https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/issue/feed
Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia
2024-08-26T23:55:24+07:00
Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia (JSHRA)
jhsra@psu.ac.th
Open Journal Systems
<p> JSHRA (ชื่อเดิม วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) JSHRA จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งภายในประเทศและนานาชาติมีโอกาสเสนอผลงานวิจัยและวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการโดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ </p> <p> ต้นฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น กองบรรณาธิการจะจัดส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) อย่างน้อย 3 ท่าน กลั่นกรองคุณภาพ ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์</p>
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/270607
ความจริงในกระแสธรรมของพุทธทาสภิกขุเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์ในท่ามกลางปัญหาและวิกฤติต่าง ๆ
2024-03-10T21:00:03+07:00
สมเจตน์ ผิวทองงาม
wangra2@yahoo.com
<p>คำสอนที่ปรากฎในผลงานของพุทธทาสภิกขุผู้เป็นพุทธสาวก ถือว่าเป็นความจริงที่ปัญญาชนทั้งหลายล้วนต่างยอมรับกันโดยทั่วไป เพราะช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติต่าง ๆ เช่น ปัญหาคอรัปชั่น และปัญหาโกหกหลอกลวงในสังคมโดยช่วยให้มนุษย์มีธรรมะเป็นที่พึ่งและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอยู่รอดปลอดภัยท่ามกลางปัญหาวิกฤติดังกล่าว บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอเนื้อหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ผลงานคำสอนของพุทธทาสภิกขุโดยเฉพาะปณิธาน 3 ประการอันเป็นหัวใจหลักในการทำงานอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา 2) ความจริงในด้านที่เป็นปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ในปัจจุบันอันเกิดจากการขาดธรรมะในจิตใจและจิตใจตกเป็นทาสอำนาจวัตถุนิยม และ 3) ความจริงในด้านของการใช้หลักพุทธธรรมที่สำคัญ ได้แก่ อริยสัจ 4 และกาลามสูตร เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาคอรัปชั่น และปัญหาโกหกหลอกลวงตามที่ปรากฏในผลงานคำสอนของพุทธทาสภิกขุ โดยผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ จากผลงานวรรณกรรมที่สำคัญของพุทธทาสภิกขุ ได้แก่ หนังสือปณิธาน 3 ประการ หนังสือชุดธรรมโฆษณ์และหนังสือแก่นพุทธศาสน์</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/254715
ทุนทางสังคมและผลของการดำเนินการ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยโครงการนำร่องผลิตปุ๋ยไส้เดือน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
2022-02-07T10:50:07+07:00
ไอร์นี แอดะสง
ainee.a@psu.ac.th
นุรซาฮิดาห์ อุเซ็ง
nursahida.u@psu.ac.th
<p>การจัดการกับความยากจนยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน โดยถือเป็นภารกิจแรกในบรรดาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งทุกประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจะต้องยึดถือ ในขณะที่อัตราความยากจนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีหลายจังหวัดที่เผชิญกับความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน รวมถึงจังหวัดปัตตานีซึ่งเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้คือการศึกษาทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนและผลกระทบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบรรเทาความยากจน ภายใต้โครงการนำร่องปุ๋ยมูลไส้เดือนดินในหมู่บ้านกอแล อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าทุนทางสังคมที่สำคัญที่นำไปสู่กระบวนการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน ความไว้วางใจ สมาชิกหรือตัวแทนกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ และเครือข่ายความร่วมมือ ผลลัพธ์หลักในระดับกลุ่มคือสมาชิกชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเกษตร ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างรายได้จากการขายปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผลกระทบที่สำคัญต่อสังคมได้แก่ การเป็นแหล่งรวมอุปกรณ์กลางพร้อมใช้งานกับโรงงานผลิตปุ๋ย การมีชุดข้อมูลและองค์ความรู้ และการสร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินซึ่งสามารถเป็นต้นแบบแก่พื้นที่หรือให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268896
การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวชอง ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
2023-11-23T14:22:27+07:00
อัณณ์สุชา ทองลา
ansucha.t@rbru.ac.th
ศุภนิดา ใจสุข
ansucha.t@rbru.ac.th
ปพนพัชญ์ ธนาเศรษฐ์วัฒน
ansucha.t@rbru.ac.th
