วารสารวาระการเมืองและสังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU <p> วารสารวาระการเมืองและสังคม เป็นวารสารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่จัดพิมพ์ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้านรัฐศาสตร์ ในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะ การปกครองท้องถิ่น รัฐประศาสนศาสตร์ การสื่อสารทางการเมือง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ มานุษยวิทยาการเมือง สังคมวิทยาการเมือง ความขัดแย้ง สันติศึกษา และประเด็นทางสังคมศาสตร์</p> <p> บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ตามมาตรฐานที่ผู้อ่านไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้อ่าน (double blind review) และต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่วารสารอื่นมาก่อน ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์</p> <p>วารสารนี้ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>ISSN 2821-9554 (Online)</strong></p> คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี th-TH วารสารวาระการเมืองและสังคม 2821-9554 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน </p> บทบรรณาธิการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/274092 เอกรินทร์ ต่วนศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-30 2024-06-30 3 1 i ii ประชาธิปไตยไร้รัฐ “โรจาวา” https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/269448 <p>บทความเรื่องนี้ มุ่งศึกษาพัฒนาการทางการเมืองของชาวเคิร์ดในพื้นที่ “เคอร์ดิสถานซีเรีย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดินแดน “เคอร์ดิสถาน” ตามที่ปรากฏใน “สนธิสัญญาแซฟวร์” โดยระบุถึงการให้สิทธิ์ชาวเคิร์ดจัดตั้ง “รัฐชาติ” ขึ้นมาใหม่ แต่ทว่าพื้นที่ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ก็ไม่ได้ถูกรับรองด้วยการให้สัตยาบันจาก “รัฐเอกราช” ภายนอกแต่อย่างใด จึงไม่สามารถจัดตั้งเป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์ได้ ต่อมาบรรดาชาติมหาอำนาจได้ร่วมกันลงนามอีกครั้งใน “สนธิสัญญาโลซาน” นำไปสู่การจัดตั้ง “สาธารณรัฐตุรกี” ขึ้นมาทดแทน ทำให้ “องค์การสันนิบาตชาติ” จำเป็นต้องมีการขีดเส้นเขตแดน “เคอร์ดิสถาน” ตามสนธิสัญญาก่อนหน้านี้ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ด้วยการสร้าง “ข้อตกลงไซคส์-ปิคอต” ก่อให้เกิดการกระจายตัวของดินแดนดังกล่าวไปยังพื้นที่ภายในรัฐอธิปไตยโดยรอบทั้งในประเทศตุรกี ซีเรีย อิรัก และอิหร่านจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชาวเคิร์ดก็ได้ร่วมกันจัดตั้ง “พรรคแรงงานชาวเคิร์ด” (PKK) และ “พรรคสหภาพประชาธิปไตย” (PYD) เรียงตามลำดับ เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาฐานที่มั่นทางการเมืองระหว่างประเทศทั้งในตุรกีและซีเรีย จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ “อาหรับสปริง” ที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อการขยายตัวของสมรภูมิยุทธศาสตร์ทางการรบและยังทำให้ภูมิรัฐศาสตร์หลายแห่งในภูมิภาคตะวันออกกลางเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก ทั้งนี้ สงครามกลางเมืองซีเรียเป็นสมรภูมิรบที่มีความน่าสนใจ เนื่องด้วยชาวเคิร์ดในพื้นที่ทางภาคเหนือและตะวันออกสามารถต่อต้านศัตรูจากหลากหลายฝ่ายจนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดและสามารถเข้าครอบครองพื้นที่พิพาทดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมทั้งมีการสถาปนาเขตปกครองตนเอง “โรจาวา” ขึ้นมาภายในรัฐอธิปไตยเหนือดินแดนซีเรีย โดยมีการใช้แนวทาง “ประชาธิปไตย” เป็นหมุดหมายสำคัญในทางการบริหารภายใต้การปกครองรูปแบบ “สหพันธ์ประชาธิปไตย” ที่มีรากฐานอำนาจอธิปไตยในลักษณะพีระมิดหัวกลับ กล่าวคือ ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ในท้องถิ่นได้อย่างเป็นอิสระ โดยที่ไม่มีอำนาจจากรัฐบาลกลางเข้ามาครอบงำหรือควบคุมกำกับดูแล ทำให้มีความแตกต่างจากลักษณะการปกครองภายใต้กรอบแนวคิด “รัฐชาติ” ที่มุ่งเน้นการสร้างรากฐานอำนาจอธิปไตยในรูปแบบ “รัฐราชการ” ตามหลักการสากลที่นานาชาติยึดถือปฏิบัติกันมา และมีลักษณะเป็นการกำหนดกรอบการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านรัฐบาลกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในองค์กรระดับชาติ ฉะนั้นแล้ว กระบวนการประชาธิปไตยไร้รัฐของ “โรจาวา” จึงเป็นลักษณะการปกครองขององค์กรระดับท้องถิ่นที่เป็นเอกเทศและมีความเข้มข้นทางด้านการบริหารกิจการสาธารณะระดับจุลภาคภายในชุมชนที่สูงมากกว่าลักษณะการบริหารการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบ “รัฐชาติ” โดยทั่วไป</p> ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-27 2024-06-27 3 1 19 38 ความลักลั่นในการตีความอิสลามกับประชาธิปไตย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/272122 <p>มุสลิมไทยต้องเผชิญกับคุณค่าใหม่ๆที่มาพร้อมกับกระบวนการประชาธิปไตย และจำเป็นต้องให้ความหมาย อธิบาย ตีความคุณค่าเหล่านั้นอ้างอิงกับหลักความเชื่อในศาสนาอิสลาม หลักการการได้มาซึ่งผู้นำด้วยวิธีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย เป็นหลักการที่ถกเถียงกันมากที่สุดเมื่อนำมาใช้กับการเลือกผู้นำองค์กรบริหารกิจการอิสลามในประเทศไทย โดยผลของการถกเถียงนี้ปรากฎออกมาผ่านพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและหลักการเลือกผู้นำที่ได้รับการอธิบายว่ามาจากหลักการอิสลาม พรบ.การบริหารฯ กำหนดให้เฉพาะอิหม่ามเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (กอจ.) ซึ่งมีวาระ 6 ปี การกำหนดให้เฉพาะอิหม่ามเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นได้รับการอธิบายว่าสิทธิ์ดังกล่าวผูกติดกับความรู้ทางศาสนา การตีความลักษณะนี้ทำให้อิหม่ามผูกขาดการเป็นผู้มีสิทธิเลือกกอจ. แต่เพียงผู้เดียวตลอดชีวิต ความลักลั่นและความไม่ลงรอยนี้เกิดขึ้นในระดับกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.) และรวมถึงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีด้วย บทความนี้จึงต้องการชี้ให้เห็นถึงความลักลั่นดังกล่าว รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลเสียของการตีความอิสลามและประชาธิปไตยในลักษณะนั้น ในตอนท้ายบทความได้ชี้ให้เห็นถึงการตีความแบบอื่นที่เหมาะกับสภาพสังคมสมัยใหม่แต่ยังคงรักษาหลักการและจิตวิญญาณของอิสลาม อีกทั้งยังเสนอแนวคิดองค์กรบริหารกิจการอิสลามในอนาคต</p> มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-27 2024-06-27 3 1 39 52 หมอพื้นบ้านกับการรักษาโรคไร้เชื้อเรื้อรัง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/272224 <p>บทความชิ้นนี้ศึกษาพลวัตของความรู้การปฏิบัติทางการแพทย์ของหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลาที่ทำการรักษาเยียวยาโรคไร้เชื้อเรื้อรัง ได้แก่ โรคไต โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง การติดตามและสังเกตการณ์ชีวิตประจำวันของหมอพื้นบ้านแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของความรู้และการปฏิบัติของหมอพื้นบ้านที่พยายามแปลความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณเข้ากับการแพทย์สมัยใหม่ พร้อม ๆ กันกับการที่วัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น ยาสมุนไพรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความจริงอันหลากหลายทางการแพทย์และการเมืองเชิงภววิทยาที่ส่งผลให้การดำรงอยู่ของการแพทย์พื้นบ้านไม่ได้เป็นอื่นหรือแยกขาด แต่กลับมีความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนกับการแพทย์สมัยใหม่และการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโรคในปัจจุบัน</p> ชัชชล อัจนากิตติ Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-28 