https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/issue/feed รัฏฐาภิรักษ์ 2024-11-20T09:35:58+07:00 พลตรี กิตติภัค ทองธีรธรรม Kittipak.th@thaindc.org Open Journal Systems <p>วารสารรัฏฐาภิรักษ์ (Ratthaphirak Journal) เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยป้องกันราชาอาณาจักร (National Defence College) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (National Defence Studies Institute) มีวัตถุประสงค์จะตีพิมพ์บทความในลักษณะ บทความวิชาการที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของชาติในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยเขียนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และต้องเป็นบทความที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิด และ / หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ โดยมีกำหนดเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม) </p> https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/275202 การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อความมั่นคงของชาติ 2024-08-27T09:47:10+07:00 ธีระวัฒน์ อินทรไพโรจน์ teerawat.in@outlook.co.th <p>การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนา เติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด และได้เข้ามา<br />มีบทบาทอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในทุกระดับ และทุกครัวเรือน ในด้านหนึ่งสื่อสังคมออนไลน์ ก็มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างมาก ไม่ว่าจะในด้านของการศึกษาหาความรู้ข้อมูลจากทั่วโลกแบบไม่มีที่สิ้นสุด แต่อีกด้านหนึ่งสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถสร้างความวุ่นวาย ขัดแย้งต่อสังคมได้ เพราะเป็นช่องทางการสื่อสารที่สามารถส่งต่อข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ แต่ถ้าหากข้อมูลที่ส่งต่อ ๆ กัน เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่ได้คัดกรองก่อน หรือมีผู้ไม่หวังดีจงใจที่จะส่งต่อข้อมูล<br />ที่ผิดพลาด บิดเบือน มุ่งร้าย ด้วยทางเทคนิคหรือวิธีการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่อสังคมออนไลน์<br />จึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เพราะปัจจุบันถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกปั่น ยุยง และ<br />ใส่ร้ายสถาบันหลักของชาติ และความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ก่อนจะเกิดความเสียหาย หรือการปลูกฝังแนวความคิดผิด ๆ ต่อผู้ใช้งานไปมากกว่านี้ จึงควรออกมาตรการในการควบคุม ควบคู่กันไปกับ<br />การวางมาตรการป้องปรามป้องกัน และกำหนดนโยบายการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยกำหนดกรอบระยะเวลา และให้ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจลงมากำกับดูแล โดยกำหนดกฎหมายเพื่อที่จะให้เป็นกติกาสำหรับสังคมไทย เพื่อสร้างพลเมืองดิจิทัลที่เข้าใจบรรทัดฐานของการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีต่อไป</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/275203 อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 155 ช่องทาง แห่งโอกาสการยกระดับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ของประเทศไทย 2024-08-27T09:50:29+07:00 ศักดิ์ศิลป์ ตุลาธร tsaksil@gmail.com <p>บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อม ของประเทศไทยในการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ส่งผลต่อการพัฒนาระบบความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย รวมทั้งสร้างการยอมรับและก้าวทันต่อบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงในเวทีโลกต่อไป ซึ่งมีการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย หลักการของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 155 ข้อมูลในการขับเคลื่อนหรือดำเนินการและการเสนอแนะความพร้อมของประเทศไทยเพื่อให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าว</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/273280 เครื่องจับเท็จกับบทบาทใหม่ในการป้องกันและปราบปราม การซ้อมทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย 2024-05-21T16:42:38+07:00 อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ ittipon.at@hotmail.com <p>สืบเนื่องจากการบังคับใช้ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ทำให้แนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือคำรับสารภาพ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนและสอบสวนในปัจจุบัน จำเป็นต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบและปราศจากความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ วิธีการให้ได้ซึ่งข้อมูลและคำรับสารภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้น จึงจำเป็นต้องประยุกต์ใช้กลไกและเครื่องมือทางจิตวิทยามาใช้ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบคำให้การของพยาน ผู้ต้องสงสัย หรือแม้แต่ผู้เสียหายในคดีอาญา บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ในการนำเครื่องจับเท็จ (Polygraph) หนึ่งในเครื่องมือทางจิตวิทยาการสืบสวน (Investigative Psychology) ที่มีใช้มาอย่างยาวนานในกระบวนการยุติธรรมทั้งในและต่างประเทศ มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่ต้องอาศัยคำให้การของบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาแนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องมือ เพื่อลดปัญหาการกระทำรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อผู้เกี่ยวข้อง