วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu <p><strong>วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ</strong> เป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิชาการและบทความผลงานวิจัยหรือบทความวิจัย เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ความรู้จากผลงานวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่แลกเปลี่ยนด้านวิทยาการความรู้ระหว่าง อาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักวิชาการอิสระทั้งของรัฐและเอกชนตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยเปิดโอกาสให้เผยแพร่ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพในอันที่จะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ </p> <p><strong>Publisher : </strong>วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ (PAYAP UNIVERSITY JOURNAL) </p> <p><strong>Publication scheduled : </strong>กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ คือ <br /> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน กำหนดออก มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม กำหนดออก ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN </strong>0857-4677 <strong>(Print)</strong><br /><strong>ISSN</strong> 2651-1606 <strong>(Online)</strong></p> <hr /> <p> ***สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ สามารถส่งบทความโดยผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 เพื่อดำเนินการ <strong>ส่งบทความ</strong> และ <strong>แบบเสนอบทความ (Download <a title="แบบเสนอบทความ" href="https://payap-my.sharepoint.com/:w:/g/personal/journal_payap_ac_th1/EYY4PeQKaXtItCMWGNyjvmkBsDt0DrByruJl9Kon5_KCKw?e=R0gegW" target="_blank" rel="noopener">DOC</a> / <a title="แบบเสนอบทความ" href="https://payap-my.sharepoint.com/:b:/g/personal/journal_payap_ac_th1/EZX7WZNP5JFHs1Lkl5w3xp8B_AEec-sXCpK-NuSneMUQfg?e=XIt5bn" target="_blank" rel="noopener">PDF</a>) </strong>ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ <strong><a href="https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/about/submissions">https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/about/submissions </a></strong>หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ <strong>กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยพายัพ โทร. 053-851-478-86 ต่อ 344</strong></p> th-TH journal@payap.ac.th (บรรณาธิการ อาจารย์ ดร.ชลธิชา รุ่งสาตรา) journal@payap.ac.th (บรรณาธิการ อาจารย์ ดร.ชลธิชา รุ่งสาตรา) Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บรรณนิทัศน์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274011 ชลธิชา รุ่งสาตรา Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274011 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กับความมั่นคงของข้อมูลในกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274003 <p>พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญสำหรับ การรักษาความมั่นคงของข้อมูลในกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว บทความวิชาการนี้จึงเปรียบเทียบกฎหมายกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับความมั่นคงของข้อมูล ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการการไหลของข้อมูล ส่วนบุคคลภายในบริษัทและขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์ความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการความมั่นคงของข้อมูลส่วนบุคคลในกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อปฎิบัติ ให้สอดคล้องตามกฎหมาย เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมั่นใจได้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดการอย่างถูกต้องและปลอดภัย ในทำนองเดียวกัน การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการดำเนินงาน จะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างกรอบการดำเนินงานที่มีมาตรฐานสูง สอดคล้องกับมาตรการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์ดำเนินการสอดคล้องตามกฎหมาย ตอบสนองกับสภาวะตลาดและเติบโตอย่างยั่งยืน ในระยะยาว</p> ธีรพัฒน์ ชัยรัตน์กรกิจ, เชษฐ์ภณัฏ ปัญญวัชรวงศ์, เอกนรี ทุมพล Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274003 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การลดความท้าทายของปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงด้วยการลดต้นทุนจัดการแบบลีน กับความสูญเปล่า 8 ประการของร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274004 <p>ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูในประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตการณ์เงินเฟ้อหลังการแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูต้องประสบกับแรงกดดันด้านต้นทุนอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น รวมไปถึงรายได้ ของผู้บริโภคที่สวนทางต่อเงินเฟ้อ ส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคาสูง แรงกดดันนี้ เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูในประเทศไทยที่จะต้องเผชิญวิกฤติรอบด้าน บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนการจัดการ โดยใช้แนวคิดแบบลีนกับความสูญเปล่า 8 ประการ ประกอบด้วย 1) การเกิดงานที่ต้องแก้ไข งานเสีย หรือสิ้นเปลือง (Defect) 2) การบริหารจัดการเก็บวัสดุในคลัง (Inventory) 3) กระบวนการผลิตที่มากเกินความต้องการ (Overproduction) 4) การรอคอยและความล่าช้าของกระบวนการทำงาน (Waiting) 5) ความรู้ความสามารถของพนักงานที่ไม่ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ (Non-utilized Talent) 6) การเคลื่อนย้ายหรือขนย้ายที่ทำให้สูญเสียทั้งเวลาและต้นทุน (Transportation) 7) การเคลื่อนไหวของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ (Motion) และ 8) ขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ขั้นตอนมากและการทำซ้ำ (Extra-processing) โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว จำเป็นต้องมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจน วิเคราะห์ และประเมินปัญหาในเชิงสถิติให้เหมาะสม ทั้งนี้ การนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติการณ์เงินเฟ้อ ยกระดับการบริการ ตลอดจนสร้างคุณค่าให้กับร้านอาหารและสร้างความพึงพอใจของผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน ในลำดับต่อไป</p> ภควัต ไศละสูต Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274004 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การใช้ Active Learning ในการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม ของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274005 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หรือ Active Learning ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 โดยผู้ศึกษานำเสนอประเด็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีผลต่อชีวิตผู้คนในทุกด้านมาอภิปราย เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน จำเป็นต้องเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อฝึกฝนตนเอง และจำเป็นต้องพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะชีวิตในด้านคุณธรรมจริยธรรม อันจะช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีจิตใจ ความคิด คุณลักษณะชีวิตและความประพฤติที่ดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างสงบสุข การวิเคราะห์ด้านคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าว สอดรับกับสภาวะจิตใจและพฤติกรรมของบุคคล ผู้ศึกษาได้ใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยา คือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อสังเคราะห์ ถึงจิตใจและพฤติกรรมของบุคคลซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างและส่งเสริมให้บุคคลนั้นสามารถพัฒนาสมรรถนะทางคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงชี้ให้เห็นว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หรือ Active Learning เป็นกลไกสำคัญสู่การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนในโลกปัจจุบัน</p> ชนันภรณ์ ใจเสาร์ดี Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274005 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 เครื่องมือทางการเงินในการตัดสินใจเชิงธุรกิจ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274007 <p>เครื่องมือทางการเงินในการตัดสินใจเชิงธุรกิจโดยใช้ข้อมูลที่ใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรม ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 แบ่งข้อมูลที่ใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ข้อมูลที่สามารถสังเกตได้จากตลาดและข้อมูลที่ไม่สามารถสังเกตได้จากตลาด ลำดับชั้นมูลค่ายุติธรรม (Fair Value Hierarchy) 2) ข้อมูลที่มีความสม่ำเสมอและสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 ซึ่งกำหนดให้ต้องเปิดเผยลำดับชั้นมูลค่ายุติธรรม 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 และระดับที่ 3 ตามประเภทของข้อมูลที่นำมาใช้ ในการคำนวณระดับข้อมูล (Levels of Inputs) ระดับที่ 1 ราคาเสนอซื้อขายในตลาดคล่องหรือราคา ปิดตลาดของหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเหมือนกัน ระดับที่ 2 ข้อมูลที่สามารถสังเกตได้จากตลาด เช่น ราคาเสนอซื้อขายของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่คล้ายคลึง และระดับที่ 3 ข้อมูลที่ไม่สามารถสังเกตได้จากตลาดอย่างมีนัยสำคัญจึงต้องมีการประมาณการจากกิจการ ประกอบด้วย การวัดมูลค่าเงินลงทุนที่ไม่มีตลาด การให้ความน่าเชื่อถือ การเปิดเผยลำดับชั้นมูลค่ายุติธรรมช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลการวัดมูลค่าการประยุกต์ใช้ การวัดมูลค่ายุติธรรมที่มีระดับข้อมูลต่าง ๆ ช่วยในการประเมินค่าทรัพย์สินและหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบได้ และช่วยลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจ ทางการเงินของนักลงทุนและผู้เกี่ยวข้อง</p> ธีรวัฒน์ ธวัลรัตน์โภคิน Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274007 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ข้อกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคมที่นักรีวิวควรรู้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274008 <p>ในปัจจุบันการรีวิวเป็นรูปแบบการสื่อสารที่นิยมแพร่หลาย เมื่อผู้คนมีสื่อออนไลน์อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ถูกนำมารีวิวได้ตามความต้องการของผู้คนที่อยากแบ่งปันประสบการณ์ และแสดงความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียของตน รวมทั้งยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด และการโฆษณาที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม การรีวิวก็มี ขอบเขตที่ไม่สามารถทำได้ตามใจชอบ บทความนี้จึงแนะนำ “ข้อกฎหมาย” ที่นักรีวิวไทยควรรู้ คือ (1) ประมวลกฎหมายอาญา (2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่อง การแสดงความคิดเห็นที่อาจกลายเป็นการหมิ่นประมาทหรือการละเมิด (3) พระราชบัญญัติอาหาร (4) พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง (5) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่องข้อกำหนดการพรรณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย ผิดกฎหมาย และข้อกำหนดเรื่องการขออนุญาต และ (6) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลปลอม หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากนักรีวิวละเมิดกฎหมายดังกล่าว ก็จะมีความผิดต้องได้รับโทษปรับ หรือโทษจำคุก<br>ในส่วนของ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” บทความนี้ได้แนะนำนักรีวิว ดังนี้ (1) กรณีที่ต้องนำข้อมูลมาจากโซเชียลมีเดียมาใช้ ต้องกลั่นกรองให้รอบด้าน (2) ข้อควรระวังในการเสนอเนื้อหาที่เชิญชวนให้หลงงมงาย และ (3) การตระหนักถึงบทบาทในการสร้างค่านิยมให้แก่เยาวชน ได้แก่ ค่านิยม การเรียกร้องความสนใจในทางที่ไม่ถูก ค่านิยมเกี่ยวกับการใช้ภาษา ค่านิยมการลอกเลียนแบบ และตามกระแสที่ผิด และค่านิยมความรักชาติ</p> เอกกมล เอกลักษณ์ดิลก, จิรภัทร กิตติวรากูล Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274008 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ส่วนหลัง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274012 ชลธิชา รุ่งสาตรา Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274012 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273991 <p>ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลกับการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจในสมัยใหม่จึงต้องมี การปรับตัว โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัลให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักบัญชีในสำนักงานบัญชี จังหวัดลำปาง จำนวน 105 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเทคนิคการถดถอยพหุคูณ<br>ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาทักษะนักบัญชี ปัจจัย ด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ปัจจัยด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี และปัจจัยด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ตามลำดับ โดยเฉพาะปัจจัยด้านการพัฒนาทักษะนักบัญชีที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพของนักบัญชีในยุคดิจิทัล ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ด้านการบรรลุเป้าหมายของงาน และด้านคุณภาพของงาน ผลการศึกษานี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานักบัญชี และนำเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความก้าวหน้าทันสมัยมาใช้ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ</p> พวงทอง วังราษฎร์, ปิยะดา เนตรสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273991 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจของผู้ใช้งาน และการรับรู้ความเสี่ยงที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของผู้บริโภค ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273994 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของผู้บริโภค ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ<br>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ส่วนใหญ่รู้จักสกุลเงินดิจิทัลจากเพื่อนหรือคนรู้จักแนะนำมากที่สุด มีประสบการณ์การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 1 ปี ผลตอบแทน เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลมากที่สุด เงินที่ใช้ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลมาจากเงินออม ปริมาณเงินลงทุนของผู้บริโภคที่มากที่สุดที่เคยลงทุนอยู่ที่ 40,615.16 บาท สกุลเงิน BTC (Bitcoin) ถือเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ผู้บริโภคเลือกลงทุนมากที่สุด ให้ความสำคัญกับปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยความไว้วางใจของผู้ใช้งาน และปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง ตามลำดับ<br>ทั้งนี้ ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสามารถพยากรณ์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์เท่ากับ 