รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak <p>วารสารรัฏฐาภิรักษ์ (Ratthaphirak Journal) เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยป้องกันราชาอาณาจักร (National Defence College) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (National Defence Studies Institute) มีวัตถุประสงค์จะตีพิมพ์บทความในลักษณะ บทความวิชาการที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของชาติในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยเขียนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และต้องเป็นบทความที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิด และ / หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ โดยมีกำหนดเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม) </p> วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ th-TH รัฏฐาภิรักษ์ 0857-0442 <p class="p1">บทคว<span class="s1">า</span>ม ข้อเขียน หรือคว<span class="s1">า</span>มคิดเห็นในนิตยส<span class="s1">า</span>รนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทย<span class="s1">า</span>ลัย ป้องกันร<span class="s1">า</span>ชอ<span class="s1">า</span>ณ<span class="s1">า</span>จักรและท<span class="s1">า</span>งร<span class="s1">า</span>ชก<span class="s1">า</span>รแต่อย่<span class="s1">า</span>งใด </p> แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงอาหารในระดับจังหวัดของประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/266498 <p>การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกการดำเนินงานในมิติต่างๆ รวมถึงมิติด้านข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะสนับสนุนให้ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นความมั่นคงอาหาร เป็นประเด็นหนึ่งที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ อาหารที่มีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงานและส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในระดับโลก ประเทศไทย และจังหวัด รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัย ปัญหา อุปสรรคที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างความมั่นคงอาหารและโภชนาการในระดับจังหวัดจากฐานข้อมูลปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารในระดับจังหวัด และเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนความมั่นคงอาหารในระดับจังหวัดของประเทศไทย&nbsp;&nbsp; ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด</p> <p>โดยผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความมั่นคงอาหารและโภชนาการทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับจังหวัด ยังมีความเปราะบาง สะท้อนจากตัวเลขของจำนวนผู้ขาดสารอาหาร และผลการประเมินความมั่นคงอาหารของไทยโดยหน่วยงานระดับโลก อย่างไรก็ดี หากมองในมิติของอัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร ไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในหมู่โภชนาการหลัก ยกเว้นไขมัน ซึ่งการคำนวณอัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหารเป็นการวิเคราะห์ความพอเพียงหมู่โภชนาการเบื้องต้นเท่านั้น ในมิติของระดับจังหวัด ทุกจังหวัดต้องมีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมอาหารในกรณีวิกฤตเป็นประจำทุกปี แต่ในแผนเตรียมความพร้อมด้านอาหาร ยังไม่มีการคำนวณความพอเพียงของอาหารที่มีแนวทางหรือหลักการที่แน่นอน สำหรับการวิเคราะห์ความพอเพียงของสารอาหารต่อประชากรจากข้อมูลปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารในระดับจังหวัด ของ 77 จังหวัด ของสารอาหารสำคัญ 5 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ (แคลเซียม โพแทสเซียมและเหล็ก) วิตามิน (เอ ซีและอี) พบว่า คาร์โบไฮเดรต มีจังหวัดที่ไม่มีความพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 28.57 โดยส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคใต้ สำหรับโปรตีน มีจังหวัดที่ไม่มีความพอเพียง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ในส่วนของไขมัน มีจังหวัดที่ไม่มีความพอเพียง จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต บุรีรัมย์ นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร สำหรับแคลเซียม มีจังหวัดที่ไม่มีความพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 66.23 ในส่วนของโพแทสเซียม มีจังหวัดที่ไม่มีความพอเพียงคิดเป็นร้อยละ 57.14 สำหรับเหล็ก มี 9 จังหวัดที่ไม่มีความพอเพียง ได้แก่ นนทบุรี ตราด สมุทรสาคร สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สตูล สุราษฎร์ธานี พัทลุง และกระบี่ ในส่วนของวิตามินเอและวิตามินอี ไม่มีจังหวัดที่มีความพอเพียง ส่วนวิตามินซี มีจังหวัดที่ไม่มีความพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 42.85 <br>จะเห็นได้ว่า จังหวัดไม่มีความพอเพียงของสารอาหารทุกหมู่ คือ สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร โดยผลการวิเคราะห์ความพอเพียงของสารอาหาร เป็นการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยใช้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตร และจำนวนประชากร เป็นปัจจัยหลัก ทั้งนี้ ไม่ได้ครอบคลุมปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายได้ของประชากรในจังหวัด จำนวนประชากรต่อพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น</p> <p>ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงอาหารในระดับจังหวัดของประเทศไทย ประกอบด้วย <strong>มิติความมีอยู่ของอาหาร</strong> ควรปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสดงผลความพอเพียงของสารอาหารในแต่ละจังหวัด และจัดทำแนวทางในการเก็บข้อมูลการกระจายผลผลิตและการนำเข้าผลผลิตเข้าสู่จังหวัด หรือแสวงหาวิธีการในการได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงวิชาการ จะช่วยทำให้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การคำนวณความพอเพียงของสารอาหารมีความครบถ้วน แม่นยำ และสะท้อนสถานการณ์การผลิตในจังหวัดมากขึ้น <strong>มิติการเข้าถึงอาหาร</strong> แสดงผลข้อมูลสถานประกอบการจำหน่ายสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรและอาหาร รายได้ของประชากรในแต่ละจังหวัดผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการความมั่นคงอาหารในมิติของการเข้าถึงอาหารในกรณีที่จังหวัดยังไม่มีความพอเพียงของอาหารในแต่ละชนิดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น <strong>มิติเรื่องการใช้ประโยชน์จากอาหาร</strong> การเชื่อมต่อข้อมูลการรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับสินค้าพืช ปศุสัตว์และประมง ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้จังหวัดสามารถระบุพิกัดในการส่งเสริมการตรวจรับรอง GAP ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของชนิดสินค้าในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหากมีการนำข้อมูลคุณค่าโภชนาการมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จะช่วยให้ประชากรไทยสามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีความหลากหลายและส่งผลต่อความหลากหลายของสารอาหารในการบริโภคให้กับประชากร <strong>มิติเสถียรภาพด้านอาหาร</strong> ปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัดสามารถแสดงผลข้อมูลผลผลิตสินค้าเกษตร ในมิติด้านเวลาและพิกัดสถานที่ จึงจะช่วยอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนได้ทันท่วงที โดยหากใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้จังหวัดสามารถรับทราบสถานการณ์การผลิตของจังหวัดตนเอง และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพื้นที่เพาะปลูกของสินค้าแต่ละชนิด จะช่วยสนับสนุนการบูรณาการข้อมูลสำหรับการเสริมสร้างความมั่นคงอาหารได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> Chantanon Wannakejohn Copyright (c) 2023 รัฏฐาภิรักษ์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 33 45 การสร้างมาตรการคุ้มครองการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินคดีอาญาของอัยการ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/266038 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยเรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 248 กำหนดให้องค์กรอัยการมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็วเที่ยงธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง และได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 กำหนดให้อัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่การที่ มาตรา 22 บัญญัติเพียงว่าดุลพินิจของอัยการในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 21 ซึ่งได้แสดงเหตุผลอันสมควรประกอบแล้วย่อมได้รับความคุ้มครองนั้น ยังไม่เพียงพอในการคุ้มครองการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินคดีอาญาของอัยการจึงจำเป็นต้องมีการสร้างมาตรการในการคุ้มครองการใช้ดุลยพินิจในการดำเนินคดีอาญาให้เหมาะสม เพื่อให้อัยการมีความเป็นอิสระในการดำเนินคดีอาญาและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยปราศจากความเกรงกลัวว่าจะได้รับผลร้ายหรือจะถูกกลั่นแกล้งหรือถูกฟ้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีปกครองในภายหลัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งจะส่งผลทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมตามหลัก The Rule of Law อีกทั้งยังเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงต้องทำการแก้ไข มาตรา 22 ให้มีข้อความว่า “ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 21 ซึ่งได้แสดงเหตุผลอันสมควรประกอบแล้วย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่ให้บุคคลใดฟ้องคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครองและคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด”</span></p> naris chumnanchanan Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 8 21 แนวทางการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/266039 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางสังคม (2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลกฎหมายที่บังคับใช้ในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อสร้างความมั่นคงทางสังคมอย่างยั่งยืน การศึกษานี้ใช้วิธีการดำเนินการเป็นวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัญหาสาเหตุของการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเทศไทยส่งผลต่อมความมั่นคงทางสังคมไม่ว่าจะเป็นปัญหาการทุจริตในระบบราชการไทย ปัญหาด้านค่านิยมของสังคมไทย ปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหาด้านองค์การ นอกจากนี้ กฎหมายระเบียบคำสั่งต่าง ๆ มีช่องว่างให้บางกลุ่มนำไปหาผลประโยชน์ และการบริหารจัดการภาครัฐยังไม่มีเสถียรภาพ สำหรับแนวทางการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้เชื่อมโยงครอบคลุมสามารถบังคับใช้ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม &nbsp; ควรมีการรณรงค์ให้บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน มีคามรู้ด้านการทุจริตคอรัปชัน รัฐบาลควรมีการกำหนดนโยบายคุณธรรมจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตปลูกฝังค่านิยมให้ข้าราชการ รวมทั้งบุคลากรหน่วยงานของรับมีส่วนในการตรวจสอบและเข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตตั้งแต่รากหญ้า การสร้างยุติธรรมชุมชนที่เข็มแข็งเพื่อเป็นการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนภารกิจของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างยั่งยืน</span></p> sakda wattatam Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 22 32 การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อธุรกิจค้าไม้ : กรณีศึกษาไม้พะยูง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/264606 <p>การปลูกสร้างสวนป่าเพื่ออุตสาหกรรม นอกจากไม้สัก <em>(</em><em>Tectona grandis</em>) ซึ่งเป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตปานกลาง นิยมปลูกกันทั่วไปเนื่องจากมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงแล้ว ส่วนมากจะเน้นการปลูกไม้โตเร็ว เช่น ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนสิส <em>(</em><em>Eucalyptus camaldulensis</em>) สะเดาเทียม (<em>Azadirachta excels) </em>ไม้เลี่ยน (<em>Melia azedarach</em>) กระถิ่นณรงค์ (Acacia auricularformis) และกระถิ่นเทพา (Acacia mangium) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิดที่เหมาะสมในการปลูกควบคู่กันไป เช่น พะยูง <em>(</em><em>Dalbergia cochinchinensis</em>) แดง <em>(</em><em>Xylia kerrii)</em> และประดู่ป่า (<em>Pterocarpus macrocarpus</em>) เป็นต้น (จตุพร, 2559) โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการปรับบทกฎหมายให้สอดคล้องกับบริบททางสังคม เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การส่งเสริมการปลูกป่าในพื้นที่ดินเอกชน โดยการควบคุมของกรมป่าไม้ ซึ่งมีการปลดล็อคไม้มีค่าทางเศรษฐกิจให้สามารถปลูกและตัดได้ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และไม่ถือว่าเป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้ามด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อธุรกิจค้าไม้ในประเทศไทยยังคงมีการถกเถียงในกระแสสังคมอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกรณีศึกษาไม้พะยูงไทย (<em>Dalbergia cochinchinensis</em>) หรือ Rosewood ซึ่งพบปัญหาการลักลอบตัดทั้งในป่าธรรมชาติและในที่ดินส่วนบุคคล อันเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมทางธรรมชาติอยู่ไม่น้อย จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาความเป็นมาเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอันเท็จจริงสู่การต่อยอดองค์ความรู้ และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจอย่างครบวงจรได้ต่อไป</p> Sarawut Uthenrat Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 80 94 รูปแบบเศรษฐกิจจีนยุคหลังโควิด-๑๙ และการปรับประยุกต์กับเศรษฐกิจไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/266567 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และโมเดลเศรษฐกิจจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงหรือ “สีโนมิกส์”&nbsp; โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจวงจรคู่ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔ ของจีน&nbsp; เพื่อถอดบทเรียนประสบการณ์ของจีนในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับไทย และปรับประยุกต์เพื่อเสนอแนะรูปแบบเศรษฐกิจไทยยุคหลังโควิด-๑๙ &nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า จีนสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจตามแนวทางสีโนมิกส์ที่ต้องการหันมาเน้นการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาตลาดภายนอกและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ด้วยโมเดลการพัฒนาในรูปแบบใหม่ จีนสามารถลดสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP และค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศต่อ GDP ได้มากขึ้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากการถอดบทเรียนและปรับประยุกต์จากโมเดลจีน มีข้อเสนอแนะเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในยุคหลังโควิด-๑๙ ด้วย C.C.C. model ประกอบด้วยการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ (Circulation) การบริโภค (Consumption) และการแข่งขัน (Competition) และข้อเสนอแนะเพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางนวัตกรรมด้วยแนวทาง T.H.A.I. Model นั่นคือ การมุ่งพัฒนาด้านเทคโนโลยี (Technology) ทุนมนุษย์/คนเก่งมีทักษะสูง (Human Capital/Talent)&nbsp; ภาคเกษตรที่ก้าวหน้า (Advanced Agriculture) และอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรม (Innovative Industries) ทั้งนี้&nbsp; จำเป็นต้องตระหนักถึงเงื่อนไขและบริบทของไทยที่ยังคงแตกต่างกับจีนในหลายด้าน</p> Aksornsri Phanishsarn Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 46 58 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสมาร์ทกริดเพื่อบริหารจัดการพลังงานในเมืองอัจฉริยะ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/264609 <p>การพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สอดคล้องกับทิศทางทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีลักษณะของการพัฒนาทั้งสิ้น 7 ด้าน ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ เศรษฐกิจอัจฉริยะ ขนส่งอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ พลเมืองอัจฉริยะ การดำรงชีวิตอัจฉริยะ และการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ ทั้งนี้ พลังงานไฟฟ้าเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ นั้น จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าเป็นหลัก ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าให้เป็นสมาร์ทกริดจะช่วยให้การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเพื่อปรับปรุงเมืองไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะนั้น เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น จากบทวิเคราะห์พบว่าสมาร์ทกริดสามารถช่วยบรรลุเป้าประสงค์ทั้งเจ็ดประการของเมืองอัจฉริยะทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังสามารถตอบเป้าหมายที่สองของยุทธศาสตร์ชาติในการด้านการเพิ่มการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้สูงขึ้นด้วย</p> Weerakorn Ongsakul Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 106 118 การพัฒนากฎหมายสำหรับระบบบริหารเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/266098 <p><span style="font-weight: 400;">ผลจากการประเทศไทยเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุ (Ageing society) รัฐจึงจำเป็นต้องเตรียมการเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองต่อการดูแลผู้สูงอายุได้เท่าที่ควร แม้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วย และมีระบบดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตาม เพื่อแก้ไขปัญหานี้จึงเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักและใช้หลักการคน</span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">ในชุมชนเป็นผู้ดูแล โดยเสนอมาตรการทางกฎหมายด้วยการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระบบบริหารเพื่อการบริบาลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น&nbsp; ผสมผสานการมีผู้บริบาลแบบรับค่าตอบแทนกับแบบอาสาสมัครที่ต้องการสะสมเวลาให้ตนเองด้วยการสละเวลามาบริบาลผู้สูงอายุในชุมชนและสามารถใช้สิทธิเรียกร้องนี้ เมื่อตนเองเป็นผู้สูงอายุหรือที่เรียกว่าระบบ “แบ่งปันเพื่ออนาคต” อันจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับระบบบริบาลผู้สูงอายในชุมชนให้มีความมั่นยืนสืบไป </span></p> Adisuk noisuwan Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 63 79 การบริหารจัดการธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบผลสำเร็จ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/266148 <p><span style="font-weight: 400;">ธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นหนึ่งในองคาพยพที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 </span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">ให้ประสบความสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากธุรกิจสตาร์ทอัพมีโมเดลทางธุรกิจที่</span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">แตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจรูปแบบเดิมด้วยการนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการหรือ ความคาดหวังของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ นอกจากนั้นยังพบว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถทำซ้ำด้วยต้นทุนที่ไม่สูง รวมทั้งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ</span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">ในการขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว จุดเด่นที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งของธุรกิจสตาร์ทอัพ คือ </span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">เป็นธุรกิจที่สามารถส่งผ่านคุณค่าที่แท้จริงให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้น อาทิเช่น ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้นและหรือมีราคาที่ถูกลง เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดเป็นการออกแบบธุรกิจให้มีการทำซ้ำได้โดยง่าย (repeatable) และขยายกิจการได้โดยไม่ใช้เวลาหรือต้นทุนที่มากเกินไป (scalable) ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนเอง ดังนั้น ธุรกิจสตาร์ทอัพจึงสามารถเป็นรากฐานที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไปในอนาคต จากลักษณะที่สำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพดังกล่าวข้างต้น&nbsp;</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">การบริหารจัดการธุรกิจสตาร์ทอัพให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้ประกอบการมีส่วนสำคัญ</span><span style="font-weight: 400;"><br></span><span style="font-weight: 400;">ที่จะผลักดันให้ธุรกิจ Startup ประสบผลสำเร็จจึงควรมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้ 1) มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า 2) มีความคิดสร้างสรรค์ 3) มีความเป็นนักกลยุทธ์ 4) มีความเป็นผู้นำและกล้าตัดสินใจ และ 5) มีความกล้าเสี่ยง ส่วนปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจ Startup ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลักๆ คือ 1) จังหวะเวลา 2) ทีม 3) ไอเดียหรือแนวคิดใหม่ๆ 4) แผนธุรกิจ และ 5) เงินทุน และสุดท้ายปัจจัยหลักที่ทำให้ Startup ประสบความสำเร็จนั้น คือความสามารถในการตอบโจทย์ความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงใจผู้บริโภค ขณะเดียวกัน Startup ก็ต้องสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจดังกล่าวได้ด้วยถึงจะกล่าวได้ว่าธุรกิจ Startup นั้นประสบความสำเร็จ</span></p> somsak vatinchai Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 119 132 การรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกลับคืนสู่สังคม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/264603 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางป้องกัน แก้ไข การบำบัดรักษา และฟื้นฟู<br>ผู้เสพยาติด ให้มีโอกาสกลับคืนสู่สังคมโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการบำบัดดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดที่ถือว่าได้ผลสอดคล้องกับสภาพปัญหาของการเสพติดคือ การบำบัดฟื้นฟู<br>โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment and rehabilitation : CBTx) สอดคล้องกับแนวคิดที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) แนะนำให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ยาและสารเสพติดให้ได้รับการดูแลตั้งแต่การป้องกัน การคัดกรอง การจูงใจให้เข้ารับการบำบัดรักษาตามสภาพความรุนแรง การสร้างปัจจัยเชิงบวกให้เกิดการยอมรับ <br>และให้โอกาสในการเลิกยาเสพติด รวมทั้งการติดตามดูแลต่อเนื่อง โดยผู้ที่ผ่านการบำบัดที่พ้นสภาพความรุนแรงจากการติดยาเสพติดที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ สามารถดำเนินการโดยการ<br>มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชน ศักยภาพ และทรัพยากรของชุมชน เป็นการดำเนินการ<br>ที่ควบคู่ไปกับบริบทการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วยความต่อเนื่องและยั่งยืน</p> Itthipol Nakkam Copyright (c) 2023 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-05 2023-09-05 65 2 95 105