https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/issue/feed วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2024-04-25T12:03:26+07:00 Associate Professor Dr.Tippaporn Mahasinpaisan [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารปัญญาภิวัฒน์ ISSN 2651-1088 (ออนไลน์)</strong></p> <p> </p> <p><strong>วารสารปัญญาภิวัฒน์ </strong>เป็นวารสารวิชาการ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันได้รับการประเมินให้อยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และเป็นวารสารที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)</p> <p> - ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> - ประเภทบทความที่เปิดรับ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์</p> <p> - ภาษาของบทความ ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ </strong>ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>จำนวนบทความ</strong> 20 บทความต่อฉบับ</p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269557 EXCEEDING CUSTOMER EXPECTATIONS IN THE SERVICE BUSINESS 2023-12-14T23:08:41+07:00 Pitchaya Tiyarattanachai [email protected] Tanaporn Phurinan [email protected] <p>In today’s fiercely competitive service business, companies must prioritize customer satisfaction to be successful, as satisfied customers are more likely to become loyal, recommend the business to others, and contribute to positive word-of-mouth, which ultimately enhances the company’s reputation and market position. Research reveals that retaining existing customers is five times more cost-effective than acquiring new ones. To stand out, businesses in the service industry should consistently exceed customer expectations. By addressing diverse customer needs and customizing offerings, they meet ‘Normative ‘should’ expectations’, ensuring positive interactions. This study dives into the realm of customer and service expectations within service-oriented industries. It comprehensively explores the variables shaping service quality, aiming to identify crucial factors influencing service quality in these sectors. This research aims to provide actionable insights for service businesses, suggesting useful strategies to surpass customer expectations. By understanding and surpassing these expectations as well as embracing future trends with technology, data-driven insights, and personalized experiences, companies can guarantee exceptional service quality. This approach fosters enduring customer satisfaction and loyalty in the long run.</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/263065 การประยุกต์ใช้แผนภูมิการไหล IDEF0 ในโลจิสติกส์ย้อนกลับเพื่อการจัดการซัพพลายเชน 2023-01-03T12:26:18+07:00 วรเศรษฐ์ อุดมสิน [email protected] <p>โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) มีบทบาทในการดำเนินงานของการจัดการซัพพลายเชนเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากทางด้านสินค้าและการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการไหลสินค้าย้อนกลับจะเริ่มต้นจากลูกค้า ตัวแทน/ผู้จัดจำหน่าย คลัง/ศูนย์กระจายสินค้ากลับสู่โรงงานผลิตเพื่อทำการซ่อมแซมซึ่งชิ้นส่วนที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้จะถูกนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลกลับไปเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตต่อไปหรือมีการกำจัดให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด</p> <p>การพัฒนาโลจิสติกส์ย้อนกลับผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญนอกจากการกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติงานแล้ว จะต้องมุ่งหวังในการสร้างระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่มีระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับที่ดีจะส่งผลต่อองค์กรหลายประการ เช่น การได้ข้อมูลปัญหาจากลูกค้านำมาพัฒนาสินค้า การได้วัตถุดิบกลับมาผลิตสินค้า การลดและคัดแยกขยะที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการส่งคืนสินค้า การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เป็นต้น</p> <p>ในบทความนี้นำเสนอ “แผนภูมิการไหล IDEF0” เป็นการเขียนแผนภาพกระบวนการทางธุรกิจ (BPN) รูปแบบหนึ่งซึ่งมีประโยชน์หลายประการต่อการจัดการซัพพลายเชนและการออกแบบโลจิสติกส์ย้อนกลับในองค์กร เช่น นำไปใช้การสร้าง วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาการทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ มีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรและเครื่องมือต่าง ๆ ในกิจกรรมมีความเหมาะสม ลดความสูญเปล่าในกระบวนการดำเนินงานและลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานได้ในที่สุด</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268089 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการให้บริการลูกค้าภายใต้การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ตามชีวิตวิถีใหม่ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ 2 2023-09-26T12:15:47+07:00 กุลวัชร ฟองชัย [email protected] บุษกร สุขแสน [email protected] กฤตติกา แสนโภชน์ [email protected] ศุภกฤต ปิติพัฒน์ [email protected] <p><span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการบริการลูกค้า และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการให้บริการลูกค้าภายใต้การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลตามชีวิตวิถีใหม่ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากลูกค้า จำนวน 600 ราย ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการเชิงโครงสร้าง ระยะที่ 2 การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรด้านสิ่งที่จับต้องได้ ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้ใช้บริการ และด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการบริการของลูกค้าตามลำดับ 2) ผลการกำหนดยุทธศาสตร์พบว่าองค์กรอยู่ในตำแหน่งที่ใช้จุดแข็งในการช้อนโอกาส ซึ่งกำหนดเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก มี 3 ประเด็น ได้แก่ การส่งเสริมด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาระบบจัดการองค์กรคุณภาพบริการ และการพัฒนาบุคลากรสมรรถนะสูง</span></p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/263816 แนวทางการจัดสร้างที่พักแบบโฮมสเตย์ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2023-03-21T17:36:02+07:00 อนุชิต จันทรโรทัย [email protected] <p data-sider-select-id="b5d27014-057f-401f-a22d-06429ef09356">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ และสภาพทั่วไปของโฮมสเตย์ที่ยังให้บริการ 2)ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวในลักษณะเฉพาะโฮมสเตย์ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 3)สำรวจแนวทางการสร้างโฮมสเตย์ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจเกี่ยวกับที่พักใกล้เคียงกับที่พักแบบโฮมสเตย์โดยการเลือกเจาะจง จำนวน 35 แห่ง และที่พักตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยที่คงมีอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และแบบสอบถามความต้องการที่มีต่อที่พักโฮมสเตย์กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในเชิงคุณภาพมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี เช่น การสังเกตและการสนทนาเป็นทางการโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 26 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)</p> <p data-sider-select-id="b5d27014-057f-401f-a22d-06429ef09356">ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสภาพทั่วไปโดยส่วนใหญ่ด้านที่พักสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1-3 คนต่อห้อง/หลัง ด้านอาหารและเครื่องดื่มใช้วัสดุ/วัตถุดิบท้องถิ่น มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มียาสามัญประจำบ้านและเครื่องมือปฐมพยาบาลที่มีสภาพใช้ได้ทันที เจ้าของบ้านและสมาชิกให้การต้อนรับที่อบอุ่น มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีรายการนำเที่ยวที่ชัดเจน มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น มีผลิตภัณฑ์จากชุมชนเพื่อเป็นของที่ระลึกของฝาก แต่ยังไม่มีการจัดทำของที่ระลึกที่เป็นสัญลักษณ์ของชุมชน มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านแต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการที่พัก ส่วนการประชาสัมพันธ์มีเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชนด้วยตนเอง</p> <p data-sider-select-id="b5d27014-057f-401f-a22d-06429ef09356">ในส่วนความต้องการของนักท่องเที่ยวในลักษณะเฉพาะโฮมสเตย์พบว่า ระดับความต้องการภาพรวมอยู่ในระดับมากสำหรับแนวทางการสร้างโฮมสเตย์ให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของชุมชนพบว่า ควรมีทำเลใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและมีเนื้อที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรม มีบรรยากาศความร่มรื่นไม่ต้องปรุงแต่งคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านพัก ควรนำอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนมาปรับใช้ในการตกแต่งโฮมสเตย์หรือพื้นที่ส่วนกลาง และอยู่ในสถานที่ที่เข้าถึงไม่ลำบากมากนัก มีประวัติความเป็นมาของชุมชน เรื่องเล่า มีกิจกรรมให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสเรียนรู้ มีเมนูอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น มีแหล่งจำหน่ายวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ และสินค้าในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง เป็นจุดร่วมหรือศูนย์รวมของความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน มีมาตรฐานที่พักตามข้อกำหนดของกรมการท่องเที่ยวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการที่พักก่อให้เกิดรายได้ของชุมชนอย่างยั่งยืน</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/264917 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสมุนไพร 2023-05-25T16:37:22+07:00 นิติพล ธาระรูป [email protected] ณัฐวดี