วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu
<p><strong>วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ</strong> เป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิชาการและบทความผลงานวิจัยหรือบทความวิจัย เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ความรู้จากผลงานวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่แลกเปลี่ยนด้านวิทยาการความรู้ระหว่าง อาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักวิชาการอิสระทั้งของรัฐและเอกชนตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยเปิดโอกาสให้เผยแพร่ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพในอันที่จะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ </p> <p><strong>Publisher : </strong>วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ (PAYAP UNIVERSITY JOURNAL) </p> <p><strong>Publication scheduled : </strong>กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ คือ <br /> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน กำหนดออก มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม กำหนดออก ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN </strong>0857-4677 <strong>(Print)</strong><br /><strong>ISSN</strong> 2651-1606 <strong>(Online)</strong></p> <hr /> <p> ***สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ สามารถส่งบทความโดยผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 เพื่อดำเนินการ <strong>ส่งบทความ</strong> และ <strong>แบบเสนอบทความ (Download <a title="แบบเสนอบทความ" href="https://payap-my.sharepoint.com/:w:/g/personal/journal_payap_ac_th1/EYY4PeQKaXtItCMWGNyjvmkBsDt0DrByruJl9Kon5_KCKw?e=R0gegW" target="_blank" rel="noopener">DOC</a> / <a title="แบบเสนอบทความ" href="https://payap-my.sharepoint.com/:b:/g/personal/journal_payap_ac_th1/EZX7WZNP5JFHs1Lkl5w3xp8B_AEec-sXCpK-NuSneMUQfg?e=XIt5bn" target="_blank" rel="noopener">PDF</a>) </strong>ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ <strong><a href="https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/about/submissions">https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/about/submissions </a></strong>หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ <strong>กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยพายัพ โทร. 053-851-478-86 ต่อ 344</strong></p>
วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ (PAYAP UNIVERSITY JOURNAL)
th-TH
วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
0857-4677
-
ปกใน ปีที่ 34 ฉบับที่ 2
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277385
ชลธิชา รุ่งสาตรา
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
-
ส่วนหลัง
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277386
ชลธิชา รุ่งสาตรา
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
180
200
-
การบริการแบบไร้รอยต่อและการนำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น ในการบริการแบบเอเชีย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277379
<p>การบริการแบบเอเชียให้ความสำคัญกับการมอบบริการแก่ลูกค้าแบบไร้รอยต่อ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์บริการที่พึงพอใจและราบรื่นตลอดระยะเวลาที่เข้ารับบริการ บทความนี้นำเสนอ การบริการแบบไร้รอยต่อของการบริการแบบเอเชีย โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาโรงแรมในเอเชีย ที่สามารถให้บริการแบบไร้รอยต่อเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าโรงแรม ซึ่งกระบวนการบริการแบบดั้งเดิมที่ลูกค้าต้องเคลื่อนที่เพื่อติดต่อกับแต่ละแผนกงานที่รับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของบริการ หรือไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม การบริการแบบไร้รอยต่อมีลักษณะของการใช้พนักงานหนึ่งคนหรือมากกว่า รับผิดชอบและดูแล ความต้องการของลูกค้าโดยตรงและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว โดยกระบวนการทั้งหมดสามารถดำเนินการภายในการติดต่อเพียงจุดเดียว ซึ่งลดความซ้ำซ้อนของการบริการที่ต้องใช้พนักงาน จากหลากหลายแผนก ทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายและเพลิดเพลินกับการรับบริการในโรงแรม บทความนี้นำเสนอตัวอย่างกระบวนการบริการแบบไร้รอยต่อที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรมนุษย์ และเสนอตัวอย่างที่โรงแรมเอเชียผสมผสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นในกระบวนการนำเสนอบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
Manisa Piuchan
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
106
125
-
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับฐานความผิดและโทษ สำหรับการฉ้อโกงโดยใช้วิธีการผ่านทางไซเบอร์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277380
<p>การฉ้อโกงในปัจจุบันมีวิธีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะการใช้วิธีการผ่านทางไซเบอร์ เช่น คอลเซ็นเตอร์ การปลอมเว็บไซต์ หรือการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ทำให้มีผู้เสียหายและมูลค่า ความเสียหายสูงกว่าการฉ้อโกงด้วยวิธีการเดิม และกฎหมายที่นำมาใช้กับการฉ้อโกงที่สำคัญ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญาและพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับแม้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม แต่มีสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการกระทำผิดในปัจจุบัน ในส่วนของฐานความผิดและอัตราโทษ ส่งผลให้ผู้ที่กระทำผิดฉ้อโกงด้วยวิธีการดังกล่าวได้รับโทษเช่นเดียวกับการฉ้อโกงหรือการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนในกรณีทั่วไป<br>ดังนั้น การนำกฎหมายมาเป็นเครื่องมือสำหรับป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงด้วยวิธีการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ เห็นควรเพิ่มฐานความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงโดยใช้วิธีการผ่านทางไซเบอร์ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 โดยกำหนดอัตราโทษให้สูงกว่าการฉ้อโกงด้วยวิธีธรรมดา และนำจำนวนผู้เสียหายและมูลค่า ความเสียหายมาพิจารณาด้วย</p>
นันท์มนัส จันทราศัพท์
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
126
142
-
การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้โมเดล เศรษฐกิจบีซีจี: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดบ้านแม่ตอน ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277381
<p>บทความวิชาการเรื่อง “การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี” เขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความจำเป็นในการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เพื่อช่วยให้วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยทบทวนแผนและดำเนินการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การยกระดับการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนจะดำเนินการตามกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และภายในขององค์กร 2) การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ 3) การกำหนดเป้าหมาย 4) การกำหนดแผนกลยุทธ์ และ 5) การกำหนดนโยบาย การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจีสามารถสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนามนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังเช่นตัวอย่างการดำเนินการตามกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟสดบ้านแม่ตอน ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งในด้านสินค้าและบริการ ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ ควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เกิดการยกระดับในการพัฒนาอย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำหน้าที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่สร้างคุณค่าด้วยการพัฒนากาแฟตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มจากฐาน ความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็งและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศไทย 4.0</p>
นงคราญ ไชยเมือง
พิกุล พงษ์กลาง
ชัชชัย สุวรรณรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
143
159
-
การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจโรงแรมราคาประหยัด ผ่านการปรับปรุงคุณภาพการบริการ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277382
<p>ด้วยการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย และความสำคัญที่เพิ่มขึ้น ของภาคอุตสาหกรรมการบริการ โรงแรมราคาประหยัดจึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าโรงแรมประเภทอื่น ๆ แม้จะมีการศึกษาที่สำรวจผลกระทบของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจของลูกค้า ในอุตสาหกรรมการบริการในหลากหลายภูมิภาค แต่กลับมีการศึกษาที่เน้นเฉพาะโรงแรมราคาประหยัดอยู่อย่างจำกัด ซึ่งสร้างแรงกดดันแก่ผู้ประกอบการโรงแรมราคาประหยัดที่ยังขาดองค์ความรู้ ในการบริหารจัดการในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบของคุณภาพการบริการต่อความพึงพอใจของลูกค้าต่อโรงแรมราคาประหยัด และเพื่อค้นหาผลกระทบในแต่ละมิติของคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าในโรงแรมราคาประหยัด ผ่านการศึกษาโมเดล SERVQUAL ซึ่งประกอบด้วยมิติ 5 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบ ที่จับต้องได้ (Tangibles) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) การตอบสนองผู้ใช้บริการ (Responsiveness) ความเชื่อมั่น (Assurance) และความเอาใจใส่ผู้บริโภค (Empathy) ในการตรวจสอบคุณภาพการบริการและผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งนี้ ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดนี้ จะช่วยให้ผู้จัดการและเจ้าของโรงแรมสามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม เพื่อปรับปรุงมิติและยกระดับคุณภาพการบริการในแต่ละด้าน โดยเฉพาะในด้านของความเชื่อมั่น เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าในโรงแรมราคาประหยัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด</p>
ศรัตน์ งามเลิศลี้
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
160
176
-
การจัดการห่วงโซ่อุปทานของมังคุดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277372
