วารสารวาระการเมืองและสังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU <p> วารสารวาระการเมืองและสังคม เป็นวารสารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่จัดพิมพ์ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้านรัฐศาสตร์ ในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะ การปกครองท้องถิ่น รัฐประศาสนศาสตร์ การสื่อสารทางการเมือง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์ มานุษยวิทยาการเมือง สังคมวิทยาการเมือง ความขัดแย้ง สันติศึกษา และประเด็นทางสังคมศาสตร์</p> <p> บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ตามมาตรฐานที่ผู้อ่านไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้อ่าน (double blind review) และต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่วารสารอื่นมาก่อน ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์</p> <p>วารสารนี้ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p><strong>ISSN 2821-9554 (Online)</strong></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์เล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวาระการเมืองและสังคม ความคิดเห็นและข้อถกเถียงที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน บรรณาธิการวารสารฯ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้เขียน </p> ekkarin.t@psu.ac.th (รองศาสตราจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ) jpsa.pn.psu@gmail.com (นางสาวบูชิตา อารียาภรณ์) Wed, 25 Dec 2024 17:15:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/277723 เอกรินทร์ ต่วนศิริ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/277723 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 Public Duties in Islam: The Institution of the Hisba https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/272955 <p>As an introduction, it is highlighting on managing an Islamic economy and society. This chapter deals with principles and mechanism, we will see also, of how the price control and the administered prices are becoming the central issues discussed in this section. The second discussion is concerning on how to build up a just society. In this chapter, we will see on the qualifications recommended by Ibn Taymiya in making up a just society.</p> Ali Musa Harahap Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/272955 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก่อนการบังคับใช้และ นำนโยบายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/276226 <p> การเข้าถึงนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มผู้สูงอายุเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตก่อนการบังคับใช้และนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยศึกษาผู้สูงอายุในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุที่คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 15 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักที่กำหนด เก็บข้อมูลในช่วงเวลาก่อนการบังคับใช้และนำนโยบายไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้ข้อมูลมีความเข้าใจต่อรายละเอียดของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตเป็นอย่างดี ไม่เห็นด้วยกับกรอบเวลาในการใช้สิทธิ์ตามนโยบาย และมีความคาดหวังต่อนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และคาดหวังให้นโยบายมีความต่อเนื่องนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรพิจารณากรอบเวลาในการใช้สิทธิ์ของนโยบายให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมนโยบายสามารถใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม และหาแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นหากไม่มีนโยบายลักษณะนี้</p> รูสนานี ดายี, นูรีฮัน จันทรถ, รอนีหยะ กาเดร์, ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/276226 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/275283 <p> การศึกษาวิจัยเรื่องความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 374 คน ได้มาจากการหากลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-Way ANOVA จากการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลารวม ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในลำดับสูงสุด (x̄= 4.39, S.D.= .722) ด้านสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในลำดับที่สอง (x̄= 4.39, S.D.= .651) ด้านความมั่นคงและเสริมสร้างสันติสุขอยู่ในลำดับที่สาม (x̄= 4.36, S.D.= .775) ด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวอยู่ในลำดับที่สี่ (x̄= 4.33, S.D.= .722) ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนอยู่ในลำดับที่ห้า (x̄= 4.26, S.D.= .753) ด้านการบริหารจัดการที่ดีอยู่ในลำดับที่หก (x̄= 4.25, S.D.= .769) และด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในลำดับสุดท้าย (x̄= 4.24, S.D.= .764) 2) 2) ประชาชนมีปัจจัยส่วนบุคคล อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความต้องการการบริการสาธารณะที่แตกต่างกัน และประชาชนมีปัจจัยส่วนบุคคล เพศ ที่แตกต่างกันมีความต้องการของการบริการสาธารณะที่ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพของเทศบาลเมืองสะเตงนอก คือ ควรลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนและช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้น, ทุกหน่วยงานในพื้นที่ต้องทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อจัดบริการสาธารณะ และควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานอย่างชัดเจน</p> อิทธิชัย สีดำ Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/275283 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเป็นจิตอาสา: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/273403 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจการเป็นจิตอาสาในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยใช้การรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เป็นจิตอาสาที่เคยทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัด จำนวน 280 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) เพื่อหาแรงจูงใจการเป็นจิตอาสาในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการให้คุณค่า และการเข้าสังคม ส่งผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการเป็นจิตอาสาในพื้นที่ 3 จังหวัด ในขณะที่การทำความเข้าใจ และการปกป้องตนเอง ส่งผลทางบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญ และการเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งผลทางลบอย่างไม่มีนัยสำคัญต่อการเป็นจิตอาสาในพื้นที่ 3 จังหวัด</p> อัยนา ไทยประทาน, เขมิกา หวังสุข, วนิดา พิมพ์โคตร Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/273403 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 Reducing Educational Disparities Through Cross-Border Collaboration: Synergies for Human Capital Development in the Mae Sai-Tachilek Border Region https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/276204 <p> Educational inequality, especially between urban and rural areas, remains a global challenge, with border regions facing unique socio-political and economic barriers. The Mae Sai-Tachileik border, dividing Myanmar and Thailand, exemplifies these challenges due to political instability, economic underdevelopment, and cultural diversity. This study investigates: How can cross-border educational collaboration improve access to education and reduce disparities in the region? By applying Sen’s Capability Approach (expanding individual freedoms through education) and Ostrom’s Collective Approach (stakeholder collaboration), the research examines initiatives like bilingual education, joint vocational training, and cross-cultural exchanges. These efforts have led to a 15% increase in school retention rates in targeted communities (World Bank, 2022), along with improved vocational skills and language proficiency, enhancing employability. Programs also fostered cultural understanding and cooperation, strengthening socio-economic ties. The research highlights human capital development as a key outcome, showing how educational synergy equips individuals with skills to improve socio-economic prospects. Employing a research-based approach through literature review and document analysis, including stakeholders like local communities, governments, NGOs, and the private sector, this study explores how these entities enhance educational access and quality. While acknowledging limitations such as potential data biases, the study addresses challenges rooted in political instability, economic disparity, and cultural diversity. Ultimately, it proposes a combined framework to reduce disparities, foster sustainable development, and strengthen socio-economic connections, with human capital development identified as a core driver.</p> Nan Ei Hlyen Htet Soe Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/276204 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลบุดี จังหวัดยะลา https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/277048 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลตำบลบุดี 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเทศบาลตำบลบุดี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเป็นผู้ที่นำที่มีประสิทธิภาพหรือผู้นำที่มีคุณภาพที่เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนในเทศบาลตำบลบุดี จำนวน 11,528 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 387 คน ซึ่งได้จากการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane และใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA<br /> จากการศึกษาพบว่า 1) ระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.51 2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ หมู่ที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบันและรายได้ ที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อคุณลักษณะผู้นำองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน 3) แนวทางการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือ ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส, นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการปฏิบัติงาน, คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม, ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ</p> อาซีซี อาลี, นูรฮีดายะห์ กา, ซากูเราะห์ กูปูเต๊ะ Copyright (c) 2024 วารสารวาระการเมืองและสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/277048 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700