ลิ้มเลิศเจริญวนิช [email protected] <p data-sider-select-id="ced9eff3-1557-4c6b-a5bd-8ae45f55653c">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร 2) ปัจจัยการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร และ 3) รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร และปัจจัยการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสมุนไพรโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จำนวน 42 แห่ง และสัมภาษณ์หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 หน่วยงานผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบมีคะแนนค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การจัดส่ง การรับคืน การสนับสนุนการดำเนินการ การวางแผน และการผลิต ตามลำดับ 2) ปัจจัยการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรด้านภาวะผู้นำของประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีคะแนนค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความเป็นผู้ประกอบการ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน และการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ตามลำดับ 3) รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร ด้านการสนับสนุนการดำเนินการ และปัจจัยการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านภาวะผู้นำ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนส่งผลต่อความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนของการจัดการห่วงโซ่อุปทานของสมุนไพรอย่างยั่งยืนมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 91.4 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/264249 อิทธิพลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ: กรณีศึกษาธุรกิจผลิตเซรามิกขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลำปาง 2023-03-14T15:56:28+07:00 จตุรภัทร วงศ์สิริสถาพร [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ: กรณีศึกษาธุรกิจผู้ผลิตเซรามิกขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลำปาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรคือ ผู้ประกอบการหรือผู้จัดการของธุรกิจผลิตเซรามิกขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลำปาง จำนวน 159 คน</p> <p>โมเดลอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การจูงใจเพื่อสร้างแรงดลใจ การกระตุ้นการใช้ปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การจัดการนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย ความสามารถนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ความสามารถนวัตกรรมการตลาด ความสามารถ นวัตกรรมกระบวนการ ความสามารถนวัตกรรมพฤติกรรม และความสามารถนวัตกรรมกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ ประกอบด้วย ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านการเงิน: กรณีศึกษาธุรกิจผู้ผลิตเซรามิกขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดลำปาง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ Chi-square = 52.223, df = 57, CMIN/df = .916, p-value = .655, GFI= .952,AGFI = .923, CFI = 1.000, RMSEA = .000 และ RMR = .008 มีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของตัวแปร = .902 สามารถทำนายได้ร้อยละ 91.60 อย่างมีนัยสำาคัญที่ .01 ผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจผลิตเซรามิกขนาดกลาง และขนาดย่อมสามารถดำเนินธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และทำให้เกิดนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์มาดำเนินธุรกิจต่อไป</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/265386 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจทำธุรกรรมการเงิน ผ่านโมบายแบงค์กิ้งของประชาชนในประเทศไทย 2023-05-07T08:55:18+07:00 เพชรรัตน์ สุทธิเทพ [email protected] สุธาสินี โพธิ์ชาธาร [email protected] สมศักดิ์ จินตวัฒนกุล [email protected] <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลด้านสังคม การรับรู้ถึงความเสี่ยง การรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งาน การรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ถึงต้นทุน ทัศนคติที่มีต่อการใช้โมบายแบงค์กิ้ง และความตั้งใจทำธุรกรรมการเงินผ่านโมบายแบงค์กิ้ง และ 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจทำธุรกรรมการเงินผ่านโมบายแบงค์กิ้งของประชาชนในประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์ในการใช้โมบายแบงค์กิ้ง จำนวน 540 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้ถึงความเสี่ยง การรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งานการรับรู้ถึงต้นทุน และทัศนคติที่มีต่อการใช้โมบายแบงค์กิ้งมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจทำธุรกรรมการเงินผ่านโมบายแบงค์กิ้ง (ß = 0.067, 0.100, -0.082 และ 0.800 ตามลำดับ) โดยการรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้งานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจทำาธุรกรรมการเงินผ่านโมบายแบงค์กิ้งโดยผ่านตัวแปรกลางทัศนคติที่มีต่อการใช้โมบายแบงค์กิ้ง (ß = 0.322 และ 0.270 ตามลำดับ) และ 2) แบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ดี</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268903 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร 2023-11-09T10:39:12+07:00 ปาณิสรา จรัสวิญญู [email protected] วิไลพร ผ่องโอย [email protected] นันทรัตน์ ฉ่ำใจดี [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในจังหวัดกำแพงเพชรที่มีความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 385 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามี 5 ปัจจัย คือ ความตั้งใจที่จะใช้งาน การส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ ทัศนคติต่อการใช้งาน และราคา ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ร้อยละ 75.70 (R<sup>2</sup> = 0.757) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นผู้ประกอบการควรนำปัจจัยดังกล่าวไปวางแผนและออกแบบกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งรัฐบาลควรมีการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอันจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมากขึ้น</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/266812 ENHANCING EXPORT SUCCESS OF THAI SMALL-MEDIUM LIVESTOCK ENTERPRISES: A COMPREHENSIVE ANALYSIS OF STRATEGIES AND FACTORS 2023-07-16T00:18:35+07:00 Chanidapa Deesukanan [email protected] Kittisak Srepirote [email protected] <p>This study examined the factors influencing the export efficiency of Thai small and medium-sized livestock enterprises. A mixed-methods approach was employed, combining quantitative and qualitative data. The quantitative research component involved surveying a sample of 343 experienced and interested small and medium-sized livestock entrepreneurs in Thailand. Using structural equation modeling analysis, the study found that resource availability and industry networks and collaborations positively influenced export success indirectly through organizational capabilities. However, government support and policies had no indirect impact on export success through market knowledge and research. The qualitative research component involved semi-structured interviews with 10 livestock product exporters and 10 staff members from the livestock office responsible for enforcing export standards. Thematic analysis of the qualitative data identified additional factors affecting export success, including effective supply chain management, financial management abilities, and market intelligence and adaptability. The study’s findings suggest that relevant agencies should enhance support by providing increased advisory services and academic education to export business entrepreneurs, considering their prioritization of product quality improvement rather than government policies and market research. These recommendations aim to assist in improving the export performance of Thai small and medium-sized livestock enterprises.</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/263889 รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร 2023-02-22T10:21:38+07:00 จุฑามาศ พีรพัชระ [email protected] ชนิชา ประจักษ์จิตร [email protected] พัชรนันท์ ยังวรวิเชียร [email protected] <p>ธุรกิจร้านอาหารเติบโตเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว แต่พบประเด็นท้าทายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และสร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจร้านอาหาร ผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบปัจจัยภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมมี 7 ปัจจัย มีค่าน้ำหนักระหว่าง 0.468-0.995 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 3 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) การจัดการผลผลิต ได้แก่ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ บริการ และ กระบวนการ 2) การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม ได้แก่ มีแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม 3) ความสามารถของผู้ประกอบการ ได้แก่ มีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และสนับสนุนงบประมาณการสร้างนวัตกรรม รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก 10 ปัจจัยย่อย ใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยร่วมในการขับเคลื่อนความสาเร็จ และทุกปัจจัยบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยมีผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.24</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/266147 ANALYTIC HIERACHY PROCESS OF 7’S INDEX IN DIGITAL INNOVATION MARKETING OF LEADING TECHNOLOGY ORGANIZATIONS INTO THE METAVERSE 2023-06-18T14:34:30+07:00 Prin Laksitamas [email protected] Suthep Duangchinda [email protected] <p>This quantitative research focuses objectively on the