<p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานมั้งคุดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตั้งแต่เกษตรกรจนถึงผู้บริโภคปลายทาง 2) ศึกษาศักยภาพการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทานมังคุดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Research) เพื่อศึกษาปรากฎการณ์ระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของมังคุด ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ควบคู่กับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) กับเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด และกลุ่มผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานมังคุด<br>ผลการศึกษาพบว่า ห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตมังคุดแบบเดี่ยว พ่อค้าคนกลาง/พ่อค้าท้องถิ่น ในพื้นที่ติดต่อขอรับซื้อผลผลิตมังคุดในสวนของเกษตรกร เพื่อนำไปคัดแยกเกรดและนำไปส่งจำหน่าย ในตลาดค้าส่งผลไม้ และตลาดจำหน่ายผลไม้ในประเทศ ห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตมังคุดแบบกลุ่ม ที่มีการรวมกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชน ผลิตแบบมีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดส่งออกตามปริมาณความต้องการของบริษัทส่งออก นอกจากนี้ ผลการศึกษาศักยภาพการดำเนินงานด้านการผลิตพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ดอน มีสภาพเป็นดินร่วน พันธุ์ที่ใช้ในการปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง ส่วนใหญ่จะปลูกพืชชนิดอื่นร่วมกับมังคุด ใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ในการบำรุงรักษา ส่วนใหญ่จะมีการใส่ปุ๋ย 2 เดือนต่อครั้ง การกำจัดวัชพืชโดยใช้จอบถาก ใช้เครื่อง ตัดหญ้าตัด และฉีดพ่นโดยใช้สารกำจัดวัชพืช ด้านการเก็บเกี่ยวพบว่า เก็บเกี่ยวปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว โดยทำการคัดกรองแยกขนาด ตกแต่ง ทำความสะอาดวันต่อวัน และนำไปขายทันที สำหรับด้านการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรแบบเดี่ยว จำหน่ายมังคุด ณ แหล่งผลิต โดยมีพ่อค้าท้องถิ่นมารับซื้อ ราคาตั้งแต่ 20 - 50 บาท มีปริมาณรับซื้อตั้งแต่ 2 - 4 ตัน ต่อวัน ราคาผลผลิตที่ส่งจำหน่ายต่อภายในประเทศมีราคาเฉลี่ย 20 บาท และปริมาณผลผลิตที่จำหน่ายภายในประเทศ 2 - 3 ตันต่อวัน มีการคัดเกรดราคารับซื้อ และมีการจัดจำหน่ายมังคุดผ่านช่องทางออนไลน์</p>
ชรินทร ศรีวิฑูรย์
ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์
ภาวิดา รังษี
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
1
17
-
ลักษณะความหมายเชิงประวัติของคำว่า “กิน” ในนวนิยายไทย
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277373
<p>บทความวิจัยเรื่อง ลักษณะความหมายเชิงประวัติของคำว่า “กิน” ในนวนิยายไทย ได้นำการศึกษาความหมายเชิงประวัติมาใช้วิเคราะห์ลักษณะความหมายของคำว่า “กิน” ในนวนิยายไทยระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2447 จนถึงปี พ.ศ. 2562 เพื่อแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของคำว่า “กิน” ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน<br>ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงลักษณะความหมายของคำว่า “กิน” ในนวนิยายไทยผ่านการใช้ถ้อยคำภาษาที่ปรากฏในนวนิยายไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 จนถึงปี พ.ศ. 2562 พบว่า “กิน” ในแต่ละ ปี พ.ศ. แสดงให้เห็นลักษณะการเมือง การปกครอง การรับเอาวัฒนธรรมอื่น ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยม ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ผลของการเปลี่ยนแปลงของความหมาย ที่เกิดขึ้น ตลอดทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมไทยในช่วงเวลาดังกล่าว มีผลต่อความหมายของคำว่า “กิน” ที่เปลี่ยนแปลงตามด้วย</p>
ปิ่นอนงค์ อำปะละ
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
18
33
-
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านสุขภาพชุมชนภายใต้ชีวิตวิถีใหม่: ชุมชนบ้านโป่งสมิ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277374
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลไกที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ในด้านสุขภาพของชุมชนในชุมชนบ้านโป่งสมิภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ 2) เพื่อนำชุดความรู้ที่ได้มาพัฒนา เป็นกระบวนการต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพชุมชนบ้านโป่งสมิอย่างมีส่วนร่วมที่สามารถนำมาใช้ ได้อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามประชากร จำนวน 95 ครัวเรือน และในเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อย<br>ผลการวิจัยพบว่า กลไกที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านสุขภาพของชุมชน คือ บทบาทของผู้นำชุมชน ทั้งในการปฏิบัติและชี้นำแนวคิดของชุมชน เพราะชาวบ้านในชุมชนมองว่า ผู้นำชุมชน คือ คนกำหนดทิศทางการพัฒนา เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมใด ๆ ก็ตาม ต้องเริ่มที่บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนก่อนเสมอ กลไกต่อมา คือ ประเด็นที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ ถึงแม้จะเป็นการพัฒนาด้านสุขภาพก็ตาม แต่ชาวบ้านจะต้องรับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจด้วย สำหรับกระบวนการต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพชุมชนบ้านโป่งสมิอย่างมีส่วนร่วม ชาวบ้านมีระดับการมีส่วนร่วมถึงการร่วมตัดสินใจ ร่วมติดตามตรวจสอบ และกระบวนการต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพชุมชนบ้านโป่งสมิอย่างมีส่วนร่วมที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างยั่งยืน 7 กระบวนการ คือ 1) การสร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชน 2) การประเมิน ความต้องการ 3) การพัฒนากิจกรรมที่บูรณาการ 4) การสื่อสารและภาษา 5) การจัดเวิร์กช็อปชุมชน 6) โครงการหรือกิจกรรมนำร่อง และ 7) กลไกการรับฟังความคิดเห็น</p>
ฐากูร ข่าขันมะลี
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
34
51
-
แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จในการดำเนินงาน ของโรงแรมในเขตภาคใต้
