@article{สิงห์วีรธรรม_เนาว์สุวรรณ_ขันทบัลลัง_บุญเพียร_มุ่งสิน_กระมุทกาญจน์_2018, title={เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนกตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง}, volume={5}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/110098}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 180 คน จากวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 4 แห่ง โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 180 คน จากวิทยาลัยในสังกัดของสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 4 แห่ง โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการศึกษา พบว่า 1. เอกลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อเอกลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก สรุปได้ดังนี้ 1) สถาบันแห่งความมั่นคงของชีวิต 2) สถาบันอันทรงเกียรติ และ 3) สถาบันสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทย ทั้งนี้มีประเด็นที่ควรพัฒนาคือ ชื่อของสถาบันที่ไม่บ่งบอกถึงภารกิจหลัก การรับนักศึกษาที่ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลายช่องทางและให้กว้างขวางมีระบบการรับแบบโควตาเป็นการเสียโอกาสในการรับนักศึกษาในพื้นที่ที่มีความต้องการเข้ามาศึกษา  ขาดความเป็นมืออาชีพของการตลาดและการประชาสัมพันธ์  2. อัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนกพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีการรับรู้ถึงอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนก ที่เด่นชัดและมีความต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ คือ 1) พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีคุณธรรมจริยธรรมสูง 2) ความโดดเด่นของทักษะด้านการปฏิบัติ และ 3) ความโดดเด่นของการเข้าใจและเข้าถึงชุมชน  ดังนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์ และการตลาดในเชิงรุก ตลอดจนการเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับนักศึกษาภายใต้การบูรณากับการสร้างสรรค์การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่และพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ บนพื้นฐานของความทันสมัยทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้  </p>}, number={1}, journal={Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences}, author={สิงห์วีรธรรม นภชา and เนาว์สุวรรณ กิตติพร and ขันทบัลลัง ยุพาวดี and บุญเพียร อำพล and มุ่งสิน สอาด and กระมุทกาญจน์ รุ่งอรุณ}, year={2018}, month={Jan.}, pages={60–70} }