analytic hierarchy of 7’s index process in search of marketing management excellence indicators in the Metaverse of leading technology organizations in Thailand. A questionnaire was used as a tool for research data collection, and the statistics used for data analysis were PAWS version 18.0 and the AHP Online System (AHP-OS). The research findings indicated that the top five marketing management excellence indices for leading technology organizations to the Metaverse were the following factors: the structure of the organization (l = 0.405); staff (l = 0.205); strategy (l = 0.196); skill (l = 0.096); and style (l = 0.043). Five excellent factors of digital innovation were sustainable growth (l = 0.128); human resource development (l = 0.112); brand strength (l = 0.110); new creative innovation development (l = 0.085); and green technology (l = 0.072) respectively. The research results highlight the advantages and value benefits of marketing activity, adopting Metaverse for future growth. In addition, the methodology and results of this study are expected to provide insight into the success of Metaverse’s transformation to thrive in increasing competition.</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/267007 THE IMPACT OF AYAYI CGI INFLUENCERS’ CHARACTERISTICS ON CONSUMER PURCHASE INTENTIONS AND BRAND EQUITY: THE MEDIATING ROLE OF BRAND EQUITY AND MODERATING ROLE OF BRAND-ENDORSER CONGRUENCY 2023-09-01T14:49:18+07:00 Saranchana Atipanya [email protected] Peihong Li [email protected] <p data-sider-select-id="87b87000-c52b-4560-9c9a-f96b19bd7810">Amid the increasing deployment of Computer-Generated Imagery (CGI) endorsers in business marketing, attributed to their superior manageability and cost-effectiveness, this study thoroughly examines the direct impact of CGI characteristics on purchase intentions and brand equity, alongside the mediating effect of brand equity between CGI characteristics and purchase intentions, and the moderating influence of CGI–Brand congruency on these relation-ships. Utilizing an online survey aimed at AYAYI’s followers on the Little Red Book platform, this study gathered 472 responses, which were comprehensively analyzed using CB-SEM. The findings corroborate a direct effect of CGI authenticity and expertise on purchase intentions, and attractiveness, expertise, and authenticity on brand equity. It was validated that brand equity mediates the relationship between CGI endorser characteristics (specifically expertise and authenticity) and purchase intentions. Additionally, the moderating effect of Brand and CGI Endorser Congruence on the relationship between CGI Endorser Characteristics and Brand Equity was confirmed.</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268166 อิทธิพลของการเป็นสมาชิกในชุมชนตราสินค้าออนไลน์ที่มีต่อองค์ความรู้ตราสินค้า โดยผ่านระดับความเข้มแข็งของชุมชนตราสินค้า 2023-09-29T14:11:53+07:00 ธงชัย ศรีวรรธนะ [email protected] <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของการเป็นสมาชิกในชุมชนตราสินค้าออนไลน์ที่มีต่อความเข้มแข็งในชุมชนตราสินค้า (Integrated Brand Community: IBC) 2) อิทธิพลของ IBC ที่มีต่อองค์ความรู้ของผู้บริโภคในตราสินค้า และ 3) IBC ในฐานะตัวแปรส่งผ่านระหว่างการเป็นสมาชิกภาพในชุมชนตราสินค้าออนไลน์กับองค์ความรู้ของผู้บริโภคในตราสินค้า งานวิจัยได้เก็บข้อมูลจากสมาชิกผู้ติดตามสื่อสังคมออนไลน์ของตราสินค้าต่าง ๆ ที่เป็นเฟซบุ๊ก TIKTOK และอินสตาแกรม เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน และได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรงในมาตรวัดที่ใช้สำหรับทุกตัวแปร ผลการทดสอบสมการโครงสร้างสำหรับโมเดลที่ศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Fit Indices) อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ผลการวิจัยแสดงหลักฐานทางสถิติว่าการเป็นสมาชิกภาพในชุมชนตราสินค้าออนไลน์ส่งผลต่อ IBC (ค่า β เท่ากับ 0.91 โดยมีระดับนัยสำคัญ p&lt;0.001) และ IBC ส่งผลต่อระดับองค์ความรู้ตราสินค้า (ค่า β เท่ากับ 0.56 โดยมีระดับนัยสำคัญ p&lt;0.001) และท้ายที่สุด IBC ทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่าน (ทดสอบด้วยวิธี Bootstrapping ได้ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยทางอ้อมเท่ากับ 0.568 โดยมีระดับนัยสำาคัญ p&lt;0.05) โดยในส่วนของการอภิปรายได้แสดงให้เห็นถึงการต่อยอดทางวิชาการโดยเฉพาะในส่วนของแนวคิดการเป็นสมาชิกภาพในชุมชนตราสินค้าออนไลน์ มิติความเข้มแข็งในชุมชนตราสินค้า และมิติขององค์ความรู้ของผู้บริโภคในตราสินค้า ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ประกอบการออนไลน์ ในการสร้างองค์ความรู้ตราสินค้า (โดยเฉพาะในมิติการรับรู้ และมิติภาพลักษณ์ตราสินค้า) โดยส่งเสริมให้ลูกค้าติดตาม