วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal <p><strong>วารสารปัญญาภิวัฒน์ ISSN 2651-1088 (ออนไลน์)</strong></p> <p> </p> <p><strong>วารสารปัญญาภิวัฒน์ </strong>เป็นวารสารวิชาการ กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันได้รับการประเมินให้อยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และเป็นวารสารที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)</p> <p> - ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p> - ประเภทบทความที่เปิดรับ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์</p> <p> - ภาษาของบทความ ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ </strong>ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>จำนวนบทความ</strong> 20 บทความต่อฉบับ</p> th-TH <p>“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”</p> journal@pim.ac.th (Associate Professor Dr.Tippaporn Mahasinpaisan) hathaichanoksao@pim.ac.th (Hathaichanok Saosung) Tue, 17 Dec 2024 13:20:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269255 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ เสนอรูปแบบและองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต้นแบบของชุมชนการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนความสำคัญ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความวิชาการ บทความวิจัยรวมถึงการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหรือการเกษตรกรรม ก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวสำหรับเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ โดยชุมชนมีความรับผิดชอบในแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรกรรมภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศ การนำเสนอวิถีชีวิตด้านการเกษตรโดยเกษตรกรอย่างใกล้ชิด นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิทยาการเกษตรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเกษตรกรที่มีประสบการณ์และความภูมิใจเพื่อที่จะนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้และเกิดจิตสำนึก เข้าใจ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศ พร้อมกับสัมผัสบรรยากาศของชุมชน การจำหน่ายสินค้าการเกษตร รวมถึงสินค้าเกษตรแปรรูปและยังเป็นการพัฒนาความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ตอบสนองกลุ่มคนเมืองที่มีความสนใจในวิถีชีวิตชนบท สัมผัสกับธรรมชาติ ร่วมกิจกรรมนันทนาการในชุมชน แสวงหาวิถีชีวิตที่สงบสุขและปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตจากกิจกรรมความรู้ด้านการเกษตร</p> <p>ประโยชน์สำคัญจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของสังคมและชุมชน โดยแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย 1) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2) การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ศึกษา ทบทวนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหา และอุปสรรครวมถึงแผนพัฒนาปรับปรุงการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 4) สนับสนุนโอกาสการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ 5) สร้างการตลาดในยุคดิจิทัลเพื่อขยายฐานของการท่องเที่ยว 6) ออกแบบการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัย และ 7) ส่งเสริมการดูแลการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p> สฤษดิ์ ศรีโยธิน, ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล, พิมพ์มาดา วิชาศิลป์, จิรัฐ ชวนชม, อัมพร ศรีประเสริฐสุข, ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน, เบญจศรี ศรีโยธิน Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/269255 Mon, 23 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเจลให้พลังงานจากอินทผาลัมของผู้บริโภค https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/275069 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเจลให้พลังงานจากอินทผาลัม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค จำนวน 400 คน ผ่านการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำ หน่าย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเจลให้พลังงานจากอินทผาลัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเฉพาะปัจจัยด้านราคาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสูงที่สุด รองลงมาคือ ช่องทางการจัดจำ หน่าย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขณะที่ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านบุคลากร พบว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ</p> <p>ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการควรเน้นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเจลให้พลังงานจากอินทผาลัมที่มีคุณภาพสูงในราคาที่เหมาะสม และจัดจำหน่ายผ่านช่องทางที่เข้าถึงง่ายและน่าเชื่อถือ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค</p> วิไลพรรณ ใจวิไล, วิภาดา คุณาวิกติกุล, ชมพูนุท สิงห์มณี, วรินพร กลั่นกลิ่น Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/275069 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 FACTORS AFFECTING DECISIONS TO PURCHASE COSMETICS AMONG FEMALE CABIN CREW OF QATAR AIRWAYS https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274682 <p>This study investigates the decision-making process for purchasing cosmetics among female cabin crew at Qatar Airways. It explores how factors like nationality, age, marital status, education, position, and experience influence their choices. Additionally, it examines external factors (subjective norms, brand image, company regulations) and internal factors (perceived usefulness, brand trust, gratification shopping, green cosmetics awareness) on their purchasing decisions. A mixed-method approach was used, combining qualitative and quantitative research methodologies. Qualitative data were collected through semi-structured interviews with 20 cabin crew members (using convenience and quota sampling) segmented by