วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal
<p><strong>วารสารปัญญาภิวัฒน์ ISSN 2651-1088 (ออนไลน์)</strong></p> <p> </p> <p><strong>วารสารปัญญาภิวัฒน์ </strong>เป็นวารสารวิชาการ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันได้รับการประเมินให้อยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และเป็นวารสารที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)</p> <p> - ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> - ประเภทบทความที่เปิดรับ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์</p> <p> - ภาษาของบทความ ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ </strong>ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>จำนวนบทความ</strong> 20 บทความต่อฉบับ</p>Panyapiwat Institute of Managementth-THวารสารปัญญาภิวัฒน์2651-1088<p>“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”</p>รูปแบบบูรณาการความปลอดภัยและความเสี่ยงธุรกรรมดิจิทัลต่อการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัล
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268773
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นการทำ ธุรกรรมดิจิทัล ความปลอดภัยและความผิดทางคอมพิวเตอร์ ความเสี่ยงการทำ ธุรกรรมดิจิทัล และการยอมรับเทคโนโลยีดิทัลของผู้บริโภคเจเนอเรชันเอ็กซ์ 2) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุองค์ประกอบรวมธุรกรรมดิจิทัลต่อการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริโภคเจเนอเรชันเอ็กซ์ กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภคเจเนอเรชันเอ็กซ์ จํานวน 880 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นการทำธุรกรรมดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ช่องทางตลาดออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ ระดับความคิดเห็น ความปลอดภัยและความผิดทางคอมพิวเตอร์โดยรวมอยู่ในระดับมากได้แก่ ธุรกรรมการเงิน ธุรกรรมซื้อสินค้าหรือบริการ และธุรกรรมบริจาคเงินการกุศล ระดับความคิดเห็น ความเสี่ยงการทำธุรกรรมดิจิทัลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบ การรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และระบบการรักษาความปลอดภัย ระดับความคิดเห็นการยอมรับเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความง่ายในการใช้งาน ความไว้วางใจ และประโยชน์ในการใช้งาน 2) การทำธุรกรรมดิจิทัล ความปลอดภัย และความผิดทางคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อความเสี่ยงการทำธุรกรรมดิจิทัลและต่อการยอมรับเทคโนโลยีดิทัลของผู้บริโภคเจนเนอเรชันเอ็กซ์</p>พรรณวดี เลิศลุมพลีพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162115เทคนิคการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากพืชสมุนไพรผักเชียงดาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐีเรือทองเกษตรอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/265686
<p>การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการเพิ่มรายได้ของชุมชน การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากพืชสมุนไพรผักเชียงดาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐีเรือทองเกษตรอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชียงดา จำ นวน 14 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ด้วยวิธีจ้างผลิตในปริมาณขั้นตํ่ากับโรงงานที่พร้อมสนับสนุน โดยมีต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ คุ้มค่ากับการลงทุน เพิ่มมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ชาบดผงจากสมุนไพรเชียงดา ซองละ 6 บาทสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปชนิดผงผสมใบผักเชียงดา ซองละ 25 บาท โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 19 บาทต่อซอง เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 316.67 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ควรนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคที่รักในสุขภาพโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs มุ่งเน้นสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจและนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ่านการออกร้านประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ นำสินค้าวางจำหน่ายในช่องทางตลาดกลางออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง</p>ภีมภณ มณีธร
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-261621632THE DEVELOPMENT OF MARKETING AND PUBLIC RELATIONS FOR THE PRODUCTS OF OCCUPATION PROMOTION COMMUNITY ENTERPRISE GROUP AT BAN NIKHOM, MUANG DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269543
