TY - JOUR AU - เพชรอาวุธ, พัชณี AU - สินจินดาวงศ์, สิรินธร AU - สุภากิจ, วีระ PY - 2018/01/25 Y2 - 2024/03/28 TI - ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา JF - Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences JA - pnujrhuso VL - 5 IS - 1 SE - Research Article DO - UR - https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/110095 SP - 24-35 AB - <p>การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษา ภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัด สอศ. 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัด สอศ. ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ 1.ศึกษาปัจจัยการบริหารภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อในสถานศึกษาสายอาชีพ โดยวิเคราะห์เอกสาร 2.ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 1,504 คน และผู้ปกครอง จำนวน 1,504 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง 3.กำหนดยุทธศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เนื้อหา 4.ประเมินยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษา ภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์สถานศึกษา และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาสังกัด สอศ. 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัด สอศ. ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ 1.ศึกษาปัจจัยการบริหารภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อในสถานศึกษาสายอาชีพ โดยวิเคราะห์เอกสาร 2.ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และการตัดสินใจศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 1,504 คน และผู้ปกครอง จำนวน 1,504 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง 3.กำหนดยุทธศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เนื้อหา 4.ประเมินยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษา ค่าใช้จ่าย การบริหารจัดการ กระบวนการให้บริการ และสถานที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ปัจจัยการพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ การยอมรับ ความศรัทธา ไว้วางใจ ปัจจัยการตัดสินใจมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์กรหรือสถาบัน อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง และทัศนคติและความคาดหวัง 2. ปัจจัยการบริหารสถานศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อภาพลักษณ์สถานศึกษา&nbsp; &nbsp;ส่วนการบริหารสถานศึกษา&nbsp; และภาพลักษณ์มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ ทั้งนี้การบริหารสถานศึกษายังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการตัดสินใจศึกษาต่ออีกด้วย ซึ่งภาพลักษณ์ของสถานศึกษา ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปร การบริหารสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.79 และการตัดสินใจศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษา ได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปรภาพลักษณ์ของสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล 0.81 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์สถานศึกษาสังกัด สอศ. ที่สำคัญ คือ “ปฏิรูป” และการ “สร้าง” มีเป้าหมาย 2 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนาภาพลักษณ์ของสถานศึกษาสังกัด สอศ. และ 2) เพิ่มการตัดสินใจศึกษาต่อ 4. ผลการประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ER -