0.64</p> อรอนงค์ ฉอ้อนโฉม, กัลยา ใจรักษ์, กรวีร์ ชัยอมรไพศาล Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273994 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน: มิติด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273995 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคุ้มครองการทำงาน และผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่งานสอนเต็มเวลา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จำนวน 275 ราย โดยนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงาน และผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของอาจารย์ ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทน ของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าสถาบันการศึกษาควรพิจารณาเรื่องการกำหนดภาระงาน ภาระการสอน และประโยชน์ตอบแทน ตามสาระสำคัญของกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีเครื่องมือในการดูแลสวัสดิภาพของอาจารย์ได้อย่างเหมาะสม</p> นวกาล สิรารุจานนท์, เทียน เลรามัญ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273995 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การฝึกสติ: สิ่งดีที่ไม่เลือกทำ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273996 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองความคิดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้นักศึกษา เลือกที่จะไม่ฝึกสติ ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2563 และ 2564 และมีประสบการณ์การฝึกสติ แต่ปัจจุบัน เลือกที่จะไม่ฝึกสติจำนวน 5 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และตีความ ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลรับรู้คุณประโยชน์ของการฝึกสติ 2) ผู้ให้ข้อมูล มีความรู้สึกทางลบและเจตคติที่ไม่ดีต่อเรื่องของการฝึกสติ อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่เข้มงวด การถูกตำหนิและบังคับจากครอบครัวและโรงเรียน และ 3) ผู้ให้ข้อมูลขาดความเข้าใจในเรื่องการฝึกสติที่ดีพอ เนื่องจากมีมุมมองความคิดที่ว่าการฝึกสตินั้นมีกฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผนที่ตายตัว บางครั้ง การปฏิบัติตามแบบแผนทำให้เกิดความเจ็บปวดและเมื่อยล้า และการปฏิบัตินั้นต้องใช้เวลานาน เบียดบังเวลาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้นักศึกษาเลือกที่จะไม่ฝึกสติ</p> ศรกมล อินทะเสน, ธีรวรรณ ธีระพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273996 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดอุบลราชธานี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273997 <p>การดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดโรค การบาดเจ็บและการเสียชีวิต และยังส่งผลกระทบ ต่อครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนที่อาศัยในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ในการวิจัยครั้งนี้คือ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 207 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในชุมชนที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbrach’s Alpha Coeffcient) 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าจำนวน ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test)<br>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนกึ่งเมือง คิดเป็นร้อยละ 71.98 ซึ่งสูงกว่าภาพรวมของประเทศ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.76 เพศหญิง ร้อยละ 17.39 โดยเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ปิยณัฐ สร้อยคำ, บุญทิวา พ่วงกลัด, ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273997 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความรู้และความมั่นใจของผู้ให้บริการนวดแผนไทยหลังการอบรม ด้วยชุดความรู้กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา กรณีศึกษา: ชมรมนวดแผนไทย หนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273998 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการอบรมชุดความรู้ด้าน กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และความมั่นใจในการนำความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาประยุกต์ใช้สู่การให้บริการนวดแผนไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการนวดแผนไทยชมรมนวดแผนไทยหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้ และแบบวัดความมั่นใจในการนำความรู้ด้าน กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาไปให้บริการนวดแผนไทยจำนวน 4 ครั้ง คือ ก่อนการอบรม หลังการอบรมทันที หลังการอบรม 1 เดือน และหลังการอบรม 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน กรณีข้อมูลมีการแจกแจงปกติด้วย Paired Sample T-Test และ One-Way Analysis of Variance กรณีข้อมูลไม่มีการแจกแจงปกติด้วย Kruskal-Wallis Test<br>ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจ ในการนำความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาไปให้บริการนวดแผนไทยของผู้ให้บริการนวดแผนไทยสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p &lt; 0.05 เมื่อติดตามคะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจดังกล่าวหลังการอบรมทันที หลังการอบรม 1 เดือน และหลังการอบรม 3 เดือน การอบรมวัดความรู้ดังกล่าว มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจนั้นไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า การใช้ชุดความรู้ดังกล่าวช่วยเพิ่มความรู้ และเพิ่มความมั่นใจ ทำให้ผู้ให้บริการ นวดแผนไทยหนองป่าครั่ง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถให้บริการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น</p> พิศมัย กิจเกื้อกูล, พัชรินทร์ ไรเดน, มนฤดี ม่วงรุ่ง, ชนกพร ชูชาติ, ศิริลักษณ์ เจริญรัตน์, วราลี บุญญพิทักษ์สกุล, เนตรชนก คงช่วย, รุ่งฟ้า ประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/273998 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ เวชศาสตร์ความงามประเภทไม่ศัลยกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274000 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการเวชศาสตร์ความงามประเภทไม่ศัลยกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้ารับบริการคลินิกเสริมความงามประเภทไม่ศัลยกรรมมากกว่า 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี และกลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบ ไม่อาศัยความน่าจะเป็นโดยใช้เทคนิคแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ<br>ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมาก ดังนี้ 1) บุคลากร 2) ผลิตภัณฑ์ 3) ประสิทธิภาพและคุณภาพ 4) ราคา 5) กายภาพ 6) ส่งเสริมการตลาด 7) กระบวนการ และ 8) สถานที่ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำโดยภาพรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก จากสมการพยากรณ์ พบว่า 1) ปัจจัยทางการตลาดด้านกายภาพ ด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านส่งเสริมทางการตลาด และด้านบุคลากรมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำด้านความพึงพอใจมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.495 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยทางการตลาดด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ด้านราคาและด้านบุคลากร มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ ใช้บริการซ้ำด้านความไว้วางใจ มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.599 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยทางการตลาดด้านส่งเสริมทางการตลาดและด้านบุคลากรมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำด้านความจงรักภักดีต่อตราสินค้า มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.507 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สาลินี ชัยวัฒนพร, ภาคภูมิ ภัควิภาส Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274000 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อช่วยครูในการสอนรายวิชานาฏศิลป์ กรณีศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตคุณภาพการศึกษากบินทร์บุรี 4 จังหวัดปราจีนบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274001 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อช่วยครูในการสอนวิชานาฏศิลป์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่ออินโฟกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูในการใช้สื่ออินโฟกราฟิกวิชานาฏศิลป์ โดยทำการวิจัยกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตคุณภาพการศึกษากบินทร์บุรี 4 จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์ จำนวน 9 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหาดสูง ตำบลหาดนางแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่ออินโฟกราฟิก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้สื่ออินโฟกราฟิก<br>ผลการวิจัยพบว่า สื่ออินโฟกราฟิกวิชานาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบ่งเป็น 10 เรื่อง ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมานาฏศิลป์ไทย 2) รำ 3) ระบำ 4) รำวงมาตรฐาน 5) นาฏศิลป์พื้นเมือง 6) โขน 7) ละคร 8) การกำเนิดของนาฏศิลป์โลก 9) องค์ประกอบของนาฏศิลป์ และ 10) หลักในการชมการแสดง โดยใช้หลักการออกแบบสื่อของ Ricard E. Mayer พบว่า สื่อมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 80.00/83.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ยหลังเรียน (25.45) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน (17.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้สื่ออินโฟกราฟิก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60</p> ธนาวุฒิ เสือสวัสดิ์, นพดล อินทร์จันทร์, ปิยวดี มากพา Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274001 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปกใน ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274010 ชลธิชา รุ่งสาตรา Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/274010 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700