<p>This research aims to study and develop marketing operations, including advertising and public relations, for mushroom sausage products. It employs a mixed-method research approach, including qualitative research methods involving in-depth interviews and focus group discussions. Quantitative research methods involve surveys to examine consumer behavior and preferences. The research findings reveal that there is a demand for creating a product brand identity and developing communication channels through both online and print media for mushroom sausage products. When collecting data from consumers, it is found that there is a high demand for products from community enterprises or community food products in general. Upon closer examination of each aspect, it is found that in terms of product, there is a distinct local identity. Regarding price, it is considered reasonable. In terms of distribution channels, products can be ordered online. As for sales promotion, product information is disseminated through online media platforms such as Facebook and Line.</p> <p>Based on results of the data analysis, these findings can be used to develop marketing activities, including creating a product brand, naming the product, designing product labels, and improving packaging to convey the community’s meaning and promote the livelihoods of rural community enterprises. Additionally, online advertising and public relations efforts have led to the establishment of a Facebook Fanpage for disseminating news and information.</p>Praewpan ParnnuchTechadham SangkhornKanokwan KaewkohsabaNinthana Iamsaard
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-261623347EFFECTS OF GOVERNMENT FINANCIAL INCENTIVES, ENVIRONMENTAL CONCERNS, AND EV KNOWLEDGE AMONG USERS’ ATTITUDE AND PURCHASE INTENTION IN THAILAND
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270655
<p>There is the growing threat of environmental degradation caused by unethical consumer behavior which in turn poses a substantial barrier to the global imperative of sustainable development. Within this context, the heightened adoption of electric vehicles (EVs) emerges as motivated by diverse factors. This research aims to explore the impact of government financial incentives, environmental concern, and knowledge of EVs on the attitudes and purchasing intentions of EV car users in Thailand.</p> <p>A dataset involving 400 valid questionnaires from potential EV car users throughout Thailand was acquired through a Google online survey. Subsequently, the collected data were analyzed with the use of the Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM) technique. The findings of this study indicate positively and significantly connections among government financial incentives, environmental concern, knowledge of EVs, all of which having the most substantial impact directly and indirectly on the attitudes and purchasing intentions of EV car users in Thailand.</p> <p>The empirical findings offer valuable insights into EV car users, highlighting strategic initiatives for sustainable development in the automotive sector, both in Thailand and globally. In the final part, the proposed recommendations extend to policymakers seeking to promote sustainable transportation practices and marketers aiming to tailor strategies for the growing EV market in Thailand.</p>Sunida Piriyapada Pisesporn Wasawong
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-261624869ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อการแสดงตนทางสังคม ความไว้วางใจและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคผ่านการค้าแบบถ่ายทอดสด
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/271415
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการโต้ตอบ การแสดงภาพความเป็นมืออาชีพ ความบันเทิง การแสดงตนทางสังคม ความไว้วางใจ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค 2) เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของการโต้ตอบ การแสดงภาพ ความเป็นมืออาชีพ ความบันเทิง ที่มีผลต่อการแสดงตนทางสังคมความไว้วางใจ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านการค้าแบบถ่ายทอดสดในประเทศไทย และกำ หนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จึงเก็บข้อมูลจำ นวน 200 ตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้างด้วยเทคนิควิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยพบว่า การแสดงภาพ ความเป็นมืออาชีพ ความบันเทิงมีผลกระทบเชิงบวกต่อการแสดงตนทางสังคม การโต้ตอบ การแสดงภาพ ความเป็นมืออาชีพมีผลกระทบเชิงบวกต่อความไว้วางใจ การแสดงตนทางสังคมมีผลกระทบเชิงบวกต่อความไว้วางใจและความตั้งใจซื้อ ความไว้วางใจมีผลกระทบเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อ การโต้ตอบไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อการแสดงตนทางสังคม ความบันเทิงไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อความไว้วางใจ โดยผลการวิจัยนี้ผู้ขายหรือธุรกิจที่ทำการขายสินค้าผ่านการค้าแบบถ่ายทอดสดสามารถนำ ไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการขายที่จะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจนเกิดเป็นความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคได้</p>สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-261627085ปัจจัยด้านบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อการจัดส่งแบบดิลิเวอรีที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซํ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/273564
<p>งานวิจัยนี้ศึกษาคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์อาหารดิลิเวอรีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซํ้าของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 578 คน ในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยสำคัญที่พิจารณา ได้แก่ ความตั้งใจซื้อซํ้ามูลค่าที่รับรู้ การพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันการปนเปื้อนของอาหาร การรักษาอาหาร และการขนส่งอาหาร การวิเคราะห์ PLS-SEM พบว่า การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (β = 0.231, p<0.001) การเคลื่อนย้ายอาหาร (β = 0.157, p<0.001) และการรับรู้คุณค่า (β = 0.278, p<0.001) มีอิทธิพลโดยตรงต่อความตั้งใจซื้อซํ้านอกจากนี้ ปัจจัยทั้งหมดที่ศึกษา ได้แก่ การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (β = 0.149, p<0.001) การป้องกันอาหารจากการปนเปื้อน (β = 0.241, p<0.001) การถนอมรักษาสภาพอาหาร (β = 0.222, p<0.001) และการเคลื่อนย้ายอาหาร (β = 0.153, p<0.001) มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรับรู้คุณค่า การป้องกันอาหารจากการปนเปื้อน (β = 0.067, p = 0.011, ขนาดอิทธิพล = 0.034) และการถนอมรักษาสภาพอาหาร (β = 0.062, p = 0.018, ขนาดอิทธิพล = 0.031) ยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อซํ้าผ่านการรับรู้คุณค่า ผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในภาคการผลิตบรรจุภัณฑ์ และผู้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร ในการพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซํ้าของผู้บริโภคเมื่อผลิตหรือเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารดิลิเวอรี</p> <p> </p>สุนันทา คเชศะนันทน์อัครพันธ์ รัตสุข
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-2616286104DETERMINANTS OF CUSTOMER TRUST IN RURAL E-COMMERCE IN ZHENGZHOU, CHINA: A CASE STUDY OF TAOBAO VILLAGES
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272351
<p>Trust is the potential key to unlocking the competitiveness of online businesses. Building trust can help businesses maintain long-term relationships with their stakeholders. This research studied the effects of marketing factors, including product quality, service quality, security, reputation, ease of use, and usefulness, on customer trust and the mediating role of customer satisfaction in the rural e-commerce businesses in Zhengzhou, China, based on the foundation of the social exchange theory. Self-administrative questionnaires were used to gather survey data from 420 Taobao Village customers. The PLS-SEM results showed that perceived security, perceived reputation, perceived ease of use, and perceived usefulness directly affected customer trust. In addition, the Sobel test results illustrated that customer satisfaction mediated between all but perceived usefulness and customer trust. The findings provided new insights into the roles of these marketing factors in fostering customer trust directly and indirectly through customer satisfaction and an expansion to the application of the social exchange theory, especially in the rural e-commerce business.</p>Jingwen LyuAkaraphun Ratasuk
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162105124ความไว้วางใจเชิงอารมณ์และความไว้ใจเชิงเหตุผลกับพฤติกรรมการเป็นบุคลากรที่ดีขององค์การในธุรกิจคาเฟ่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/267282
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ ความไว้วางใจ และพฤติกรรมการเป็นบุคลากรที่ดีขององค์การในธุรกิจคาเฟ่ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็นบุคลากรที่ดีในธุรกิจคาเฟ่ เมื่อมีความไว้วางใจเชิงอารมณ์ต่อผู้ร่วมงานเป็นตัวแปรคั่นกลางกับเมื่อมีความไว้วางใจเชิงเหตุผลต่อผู้ร่วมงานเป็นตัวแปรคั่นกลาง 3) ศึกษารูปแบบการทำ นายพฤติกรรมความเป็นบุคลากรที่ดีขององค์การที่มีความไว้วางใจเชิงอารมณ์ต่อผู้ร่วมงานและความไว้วางใจเชิงเหตุผลต่อผู้ร่วมงานระดับเดียวกันเป็นตัวแปรคั่นกลาง ทำการวิจัยโดยการเก็บแบบสอบถามจากพนักงานระดับปฏิบัติการในคาเฟ่แบบเครือข่ายในกรุงเทพ จำนวน 604 ตัวอย่างแล้วทำการวิเคราะห์สถิติด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ความไว้วางใจเชิงอารมณ์และความไว้วางใจเชิงเหตุผลต่อผู้ร่วมงานระดับเดียวกันเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างความไว้วางใจเชิงอารมณ์และความไว้วางใจเชิงเหตุผลที่มีต่อผู้บริหาร และความไว้วางใจเชิงอารมณ์และความไว้วางใจเชิงเหตุผลที่มีต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงส่งผลต่อพฤติกรรมความเป็นบุคลากรที่ดีขององค์การ และความไว้วางใจเชิงอารมณ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมงานระดับเดียวกันส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจเชิงเหตุผลที่มีต่อเพื่อนร่วมงานระดับเดียวกันอันส่งผลกระทบต่อการเกิดพฤติกรรมความเป็นบุคลากรที่ดีขององค์การ การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาในองค์การธุรกิจอื่น เช่น องค์การในธุรกิจโรงแรมที่มีการแบ่งแผนกหรือฝ่ายงานชัดเจน และควรศึกษาองค์การที่มีวัฒนธรรมแตกต่างออกไป</p>ดลฤทัย เจียรกุลประพนธ์ โอสถสัมพันธ์สุข