<p>งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนชาวชองและเพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวชอง ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและตัวแทนคนในพื้นที่ทั้งหมด 15 คน 2) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และ 3) การสำรวจเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนชาวชอง จังหวัดจันทบุรี มีทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น วิถีชีวิตชาวชอง ภาษาชอง สมุนไพรพื้นบ้าน การแต่งกาย พิธีแต่งงานและการหย่าร้าง การตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร พิธีกรรมนับถือผี การทำศพ ฯลฯ นอกจากนี้ ชุมชนชาวชองมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสถานที่ท่องเที่ยว 2) ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ด้านที่พัก 5) ด้านการเข้าถึงพื้นที่ และ 6) ด้านการมีส่วนร่วม ศักยภาพเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวชองและการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อการสืบสานต่อไป</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/269110
ภูมิทัศน์ภาษาจากฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวต่างชาติจังหวัดแม่ฮ่องสอน
2024-01-10T23:53:01+07:00
ปรภัทร คงศรี
Poraphat_kho@g.cmru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภูมิทัศน์ภาษาจากฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม และศึกษาองค์ประกอบภาพและสีบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดความสนใจลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประเภทอาหาร จำนวนทั้งหมด 90 ฉลาก จากผู้ผลิตและศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นโดยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) หลังจากนั้นคัดเลือกฉลากเหลือจำนวน 50 ฉลากที่มีข้อมูลเหมาะสมสำหรับนำมาวิเคราะห์รูปแบบการใช้ภาษาและองค์ประกอบภาพและสี โดยแยกฉลากผลิตภัณฑ์เป็น 2 ประเภท คือ ฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 1-2 ดาว และฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 3-5 ดาว ตามเกณฑ์ของการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกรูปภาพฉลากและแบบบันทึกข้อมูลภาษาของฉลากที่ผ่านการประเมินและพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ฉลากผลิตภัณฑ์ทั้งสองประเภทใช้รูปแบบภาษาเดียว (ภาษาไทยภาษาเดียวและภาษาอังกฤษภาษาเดียว) รูปแบบฉลากสองภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และรูปแบบฉลากหลายภาษา (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาจีน) การวิเคราะห์องค์ประกอบของภาพและการใช้สีบนฉลาก ปรากฏว่า ฉลากทั้งสองประเภทใช้ทั้งภาพจริงและภาพกราฟฟิกเพื่อแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ในขณะที่การเลือกใช้สีบนฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 1-2 ดาว พบลักษณะสีแบบกลมกลืน สีตรงข้ามและสีเอกรงค์ ซึ่งแตกต่างจากฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 3-5 ดาว ที่ปรากฏการเลือกใช้ลักษณะสีกลมกลืนเพียงลักษณะเดียว</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/269203
ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อระบบโซ่อุปทานของการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในจังหวัดสุพรรณบุรี
2023-12-19T16:30:55+07:00
กัญญทอง หรดาล
poppy.horadal@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อระบบโซ่อุปทานของการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานประกอบการแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา บุคลากรที่ทำงานในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา นักท่องเที่ยว และนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลแบบบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าอุปสรรคภายในที่มีต่อกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระบบโซ่อุปทานของการจัดการแข่งขันกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากร สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ การมอบประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยว และการผลักดันยุทธศาสตร์ทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในขณะที่อุปสรรคภายนอก ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การสนับสนุนจากภาคเอกชน งบประมาณที่ได้จากภาครัฐ เทคโนโลยี โรงแรมที่พัก และการสร้างกระแสการมีส่วนในกิจกรรม อย่างไรก็ตามปัจจัยสนับสนุนภายในที่มีต่อกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระบบโซ่อุปทานของการจัดการแข่งขันกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ประวัติศาสตร์ของจังหวัด ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เจ้าหน้าที่บุคลากร ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ในขณะที่ปัจจัยสนับสนุนภายนอกที่มีต่อกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระบบโซ่อุปทานของการจัดการแข่งขันกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ จังหวัดมีคุณสมบัติในการได้รับเลือกเป็นเมืองกีฬา ที่ตั้งของจังหวัด และภาครัฐมีหน่วยงานดูแลและให้การสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา งานวิจัยนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่สอดคล้องกับศักยภาพและความเป็นไปได้ด้านโซ่อุปทานในจังหวัดสุพรรณบุรี</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/270041
แนวทางการจัดการปัญหาอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
2024-02-21T11:07:20+07:00
ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง
arsun.do@psu.ac.th
ธณัฐฎา รัตไตรทอง
arsun.do@psu.ac.th
นิรอฮานา สาและ
arsun.do@psu.ac.th
<p>ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นวิกฤตที่มนุษย์หลีกเลี่ยงได้ยาก การลดความสูญเสียจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต้องอาศัยการสร้างกระบวนการในการจัดการอย่างเป็นระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่เทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่คัดเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย บุคลากรของเทศบาล 3 คน เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี 1 คน และประชาชน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบ 7 แนวทางสำคัญ ครอบคลุม 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัย 4 แนวทาง ได้แก่ การร่วมติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา การจัดการขยะภายในชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนและอาสาสมัครป้องกันภัยพิบัติพลเรือน การร่วมทำความสะอาดท่อระบายน้ำในพื้นที่และช่วยซ่อมแซมส่วนที่ได้รับความเสียหายหลังเกิดอุทกภัย 2) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและประชาชน 2 แนวทาง ได้แก่ การจัดโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยแก่ประชาชน และการพัฒนาพัฒนาศักยภาพบุคลากร และ 3) การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 แนวทาง ได้แก่ การปฏิบัติงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้เสนอแนะให้เทศบาลเปิดโอกาสในการรับฟังประเด็นปัญหาจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุทกภัยให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง และพิจารณาความซับซ้อนระหว่างการทำงานที่มีโอกาสเกิดขึ้น</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268989
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการให้บริการสวัสดิการหอพักของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2024-05-06T02:30:24+07:00
เครือมาส แก้วทอน
6620120253@email.psu.ac.th
โศจิรัตน์ เพ็ชรพาน
sojirad.p@psu.ac.th
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
narongsak.r@psu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ การให้บริการสวัสดิการหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีผู้วิจัยใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กำหนดค่าความคาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ร้อยละ ±5 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 311 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนนักศึกษาหอพักระดับปริญญา<br />ตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบ Likert จำนวนทั้งสิ้น 40 ข้อ มีความเชื่อมั่น 0.889 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ(ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4P) ด้านบริการสวัสดิการหอพักโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.11 s.d.=.63) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วน<br />ประสมทางการตลาดส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการสวัสดิการหอพัก ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดทั้ง 4 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความพึงพอใจด้านบริการสวัสดิการหอพักของนักศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงความพึงพอใจด้านในการรับบริการสวัสดิการหอพักของนักศึกษา ได้ร้อยละ 75 เพราะในทางการตลาด ราคา โปรโมชั่น โปรดัก <br />พบว่าปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีค่าสัมประสิทธิสูงสุด เนื่องจาก มหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่ ให้มีความเหมาะสม จึงส่งผลต่อปัจจัยที่ใช้บริการ โดยด้านผลิตภัณฑ์มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมากที่สุด (β1 = 0.33) และปัจจัยด้านราคามีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยน้อยที่สุด (β2 = 0.17)</p>
2024-08-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024