TY - JOUR AU - ถนอมศรีเดชชัย, ชมัยภรณ์ PY - 2017/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อป้องกันยาเสพติดของเทศบาลนคร ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน JF - วารสารปัญญาภิวัฒน์ JA - PANYAPIWAT JOURNAL VL - 9 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/97876 SP - 120-131 AB - <p>          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อป้องกันยาเสพติดของเทศบาลนคร ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนประสบผลสำเร็จ และ 2) เสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อป้องกันยาเสพติดของเทศบาลนคร ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานซึ่งเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม ซึ่งได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์รวม 1,068 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.30 ของแบบสอบถามทั้งหมด 1,109 ชุด ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจงบุคคล จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยพหุคุณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p><p>          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการประสบผลสำเร็จ คือ การที่ชุมชนต่างๆ ของเทศบาลร่วมมือกันสร้างและใช้พลังชุมชนเพื่อเอาชนะยาเสพติดโดยร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันยาเสพติดตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน และ 2) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่สำคัญคือ เทศบาลควรกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อป้องกันยาเสพติดของเทศบาลนครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนที่ประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านคุณภาพชีวิต ด้านเทคโนโลยี ด้านส่วนรวม ด้านความสมดุล และด้านเศรษฐกิจ</p><p> </p><p>          The main objectives of this research were to 1) investigate factors taking important parts of the success of the development guidelines for drugs prevention of city municipalities according to the Sustainable Administration Concept, and 2) propose administrative strategies for drugs prevention of city municipalities according to the Sustainable Administration Concept. The research methodology was designed as mixed methods using the quantitative method mainly supported by the qualitative method. Total of 1,068 sets of completed questionnaires were collected representing 96.30% of the total numbers (1,109) of distributed questionnaires. A supportive qualitative research was carried out with in-depth interview of twelve purposefully selected experts. The statistics used in the research were mean, standard deviation, multiple-regression, and Pearson’s Correlation.</p><p>          The research results revealed that (1) factor taking important parts of the success of the development guidelines was communities in city municipality areas establishing network for collaborative implementation of drugs prevention activities according to the Sustainable Administration Concept, and (2) the city municipalities should formulate administrative strategy for drugs prevention according to the Sustainable Administration Concept consisting of 5 aspects in priority, namely, quality of life, technology, society, balance, and economics.</p> ER -