โดยเจ้าหน้าที่รัฐ</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/274688 การใช้ประโยชน์ใบและยอดอ้อยในการเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 2024-08-02T10:11:06+07:00 วิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ virit.vi@outlook.com <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลการนำใบและยอดอ้อย<br />ในการเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือใช้จากการเกษตรที่ยังคงมีปริมาณที่เหลืออยู่จำนวนมากในหลายพื้นที่ปลูกอ้อยของประเทศ <br />โดยนำเสนอในส่วนของ 1) สถานการณ์การผลผลิตอ้อยปีการผลิต 2565/2566 2) ข้อมูลทั่วไปของอ้อย 3) ศักยภาพการใช้ใบและยอดอ้อยในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลของโรงงานน้ำตาลทราย <br />4) ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากการเผาใบและยอดอ้อย 5) สัดส่วนการเกิดชีวมวลผลผลิตที่ใช้ประเมินปริมาณการเกิดชีวมวล 6) ค่าความร้อนและความชื้นของเชื้อเพลิงที่ใช้ประเมินศักยภาพของพืชเกษตรในประเทศไทย 7) การประเมินศักยภาพชีวมวลจากใบและยอดอ้อย ปีการผลิต 2565/2566 8) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้ประโยชน์ใบและยอดอ้อยเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล และ 9) สรุปแนวทางการใช้ประโยชน์ใบและยอดอ้อยในการเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (เชื้อเพลิงชีวภาพ)เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5<br />ผู้ศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความทางวิชาการฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรชาวไร่อ้อยและประชาชนชนทั่วไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการใช้ประโยชน์ใบและยอดอ้อยในการเพิ่มมูลค่าต่อไป</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/274690 การซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ จากกลไก T-VER ภาคป่าไม้ในประเทศไทย 2024-08-02T10:16:58+07:00 ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน natarika.wa@thaindc.org <p>องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ได้ริเริ่มการให้การรับรอง โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ขึ้นในปี 2557 เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้พัฒนาโครงการรายเล็ก มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการดังกล่าว จะเรียกว่า เครดิต TVERs สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ผ่านปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ทั้งในระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ การจัดงานอีเว้นท์ รวมถึง การใช้ชีวิตประจำวัน ได้ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในประเทศไทย และสถานการณ์การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ภาคป่าไม้ ซึ่งประชาชนจะสามารถเข้าร่วมโครงการ T-VER ตลอดจนซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้</p> <p>สำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในประเทศไทย มี 2 รูปแบบหลัก คือรูปแบบแรก ตกลงราคากันเองระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย หรือ Over the Counter (OTC) แล้วมาจดแจ้งการทำธุรกรรมที่ระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิต (Registry System) ของ อบก. รูปแบบที่สอง คือ <strong>Exchange Platform ผ่านศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต</strong> ที่ชื่อ FTIX ซึ่งพบว่า การซื้อขายแบบ Over-the-Counter มีสัดส่วนมากกว่าถึง 99% ในขณะที่รูปแบบ Exchange Platform ที่เกิดขึ้นใหม่ มีสัดส่วนน้อยกว่ามาก เนื่องจากศูนย์ให้บริการซื้อขายคาร์บอนเครดิต FTIX บริหารจัดการโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนั้น เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทย นอกจากนี้ พบว่าราคาคาร์บอนเครดิต TVERs ของประเทศไทยมิได้แตกต่างจากของต่างประเทศมากนัก</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/273244 แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศไทย : กรณีศึกษา แนวทางการพัฒนา ความร่วมมือระหว่างตํารวจภูธร ภาค 4 และภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวชอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติด ก่อเหตุรุนแรงในชุมชน 2024-05-21T10:54:35+07:00 ณัฐนนท์ ประชุม nattanont.pra@hotmail.com <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินการของตำรวจภูธรภาค 4 และภาคีเครือข่าย 2) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการประสานความร่วมมือของตำรวจภูธรภาค 4 และภาคีเครือข่าย และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประสานการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยอาศัยวิธีการดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) เป็นเจ้าหน้าที่จากตำรวจภูธรภาค 4 และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 20 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การดําเนินงานของตํารวจภูธรภาค 4 ในความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย มีความร่วมมือแบบเป็นทางการ (Formal Type) ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการบนแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองโดยเครือข่าย (Network Governance) และแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วน (Collaborative Governance) ซึ่งมีสภาพปัญหาและอุปสรรคในการประสานงาน ได้แก่ 1) ปัญหาความเข้าใจนิยามผู้ป่วยจิตเวชที่มีภาวะอันตรายคลาดเคลื่อนกัน 2) ปัญหาตัวผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน 3) ปัญหารอยต่อระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวโดยทำเสริมสร้างความเข้าใจนิยาม ขั้นตอนการปฏิบัติและประชาสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนได้รับรู้ (Chris Ansell and Alison Gash, 2007 : 543-571)</p> <p> ผู้วิจัยเสนอแนวทางการประสานการปฏิบัติดังนี้ 1) แนวคิดการจัดตั้งจุดพักคอย (Community Isolation) เพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยหลังจากการจับกุม และรอให้แพทย์วินิจฉัยให้การรักษาหรือรอรับยาและยังเป็นที่พักคอยระหว่างรอเตียงว่างหรือรอทางโรงพยาบาลจิตเวชหรือโรงพยาบาลธัญญารักษ์เตรียมความพร้อมการรักษา 2) แนวคิดการดำเนินศูนย์ “มินิธัญญารักษ์” <br />ซึ่งมีลักษณะเป็นการเพิ่มและกระจายการบริการด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชไปยังโรงพยาบาลชุมชน และเป็นการสร้างความร่วมมือให้คนในชุมชนดูแลตนเอง</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/273277 แนวทางการนำเทคโนโลยี Digital Twin มาใช้เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ 2024-05-21T11:52:25+07:00 สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน sutisak1234@outlook.com <p>งานวิจัยเรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ มีทิศทางมุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้เป็นรากฐานการพัฒนา โดยมีเทคโนโลยีใหม่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่ง Digital Twin เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยีใหม่จึงมีความน่าสนใจในแง่ของการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักการทำงานของ Digital Twin และแนวโน้มการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยสู่ความสำเร็จ และ (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการใช้งานเพื่อยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม<br />ผลการวิจัยพบว่า Digital Twin ประกอบด้วย พื้นที่จริงที่มีวัตถุจริง พื้นที่เสมือนที่มีวัตถุเสมือน<br />ซึ่งเชื่อมโยงกับวัตถุในพื้นที่จริง และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างพื้นที่จริงกับพื้นที่เสมือนให้ทำงานพร้อมกัน ซึ่งต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะนำ Digital Twin มาพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาพรวมทั้งระบบนิเวศ การพัฒนา Digital Twin ยังคงมีความท้าทายหลายประการ อาทิ <br />ด้านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารความเร็วสูงยิ่งยวด และการขาดผู้เชี่ยวชาญ จึงต้องอาศัยการกำหนดนโยบายจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน การพัฒนาแอปพลิเคชันที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการส่งเสริมนวัตกรรม เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จ <br />จากการศึกษาดังกล่าว มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคม<br />ที่รองรับการใช้งานที่หลากหลาย การส่งเสริมการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อรองรับการเชื่อมต่อ การส่งเสริมการจัดตั้ง Data Center ในประเทศ และการส่งเสริมการประสานความร่วมมือ เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศของ Digital Twin ให้เติบโตอย่างสมบูรณ์</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/273308 การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน กรณีการค้าชายแดนของประเทศไทย 2024-05-24T08:08:24+07:00 ดิเรก คชารักษ์ direk.kha@outlook.co.th <p>ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่กลางภูมิภาคอาเซียนและมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงด้านขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของอาเซียนได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การค้าชายแดนที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นในปัจจุบันและมีศักยภาพขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนและปัจจัยสู่ความสำเร็จเพื่อส่งเสริมมาตรฐานโลจิสติกส์ โดยนำหลักการและแนวคิดมาปรับใช้กับยุทธศาสตร์และแผนที่ตั้งไว้ เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271379 การส่งเสริมกัญชงสู่พืชแห่งอนาคตของประเทศไทย 2024-03-20T20:32:30+07:00 ธรรศ ทังสมบัติ tust.1234@outlook.com <p>ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน มีความมุ่งหมายที่จะยกระดับศักยภาพของประเทศในหลายหลากมิติ รวมถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศตามแผนและระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี หรือบีซีจีโมเดล รัฐบาลไทยได้ชูโมเดลเศรษฐกิจใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้น 4 สาขา ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งนี้ บีซีจีโมเดล มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ดังนั้นอาหารและการเกษตรมีความสำคัญ รัฐบาลไทยจึงนำบีซีจีโมเดลเป็นแนวทางหลักในการพัฒนา โดยใช้อ้างอิงเป็นจุดแข็งของประเทศไทย<br />การศึกษาวิจัยนี้ จะมองพืชกัญชงในบริบทของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ผลิตอาหารอนาคตเมื่อเปรียบเทียบกับถั่วเหลือง โดยใช้หลักการโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากกัญชงในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการปลูกกัญชง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลและมีความยั่งยืนกับประเทศไทยต่อไป</p> 2024-11-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์