วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo <p>มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีนโยบายเพื่อส่งเสริมงานวิชาการและวิจัยจึงจัดทำ <strong>"วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต"</strong> เพื่อเป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงาน การแลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการและวิจัยแก่คณาจารย์ นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไป โดยฉบับปฐมฤกษ์ได้เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 </p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ เป็นบทความที่มีคุณภาพทางวิชาการและผ่านการพิจารณาประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จึงทำให้วารสารฯ <strong>ปัจจุบันเป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพในฐาน TCI Tier 1 จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (</strong><strong>TCI) </strong>และดำเนินการพัฒนาคุณภาพเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในฐานข้อมูลระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่องต่อไป</p> <p><strong><span class="Y2IQFc" lang="en">ISSN หมายเลขเก่า</span></strong></p> <p>ISSN 2730-1745 (Online)</p> <p><strong><span class="Y2IQFc" lang="en">ISSN หมายเลขใหม่</span></strong></p> <p>ISSN 3056-9303 (Online)</p> มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต th-TH วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 3056-9303 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น</p> แรงจูงใจและพฤติกรรมในการรับชมการแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/263830 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของแรงจูงใจในการรับชมการแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมและความภักดีต่อตัวเกม โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีประสบการณ์กับการรับชมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์เกมลีคออฟลีเจ้นท์ในประเทศไทย จำนวน 300 คน&nbsp; การศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีโมเดลสมการโครงสร้างเพื่อตอบสมมติฐาน จากผลการวิจัยพบว่า มีเพียงแรงจูงใจด้านความประสบความสำเร็จของนักแข่งหรือทีมสังกัดมีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้รับชมการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยด้านความตั้งใจเชิงพฤติกรรมส่งผลทางบวกต่อปัจจัยด้านความจงรักภักดีต่อเกมของผู้รับชมการแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์เกมลีคออฟลีเจ้นท์ ทั้งนี้การศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันระบบเศรษฐกิจประเทศไทยอีกด้วย</p> ศุภวัตร มีพร้อม อรรฆพร ก๊กค้างพลู ทองรวี ศิลาน้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 1 18 ส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพและนวัตกรรมการผลิตที่มีอิทธิพล ต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์วิสาหกิจชุมชนบ้านหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/262253 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพและนวัตกรรมการผลิตที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์วิสาหกิจชุมชนบ้านหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพและนวัตกรรมการผลิตที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์วิสาหกิจชุมชนบ้านหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ซื้อข้าวอินทรีย์วิสาหกิจชุมชนบ้านหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านคุณภาพการบริการ ด้านคุณภาพสินค้า ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และด้านนวัตกรรมกระบวนการมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์วิสาหกิจชุมชน บ้านหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี และการเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพและนวัตกรรมการผลิตที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์วิสาหกิจชุมชนบ้านหัวเรือ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าผู้ซื้อที่อายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านผลิตภัณฑ์และราคาแตกต่างกัน ผู้ซื้อที่รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านคุณภาพบริการแตกต่างกัน</p> อัยรดา พรเจริญ อโณทัย หาระสาร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 19 35 มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดจากโฮมสเตย์ กรณีศึกษา ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน และตำบลด่านสวี อำเภอสวี ในจังหวัดชุมพร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/265830 <p>เมื่อทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลงจึงทำให้มนุษย์แสวงหาธรรมชาติมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา การแสวงหาวิธีหนึ่ง คือ การใกล้ชิดกับธรรมชาติด้วยการท่องเที่ยว ทำให้เกิดโอกาสของชุมชน ท้องถิ่นรวมถึงชาวบ้านที่มีที่อยู่อาศัยใกล้ชิดกับธรรมชาติ นำบ้านเรือนของตนมาดัดแปลงเป็นที่พักอาศัยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้มีรายได้และสามารถดำรงชีวิตได้หากแต่ในการแสวงหาโอกาสและได้มาซึ่งรายได้ของชาวบ้านในชุมชน ก่อให้เกิดปัญหาที่เกิดขึ้นจากโฮมสเตย์ คือ ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว อันส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในชุมชน</p> <p>สาเหตุที่ทำให้ปัญหาขยะมูลฝอยจากโฮมสเตย์เกิดขึ้นเนื่องจากบริบทของกฎหมายที่มีเอื้อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโฮมสเตย์ไม่ถูกบังคับและควบคุมซึ่งแตกต่างจากการประกอบธุรกิจโรงแรม จึงทำให้เกิดปัญหามลพิษจากโฮมสเตย์ขึ้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมาย แนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโฮมสเตย์ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง กำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2554 ประกอบกับมาตรการทางกฎหมายแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาขยะมูลฝอยตลอดจนปัญหามลพิษ ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ตลอดจนมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นในฐานะส่วนราชการที่มีความใกล้ชิดกับชุมชน ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและได้มาซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก่อมลพิษของโฮมสเตย์เพื่อให้ทราบว่าประเทศไทยควรมีการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโฮมสเตย์อย่างไรตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากโฮมสเตย์</p> <p>จากการวิจัยพบว่ามาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่ก่อให้เกิดการบังคับและควบคุมโฮมสเตย์อย่างเฉพาะเจาะจงจึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่อาจนำมาสู่ปัญหามลพิษได้นอกจากนี้เพื่อให้สามารถกำกับดูแลโฮมสเตย์ด้านสิ่งแวดล้อมได้ควรมีการพิจารณาถึงเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้เกิดโฮมสเตย์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด</p> ตังเม ราชอัคคี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 36 58 การพัฒนากระบวนการสร้างเอกลักษณ์ทางการตลาดสำหรับตลาดท้องถิ่นถนนคนเดินเพื่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว : กรณีศึกษาตลาดท้องถิ่นถนนคนเดิน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/263727 <p>การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของลักษณะทางการตลาดการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการตัดสินใจเที่ยวของผู้บริโภคทางการท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็น และเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการท่องเที่ยวในแต่ละรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการท่องเที่ยวตลาดท้องถิ่นถนนคนเดิน จึงทำให้คณะผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาถึงเอกลักษณ์ของลักษณะการตลาดการท่องเที่ยวเพื่อการตัดสินใจเที่ยวตลาดท้อง ถิ่นถนนคนเดิน มีคำถามการวิจัย คือ <em>เอกลักษณ์ของลักษณะการตลาดการท่องเที่ยวรูปแบบไหนที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจเที่ยวตลาดท้องถิ่นถนนคนเดิน</em><em>?</em> โดยมีการใช้ตลาดท้องถิ่นถนนคนเดิน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ เป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ โดยได้ทำการสัมภาษณ์จากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ควบคู่ไปกับการใช้วิธีรวบรวมจากเอกสารในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นต่อการวิเคราะห์ ซึ่งมีการใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แก่นสาระ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่สามารถเป็นแนวทางในการนำไปใช้พัฒนาเอกลักษณ์ของลักษณะการตลาดการท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจมาท่องเที่ยวตลาดท้องถิ่นคนเดิน โดยผลการวิจัย พบว่า การสร้างเอกลักษณ์ของลักษณะการตลาดทางการท่องเที่ยวที่สามารถเจาะลึกลงไปในตัวตนของชุมชนนั้น ๆ หรือ ท้องถิ่นนั้น ๆ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคการท่องเที่ยวตลาดท้องถิ่นถนนคนเดิน และการใช้จิตวิทยาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการตลาดท้องถิ่นถนนคนเดินในลักษณะต่าง ๆ ให้เกิดเอกลักษณ์ของตนเองในแบบไม่ซ้ำกันแต่ละช่วงเวลา จะทำให้นักท่องเที่ยวสามารถหวนคิดในการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความตื่นตัวทางเศรษฐกิจ การสร้างรายได้ และสร้างอาชีพคืนสู่ท้องถิ่น หรือชุมชนนั้น ๆ อีกทั้งยังช่วยในการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์ที่เด่นเฉพาะของแต่ละตลาดท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน</p> อุษณีษ์ เสวกวัชรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 59 82 กระบวนการขับเคลื่อนเด็กและเยาวชนสู่การเรียนรู้และการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าทอของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน บ้านหนองบัว ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/262509 <p>บทคัดย่อ<br>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นบ้าน บ้านหนองบัว ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย &nbsp;และ 2) ศึกษากระบวนการขับเคลื่อนเด็กและเยาวชนเรียนรู้และการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นบ้าน บ้านหนองบัว ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ประชากรเป้าหมายคือ เด็กและเยาวชน สมาชิกกลุ่มทอผ้า กลุ่มการจัดการท่องเที่ยว นักพัฒนาชุมชน จำนวน 18 คน &nbsp;เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการประชุมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิปัญญาทอผ้าในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันก่อตั้งกลุ่มทอผ้า ชื่อกลุ่มฝ้ายตุ่ยบ้านหนองบัว มีสมาชิกจำนวน 12 คน ชุมชนปลูกฝ้ายพันธ์พื้นเมืองมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันยังมีการปลูกตามหัวไร่ปลายนา ทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือน ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา กลุ่มได้รับการสนับสนุนพัฒนาลวดลายผ้า และเทคนิคการทอผ้าฝ้ายเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว เนื่องจากสมาชิกกลุ่มฝ้ายตุ่ยบ้านหนองบัว ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จึงมีความต้องการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายให้กับเด็กและเยาวชน ด้วยการขับเคลื่อนการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอพื้นบ้านต่อไป 2. การขับเคลื่อนเด็กและเยาวชนเรียนรู้และการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมีกระบวนการดังนี้ (1) การสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (2) การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาการทอผ้าในชุมชน (3) การค้นหาและส่งเสริมเด็กและเยาวชนผู้สนใจการทอผ้า (4) การจัดกิจกรรมช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การทดลองปฏิบัติการ ติดตามและประเมินผล 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาแนวทางที่เหมาะสมของการทอ และ 