position (F2: 40%, F1: 30%, CS: 20%, CSD: 10%). Quantitative data were collected through surveys from 400 cabin crew members (using purposive and quota sampling) again segmented by position. Statistics for data analysis included the frequency, percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing (t-tests, ANOVA, regression). The qualitative research identified “Company Regulations” as an additional factor. Crew members primarily purchase cosmetics required by the company, with lipsticks (deep red/pink) being the most popular choice due to company guidelines. Additionally, crew members mostly make independent decisions, with colleagues’ recommendations influencing brand selection. Cosmetics are also purchased for stress relief and self-gifting. The quantitative research found that most respondents were Asian, aged 26-30, single, with bachelor’s degrees and no prior flying experience. Age, position, and experience did influence purchasing decisions. External factors (subjective norm, brand image) and internal factors (perceived usefulness, gratification shopping) significantly affected purchasing decisions (p &lt; 0.05).</p> Pakwan Watjanapoom, Opas Piansoongnern Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274682 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 DETERMINANTS OF GEN Z CUSTOMERS’ LOYALTY IN THE RESTAURANT BUSINESS IN DONGGUAN CITY, CHINA: A CASE STUDY OF HAIDILAO HOTPOT RESTAURANT https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272310 <p>Considering the rapid development of the food service industry, restaurants are facing more challenges. This study aimed to determine how marketing factors, such as perceived food quality, perceived service quality, perceived price reasonableness, perceived convenience, promotion, and perceived store image, affect customer loyalty among Generation Z consumers in Haidilao hotpot restaurants. Additionally, the study looked at the mediating roles of brand image in the hotpot restaurant industry based on the social exchange theory.The survey collected data from 493 Gen Z customers of Haidilao hotpot restaurants in Dongguan City, China. The results indicated that perceived product quality (β = .138; p&lt;.001), perceived price reasonableness (β = .266; p&lt;.001), perceived convenience (β = .106; p&lt;.009), and promotion (β = .133; p = .001) had direct impacts on customer loyalty. The results also showed that brand image mediated between perceived product quality (t = 3.543, p = .000), perceived service quality (t = 4.170, p = .000), perceived convenience (t = 3.141, p = .002), and perceived store image (t = 5.021, p = .000), and customer loyalty.</p> Xiaoming Yang, Akaraphun Ratasuk Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272310 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268116 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบด้านศักยภาพการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ 2) พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ 3) แนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนที่เหมาะสมกับท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบผสาน วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่มจากผู้ประกอบการชุมชนที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม และสมาชิกที่เป็นผู้ขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 ราย เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวน 108 ราย คัดเลือกด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์โมเดลการวัด การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบด้านศักยภาพการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการชุมชนชายแดน ไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) การวางแผนและการผลิต (l = 0.932) 1.2) การเงินและบัญชี (l = 0.826) 1.3) การจัดจำ หน่าย (l = 0.855) 1.4) การจัดการกลุ่ม (l = 0.594) 1.5) การควบคุมการผลิต (l = 0.791) 1.6) คุณธรรมจริยธรรม (l = 0.800) และ 7) แรงงานในครอบครัว<br />(l = 0.791) 2) การพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ด้วยวิธีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดส่งสินค้าโดยใช้บริการขนส่งพัสดุพบว่า ผู้ประกอบการชุมชนมีความรู้และสามารถนำไปวิเคราะห์ในการเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุที่เหมาะสม สามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน และ 3) แนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เหมาะสมกับท้องถิ่นพบว่า แนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เหมาะสมกับท้องถิ่นคือ การพัฒนาด้านการจัดส่งสินค้าโดยการความรู้ และเข้าใจในระบบของบริษัทขนส่งต่าง ๆ การพัฒนาด้าน การวางแผน และการจดบันทึกข้อมูลในการประกอบธุรกิจเพื่อนำมาใช้พยากรณ์การผลิตได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปวางแผนการเชื่อมโยงทรัพยากรในชุมชนและกิจกรรมทางธุรกิจอย่างเป็นระบบการพัฒนาด้านการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่โดยสร้างแรงบันดาลใจและบ่มเพาะในครอบครัวเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนในชุมชนรักถิ่นฐาน และการพัฒนาด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ เช่น ในการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบหรือสินค้า ความร่วมมือทางด้านการผลิต การจัดจำหน่ายและการขนส่ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ และภูมิปัญญาเพื่อนำ มาพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน</p> นฤมล วลีประทานพร, นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย, นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์, ทรงกลด พลพวก, ณภัทชา ปานเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/268116 