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277376
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงแรมในเขตภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของโรงแรมใน 14 จังหวัดภาคใต้ อัตราส่วนจำนวนหน่วยตัวอย่างต่อจำนวนพารามิเตอร์ 20 ตัวอย่างต่อ 1 พารามิเตอร์ การวิจัยมีจำนวน 16 พารามิเตอร์ จำนวนขนาดของ กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมเท่ากับ 320 ตัวอย่าง (Steven,1986) ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจำนวน 350 คน <br>ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์แบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-square = 57.339; df = 42; p = 0.058; CFI = 0.995; GFI = 0.976; AGFI = 0.948; TLI = 0.990; RMSEA = 0.032; CMIN/DF = 1.365 ทดสอบสมมติฐาน พบว่า การพัฒนาทุนมนุษย์มีอิทธิพล ทางตรงต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ส่วนความได้เปรียบทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ควรพัฒนา ทุนมนุษย์ในทุกด้านเพื่อเตรียมความพร้อม สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการดำเนินงาน และพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน</p>
เจษณี บุตรดำ
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
52
69
-
ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านแม่กำปองต่อความพึงพอใจ และความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277377
<p>การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นการท่องเที่ยวที่สามารถดึงคนกับธรรมชาติมาอยู่ร่วมกัน และทำให้ทั้งนักท่องเที่ยวและชุมชนที่เข้าร่วมได้รับประโยชน์ร่วมกัน ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญ คือ หมู่บ้านแม่กำปองที่ถือเป็นต้นแบบ ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำ รวมทั้งความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวต่อความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำ โดยมี แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่บ้านแม่กำปองเป็นกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เคยมาท่องเที่ยวที่หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปี จำนวน 212 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการกระจายแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำ ในขณะเดียวกัน ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวยังส่งผลเชิงบวกต่อความต้องการกลับมา เที่ยวซ้ำ ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นประโยชน์แก่ตัวแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านแม่กำปองเอง และแหล่งท่องเที่ยวหรือหน่วยงานเชิงอนุรักษ์อื่นเพื่อนำแนวทางไปปรับใช้ เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจและความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว</p>
ฉัตรฤดี จองสุริยภาส
จุรี วิชิตธนบดี
ณัฐวุฒิ ยอดใจ
ธีราลักษณ์ สัจจะวาที
เผิง วัง
วิภา จงรักษ์สัตย์
วิริยา จงรักษ์สัตย์
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
70
86
-
การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ของการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยพายัพ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277378
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยพายัพ ตามหลักเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษาปัจจุบันของมหาวิทยาลัยพายัพ รวม 446 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่า PNI¬Modifiedในการวิเคราะห์ข้อมูล<br>ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรมีความเห็นว่าสภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.335) ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หมวดการนำองค์กร (ค่าเฉลี่ย 3.558) ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หมวดบุคลากร (ค่าเฉลี่ย 3.172) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.499) ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หมวดกลยุทธ์ (ค่าเฉลี่ย 4.526) ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หมวดการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการ ความรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.445) สำหรับความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ บุคลากร (PNI¬Modified = 0.410) ระบบปฏิบัติการ (PNI¬Modified = 0.352) และลูกค้า (PNI¬Modified = 0.344) สำหรับนักศึกษา มีความเห็นว่าสภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.649) ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หมวดระบบปฏิบัติการ (ค่าเฉลี่ย 3.659) ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หมวดลูกค้า (ค่าเฉลี่ย 3.565) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.521) ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หมวดระบบปฏิบัติการ (ค่าเฉลี่ย 4.543) ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หมวดลูกค้า (ค่าเฉลี่ย 4.482) สำหรับความต้องการจำเป็น พบผลตามลำดับดังนี้ ลูกค้า (PNI¬Modified = 0.257) และระบบปฏิบัติการ (PNI¬Modified = 0.242)</p>
สุภา พูนผล
นงนภัส พันธ์พลกฤต
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
87
105
-
บรรณนิทัศน์
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/277383
ชลธิชา รุ่งสาตรา
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ
2024-12-12
2024-12-12
34 2
177
179