอน รวมถึงประเด็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาชีพต่างๆ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านคงได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้&nbsp;</p> ER -