และเป็นสมาชิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชนตราสินค้าที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/266157 ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา และปัจจัยด้านสังคมที่มีอิทธิพลต่อระดับการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่อบสด ในกลุ่มคนทำงานอายุ 25 ถึง 54 ปี ในซุปเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2023-06-19T08:52:23+07:00 กรรณิการ์ อาราเม [email protected] ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย [email protected] สิทธิกรณ์ คำรอด [email protected] <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านจิตวิทยา และปัจจัยทางด้านสังคมที่มีอิทธิพลต่อระดับการตัดสินใจซื้อสินค้าเบเกอรี่อบสดในกลุ่มคนทำงานอายุ 25 ถึง 54 ปี ในซูปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคทั้งหญิงและชายที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าเบเกอรี่อบสดในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p data-sider-select-id="2a08f80e-69ea-4a9e-8c83-5ecf0b43cad8">ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางด้านสังคมที่มีอิทธิพลต่อระดับการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่อบสดในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 พบว่า มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยจิตวิทยาด้านแรงจูงใจ (x₁) (P-Value = 0.000) ปัจจัยจิตวิทยาด้านการรับรู้ (x₂) (P-Value = 0.003) ปัจจัยจิตวิทยาด้านการเรียนรู้ (x₃) (P-Value = 0.000) และปัจจัยสังคมด้านกลุ่มอ้างอิง (x₁) (P-Value = 0.001) มีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยที่ไม่มีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยจิตวิทยาด้านทัศนคติ (x₄) และปัจจัยสังคมด้านครอบครัว (x₅) ส่วนสมการถดถอยเชิงเส้นพหูคูณได้แก่ <img title="\hat{y}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\hat{y}" /><strong data-sider-select-id="df999f4d-ef35-4c9f-8d14-9806a3a59112"> = </strong>-12.36 + 3.035x₁ + 1.838x₂ + 1.475x₃ + 0.914x₆ และส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 74.50 โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 32 ปี 6 เดือน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 6.418 ปี สำหรับรายได้เฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33,276.54 บาท และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 29,187.56 บาท</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269341 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติกความเร็วสูงอย่างยั่งยืน ของผู้ให้บริการในประเทศไทย 2023-12-04T21:56:04+07:00 พนิกา รอดเมือง [email protected] จุไรรัตน์ พุทธรักษ์ [email protected] นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร [email protected] <p data-sider-select-id="236f632d-d43a-4e05-8f0d-0612e24bd656">งานวิจัยนี้จัดทำเพื่อสำารวจและพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติกความเร็วสูง (FTTx) ของผู้ให้บริการในประเทศไทย เน้นไปที่แนวคิดของการบริโภคอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะในเรื่องของความภักดีของผู้บริโภค วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจในการซื้อบริการ FTTx เพื่อการให้บริการที่ยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบริการ FTTx เพื่อนำไปสู่การให้บริการที่ยั่งยืน และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางตรง ทางอ้อมและอิทธิพลรวมต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อบริการ FTTx การศึกษาได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 324 คนในประเทศไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเคยใช้บริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติกความเร็วสูง ข้อมูลได้รับการเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถามออนไลน์และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลด้วยสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสำหรับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพในภาครัฐ ด้วยรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท โดยมีระยะเวลาการใช้บริการ 8 ปีขึ้นไปเพื่อการหาข้อมูล และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ NT (CAT &amp; TOT) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานพบว่า 1) การตัดสินใจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติกความเร็วสูงของผู้ให้บริการในประเทศไทยเพื่อนำาสู่การให้บริการที่ยั่งยืนอยู่ในระดับมาก 2) โมเดลที่พัฒนาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ด้านการตั้งใจซื้อได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการรับรู้นวัตกรรม (r<sup data-sider-select-id="f47e9ac4-9994-4c6e-853c-a5880e8df037">2</sup> = 0.86) และด้านการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้รับอิทธิพลโดยตรงจากด้านความตั้งใจซื้อ (r<sup data-sider-select-id="6f0a6a2c-3fcc-4732-a0ff-9f2a0374a010">2</sup> = 