7) การสร้างพื้นที่การนำเสนอผลงานและการขายผลงาน</p> ไทยโรจน์ พวงมณี พรกมล ระหาญนอก คชสีห์ เจริญสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 83 100 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดตั้งพื้นที่เขตคุ้มครองโดยชุมชน กรณีศึกษา ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/261686 <p>การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองโดยชุมชน เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่มีการจัดตั้งพื้นที่เขตคุ้มครองกับพื้นที่ที่ไม่มีเขตคุ้มครองในประเด็นด้านปัจจัยส่วนบุคคล การใช้ประโยชน์และความคิดเห็นเกี่ยวกับป่าชายเลน การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 244 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทางสถิติด้วยค่าไค-สแควร์ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05)ในด้านลักษณะประชากร ได้แก่ อายุ ศาสนา และการประกอบอาชีพ โดยสามารถสรุปปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จของการจัดตั้งพื้นที่เขตคุ้มครอง ประกอบด้วยความเข้าใจถึงความสำคัญในการจัดตั้งพื้นที่ มาตรการในการดูแล และเฝ้าระวังพื้นที่คุ้มครอง และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ กฎกติกาและบทลงโทษที่ไม่เข้มงวดพอ ความขัดแย้งในชุมชน และผู้นำไม่เด็ดขาดทำให้ชุมชนไม่ไว้วางใจ</p> เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี ธัญญรัตน์ รัตนคช มนัสวัณฏ์ ภัทรธำรง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 101 119 การเปรียบเทียบการจัดการท่าเรือสำหรับเรือสำราญของประเทศไทยกับท่าเรือที่ได้มาตรฐานสากล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/263735 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการจัดการท่าเรือหลักของประเทศไทยกับท่าเรือที่ได้มาตรฐานสากล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญและใช้บริการท่าเรือสำราญ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือภูเก็ต และท่าเรือสมุยที่มีการท่องเที่ยวบนฝั่ง จำนวน 450 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านท่าเรือ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยแยกรายประเด็นย่อยของด้านท่าเรือ พบว่า ด้านความปลอดภัยของท่าเรือ อาคารผู้โดยสาร และโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่ด้านการการบริการของท่าเรือ เปรียบเทียบระหว่างฝั่งประเทศไทย และฝั่งประเทศสิงคโปร์ การบริการของท่าเรือ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีระยะเวลาในการให้บริการ อยู่ในระดับน้อย และคุณภาพการบริการของพนักงาน ด้านพิธีการเข้าเมืองอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ</p> สุรพร มุลกุณี ไพฑูรย์ มนต์พานทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 120 148 การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) โรงเรียนอนุบาลกระบี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/265591 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) 2) พัฒนาทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) และ 3) ประเมินผล การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชาวไทยในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) โรงเรียนอนุบาลกระบี่ จำนวน 13 คน เก็บรวมรวบข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการ จำนวน 36 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.70-1.00 มีค่า ความเชื่อมั่น 0.99 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.33-0.67 มีค่าอำนาจจำแนก 0.24-0.97 มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จำนวน 4 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 แบบสังเกตพฤติกรรม จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 11 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.43-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 และแบบนิเทศติดตาม จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 3.41 อยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.00 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเท่ากับ 26.92 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.73 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เท่ากับ 19.23 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.10 และคะแนนเฉลี่ยทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของกลุ่มเป้าหมายเท่ากับ 36.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด</p> เปมิกา ส่งกลิ่นจันทร์ บรรจง เจริญสุข สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 149 169 การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมการออกแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ เชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/266245 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมการออกแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ &nbsp;2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมการออกแบบแฟ้มสะสมสมงานอิเล็กทรอนิกส์เชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ 1) เว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมการออกแบบแฟ้มสะสมสมงานอิเล็กทรอนิกส์เชิงสร้างสรรค์ &nbsp;2) แบบประเมินคุณภาพเว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมฯ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา และ 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพด้านสื่อของเว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมการออกแบบแฟ้มสะสมสมงานอิเล็กทรอนิกส์เชิงสร้างสรรค์ โดยรวมมีคุณภาพมากที่สุด (&nbsp;= 4.70, S.D. = 0.46) และคุณภาพด้านเนื้อหาของเว็บไซต์เพื่อการฝึกอบรมการออกแบบแฟ้มสะสมสมงานอิเล็กทรอนิกส์เชิงสร้างสรรค์ โดยรวมมีคุณภาพมากที่สุด (&nbsp;= 4.64, S.D. = 0.48) และ 2) เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ปสุตา แก้วมณี อัญชลี ธะสุข สุวิชา วิริยมานุวงษ์ รัฐพล พรหมสะอาด สมเกียรติ สัจจารักษ์ นัฎชฎารัตน์ ณ นคร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 20 1 170 194