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162125146THE INFLUENCE OF WORK VALUES ON INDIVIDUAL TASK PERFORMANCE IN CHINESE ENTERPRISES: THE MEDIATING ROLE OF GENERAL SELF-EFFICACY
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270928
<p>This research has delves into how work values and general self-efficacy interact within the Chinese business workforce, focusing on their combined effects on task performance. Aimed at assisting corporations to navigate rapid market changes and management challenges, the study uses cross-industry survey data to pursue four objectives as follows: (1) to systematically assess the direct impact of work values on employee task performance; (2) to investigate the mediating role of general self-efficacy between work values and task performance; (3) to construct and validate a theoretical model of the relationships among work values, general self-efficacy, and task performance; and (4) to propose specific management strategies and suggestions for employee development. This research explores the interaction between work values and general self-efficacy among Chinese enterprise employees, focusing on their combined effects on task performance. Utilizing a combination of online surveys, email questionnaires, and field research across various sectors and job levels within the Chinese business context, the study collected data from 661 participants, resulting in 581 valid responses. The methodology integrates Structural Equation Modeling (SEM).</p> <p>The research results revealed that: (1) there was a significant positive impact of work values on task performance, underscoring the importance of reinforcing work values in organizational management; (2) there was a key mediating role of general self-efficacy between work values and task performance, suggesting enhancing self-efficacy as a vital link for improving performance; (3) <span style="font-size: 0.875rem;">there was the construction and validation of a theoretical model that provides new insights </span>into the complex relationships among work values, self-efficacy, and task performance; and (4) <span style="font-size: 0.875rem;">there was the suggestion of specific management strategies focusing on both work values and self-efficacy to improve employee performance. This concise integration of methodology and findings highlights the study’s depth and its strategic implications for managing the dynamic Chinese business environment.</span></p>Xiaobo XuYing Zhang
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162147164การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/267894
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) และศึกษาแนวทางพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของ<br />ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ในเขตชุมชนตำ บลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีส่วนร่วมทำการสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวภายใต้กรอบแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 30 คน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และสนทนากลุ่มร่วมกับคนในชุมชนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวและนำเสนอผลในรูปแบบการบรรยาย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงประเพณี วิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ และมีแหล่งพื้นที่เหมาะสำหรับทำการเกษตรที่โดดเด่น ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของชุมชน สำหรับ จุดอ่อน คือ ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการพัฒนาด้านการจัดการท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสคือ มีนักพัฒนาชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีความรู้สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนได้รับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้อุปสรรคการจัดการท่องเที่ยวท้องถิ่นคือ ขาดความต่อเนื่องในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว และการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอสำหรับแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวท้องถิ่นให้ประสบความสำ เร็จ ควรมีระบบการบริหารจัดการ โดยจัดตั้งคณะกรรมการหรือองค์กรชุมชนมาบริหารจัดการ มีการพัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พัฒนาผู้นำให้มีความเข้มแข็งตลอดจนการสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่น หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น</p>ทรงกลด พลพวกนวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ธราธร ภูพันเชือกวิมลกานต์ นิธิศิริวริศกุล