0.84) ซึ่งเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ในการยอมรับบริการอย่างยั่งยืนและการตัดสินใจของลูกค้าในภาคบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/263241 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2023-02-24T14:48:26+07:00 อาภาพร สิงหราช [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาครู และ 2) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยใช้การวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชา EDUC1102 ปรัชญาการศึกษาและเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำานวน 2 หมู่เรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมฯ 2) แบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาครูต่อการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี 9 องค์ประกอบ ดังนี้ แนวคิดพื้นฐานหลักการ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ ระยะเวลา โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรมกระบวนการจัดกิจกรรม สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 2) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ได้ผลดังนี้ 2.1) ทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครูหลังอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาครูหลังอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ อยู่ในระดับมาก</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/264678 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บนวิกิโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2023-04-06T10:58:13+07:00 ณัฐพงษ์ โตมั่น [email protected] <p data-sider-select-id="6b2b87c1-d9db-4467-a589-9814d0501302">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้บนวิกิ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้บนวิกิแบบ Active Learning และ 3) เปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ก่อนเรียน และหลังเรียนกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำนวน 30 คนโดยออกแบบ และพัฒนางานวิจัยของ Richey และ Klein (2007) 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และระยะที่ 3 การเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ คือ กระบวนการจัดการแบบ Active Learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้บนวิกิแบบ Active Learning มี 4 ขั้น คือ ขั้นแสวงหาความรู้ ขั้นการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ ขั้นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ และขั้นนำเสนอผลงาน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บนวิกิประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 รูปแบบการเรียนรู้บนวิกิ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และส่วนที่ 2 รูปแบบการเรียนรู้บนวิกิมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/267977 การศึกษาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไป ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคกลาง 2023-09-19T13:34:09+07:00 พรรณิกา ชวนาทนุสรณ์ [email protected] <p data-sider-select-id="994a002e-a4fc-440f-8ec5-35a6f81c3288">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไปในระดับอุดมศึกษา โดยจำแนกตามปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 2) วิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการพูดภาษาจีนของนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไป และ 3) เสนอแนวทางการเรียนการสอนสำหรับพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เรียนวิชาภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน 243 คน จากสถาบันอุดมศึกษาในภาคกลางโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบทดสอบทักษะการพูดรายบุคคล และเกณฑ์ประเมินทักษะการพูดภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่างผ่านการทดสอบรายบุคคลโดยคัดเลือกนักศึกษา 2 คน จากแต่ละสถาบัน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ความผิดพลาด</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาชาจีน พบว่า 1.1) นักศึกษาที่ไม่มีพื้นฐานภาษาจีนมาก่อนมีคะแนนเฉลี่ยปัญหาด้านการพูดสูงกว่านักศึกษาที่มีพื้นฐานมาก่อน 12 นักศึกษาที่เรียนภาษาจีนมาน้อยกว่า 1 ปี มีคะแนนเฉลี่ยปัญหาในการพูดสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ และ 1.3) กลุ่มที่เรียนภาษาจีนมา 1-2 ปี มีคะแนนเฉลี่ยปัญหาการพูดสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนมา 3-4 ปี และนักศึกษาที่มีชั่วโมงเรียน 1 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยปัญหาการพูดสูงกว่านักศึกษาที่มีชั่วโมงเรียน 3 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2. ข้อผิดพลาดในปัญหาในการพูดภาษาจีนของนักศึกษาส่วนใหญ่คือ นึกคำศัพท์ไม่ออก โดยความผิดพลาดจากการทดสอบการพูดมีหลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่ การใช้คำตกหล่น การใช้คำเกิน การใช้คำศัพท์ผิด และการเรียงลำดับคำผิด</p> <p>3. แนวทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาที่เรียนภาษาจีนเป็นวิชาศึกษาทั่วไป