Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh
<p> JSHRA (ชื่อเดิม วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) JSHRA จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งภายในประเทศและนานาชาติมีโอกาสเสนอผลงานวิจัยและวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการโดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ </p> <p> ต้นฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น กองบรรณาธิการจะจัดส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) อย่างน้อย 3 ท่าน กลั่นกรองคุณภาพ ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์</p>
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
th-TH
Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia
2774-1044
-
เพลง “ปูไข่ไก่หลง” : วิเคราะห์เชิงจิตวิทยาและสุนทรียภาพ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/271294
<p>เพลง "ปูไข่ไก่หลง" เป็นเพลงลูกทุ่งอมตะของไทย มีอายุครบ 52 ปี ในปี 2567 ผู้ประพันธ์คำร้องคือฉลอง ภู่สว่าง ผู้ขับร้องครั้งแรกคือชายธง ทรงพล ขับร้องครั้งแรกเมื่อปี 2515 เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเยาะเย้ยผู้หญิงคนหนึ่งที่จากคนรักเก่าไปมีคนรักใหม่ที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า เมื่อมีท้องกับคนรักใหม่และ ถูกทอดทิ้งจึงกลับมาหาคนรักเดิม แต่ไม่ได้รับความเมตตาปรานี ที่สำคัญคือถูกเยาะเย้ย ซ้ำเติม เพลงได้ความนิยมในระดับต้น ๆ ของบรรดาเพลงลูกทุ่งไทย ได้รับความนิยมยาวนานมาก และได้รับกปรยกย่องให้เป็นเพลงลูกทุ่ง ดีเด่นในโอกาสกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยเมื่อปี 2534 มีนักร้องอื่นนำไปร้องอีก 9 คน ที่สำคัญเพลงนี้ได้รับการตอบรับในลักษณะความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การรำวงของชาวบ้าน การเต้นของนักศึกษาที่ใช้เป็นเพลงเชียร์การเต้นของกิจกรรมการรับน้องใหม่ การร้องเพื่อความบันเทิงในขณะเดินทางแบบทัศนศึกษา ผู้เขียนบทความพบว่า 1) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เพลงนีเกิดการรับรู้ กระตุ้นอารมณ์บันเทิง และอารมณ์การมีส่วนร่วมของคนในสังคมไทยจนโด่งดังและเป็นที่นิยมอย่างยาวนานเกินกึ่งศตวรรษนั้น เป็นเพราะทำนองเพลง ทำนองดนตรี และดนตรีสร้อยของเพลง ผู้ฟังและผู้มีส่วนร่วมในลักษณะอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเยาะเย้ย ถากถางเสียดสี และซำเติม ตามเนื้อหาคำร้องของเพลง และไม่ได้ใช้เพลงนี้ไปเพื่อเยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี และซ้ำเติม ผู้หญิงที่พลาดพลั้งเรื่องความรักแต่อย่างใด 2) เนื้อหาของเพลงเป็นการเยาะเย้ย ทั้งการแฝงนัย และการแฝงนัยเชิงโชคล้อ กล่าวคือผู้หญิงคนรักกลับมาในวันที่เธอไม่อยู่ในสภาพที่ชายคนรักเดิมจะกลับมารักใหม่ได้อีกแล้ว</p>
ประภาศ ปานเจี้ยง
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
125
138
-
แนวคิดเรื่องมนุษย์คือสวรรค์ (In Nae Ch'on) และอุดมการณ์ทางจริยธรรม: บทวิเคราะห์คำสอนของทงฮักและช็อนโดกโยในฐานะศาสนาใหม่ในเกาหลี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/270821
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อเกิดและการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเรื่อง มนุษย์คือสวรรค์หรือ In nae ch'on (A737) และแนวคิดเรื่องอุดมการณ์ทางจริยธรรมของกลุ่มทงฮักและช็อนโดกโยซึ่งเป็นกลุ่มศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ภายใต้แนวคิดของชเวจอูผู้ก่อตั้งกลุ่มแนวคิดดังกล่าวในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงแรกแนวคิดเรื่องมนุษย์คือสวรรค์ถูกอธิบายเชื่อมโยงเข้ากับมุมมองทางปรัชญาและศาสนาในประเด็นเรื่องธรรมชาติเดิมแท้ของมนุษย์อันเป็นพลังหรือศักยภาพแห่งการพัฒนาตนเองของมนุษย์อันเป็นอิทธิพลทางความคิดของพระพุทธศาสนาและลัทธิขงจื้อใหม่ในคาป่ส์มุทรเกาหลี ในช่วงต่อมาซึ่งเป็นช่วงของชเว ซีฮย็อนและซน บย็องฮี คณาจารย์รุ่นที่สองและสามของกลุ่มทงฮักและช็อนโดกโย แนวคิดเรื่องมนุษย์คือสวรรค์ได้รับการพัฒนาและปรับประยุกต์เพื่อใช้เป็นรากฐานในการสนับสนุนอุดมการณ์ทางจริยธรรมที่มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างวิถีปฏิบัติทางจริยธรรมสำหรับมนุษย์ในสังคม จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาและการปรับประยุกต์หลักคำสอนทางศาสนาเพื่อตอบรับกับเงื่อนไขในชีวิตของมนุษย์ของกลุ่มทงฮักและช็อนโดกโย นั้นปรากฏขึ้นภายใต้แนวคิดเรื่องการขยายบทบาทและหน้าที่ของศาสนา การขยายขอบเขตเป้าหมายของศาสนาและการขยายขอบเขตความหมายของศาสนาอันเป็นอัตลักษณ์ทางความคิดที่สำคัญของกลุ่มทงฮักและช็อนโดกโยและกลุ่มศาสนาใหม่ในเกาหลีซึ่งเป็นท่าทีแตกต่างไปจากจารีตความคิดของกลุ่มศาสนาหลักดั้งเดิมในคาบสมุทรเกาหลีอย่างมีนัยที่สำคัญ</p>
ถาปกรณ์ กำเนิดศิริ
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
1
30
-