2024-06-28 3 1 53 76 ว่าด้วย “คน” ในการจัดการภัยพิบัติ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/270106 <p><strong>ชื่อหนังสือ </strong>“คน” ท้องถิ่น ในงาน “ปภ.” : การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย</p> <p><strong>ผู้เขียน </strong>กานต์รวี วิชัยปะ</p> <p><strong>ปีที่พิมพ์ </strong>2566</p> <p><strong>จัดพิมพ์โดย </strong>คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>“<em>The important factor, however, is that the format should indicate that disaster and managing it is a continuum of interlinked activity. It is not a series of events which start and stop with each disaster occurrence.</em>” (Carter, W. Nick, 2008: 49)</p> <p> </p> <p> สถานการณ์ภัยพิบัติ หากแบ่งอย่างง่ายก็จะเห็นภัยพิบัติในบริบทสากลและภัยพิบัติในบริบทของสังคมไทย ซึ่งทั้งสองบริบทนี้เองล้วนมีจุดร่วมกันประการหนึ่งคือแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของภัยประกอบกับความรุนแรงของภัยที่ดูจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต สภาพการณ์นี้เองที่นำมาสู่ความท้าทายประการสำคัญที่จะกลายเป็นโจทย์อันสลับซับซ้อนในสภาพภัยที่ถาโถมอย่างกระหน่ำ นับเป็นความท้าทายอย่างแข็งขันว่าเราจะสร้างองค์ความรู้ตลอดจนกระทั่งเทคนิควิธี รวมไปถึงการออกแบบการบริหารภัยพิบัติทั้งในเชิงโครงสร้างและไม่ใช่เชิงโครงสร้างในโลกร่วมสมัยในแนวทางใดและอย่างไรบ้างเพื่อที่จะป้องกันและรับมือกับสภาวการณ์ภัยพิบัติที่อุบัติขึ้นจากธรรมชาติอันอยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์</p> ณัฐวีร์ พุ่มระชัฏร์ Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-28 2024-06-28 3 1 77 81 ทิศทางและโอกาสหลังจากการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/272217 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>การศึกษาวิจัยเรื่องทิศทางและโอกาสหลังจากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาโอกาสข้อท้าทายภายหลังจากการรื้อฟื้นและฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย และศึกษามุมมองของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการไทยมุสลิมและนักศึกษาต่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทยกับซาอุดิอาระเบีย ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (Indepth interview) ครอบคลุมทั้งบทความ หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกัน โดยใช้ทฤษฎีผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interests Theory) มาอธิบายผ่านกรอบการวิเคราะห์ (PEST Analysist) การกลับมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นขั้นปกตินำมาซึ่งโอกาสในการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ซาอุดิอาระเบีย 2030 (Vision 2030) และ Bio - Circular - Green (BCG) Economy ของไทย ผู้วิจัยค้นพบว่า การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย นํามาซึ่งโอกาสในการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันโดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมตลอดจนนวัตกรรมเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยยังค้นพบว่า การพื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบียมีข้อท้าทายสำคัญหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านสังคม เพราะความผิดพลาดในอดีตทำให้ชาวซาอุดิอาระเบียจดจำและความกังวลของชาวซาอุดิอาระเบียต่อการเปลี่ยนแปลงที่ขัดกับขนบธรรมเนียมเดิม ดังนั้นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตในคราวนี้ทั้งสองประเทศจำเป็นที่จะต้องศึกษาระหว่างกันเพื่อทำความเข้าใจใหม่</p> แอมรี อาแซ ฮุสซาม จาปากียา Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-06-27 2024-06-27 3 1 1 18