ควรคำนึงถึงความรู้เดิมของนักศึกษาประกอบกับการจัดการเรียนสอนเพิ่มเติมคือเป็นการจัดการเรียนรู้แบบนักศึกษาเป็น <span class="fontstyle0">ศูนย์กลาง โดยมีแนวทางแนะนำ 6 ประการ ดังนี้ 3.1) ผู้สอนแบ่งอำนาจในรายวิชาให้กับนักศึกษาและสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 3.2) ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำในการแก้ไขและให้กำลังใจต่อความผิดพลาดในการพูดภาษาจีน 3.3) นักศึกษามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 3.4) เนื้อหาที่เรียนมีความเชื่อมโยงกับในชีวิตจริง 3.5) การประเมินผลการเรียนรู้มุ่งให้เกิดการพัฒนาตนเองของนักศึกษา และ 3.6) สร้างให้นักศึกษาเกิดการรับรู้อัตลักษณ์ของตนเองในทางบวกต่อวิชาภาษาจีน</span> </p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269457 การเล่าเรื่องเนื้อหาเศรษฐกิจเพื่อสร้างอัตลักษณ์แบรนด์บุคคลผ่าน TikTok 2024-02-06T11:46:23+07:00 กันยิกา ชอว์ [email protected] มาสิรี กล่อมแก้ว [email protected] ธนวิทย์ เจียรวิจิตร [email protected] <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การเล่าเรื่องเศรษฐกิจเพื่อสร้างอัตลักษณ์แบรนด์บุคคลของ @wealthmeup @reporterjourney @yokanakorn และ @tnnonline และ 2) ความพึงพอใจ การใช้ประโยชน์และการตัดสินใจติดตามข่าวสารที่เล่าผ่าน TikTok โดยการวิเคราะห์คลิป การสัมภาษณ์ผู้สร้างเนื้อหา จำนวน 4 ท่าน และการสนทนากลุ่มโดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงมีนาคม 2566</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า TikToker ทั้ง 4 ช่อง มีการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์บุคคลผ่านการเล่าเนื้อหาเศรษฐกิจทั้งด้านการเล่าด้วยภาพ และการเล่าด้วยเสียง ตามหลักการ CI Brand หรือ Corporate Identity เป็นเสมือนกรอบของงานออกแบบ มีองค์ประกอบสำาคัญ ได้แก่ โลโก้ Font หรือตัวอักษร สี ลายกราฟิก ไอคอนต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์องค์กร สัญลักษณ์ชื่อ TikTok Mood&amp;Tone และวิธีการสื่อสาร นอกจากนี้ยังสร้างอัตลักษณ์เฉพาะตน อาทิ การเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องการแต่งกายที่แตกต่าง การใช้เพลงที่ได้รับความนิยมบน TikTok มาใช้สร้างเนื้อหาทางเศรษฐกิจที่เข้ากับเพลง</p> <p>ผลการศึกษาจากการสนทนากลุ่มพบว่าด้านปัจจัยที่ทำให้ผู้รับสารมีความพึงพอใจและใช้ประโยชน์รวมถึงการตัดสินใจติดตามและรับชมจนจบคลิป 3 ลำดับแรกคือ 1) เรื่องไม่เก่าจนเกินไป 2) คลิปสั้น กระชับสรุปประเด็นดี 3) เป็นคลิปที่อยู่ในกระแส และสังคมให้ความสนใจ</p> <p>ผลการศึกษาสามารถนำไปต่อยอดศึกษาการเล่าข่าวประเภทต่าง ๆ ผ่าน TikTok ที่สามารถดึงดูดใจและสร้างการติดตามรวมถึงการพัฒนาการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์บุคคล</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270079 การพัฒนารูปแบบวิทยาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามทฤษฎีความรู้ในเนื้อหา ผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความสามารถทางการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันการศึกษาเอกชน 2024-02-23T17:27:32+07:00 ศิรินยา พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบวิทยาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามทฤษฎีความรู ้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความสามารถทางการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันการศึกษาเอกชน วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง (One Group Pretest- Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู ้เกี่ยวข้อง แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบวิทยาการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถิติเชิงพรรณาโดยการหาสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบไม่อิสระ (T-Test Dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานฯ ในสถาบันการศึกษาเอกชน แบ่งออกเป็น 5 ประเด็น ดังต่อไปนี้ 1) ด้านการปรับตัวในการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) และ 5) ด้านแนวทางในการออกแบบการสอนโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รูปแบบวิทยาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามทฤษฎีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาความสามารถทางการสื่อสารภาษาอังกฤษในสถาบันการศึกษาเอกชน ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) สมรรถนะทางการเรียนรู้ 4) สิ่งสนับสนุนทางการเรียนรู้ 5) กระบวนการ การจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย การเรียนรู้ภายในห้องเรียน การเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน และ 6) การวัดและประเมินผล และรูปแบบมีประสิทธิภาพเท่ากับ 72.62/79.01</p> <p>ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบวิทยาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบวิทยาการจัดการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ x̄ = 55.31, S.D. = 8.91 และ 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามทฤษฎีการผสมผสานความรู้และเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.10, S.D. = 0.81)</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์