ตลาดแรงงานภาครัฐกับความไม่สอดคล้องทางการศึกษาในประเทศไทย: การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการกรณีนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/271159
<p>สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยได้เปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคมซึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์รวม 54 สถาบัน 62 หลักสูตร หากพิจารณาตำแหน่งงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความไม่สอดคล้องระหว่างระดับการศึกษาและอาชีพในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ และเพื่ออธิบายปรากฏการณ์การปฏิบัติงานของนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการด้วยวุฒิการศึกษาที่หลากหลายใช้ระเบียบวิธีการวิจัยรูปแบบผสมผสานวิธีการ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการบรรจุแต่งตั้ง และการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ และ พัฒนาการอำเภอ ผลการวิจัยพบว่าระหว่างปี 2562-2564 ผู้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชปฏิบัติการนั้นส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลการวิเคราะห์มิติความไม่สอดคล้องทางการศึกษาและอาชีพในตลาดแรงงานพบว่า ผู้ได้รับการบรรจุส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาไม่สอดคล้องตามแนวราบขณะที่ผลการสัมภาษณ์พบว่าการทำงานในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการต้องใช้ทักษะหลายด้าน อีกทั้งนโยบายด้านการพัฒนาชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ในประเทศ บุคลากรมีคุณวุฒิที่หลากหลายสามารถสนับสนุนการทำงานให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐได้ดีกว่า ดังนั้น ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคมควรพัฒนาหลักสูตรโดยบูรณาการศาสตร์ร่วมกับสาขาอื่นเพื่อเพิ่มทักษะที่หลากหลายและเพิ่มโอกาสในการสอบแข่งขันในตำแหน่งดังกล่าวแก่ผู้เรียนสาขาการพัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคมในประเทศไทย</p>
กันยปริณ ทองสามสี
อิสระ ทองสามสี
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
31
54
-
ความแตกต่างของแรงจูงใจในการเล่นเกมของผู้เล่นเกมออนไลน์ในกลุ่มต่าง ๆ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/271994
<p>านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเล่นเกมของผู้เล่นเกม และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเล่นเกมระหว่างผู้เล่นเกมกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มติดเกม ในกลุ่มผู้เล่นเกมออนไลน์ชาวไทย อายุระหว่าง 18 ถึง 60 ปี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 313 คน ที่คัดเลือกโดยใช้การเลือกตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามแรงจูงใจในการเล่นเกม และแบบทดสอบการติดเกม วิเค ราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติครัสคาลและวอลลิส ผลการวิจัยพบว่า แรงจุงใจของผู้เล่นเกมออนไลน์กลุ่มปกติและกลุ่มติดเกม มีแรงจงใจจากเนื้อเรื่องอยู่ในระดับมาก (<span class="mord accent"><span class="vlist-t"><span class="vlist-r"><span class="vlist"><span class="accent-body"><span class="mord"><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /></span></span></span></span></span></span> =3.84, S.D. =.892 และ <span class="mord accent"><span class="vlist-t"><span class="vlist-r"><span class="vlist"><span class="accent-body"><span class="mord"><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /></span></span></span></span></span></span> =3.71, S.D. =.795 ตามลำดับ) แรงจูงใจของผู้เล่นเกมออนไลน์กลุ่มเสี่ยง มีแรงจูงใจด้านการเสร็จสิ้นสมบูรณ์อยู่ในระดับมากที่สุด (<span class="mord accent"><span class="vlist-t"><span class="vlist-r"><span class="vlist"><span class="accent-body"><span class="mord"><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /></span></span></span></span></span></span>=3.82, S.D. =.753) โดยผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า ผู้เล่นเกมออนไลน์ที่มีระดับการติดเกมกลุ่มต่าง ๆ ต่างกัน แรงจูงใจจากความท้าทายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ .05 และเป็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้เล่นเกมปกติกับกลุ่มติดเกมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ .05 และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอื่น</p>
ปรมัตถ์ แสงสีสด
แสงเดือน ยอดอัญมณีวงศ์
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
55
70
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟของพนักงานธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/272221