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162165182การถอดบทเรียนการบริหารจัดการโรงแรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยระดับสากล
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269397
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการโรงแรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยระดับสากล กรณีศึกษาโรงแรมอ่าวนาง ปรินซ์วิลล์ จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงแรม บุคลากรระดับหัวหน้าฝ่าย บุคลากรของโรงแรม ผู้ปฏิบัติงานด้านสปา ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม และฝ่ายจัดซื้อ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการโรงแรมตามมาตรฐานสากล GBAC STAR และการพัฒนาโรงแรมให้ได้มาตรฐาน และนำ มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า โรงแรมที่เป็นกรณีศึกษามีการบริหารจัดการในการขอรับการรับรองจาก GBAC STAR เป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการก่อนการได้รับการรับรอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนเตรียมการบริหารจัดการ ขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อขอการรับรอง และขั้นตอนเข้าสู่กระบวนการรับรอง 2) ระยะการดำ เนินการภายหลังการได้รับการรับรองจาก GBAC STAR การบริหารจัดการที่ช่วยให้โรงแรมสามารถขับเคลื่อนและพัฒนากิจกรรมบริการเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารบุคคล การนำองค์กร และการควบคุม</p> <p>กระบวนการบริหารจัดการของโรงแรมดังกล่าว สามารถนำ ไปขยายผลให้โรงแรมอื่นใช้เป็นแนวทางในการดำ เนินการเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GBAC STAR ต่อไป</p>ชมพูนุท สิงห์มณีวิภาดา คุณาวิกติกุลวิไลพรรณ ใจวิไลเบญจมาศ สุขสถิตย์พนิตสิรี แพ่งสภา
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162183194การวิเคราะห์ปัจจัยความแออัดของจุดรอสัญญาณไฟจราจรในวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269249
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้เกิดความแออัดภายในวงเวียนและ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดจากปัจจัยความแออัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนของปัจจัย (ANOVA) ด้วยโปรแกรม XLSTAT และ 2) การพัฒนาแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคด้วยโปรแกรม Simulation of Urban MObility โดยการใช้ฐานข้อมูลจากโปรแกรมภูมิศาสตร์สารสนเทศ QGIS โดยตั้งข้อสมมติฐานว่าระยะเวลารอคอยเฉลี่ยและความยาวแถวคอยเฉลี่ยของยานพาหนะไม่แตกต่างกันของทุกกลุ่มที่ทำการทดสอบจำ นวน 5 กลุ่มตามปัจจัยที่กำหนด</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความแออัดของระบบการจราจร ได้แก่ ระยะเวลาสัญญาณไฟจราจร ปัจจัยจำนวนช่องจราจรและปัจจัยการกำ หนดทิศทางของช่องจราจร ทั้งในช่วงเวลาเร่งด่วนและ นอกช่วงเวลาเร่งด่วน แนวทางการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดโดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาณไฟจราจรพบว่า วิธีการ Queue Storage Capacity ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ดังนี้ 1) ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยลดลง 1.58 วินาที/คัน หรือลดลงร้อยละ 0.74 และ 2) ความยาวเฉลี่ยแถวคอยลดลง 0.84 คัน หรือลดลงร้อยละ 4.57 สำ หรับนอกช่วงเวลาเร่งด่วน ดังนี้ 1) ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยลดลง 1.57 วินาที/คัน หรือลดลงร้อยละ 1.41 และ 2) ความยาวเฉลี่ยแถวคอยลดลง 1.77 คันหรือลดลงร้อยละ 15.02</p>ชุลีกร ชูโชติถาวรณัฐพงศ์ ชูโชติถาวร
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162195210ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268995
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน และกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง 21 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้นํ้า 370 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของการบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน ประกอบด้วยระดับปัญหาเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ 2) ด้านการบริหารจัดการนํ้า 3 ) ด้านแหล่งนํ้า 4) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ และ 5) ด้านชุมชน สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์และประเมินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนํ้าในการทำเกษตรระดับชุมชน โดยมีเกษตรกรผู้ใช้นํ้า 30 คน ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองพบว่าเกษตรกรผู้ใช้นํ้ามีความพึงพอใจกิจกรรมการบริหารจัดการนํ้าชุมชนเพื่อการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ผลคะแนนของแบบทดสอบด้านความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน เมื่อเปรียบเทียบค่าทางสถิติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ 0.01 และควรมีการศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการนํ้าอย่างยั่งยืนเพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ในการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ</p>ภาณุพันธ์ พิมพ์แพทย์ธนกฤต ทุริสุทธ์บุษกร สุขแสน
