@article{แวหะมะ_2018, title={การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้}, volume={5}, url={https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/115933}, abstractNote={<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกร การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกร การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม<br>ผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรจำนวน 400 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐของสำนักงานเกษตรจังหวัด และการยางแห่งประเทศไทยในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมเป็น 6 หน่วยงาน โดยเลือกแบบเจาะจง <br>ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ประเมินสภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านราคา ด้านต้นทุนการผลิต และด้านเงินทุน ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย 6 <br>ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความมั่นคง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูล<br>เชิงคุณภาพใช้การพรรณนาความ สังเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอแนะเชิงวิชาการ  ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมภายในด้านเงินทุน ด้านต้นทุนการผลิต และด้านราคา เป็นจุดอ่อน ศักยภาพของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x =2.26, S.D.=0.99) (x=2.47,    S.D.=0.97) (x=2.51,   S.D.=0.92) ตามลำดับ สภาพ<br>แวดล้อมภายนอกด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ และด้านเศรษฐกิจ นั้นเป็นอุปสรรค ศักยภาพของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (x =2.57,   S.D.=1.08) (x =2.53,   S.D.=0.86) ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาเกษตรกรทั้งภาครัฐและ<br>เกษตรกรจำเป็นต้องร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย ภาครัฐต้องมีนโยบายสนับสนุนเงินทุน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในการดำเนินจัดการยางพาราทั้งระบบ ส่วนเกษตรกรก็ต้องให้ความร่วมมือในการปลูกยางให้มีคุณภาพ มีความรับ<br>ผิดชอบ เปิดรับความรู้ใหม่ และพึ่งพาตนเอง วิจัยนี้ช่วยสะท้อนให้เห็นสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่แท้จริง เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าต้องสนับสนุนจุดแข็งและคว้า<br>โอกาส หาวิธีแก้ไขจุดอ่อนและขจัดอุปสรรคอย่างไร เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐและเกษตรกรต่อไป</p>}, number={2}, journal={Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences}, author={แวหะมะ โซเฟีย}, year={2018}, month={Jul.}, pages={96–110} }