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1 เพื่อศึกษาระดับภาวะหมดไฟ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับภาวะหมดไฟ และ 4) เปรียบเทียบภาวะหมดไฟจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานใหญ่ จำนวน 375 คนผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าอยู่ในระดับต่ำ ด้านการเมินเฉยต่องานอยู่ในระดับสูง และด้านความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ มีคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนในรายด้าน คุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับสูง 7 ด้าน และในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านค่าตอบแทนเพียงพอและยุติธรรม ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานทั้งหมด 8 ด้าน มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าและด้านการเมินเฉยต่องาน คุณภาพชีวิตการทำงาน จำนวน 6 ด้าน นอกเหนือจาก ด้านสิ่งแวดล้อมส่งเสริมสุขภาพและปลอดภัย และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการงานก็บชีวิตด้านอื่น มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟด้านความสามารถในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีภาวะหมดไฟ ด้านการเมินเฉยต่องานแตกต่างกัน ในขณะที่บุคลากรที่มีตำแหน่งแตกต่างกัน มีภาวะหมดไฟด้านความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน</p>
พัทธนันท์ เยาดำ
เกวลิน ศีลพิพัฒน์
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
71
90
-
ความสุขกับพฤติกรรมการช่วยเหลือในที่ทำงาน: ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะตามแบบจำลอง PERMA และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในบริบทมหาวิทยาลัยไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/273123
<p>การศึกษานี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยสุขภาวะตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกโดยใช้แบบจำลอง PERMA (ประกอบด้วย อารมณ์เชิงบวก ความยึดมั่นผูกพัน สัมพันธภาพ ความหมาย และความสำเร็จ) ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (OCBs) ของบุคลากรมหาวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งจำนวน 101 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ฉบับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 83-91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สันและการถดถอยพหุคูณ ผลพบว่า สุขภาวะตามแบบจำลอง PERMA สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (r=.569, p < .01) นอกจากนี้ อารมณ์เชิงบวกและสัมพันธภาพขององค์ประกอบสุขภาวะสามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ (β = .400, P < .001 และ β = .283, p < .01 ตามลำดับ) ข้อค้นพบจากการวิจัย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสริมสร้างสุขภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์เชิงบวกและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในองค์การ เนื่องจากมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มการมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากร ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่กระทำโดยสมัครใจ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยที่ต้องเผชิญความท้าทายหลายด้านเช่นปัจจุบันการศึกษานี้ ยังช่วยขยายองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาองค์การเชิงบวก ที่มุ่งเน้นปัจจัยด้านสุขภาวะเพื่อยกระดับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การภายในสถาบันการศึกษา และยังสามารถต่อยอดเชิงนโยบายในการหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลต่อไป</p>
ฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ
อาซีมะห์ ดอเลาะ
จุฑามาศ เสถียรพันธ์
สรินฎา ปุติ
บุรินทร์ สหะวิริยะ
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
91
108
-
การสั่งลาและบทบาทของบทสั่งลาในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/273823
<p>บทความวิจัยเรื่อง "การสั่งลาและบทบาทของบทสั่งลาในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสั่งลาและวิเคราะห์บทบาทของบทสั่งลาในบทละครเรื่องดังกล่าว ผู้วิจัยพบการสั่งลาและสาเหตุของการสั่งลา โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ การสั่งลาเมื่อ ตัวละครจะเสียชีวิต การสั่งลาเมื่อตัวละครต้องไปปฏิบัติหน้าที่ การสั่งลาเมื่อตัวละครถูกขับออกจากเมือง และการสั่งลาเมื่อตัวละครเสร็จภารกิจ ส่วนผลการวิจัยด้านบทบาทของบทสั้งลา ผู้วิจัยพบว่าบทสั่งลาไม่ได้เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในบทละครที่แสดงถึงการพลัดพรากจากกันของตัวละครเท่านั้น แต่มีบทบาทสำคัญทั้งต่อการดำเนินเรื่อง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเหตุการณ์ และบทบาทต่อตัวละคร ช่วยประกอบสร้างบุคลิกภาพเน้นย้ำความรู้สึก และลักษณะนิสัยของตัวละครให้เด่นชัดขึ้น</p>
วรุณญา อัจฉริยบดี
Copyright (c) 2024
2024-12-28
2024-12-28
109
124