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162211225ความคาดหวังของสถานประกอบการด้านสื่อสารมวลชนต่อทักษะการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชน
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/271253
<p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของสถานประกอบการด้านสื่อสารมวลชนต่อทักษะการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชน ซึ่งทักษะการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ทักษะการเขียนข่าว ทักษะการเขียนบทความ ทักษะการเขียนบทวิเคราะห์ ทักษะการเขียนบทวิจารณ์ ทักษะการเขียนบทสัมภาษณ์ ทักษะการเขียนสารคดี และทักษะการเขียนบทบรรณาธิการ โดยผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นตัวแทนของสถานประกอบการด้านสื่อสารมวลชน ได้แก่ บรรณาธิการอาวุโส บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ หรือบรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน จำนวน 9 ฉบับ และสำนักข่าวออนไลน์ไทยตระกูล The จำนวน 10 แห่ง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หนังสือพิมพ์ไทยรายวันและสำนักข่าวออนไลน์ไทยตระกูล The คาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชน ในที่นี้คือนักข่าว/นักเขียนรุ่นใหม่ มีทักษะการเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง โดยใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง รวมทั้งใช้ภาษาเขียนและไม่ใช้ภาษาพูด นอกจากนี้ต้องมีการตรวจทานก่อนส่ง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กร อีกทั้งต้องมองประเด็นและจับประเด็นให้ได้อย่างแหลมคม ไม่หลงประเด็น ข้อมูลที่นำมาอ้างอิงก็ต้องมีนํ้าหนัก มีความถูกต้อง และมีแหล่งที่มาชัดเจน น่าเชื่อถือ ในการเขียน นักข่าว/นักเขียนรุ่นใหม่ต้องมีตรรกะที่ดีมีความสมเหตุสมผล สามารถย่อยเรื่องยากให้อ่านง่าย ลำดับเรื่องราวได้เร็ว มีแก่นความคิดที่คมคาย มีมุมมองที่แตกต่าง แต่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง อีกทั้งยังต้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำ SEO (Search Engine Optimization) ได้อีกด้วย</p> <p>สำหรับการสัมภาษณ์ นักข่าว/นักเขียนรุ่นใหม่ต้องรู้จักเลือกบุคคลที่จะไปสัมภาษณ์มีการเตรียมตัวที่ดี รู้ว่าสัมภาษณ์คนนี้ไปเพื่ออะไร อยากให้เขาบอกอะไรแก่เรา รวมทั้งศึกษาบทสัมภาษณ์จากสื่อต่าง ๆ ที่เขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ จากนั้นก็เตรียมประเด็นคำถามที่สดใหม่และแตกต่างจากสื่ออื่น ๆ เวลาสัมภาษณ์ก็ต้องรู้จักตั้งคำถามและตั้งใจฟัง หากไม่เข้าใจในคำตอบควรถามทันที นอกจากนี้ต้องทำงานแบบมืออาชีพ ให้เกียรติผู้อื่น และมีความตรงต่อเวลา ต้องมีจริยธรรมในการทำอาชีพสื่อสารมวลชนไม่ให้มีอำนาจมาครอบงำโดยเฉพาะอำนาจทางการเมือง</p>ธนะโรจน์ สิทธาธีระวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162226244การพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ผ่าน E-Training Platform for Teacher Capacity Building
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272098
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำ เป็นในการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ที่จำ เป็นต่อชีวิตของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้าง E-Training Platform for Teacher Capacity Building ที่สร้างเสริมความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ที่จำ เป็นต่อชีวิตของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ 3) ศึกษาผลของ E-Training Platform for Teacher Capacity Building ที่มีต่อความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ที่จำ เป็นต่อชีวิตของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ประเมินความต้องการจำ เป็นในการพัฒนาความสามารถของครู ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างคือครู ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำ นวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวม 11,077 คนใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ 2) สร้าง E-Training Platform และหลักสูตรฝึกอบรมจากการนำ ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 มายกร่างกรอบหลักสูตรโดยใช้การศึกษาเอกสารและจากนั้นนำ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 1,742 คน ที่สมัครเข้ารับการอบรมการประชุมวิชาการคุรุสภา ประจำ ปี 2564 และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนา E-Training Platform เพื่อนำ ไปทดลองใช้ และ 3) ทดลองและศึกษาผลการทดลองใช้E-Training Platform กับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ รวม 309 คน จาก 12 