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจใช้โซล่าเซลล์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว ในจังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา และตราด https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270856 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะฟาร์ม การจัดการพลังงาน รวมถึงต้นทุน และผลตอบแทนจากการเลี้ยงกุ้งขาว และปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจใช้โซล่าเซลล์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในจังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา และตราด รวมจำนวน 150 รายและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และแบบจำลองโลจิต ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีลักษณะการเลี้ยงแบบหนาแน่น โดยมีผลผลิตกุ้งขาวเฉลี่ย 1,352.70 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้มีการใช้พลังงานในการจัดการการเลี้ยงค่อนข้างมาก มีต้นทุนพลังงานเฉลี่ย 15,835.80 บาท/ไร่ และมีต้นทุนรวม 140,967.69 บาท/ไร่ มูลค่าผลผลิตรวม 145,593.45 บาท/ไร่ ทำให้มีรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมด 4,625.76 บาท/ไร่ หรือคิดเป็น 4.10 บาท/กิโลกรัม ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจใช้โซล่าเซลล์ จากการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิต พบว่า ระดับการศึกษา การจ้างแรงงาน รายได้จากการเลี้ยงกุ้งขาว ต้นทุนค่าไฟฟ้า ทัศนคติที่มีต่อการใช้โซล่าเซลล์ และความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจใช้โซล่าเซลล์ของเกษตรกร ตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p>ดังนั้นภาครัฐควรส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้และประโยชน์ของการใช้โซล่าเซลล์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงกุ้งขาวต่อไป</p> ชลธิชา ทองบุญโท, กุลภา กุลดิลก, ศันสนีย์ หวังวรลักษณ์ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270856 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวาดแผนที่เส้นทางผู้บริโภคในการเข้าถึงบริการภาครัฐ ด้านสวัสดิการสังคมที่เป็นตัวเงินสำหรับแรงงานนอกระบบในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270853 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวาดแผนที่เส้นทางผู้บริโภคในการเข้าถึงบริการภาครัฐด้านสวัสดิการสังคมที่เป็นตัวเงินสำ หรับแรงงานนอกระบบในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยพิจารณาเส้นทาง ผู้บริโภคใน 4 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงนโยบาย รูปแบบเส้นทางผู้บริโภค จุดสัมผัสกับตราสินค้า และต้นทุนด้านระยะเวลาและค่าใช้จ่าย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการวิจัยเอกสาร<br />และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อวาดแผนที่และสร้างข้อสรุปเชิงเหตุผล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ แรงงานนอกระบบในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 14 คน ซึ่งได้รับการเลือกแบบเจาะจงกระจายตาม 4 กลุ่มอาชีพหลักของแรงงานนอกระบบในจังหวัดพะเยา ได้แก่ เกษตรกร รับจ้างทั่วไป ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และครอบคลุมทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยผลการวิจัยสรุปได้ใน 4 ประเด็นคือ 1) แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่เข้าถึงสวัสดิการสังคมที่เป็นตัวเงินของรัฐอย่างน้อย 1 นโยบาย โดยผู้ที่เข้าถึงนโยบายมากที่สุด (5 นโยบาย) คือ เกษตรกรหญิงแต่งงานแล้วอายุ 60 ปีและมีรายได้น้อยกว่า 50,000 บาท/ปี 2) รูปแบบเส้นทางผู้บริโภคมี 3 รูปแบบ ได้แก่ ออฟไลน์ ออนไลน์ และแบบผสม โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดในกลุ่ม ผู้ให้สัมภาษณ์คือ รูปแบบผสม และมีเพียง 1 คน ที่ใช้ช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียวคือ ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ชายโสดอายุ 24 ปีมีรายได้มากกว่า 100,000 บาท/ปี 3) การสัมผัสกับตราสินค้าเกิดขึ้นในขั้นการรับรู้มากที่สุด รองลงมาคือ การสมัครและการรับสิทธิประโยชน์ซึ่งมีการสัมผัสเท่ากัน การจ่ายเงินสมทบ และการประเมินทางเลือกตามลำดับ และ 4) การจ่ายเงินสมทบมีต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายที่เสียไปสูงที่สุด รองลงมาคือการสมัคร การรับสิทธิประโยชน์ การรับรู้ และการประเมินทางเลือกตามลำดับ</p> ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์, ดารารัตน์ คำเป็ง, ทนงศักดิ์ นิราศ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270853 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270613 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) วัดระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) วัดระดับความพร้อมของชุมชนที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี คือ นักท่องเที่ยวยังขาดการรับรู้ข้อมูลทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว และขาดความสะดวกและความเพียงพอของการชำระสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต นอกจากนี้ในส่วนของคนในชุมชนยังพบว่า ขาดการมีส่วนร่วมในการพิจารณาถึงประโยชน์ หรือผลกระทบที่จะได้รับจากการจัดการท่องเที่ยวด้านโลจิสติกส์ และคนในท้องถิ่นยังขาดการได้รับ ข่าวสารเกี่ยวกับร้านอาหาร 2) ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ด้านการไหลทางการเงิน ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มีอาชีพและระดับการศึกษาต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในด้านการไหลทางการเงิน มีค่าความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 3) ระดับความพร้อมโดยรวมของชุมชนที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าน้อยที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมโดยชุมชนที่มีอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน จะได้รับการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ฟื้นฟู และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น มีค่าแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และ 4) แนวทางการบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี คือ ในส่วนของนักท่องเที่ยวควรมุ่งเน้นบริหารจัดการด้านการไหลทางการเงินตามอาชีพและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ส่วนชุมชนควรมุ่งเน้นบริหารจัดการด้านการมีส่วนร่วมตามอายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของชุมชนเป็นสำคัญ</p> เศรษฐภูมิ เถาชารี Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270613 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 THE ROLE OF EMOTIONAL LABOR IN PREDICTING TURNOVER INTENTION: INVESTIGATING JOB SATISFACTION AS A MEDIATOR https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272488 <p>This study delves into the interaction between emotional labor and job satisfaction among the workforce in Chinese enterprises, with a particular focus on their combined impact on turnover intention. To aid businesses in navigating rapid market changes and management challenges, this research achieves several objectives using cross-industry survey data: (1) systematically assessing the direct influence of various forms of emotional labor—including surface acting, deep acting, and authentic emotional expressions—on employees’ turnover intention; (2) exploring the mediating role of job satisfaction between emotional labor and turnover intention; (3) constructing and validating a theoretical model depicting the relationships among emotional labor, job satisfaction, and turnover intention. Combining online surveys and email questionnaires, this study surveyed employees from various enterprises in Hebei Province, China, collecting a total of 532 responses, of which 428 were deemed valid. Grounded in emotional labor theory, the study employs hierarchical mediation regression modeling to investigate the impact of emotional labor on turnover intention.</p> Xiaobo Xu Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272488 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่เน้นสมรรถนะปฏิบัติการจัดนำเที่ยวสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี เพื่อเตรียมกำลังคนสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย 4.0 กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274385 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฯ 2) พัฒนาหลักสูตรฯ 3) ทดลองใช้หลักสูตรฯ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฯ มีวิธีการวิจัย 4 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ โดยระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว 40 คน และกลุ่มนักศึกษาที่มีประสบการณ์ต่อธุรกิจการท่องเที่ยว 66 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย 5 คน ที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาหลักสูตรฯ ทำการประชุม กลุ่มย่อยเพื่อประเมินบริบท และยกร่างหลักสูตรฯ ในระยะที่ 2 แล้วประเมินปัจจัยนำ เข้าด้วยการสัมมนาอิง ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตรฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตรฯ กับกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 กำหนดโควตา 2 กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 26 คน ซึ่งกลุ่มที่ 1 ทดลองใช้เครื่องมือวัดและประเมินผล และกลุ่มที่ 2 ทดลองปฏิบัติการจัดนำเที่ยว โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน Paired–Sample t-test จากแบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม ระยะที่ 4 เจาะจงกลุ่มเป้าหมายจากผู้ใช้หลักสูตร 30 คน ประเมินผลผลิตจากประสิทธิผลหลักสูตรฯ โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาดัชนีความสอดคล้องเป็นเครื่องมือ และใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ทั้งกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและนักศึกษามีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันประเด็นประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะปฏิบัติการระหว่างนำ เที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยต้องการเสริมสมรรถนะปฏิบัติการนำ เที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จึงประเมินบริบทสรุปเนื้อหากับสมรรถนะ และยกร่างหลักสูตรฯ ในระยะที่ 2 มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) สมรรถนะสำคัญ 4) โครงสร้างและเนื้อหา 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล ซึ่งผลประเมินความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และความเหมาะสมระดับมาก ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้หลักสูตรฯ แบ่งเป็นผลการทดลองใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลของกลุ่มที่ 1 ซึ่งแบบทดสอบ และแบบประเมินสมรรถนะ มีประเด็นเนื้อหาสื่อสารเข้าใจ โดยแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นสูงเท่ากับ 0.95 จึงนำ ไปใช้กับกลุ่มที่ 2 พบผลประเมินด้านความรู้ ความเข้าใจจากคะแนนทดสอบหลังฝึกอบรมมีค่าสูงขึ้นกว่าคะแนนทดสอบก่อนฝึกอบรม เปรียบเทียบค่า t เป็น 9.048 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนทดสอบสมรรถนะปฏิบัติการจัดนำ เที่ยวสูงกว่ามาตรฐานที่กำ หนดร้อยละ 80 ชี้วัดประสิทธิผลด้านทักษะและสมรรถนะอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกประเด็น และระยะที่ 4 สรุปผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุด จึงตัดสินผลว่าหลักสูตรนี้ดี และสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป</p> จุฑาพร บุญคีรีรัฐ, ณัฏฐชัย จันทชุม, ทิพาพร สุจารี Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274385 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบ 4 ภูมิภาคในโครงการ ‘สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม’ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/275315 <p>การศึกษาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบ 4 ภูมิภาคในโครงการ ‘สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม’เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม ในฐานะผู้ผลักดันนโยบายและคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบ วิทยากรประจำ โครงการ และผู้ดูแลเฟซบุ๊กสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม จำนวน 3 ท่าน ผู้รับผิดชอบโครงการพื้นที่ จำ นวน 4 ท่านประชาชนและเยาวชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ดังนี้ ชุมชนกงไกลลาส จังหวัดสุโขทัย 101 คน ชุมชนบ้านตีนตก จังหวัดกาญจนบุรี 1,300 คน ชุมชนท่าพระ จังหวัดขอนแก่น 150 คนชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง และชุมชนบ้านสังกาอู้ จังหวัดกระบี่ 180 คน โดยใช้การเก็บข้อมูล 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในด้านผู้ส่งสาร เนื้อหา สื่อ และผู้รับสาร การสำรวจบริบทชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร การสังเกตการณ์การดำเนินงานตามแผน และการประชุมถอดบทเรียน ระหว่างปี 2559-2562</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีกลยุทธ์การสื่อสารด้านผู้ส่งสาร เนื้อหาสาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้รับสารและผลการสื่อสาร โดยกลยุทธ์ด้านผู้ส่งสารพบว่า มีผู้ส่งสารทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการประกอบด้วยบุคคลในและนอกชุมชน ซึ่งกลยุทธ์ผู้ส่งสารที่สำคัญคือ การให้ความสำคัญกับสื่อบุคคลที่มีความสามารถทักษะแรงจูงใจ และเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นได้ โดยสื่อบุคคลนี้ต้องมีความน่าเชื่อถือ เข้าถึงง่าย และมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีความคุ้นเคยกับผู้รับสาร กลยุทธ์ด้านเนื้อหา พบว่า มีเนื้อหาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม โดยชุมชนเป็นผู้สำรวจปัญหา เลือกประเด็นที่ต้องการสื่อสารและร่วมออกแบบ และผลิตเนื้อหา ซึ่งทำ ให้เนื้อหาสอดรับกับความต้องการของชุมชน และมีลักษณะยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน ส่วนกลยุทธ์ด้านเนื้อหาสารในเฟซบุ๊กใช้เนื้อหาตามกระแส เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และกระตุ้นให้เกิดการแชร์ ด้านกลยุทธ์ ด้านการใช้สื่อ/ช่องทางการสื่อสารของชุมชน พบว่า มีการใช้สื่อและช่องทางที่หลากหลายโดยเน้นการประชุมมากที่สุด เพราะก่อให้เกิดการรวมตัวกันของประชาชนในชุมชน ด้านผู้รับสารคำ นึงถึงองค์ประกอบ 3 ด้านของผู้รับสาร คือ ทักษะในด้านการสื่อสาร ทัศนคติต่อตนเองต่อผู้ส่งสาร และเนื้อหาสารและระดับความรู้ มีการเสริมศักยภาพผู้รับสารผ่านกิจกรรมชุมชนมีระดับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 3 ระดับ คือ การมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งสาร และผู้วางแผน นวัตกรรมการสื่อสารที่สรุปได้จากพื้นที่ต้นแบบทั้ง 4 ภูมิภาค ได้แก่ การปรับฐานความคิดและการสื่อสารด้วยหลักการ 5C’s ได้แก่ Create, Curate, Contribute, Cross Community และ Consistent</p> กันยิกา ชอว์ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/275315 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประกอบสร้างความหมายการบริโภคไก่ให้กับสังคมไทยจากโปสเตอร์แคมเปญโฆษณาไก่เคเอฟซีเทศกาลตรุษจีนบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/273520 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายการบริโภคไก่ให้กับสังคมไทยจากโปสเตอร์แคมเปญโฆษณาไก่เคเอฟซีเทศกาลตรุษจีนบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก งานนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาตัวบทซึ่งเป็นโปสเตอร์จากแคมเปญตรุษจีนของเคเอฟซี ประเทศไทย จำ นวน 7 ชิ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2567 เผยแพร่บนเฟซบุ๊กเคเอฟซี ประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แนวคิดสัญวิทยา แนวคิดโลกาภิวัฒน์ และแนวคิดเทศกาลตรุษจีนเป็นเลนส์ในการอธิบายปรากฏการณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตสินค้าประกอบสร้างความหมายการบริโภคไก่ผ่านสื่อโปสเตอร์ในช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างความหมายจากการผสมผสานเอกลักษณ์ของแบรนด์ระดับโลกเข้ากับคุณค่าที่กลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนยึดถือ กลยุทธ์หลักในการสร้างความหมาย ได้แก่ การใช้องค์ประกอบของเอกลักษณ์หลักของแบรนด์เคเอฟซี การผสมผสานชุดความหมายจากประเพณีจีนแบบดั้งเดิม และการใช้นักแสดงวัยรุ่นไทยเชื้อสายจีน โฆษณาเคเอฟซีเทศกาลตรุษจีนเป็นตัวอย่างการนำแนวคิด การผสมผสานความเป็นโลกและความเป็นท้องถิ่น (Glocalization) โดยเคเอฟซีปรับองค์ประกอบของแบรนด์ระดับโลกให้เหมาะสมกับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างสมดุล ชุดความหมายที่ผู้ผลิตเลือกมาใช้ในการสร้างสินค้าสัญญะเป็นการผสมผสานเชิงวัฒนธรรมระหว่างความเป็นสากลกับความเป็นจีน ส่วนความเป็นไทยที่ปรากฏมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การใช้สัญญะในการโฆษณาเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตได้สร้างความหมายชุดใหม่ซึ่งสะท้อน ค่านิยมความเชื่อของกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นและชุดความหมายเหล่านั้นล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่องทั้งสิ้น</p> พิทยา พละพลีวัลย์ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/273520 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272186 <p>การศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ สู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบฉกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสุ่มมาแบบกลุ่ม 400 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจากโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง และมีคุณลักษณะของผู้ประกอบการฯ ได้แก่ สุขภาพดี มีความมั่นคงทางจิตใจ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ บริหารจัดการได้ มีความเชื่อมั่น และมั่นคงทางการเงิน 2) ปัจจัยและองค์ประกอบ กระบวนการ ได้แก่ 2.1) การมีส่วนร่วมกำ หนดความต้องการ ร่วมดำ เนินงาน ร่วมรับผิดชอบ และร่วมประเมินผล 2.2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ และ 2.3) แรงจูงใจ ต้องการประสบความสำเร็จ และมีรายได้ และ 3) รูปแบบการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 3.1) Input ผู้สูงอายุที่คุณลักษณะตามผลการศึกษาข้อ 1 3.2) Factors ปัจจัยและองค์ประกอบตามผลการศึกษาข้อ 2 3.3) Process ประกอบด้วย การวิเคราะห์บริบท การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การดำ เนินการจัดการเรียนรู้ และการขยายผลและพลิกแพลง และ 3.4) Output ผู้สูงอายุมีทักษะ และความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ดังนั้นจึงเรียกโมเดลนี้ว่า “CLLLS MODEL”</p> ธวัช ราษฎร์โยธา, เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/272186 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 STUDY ON THE FACTORS AFFECTING THE BEHAVIORAL INTENTION OF STUDENTS MAJORING IN ART DESIGN TO USE AIGC AIDED DESIGN https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274373 <p>This study aims to discuss the factors affecting the behavioral intention of students majoring in Art Design at the College of Chinese &amp; ASEAN Arts, Chengdu University to use AIGC aided design. Based on the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT), this paper identifies five factors that affect the willingness of students majoring in art design to use Artificial Intelligence Generated Content (AIGC) aided design, and analyzes their relationship with the Behavioral Intention (BI). A model containing five latent variables, including Performance Expectancy (PE), Effort Expectancy (EE), Social Influence (SI), Facilitating Condition (FC) and Attitude (ATT), is constructed to test the significant impact of students on Behavioral Intention (BI). By adopting the mature scale design questionnaire and quota sampling method, 500 questionnaires were distributed among 818 students majoring in art design in three directions (Visual Communication, Environmental Art Design and Product Design) from four grades (grades 2020-2023) at a rate of 61%, and 476 valid questionnaires were recovered, and corresponding data were analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA) and Structural Equation Modeling (SEM). The results of data analysis show that all independent and mediating variables have a significant impact on the Behavioral Intention (BI) of the dependent variable, in which Social Influence (SI) and Performance Expectancy (PE) have the greatest impact. Therefore, the teaching management institutions in the field of art design should evaluate and improve the current teaching mode of AIGC aided design based on the results of this study and strengthen the application of AIGC in art and design courses in order to obtain more ideal teaching results.</p> Yuanbo Zhong, Yuhong Dai, Tianyu Luo Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274373 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารโรงเรียนส่งเสริมวิสาหกิจที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับการสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในโลกอนาคต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270815 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษา เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน และเพื่อประเมินรูปแบบดังกล่าว โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์กับผู้บริหาร คณะครู และบุคลากร รวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนส่งเสริมวิสาหกิจที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับการสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในโลกอนาคต ทั้งหมด 8 แห่ง จำนวน 176 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำ เป็น ดำเนินการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิด มีโครงสร้างในการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียน โดยใช้แบบประเมินความถูกต้อง และความเป็นไปได้โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 27 คนวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำ เป็นคือ รูปแบบผู้ร่วมงาน ชื่อรูปแบบที่สร้างคือ “รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงานในการบริหารโรงเรียนส่งเสริมวิสาหกิจที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับการสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในโลกอนาคต” ประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อ ได้แก่ 1) หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) หลักการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย 3) หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 4) หลักการบริหารการใช้ศักยภาพของพื้นที่และทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ยังมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนส่งเสริมวิสาหกิจที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ สำหรับการสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในโลกอนาคต และองค์ประกอบของการบริหาร 8 ข้อ ที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของรูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน รูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก</p> เรวดี โรจน์ประโคน, สุวดี อุปปินใจ, ไพรภ รัตนชูวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270815 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมความสามารถในการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยี ของนักศึกษาครูเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับเด็กปฐมวัย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274242 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเตรียมความพร้อมความสามารถในการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีของนักศึกษาครูเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นคือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัยจำนวน 96 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) หลักสูตรเตรียมความพร้อมความสามารถในการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีของนักศึกษาครูเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3) แบบบันทึกการวิพากษ์หลักสูตรฯ 4) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในการทดลองนำร่อง 5) แบบทดสอบการเลือกใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย พร้อมเกณฑ์การประเมินแบบรูบริก และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อภาพรวมของหลักสูตร และการนำองค์ความรู้ไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาและโครงสร้างหลักสูตร 3) กระบวนการกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตร 4) การวัดและประเมินผลของหลักสูตร และ 5) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ โดยหัวข้อเนื้อหาการอบรมมีจำนวน 3 หัวข้อ ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 The ASSURE กับการเลือกใช้สื่อปฐมวัย กิจกรรมที่ 2 สนุกทุกที่กับลูสพารตส์และกิจกรรมที่ 3 นิทานแสนสนุกกับคุณครูอวตาร มีหลักการอันเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ถูกถ่ายทอดจำนวน 5 ประการ โดยเมื่อทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มเป้าหมายพบว่า ความสามารถในการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีของนักศึกษาครูเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ออนไลน์ของเด็กปฐมวัยของกลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยภาพรวมที่ 86.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจที่มีต่อภาพรวมของหลักสูตร และการนำองค์ความรู้ไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด </p> โชติวัน แย้มขยาย, อัปสรสิริ เอี่ยมประชา, ฌลาพิชญ์ บุญจิตสิทธิ์ศักดิ์, ศิชา สังวารวงษ์, ชัญญา ชาตพิทยากุล Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274242 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 A DEVELOPMENT MODEL FOR CONTINUING EDUCATION OF VOCATIONAL SCHOOL IN XINJIANG, CHINA https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/271701 <p>The objectives of this research were 1) to study the continuing education model of vocational schools and 2) to develop the continuing education model at vocational schools in Xinjiang Province, China. This research employed mixed methods. The sample group includes 15 administrators, 20 head teachers, and 300 vocational teachers. Research tools include interview forms and questionnaires. Data analysis used descriptive statistics and Structural Equation Modeling (SEM). The results of this research revealed that the continuing education model consisted of three components: (1) individual learning, (2) transferred credits, and (3) up-skill courses. The vocational education model comprised two components: (1) knowledge-based curriculum and (2) competency-based curriculum. The developed model included five components and 25 observed variables. The components of the model were: (1) basic knowledge courses (5 variables), (2) individual learning (5 variables), (3) industry learning effect (5 variables), (4) up-skill course (5 variables), and (5) transfer credits (5 variables).</p> Xiujin Guo, Sirinthorn Sinjindawong, Waraporn Thaima Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/271701 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาการบริหารงานการรับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270761 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานการรับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ปกครองเด็กโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย จำ นวน 382 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie &amp; Morgan, 1981) ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเป็นสัดส่วน โดยใช้ภูมิภาคเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้น และผู้บริหารงานรับสมัครนักเรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 2 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน โดยเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานการรับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการลงทะเบียนเรียนและด้านการประเมินก่อนสมัครเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการยอมรับหรือปฏิเสธผู้สมัคร ด้านการกรอกฟอร์มเพื่อเข้าเยี่ยมชมโรงเรียน ด้านการตัดสินใจในการรับนักเรียน ด้านการส่งเอกสารในการสมัครเรียน และด้านอัตรา และการชำระค่าธรรมเนียมการเล่าเรียน ตามลำดับ</p> <p style="font-weight: 400;">ปัญหาการบริหารงานการรับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยคือ ความยากง่ายของระบบในการ กรอกรายละเอียด ไม่แจ้งการขอสงวนสิทธิ์ในการเพิกถอนการรับนักเรียนที่ผู้ปกครองไม่มีการเปิดเผยความต้องการพิเศษ หรือความพิการให้ผู้ปกครองทราบไม่กำหนดการประเมินคุณลักษณะของผู้สมัคร และศักยภาพในการปรับตัว และพัฒนาการ การรับนักเรียนไม่ระบุจากเกรดเฉลี่ยประวัติการเรียน บุคคลอ้างอิง ผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามปฏิทินที่ระบุไว้ในหนังสือตอบรับ ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมการเล่าเรียน และระบบการลงทะเบียนเรียนไม่หลากหลายไม่สะดวกต่อผู้ใช้งาน</p> <p style="font-weight: 400;">แนวทางพัฒนาการรับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย คือ ควรพัฒนาระบบในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ควรแจ้งการขอสงวนสิทธิ์ในการเพิกถอน การรับนักเรียนที่ผู้ปกครองไม่มีการเปิดเผยความต้องการพิเศษหรือความพิการให้ผู้ปกครองทราบ ควรกำหนดการประเมินคุณลักษณะของผู้สมัครและศักยภาพในการปรับตัวและพัฒนาการ การรับนักเรียนควรระบุจากเกรดเฉลี่ย ประวัติการเรียน บุคคลอ้างอิง ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามปฏิทินที่ระบุไว้ในหนังสือตอบรับ ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมการเล่าเรียนและควรพัฒนาระบบการลงทะเบียนเรียนให้หลากหลายและสะดวกต่อผู้ใช้งาน</p> ภูรัศมิ์ ธัญพาณิชย์เจริญ, ธีระภัทร ประสมสุข, เสกชัย ชมภูนุช, จันทรฉาย ยมสูงเนิน Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/270761 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์กับการเผยแพร่หมากล้อมในสังคมไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274904 <p>งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ของก่อศักดิ์กับหมากล้อม 2) บทบาทและการเผยแพร่หมากล้อมของก่อศักดิ์ 3) จุดมุ่งหมายการเผยแพร่หมากล้อมของก่อศักดิ์ 4) ผลจากการเผยแพร่หมากล้อมต่อสังคมไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา หนังสือ และงานวิจัย รวมทั้งข้อมูลจากการสัมภาษณ์ก่อศักดิ์ในฐานะต้นเรื่อง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ และผู้เล่นหมากล้อมที่ได้รับอิทธิพลจากการเผยแพร่หมากล้อม และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาเรียบเรียงเพื่อวิเคราะห์และสร้างข้อสรุปให้ได้มาซึ่งสาระความรู้ตามวัตถุประสงค์การวิจัย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ก่อศักดิ์เริ่มต้นรู้จักหมากล้อมด้วยความสนใจส่วนตัวว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญของจีนจึงเรียนรู้และฝึกฝนจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่าครึ่งศตวรรษ เมื่อเข้าทำงานบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มีโอกาสพัฒนาฝีมือการเล่นและมีความมั่นคงในด้านต่าง ๆ 2) เริ่มเผยแพร่หมากล้อมและตั้งชมรมหมากล้อม (โกะ) แห่งประเทศไทยซึ่งพัฒนากลายเป็นสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน 3) จุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือการถ่ายทอด “สิ่งที่ดีและมีค่า” ให้แก่คนไทย ด้วยความมุ่งมั่นของก่อศักดิ์และปัจจัยสนับสนุนจากซีพีออลล์ 4) การเผยแพร่หมากล้อมทำ ให้ประเทศไทยที่ไม่รู้จักหมากล้อมกลายเป็นประเทศที่มีผู้เล่นหมากล้อมมากกว่า 2 ล้านคนเป็นอันดับ 4 ของโลก ส่งผลต่อสังคมไทยทั้งทางด้านการศึกษา ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านกีฬา</p> นงลักษณ์ ลิ้มศิริ, ทิพวรรณ อภิวันท์วรรัตน์, ศิรินันท์ กฤษณจินดา, สาธิตา ธนทรัพย์เกษม, วิษณุ หาญศึก, Zhaowei Su, สุพิชญา ชัยโชติรานันท์ Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/274904 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700 UNDERSTANDING COLLEGE STUDENTS’ ATTITUDE TOWARDS GENDER EQUALITY AMONG MALE, FEMALE, AND NON-BINARY IN THAILAND https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/273469 <p>Gender equality is crucial for achieving peaceful societies and creating sustainable development. Over the past decade, most studies have been concentrated on investigating males’ and females’ attitudes towards gender equality. None focuses on comparing the attitudes of young male, female, and non-binary genders. Consequently, this study aimed to fill this research gap by exploring differences among male, female, and non-binary undergraduate students’ attitudes towards gender equality, including its three domains, which are gender restriction, gender attribute, and gender domination. An online questionnaire was utilized to collect data. The samples were 225 undergraduate students. Data were analyzed using descriptive statistics, Welch’s ANOVA, and Games-Howell post-hoc test. The results were that male undergraduate students had a high attitude towards gender equality (x̄<sub>male</sub> = 1.8719, S.D. = 0.44), while female and non-binary undergraduate students had strongly high attitudes towards gender equality (x̄<sub>female</sub> = 1.5205, S.D. = 0.35; x̄<sub>non-binary</sub> = 1.4875, S.D. = 0.32). The undergraduate students of all three genders had mean scores of gender attribute (x̄<sub>male</sub> = 2.3184, S.D. = 0.72; x̄<sub>female</sub> = 1.8681, S.D. = 0.60; x̄<sub>non-binary</sub> = 1.8491, S.D. = 0.51) that fell into the interpretation score range higher than those of gender restriction (x̄<sub>male </sub>= 1.6813, S.D. = 0.46; x̄<sub>female</sub> = 1.4047, S.D. = 0.35; x̄<sub>non-binary</sub> = 1.3781, S.D. = 0.40) and those of gender domination (x̄<sub>male</sub> = 1.6797, S.D. = 0.60; x̄<sub>female</sub> = 1.2888, S.D. = 0.34; x̄<sub>non-binary</sub> = 1.2188, S.D. = 0.37). The Welch’s ANOVA showed a statistically significant difference in undergraduate students’ attitudes towards gender equality (F(df) = 17.211(2), p = .000*), a statistically significant difference in undergraduate students’ attitudes towards gender restriction (F(df) = 9.550(2), p = .000*), a statistically significant difference in undergraduate students’ attitudes towards gender attribute (F(df) = 10.190(2), p = .000*), and a statistically significant difference in undergraduate students’ attitudes towards gender domination (F(df) = 12.890(2), p = .000*). Games-Howell post-hoc test showed that female and non-binary undergraduate students had lower attitude mean scores towards gender restriction, gender attribute, and gender domination than those of male undergraduate students at a statistical significance level of .05. Hence, female and non-binary undergraduate students had attitude mean scores towards gender equality higher than male undergraduate students at a statistical significance level of .05. Nevertheless, there was no statistically significant difference between the female and non-binary undergraduate students’ attitude mean scores towards gender equality, including its three domains. Profit and non-profit organizations can promote gender equality by using large-scale media, public events, social media, community-based initiatives, aspirational reference groups, or celebrity appeals to influence the young generation’s attitudes. The Thai government may consider new policies, regulations, or facilities that support gender equality, such as equal rights, responsibilities, and opportunities for all genders.</p> Titiyoot Nuengchamnong, Tanyanunch Chatrakamollathas Copyright (c) 2024 วารสารปัญญาภิวัฒน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/273469 Sun, 15 Dec 2024 00:00:00 +0700