Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh <p><strong>ISSN 2774-1044</strong> (Print)<br /><strong>ISSN 2822-0986</strong> (Online)</p> <p> JSHRA (ชื่อเดิม วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี) JSHRA จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งภายในประเทศและนานาชาติมีโอกาสเสนอผลงานวิจัยและวิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการโดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ <br /> ต้นฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น กองบรรณาธิการจะจัดส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) อย่างน้อย 3 ท่าน กลั่นกรองคุณภาพ ทั้งนี้ผู้เขียนต้องปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์</p> <p><strong>ขอบข่ายการตีพิมพ์</strong> <br />ประกอบด้วย ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p><strong><u>ทางด้านมนุษยศาสตร์</u></strong> ครอบคลุมสาขาศิลปศาสตร์ วิจิตรศิลป์ หัตถกรรม อุตสาหกรรมการออกแบบ ดนตรีและศิลปะการแสดง ปรัชญาและศาสนา ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ปรัชญา จริยธรรม ภาษาในแง่การได้มาซึ่งภาษา วรรณคดีและภาษาศาสตร์ </p> <p><strong><u>ทางด้านสังคมศาสตร์</u></strong> ครอบคลุมสาขา สังคมและพฤติกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และหน้าที่พลเมือง จิตวิทยา สังคมวิทยาและวัฒนธรรมศึกษา</p> <p><strong>วาระการจัดพิมพ์<br /></strong>วารสารราย 4 เดือน (3 ฉบับต่อปี)<br />ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทของบทความที่รับพิจารณา (Types of Manuscript)</strong><br />1. บทความวิจัย (Research Article) <br /><span style="font-size: 0.875rem;">2. บทความวิชาการ (Academic Article) <br /></span>3. บทความปริทัศน์ (Review Article) </p> <p> </p> th-TH [email protected] (กองบรรณาธิการวารสาร ) [email protected] (น.ส.เบญจมาศ รัตนพงศ์ และ น.ส.บศกร บือนา ) Mon, 22 Apr 2024 23:59:17 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเพื่อพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/266722 <p>งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสถานการณ์โลกผันผวนที่มีต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในปัจจุบันและอนาคต วิเคราะห์ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในปัจจุบันและในยุคโลกป่วน และเสนอแนะรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนาในยุคโลกป่วน โดยเป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบของสถานการณ์โลกผันผวนต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้แก่&nbsp; ด้านโครงสร้างประชากรโลกเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อจำนวนผู้เรียนลดลง วิถีการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้นจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง ร่วมกับการปรับตัวของนโยบายรัฐให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์การที่ปรับตัวไม่ทัน ในขณะที่ การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยไม่กระจายอำนาจเท่าที่ควร เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารได้ช้า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังปรับตัวช้า และขาดแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังพบปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอน&nbsp; ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ควรปรับรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานสู่การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงและเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ด้วยการกระจายอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น และกำหนดโครงสร้างหน่วยงานที่มีความเชื่อมโยงภารกิจที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันและเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในองค์การ</p> นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล, เกษฎา ผาทอง Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/266722 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 ลวดลายเรือกอและ: วิถีชีวิตและความเชื่อของชาวประมง ในจังหวัดนราธิวาส https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/265778 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวประมงผ่านลวดลายจิตรกรรมเรือกอและในจังหวัดนราธิวาส โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลเป็นช่างทำเรือกอและ ช่างเขียนลายเรือกอและ และชาวประมงที่ใช้เรือกอและ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในประเด็นความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวประมงผ่านลวดลายจิตรกรรมเรือกอและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวประมงที่มีต่อลวดลายเรือกอและ เป็นความเชื่อที่มาจากเรื่องเล่าและตำนานต่าง ๆ ที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในชุมชน อย่างเรื่องของนกบุหรงซีงอ นกฆาเฆาะซูรอ นกปักสิงฆ์ มีสัญชาตญาณในการดำน้ำหาปลาที่เก่ง ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่กระทั่งเรื่องราวต่าง ๆ ได้ซึมซับอยู่ภายใต้วิถีการดำรงชีวิต อันสะท้อนสู่ลวดลายจิตรกรรมเรือกอและ 2) ความสัมพันธ์ของลวดลายจิตรกรรมเรือกอและผ่านความเชื่อของชาวประมง จากตำนานความเชื่อและเรื่องเล่าของคนในชุมชนประกอบกับพื้นที่ในชุมชนเป็นพื้นที่แห่งการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรม ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตที่มีทะเลเป็นต้นทุนภายใต้วัฒนธรรมอันหลากหลาย กระทั่งเกิดเป็นลวดลายอันวิจิตรจากจิตวิญญาณผู้เป็นศิลปิน สู่การบรรจงลงบนผนังเรืออันประจักษ์ตลอดลำเรือกอและ ทั้งนี้ลวดลายต่าง ๆ แฝงไปด้วยความเชื่อ จิตวิญญาณ ความคิดสร้างสรรค์ที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตของคนในชุมชน</p> จิรัชยา เจียวก๊ก , สมฤดี สงวนแก้ว, ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/265778 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 คำศัพท์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/267792 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล และ วิเคราะห์คำศัพท์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีตัวแทนผู้บอกภาษา เพศชายและเพศหญิงที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนและเข้าเกณฑ์คุณสมบัติของผู้บอกภาษาอย่างเคร่งครัด จำนวน 2 คน และใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มเชิงลึกกับชาวบ้านในชุมชนประกอบ รายงานผลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูลมี 8 ลักษณะ คือ การตั้งถิ่นฐานของ บรรพบุรุษ อาหารและวิธีการทำอาหาร อาชีพและวิธีการประกอบอาชีพ ต้นไม้พืชพรรณ โรคและยารักษาโรค ความเชื่อทางคติชนวิทยา คำสอน การละเล่น และเทศกาลและวันสำคัญ เมื่อผู้วิจัยนำคำศัพท์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลเขาขาว มาจัดกลุ่มความหมายตามทฤษฎีการจัดกลุ่มความหมาย พบว่าสามารถจัดกลุ่ม คำศัพท์ได้เป็น 8 กลุ่ม คือ คำเรียกบุคคล จำนวน 12 คำ คำเรียกริยาอาการ จำนวน 17 คำ คำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ จำนวน 15 คำ คำเรียกพืชพันธุ์ จำนวน 22 คำ คำเรียกอาหาร จำนวน 15 คำ คำเรียกเกี่ยวกับความเชื่อ จำนวน 10 คำ คำเรียกการละเล่น จำนวน 3 คำ และคำเรียกการเกล้าผม จำนวน 2 คำ ผลการวิจัยนี้ สะท้อนให้เห็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับมนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งสามประการส่งผลต่อ การดำรงชีวิตและก่อให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ป็นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ส่วนการศึกษาคำศัพท์ที่สะท้อน ภูมิปัญญาแสดงให้เห็นถึงมโนทัศน์ทางด้านภาษา ยิ่งไปกว่านั้น คำศัพท์ที่สะท้อนภูมิปัญญาเหล่านี้สามารถนำไป ต่อยอดหรือยกระดับชุมชนในเชิงเศรษฐกิจได้ต่อไป </p> จริยา ก่อภัททสิริกุล Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/267792 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268019 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะของผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก และศึกษาแนวทางการบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียน ผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 300 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานและ กลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอ ายุต้นแบบในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาวะของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<sub><img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /></sub> = 3.82, S.D. = 0.65) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขภาวะด้านจิตใจ <sub><img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /></sub>= 4.07, S.D. = 0.67) 2) แนวทางการบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า การนำกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร โดยนำแนวคิดศาสตร์ พระราชา "เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา" เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เกิดการพัฒนาผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการพัฒนา 2 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาวะและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย และเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมหรือนวัตกรรมที่นำ มาใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน</p> จักรพันธ์ พรมฉลวย, วรวุฒิ เพ็งพันธ์, สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268019 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 ช่องว่างทางดิจิทัลกับการรับรู้ของประชาชน เกี่ยวกับการตอบสนองของภาครัฐ: กรณีศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268308 <p>เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 รัฐบาลไทย ได้พยายามที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการและบริการสาธารณะทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น งานวิจัยในระยะที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าควรมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความช่องว่างทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องผลกระทบของช่องว่างทางดิจิทัลต่อความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการตอบสนอง ของหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า "ระดับความสามารถในเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ ประชาชนมีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของภาครัฐอย่างไร" การวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะผู้อยู่อาศัยในเขตเทศบาล เมืองอุดรธานีซึ่งเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจิยเชิงปริมาณ โดยรวบรวม ข้อมูลโดยการสำรวจความคิดเห็นของบุคคลจำนวน 130 คนโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ ถดถอยพหุคูณเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของประชาชนต่อการตอบสนองของเทศบาลนครอุดรธานี กับระดับความสามารถทางดิจิทัล รวมถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลอื่น ๆ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเข้าถึงและ ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลของประชาชนส่งผลต่อการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการตอบสนองของ ภาครัฐ นอกจากนั้น สถานภาพสมรสและอายุยังมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการตอบสนอง ของภาครัฐด้วย ผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อลดช่องว่าง ทางดิจิทัลและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับฟังเสี่ยงของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำและส่งมอบบริการสาธารณะในท้องถิ่นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัสในยุค เปลี่ยนผ่าน ที่การเข้าถึงและการช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลของประชาชนยังคงมีความแตกต่างกันอย่างมาก</p> กษิพัทธ์ ทอนมณี, กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268308 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความร่วมมือข้ามภาคส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268307 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรจาก ภาคส่วนอื่น และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในองค์กรกับความร่วมมือข้ามภาคส่วน โดยมีสมมุติฐาน ว่าปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการจัดทำความร่วมมือระหว่างองค์กร งานวิจัยนี้ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชั้นล่างของไทย จำนวน 59 แห่ง โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของ องค์กรและความร่วมมือข้ามภาคส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญ ทางสถิติระหว่างความสามารถของผู้บริหารท้องถิ่นและความร่วมมือข้ามภาคส่วน งานวิจัยนี้เนความสำคัญของ การยกระดับความสามารถของของผู้บริหารท้องถิ่นในการเสริมสร้างความร่วมมือข้ามภาคส่วน นอกจากนี้ งานวิจัย ยังเสนอแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นเพื่อพัฒนากลยุทธ์เพื่อปรับปรุงคุณภาพ การให้บริการสาธารณะและการจัดการภาวะวิกฤติในประเทศไทย</p> ภาคภูมิ พลสูงเนิน, กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268307 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: แนวโน้มกิจกรรมสุขภาพในกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ต https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268029 <p>บทความฉบับนี้ศึกษาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในบริบทแนวโน้มกิจกรรมสุขภาพในกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลและนำเสนอด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 2) วิเคราะห์แนวโน้มบริการ กิจกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบริการ วิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลติภูมิ (Secondary Data) ใช้วิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้านเนื้อหาเพื่อหาข้อสรุปแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า โรงแรมรีสอร์ตเชิงสุขภาพกำลังได้รับความนิยม อัตราการเติบโตของตลาดสูงขึ้นเนื่องจากเป็นบริการเชิงผ่อนคลาย มีอัตลักษณ์การบริการสุขภาพ ดังนั้น ควรพัฒนารูปแบบการให้บริการเชิงบูรณาการด้านความรู้ทางสุขภาพ การอำนวยความสะดวกและสร้างภาพลักษณ์ เพื่อสร้างจุดขายของกวรบริการโรงแรมและรีสอร์ตเข้าสู่การแข่งขัน ทางการตลาดในอนาคต</p> มานิศา ผิวจันทร์ Copyright (c) 2024 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/268029 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700