โรงเรียน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความต้องการจำ เป็นได้รับการส่งเสริมให้สามารถฝึกให้ผู้เรียนถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในรายวิชาที่สอนในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่น แอนิเมชันสูงที่สุด (PNI<sub>modified</sub>= .45) E-Training Platform ในการพัฒนาครูประกอบด้วยโครงสร้างเนื้อหาจำ นวน 10 โมดูล และผลจากการทดลองใช้ E-Training Platform และหลักสูตรฝึกอบรมพบว่า ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำ เป็นต่อชีวิตของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจด้านระบบของหลักสูตร ด้านการอบรมในภาพรวมและด้านการอบรมจำแนกตามโมดูลในระดับมากในทุกประเด็น</p>วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลงพร้อมพิไล บัวสุวรรณอุษณี ลลิตผสานอรพรรณ บุตรกตัญญูนงลักษณ์ มโนวลัยเลาว์นารท ศรีละโพธิ์มฤษฎ์ แก้วจินดาสุดารัตน์ สารสว่างวีรภัทร์ สุขศิริรังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์สายพันธุ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162245264ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานผ่านเกมไมน์คราฟต์ฉบับเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/267819
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานและเพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานผ่านเกมไมน์คราฟต์ฉบับเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนไทยคณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการวิจัยและพัฒนา 5 รอบ ตลอดระยะเวลา 5 เดือน จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 20 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 20 คน <br />รวมทั้งสิ้น 40 คน จากนั้นคณะผู้วิจัยดำเนินการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ เพื่อค้นพบข้อมูลที่แท้จริง และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐานผ่านเกมไมน์คราฟต์ฉบับเพื่อการศึกษา มีประสิทธิผลสูงสุดเมื่อใช้สื่อเกมควบคู่กับสื่อใบงานการประเมินผลท้ายคาบเรียน การทำกิจกรรมกลุ่ม และการนำเสนอผลงาน ซึ่งช่วยยกระดับพัฒนาการนักเรียน2 มิติ ดังนี้ 1) ด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเชิงทฤษฎี ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดวิพากษ์ทักษะการคิดเชิงตรรกะ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา และ 2) ด้านจิตพิสัย ได้แก่ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง การแสดงออกเชิงพฤติกรรมภายใต้กฎกติกา ความสามารถในการยอมรับความแตกต่างทางความคิด ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะความร่วมมือ และทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้</p>อนุสรา สุวรรณวงศ์สวภพ เทพกสิกุล
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162265278การวิเคราะห์คุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21 กับคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขงจื่อที่ปรากฏในคัมภีร์หลุนอี่ว์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272793
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21กับคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขงจื่อที่ปรากฏในคัมภีร์หลุนอี่ว์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร มีขอบเขตการวิจัยคือ ศึกษาตัวบทคัมภีร์หลุนอี่ว์ฉบับแปลภาษาไทยเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดด้วยวิธีการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ในคัมภีร์หลุนอี่ว์มีข้อความคำสอนที่ปรากฏถึงคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขงจื่ออย่างชัดเจนทั้งหมด 23 ตัวบท เมื่อนำตัวบทมาจำแนกตามกรอบแนวคิดคุณลักษณะของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในศตวรรษที่ 21 พบว่าคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขงจื่อที่ปรากฏในคัมภีร์หลุนอี่ว์ มีคุณลักษณะการเรียนเพื่อรู้ (Learning to Know) เป็นรากฐานแนวคิด ยังพบอีกว่า จากตัวบทที่ปรากฏในคัมภีร์หลุนอี่ว์สามารถจำแนกคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของขงจื่อออกเป็น 5 คุณลักษณะ และมีจำนวนตัวบทที่พบ ดังนี้ 1) การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติจริง (Learning to Do) ปรากฏ 4 ตัวบท 2) การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Learning to Live Together)ปรากฏ 4 ตัวบท 3) การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to be) ปรากฏ 3 ตัวบท 4) การเรียนรู้เพื่อตระหนักคิด (Learning to Realize) ปรากฏ 10 ตัวบท และ 5) การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Livelong Learner) ปรากฏ 2 ตัวบท ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ค้นพบแก่นสาระสำคัญในการสร้างคุณลักษณะที่พึงมีในการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาคนให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตได</p>วัชราภรณ์ เจริญสะอาดเบญจมาภรณ์ ฤาไชยณัฏฐ์ธนา โกยสมบูรณ์
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162279295การพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270178
