TY - JOUR AU - พรหมศรี, ชัยเสฏฐ์ PY - 2014/11/27 Y2 - 2024/03/28 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมขององค์การ กับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน: กรณีศึกษาบุคลากร สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง JF - วารสารปัญญาภิวัฒน์ JA - PANYAPIWAT JOURNAL VL - 6 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/24571 SP - 60-76 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong><br />          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ความยุติธรรมขององค์การ และระดับการแสดงออกของพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมขององค์การและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนของบุคลากรสายสนับสนุน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 71 คน ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ความยุติธรรมองค์การด้านความยุติธรรมระหว่างบุคคล และด้านสารสนเทศอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านการแบ่งสรรปันส่วนและด้านกระบวนการอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนระดับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน<br />พบว่า พฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนด้านการเมืองอยู่ในระดับน้อย ส่วนพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนด้านการทำงานด้านทรัพย์สิน และความก้าวร้าวต่อบุคคล อยู่ในระดับน้อยมาก นอกจากนี้ ผลการทบสอบสมมติฐาน พบว่า ความยุติธรรมต่อการแบ่งสรรปันส่วนกับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนด้านการเมือง มีความสัมพันธ์กันในทางลบ (r = -.254)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมต่อการแบ่งสรรปันส่วนกับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนด้านความก้าวร้าวของบุคคล (r = .328) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ทางลบระหว่างความยุติธรรมต่อกระบวนการกับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนด้านการเมือง (r = -.254)และพบความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมต่อกระบวนการกับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนด้านความก้าวร้าว(r = .286) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multipleregression analysis) พบว่า ความยุติธรรมต่อการแบ่งสรรปันส่วนเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนทางด้านการเมืองและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนทางด้านความก้าวร้าวของบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p><p><strong>Abstract</strong><br />          The objectives of this study were: 1) to study the levels of perceived organizational justice and workplace deviant behavior of non-academic staffs at a selected public university; and 2) to examine relationship between organizational justice perception and workplace deviant behavior of non-academic staffs at a selected public university. Data were collected from 71 non-academic staffs of a selected public university by using a self-administered questionnaire. The findings indicated that interpersonal and informational justices were perceived at a high level whereas<br />distributive and procedural justices were at a medium level. For workplace deviant behavior, this study found that political deviance was demonstrated at a low level whereas the rest of deviantbehaviors were demonstrated at a lowest level. To test hypothesis, the results showed the negative relationship between distributive justice and political deviance at the 0.05 level of significance. Also, the relationship between distributive justice and personal aggression was positively significant at 0.01 level. Results also demonstrated the negative relationship between procedural justice and political deviance, and the positive relationship between procedural justice<br />and personal aggression at 0.05 level. Additionally, stepwise multiple regression analysis also showed the correlation between distributive justice and political deviance, and the correlation between distributive justice and personal aggression at the significant level of 0.05.</p> ER -