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรในการพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ และ 2) พัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน และสำรวจการยอมรับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของเกษตรกร 200 คน และทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยแบบพหุคูณ ค่าที และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์หนักขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่ประสบปัญหาบุคลากรความรู้ งบประมาณ อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อม ส่วนหนึ่งแก้โดยให้ความรู้การใช้สื่อสังคมออนไลน์แก่เกษตรกร ส่วนการรับรู้ประโยชน์และความง่ายต่อการใช้งานสื่อการตลาดออนไลน์มีผลต่อทัศนคติการใช้สื่อการตลาดออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) รูปแบบการจัดการพื้นที่การเรียนรู้การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อยกระดับเกษตรกรอัจฉริยะ ประกอบด้วย การจัดหลักสูตร การจัดการพื้นที่การเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนรู้รูปแบบผ่านการรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง และ 3) ผลการทดสอบหลังเรียนรู้สูงกว่า ก่อนเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.37, S.D. = 0.67)</p>ศศิพร ต่ายคำสุทิตา จุลกนิษฐ์ศรวิชา กฤตาธิการ
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162296311SYNTACTIC INTERPRETATIONS OF ADJECTIVE CLAUSES AND REDUCED ADJECTIVE CLAUSES
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270454
<p>This study examined syntactic interpretations of adjective clauses and reduced adjective clauses in order to discover the similarities and differences between the two constructions. The dataset of applied linguistics research articles was gathered from Journal of English for Academic Purposes and Journal of English for Specific Purposes due to their indexation in SCOPUS Q1 database. The dataset of novels as written in English was gathered from Peter Pan and The Secret Garden due their best-seller status (www.amazon.com). The dataset of a travel guidebook was gathered from France: Inspire/ plan/ discover/ experience, which is a country where tourists visit the most. A total number of approximately 600,000 words equally divided into the three datasets are made up of 44 tokens, referring to sentences. The analytical framework follows generative grammar to see the system of the two constructions. After the process of the data analysis, three linguists whose mother tongue is English were asked to validate the data analysis in order to ensure validity and reliability. The results in this study show that the adjective clauses in applied linguistics research articles, novels and a travel guidebook in English occur at 64 percent, 75 percent, and 81.82 percent, respectively. This phenomenon is explained by space limitation, pragmatic aspects of end-weight principle and pragmatic aspects of least effort requirement. It is expected that the results of this current study will be useful for learners of English as a Foreign Language (EFL) in order to apply the use of adjective clauses and reduced adjective clauses in writing applied linguistics research articles, novels and a travel guidebook in English correctly and appropriately</p>อภินันท์ วงศ์กิตติพร
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162312325INFORMATION ASYMMETRY IN CROSS-BORDER AGRICULTURAL PRODUCT E-COMMERCE: PERSPECTIVE OF POVERTY ALLEVIATION THROUGH E-COMMERCE IN CHINA
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/267272
<p>This study analyzes the performances, factors, and impact of information asymmetry being confronted by producers, platforms, and consumers engaged in cross-border agricultural product e-commerce based on the theoretical research and practical experience of Chinese poverty alleviation through e-commerce. It lays a theoretical foundation for adopting poverty reduction via cross-border agricultural product e-commerce in rural areas and provides feasible suggestions for less-developed regions. By conducting a literature review and interviewing, we discovered the reality, cause, and adverse outcome of asymmetric information dilemma in cross-border agricultural e-commerce. We argue that the risk of information asymmetry generated can weaken the interests of all involving stakeholders and affect the operational efficiency of market. Therefore, the corresponding solutions are proposed to consolidate the outcome of anti-poverty via e-commerce, improve the well-being of agricultural producers, and realize common prosperity</p>Huilin Lei Lei Mu
Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-262024-08-26162326342