รัฏฐาภิรักษ์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak <p>วารสารรัฏฐาภิรักษ์ (Ratthaphirak Journal) เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยป้องกันราชาอาณาจักร (National Defence College) สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (National Defence Studies Institute) มีวัตถุประสงค์จะตีพิมพ์บทความในลักษณะ บทความวิชาการที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของชาติในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยเขียนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และต้องเป็นบทความที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิด และ / หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ โดยมีกำหนดเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม - ธันวาคม) </p> th-TH <p class="p1">บทคว<span class="s1">า</span>ม ข้อเขียน หรือคว<span class="s1">า</span>มคิดเห็นในนิตยส<span class="s1">า</span>รนี้เป็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับวิทย<span class="s1">า</span>ลัย ป้องกันร<span class="s1">า</span>ชอ<span class="s1">า</span>ณ<span class="s1">า</span>จักรและท<span class="s1">า</span>งร<span class="s1">า</span>ชก<span class="s1">า</span>รแต่อย่<span class="s1">า</span>งใด </p> Kittipak.th@thaindc.org (พลตรี กิตติภัค ทองธีรธรรม) jakkrit.su@thaindc.org (กองบรรณาธิการวารสารรัฎฐาภิรักษ์) Mon, 17 Jun 2024 14:19:14 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271776 <p>การดำเนินนโยบายทางการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของทุกประเทศ ทั้งนี้การแสวงหาพันธมิตรทางการเมืองจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนตลอดไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสงครามที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน นำมาวิเคราะห์สงคราม<br />ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการศึกษาจากเอกสาร ตำราและสื่อต่าง ๆ ทางออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้<br />ผลการศึกษาพบว่า การแข่งขันขยายอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นแรงบังคับให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเลือกข้าง และประเทศไทยยังมีปัญหาทั้งปัญหาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และปัญหาเรื่องอาณาเขตทั้งทางบกและทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นสิ่งบอกเหตุว่าสงครามอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเหมือนอย่างเช่นในอดีตและที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ดังนั้นประเทศไทยจึงควรกำหนดนโยบายด้านการเมืองให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในปัจจุบัน โดยยกตัวอย่าง ได้ 7 ประการ ได้แก่ 1) สิทธิในการป้องกันตนเองตาม มาตรา 51 ของกฎบัตรสหประชาติ 2) ยึดมั่นสนธิสัญญาสันติภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 3) การไม่ยอมรับการประกาศว่าเกาะ ดอนหรือพื้นที่ทับซ้อนเป็นของประเทศอื่น 4) ควรปฏิบัติตามทฤษฎีดุลยภาพแห่งอำนาจ 5) ต้องไม่ยินยอมให้ต่างประเทศ องค์กรนานาชาติ หรือกำลังต่างชาติเข้ามาในประเทศ 6) การพัฒนาขีดความสามารถกำลังกองทัพโดยยึดหลักการพึ่งตนเอง 7) ต้องส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องความเป็นรัฐชาติและหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญฯ รวมทั้ง การปลูกฝังระเบียบวินัยให้ประชาชนคนไทยทุกคน </p> ถุงเงิน จงรักชอบ Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271776 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 แแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยผ่านกลไกการกำหนดราคาคาร์บอน https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271823 <p>ก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุสำคัญของสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สิน ตั้งแต่ การละลายของธารน้ำแข็ง ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง การผันผวนของฤดูกาล ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ หนึ่งในนโยบายสำคัญเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกคือ การกำหนดราคาคาร์บอน ทั้งนโยบายภาษีคาร์บอน หรือการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อปรับราคาตลาดของสินค้าและบริการให้สะท้อนต้นทุนของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 30 ประเทศทั่วโลกที่เริ่มใช้แล้วอย่างเป็นทางการ ส่วนประเทศไทยเองยังอยู่ในระหว่างการพัฒนานโยบายดังกล่าว ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาแนวคิดและนโยบายของกลไกการกำหนดราคาคาร์บอนจากประเทศต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และนำเสนอเป็นแนวทางในการพัฒนากลไกการกำหนดราคาคาร์บอนให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยผู้วิจัยเสนอการพัฒนาระบบและบังคับใช้เป็นสามระยะ คือ ระยะต้น เน้นการสร้างรากฐาน พัฒนากลไกราคาคาร์บอนและสร้างความตระหนักรู้ให้กับภาครัฐ และภาคเอกชน ระยะกลาง เริ่มใช้กลไกกำหนดราคาคาร์บอนกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมไปถึงการจัดทำมาตรการรองรับผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและความสามารถในการแข่งขัน และระยะยาว ได้แก่ การขยายขอบเขตการใช้กลไกกำหนดราคาคาร์บอนกับภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และการผลักดันการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดทำมาตรการทางการเงินร่วมกัน เพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2065 ได้</p> เพชรรัตน์ ผานิตกุลรัตน์ Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271823 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 หลักการและการพัฒนาโครงการ T-VER คาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้ ในประเทศไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271774 <p>พิธีสารเกียวโตจัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำหนดเป้าหมายให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องลดก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกโดยความสมัครใจได้ ผ่าน “กลไกการพัฒนาที่สะอาด” (Clean Development Mechanism : CDM) ที่ UNFCCC จัดตั้งขึ้น แต่กลไก CDM ก็มีข้อจำกัดในเรื่องความซับซ้อนทางเทคนิค ต้นทุนสูง และมีความยุ่งยากของการดำเนินโครงการเพื่อรับรองคาร์บอนเครดิต ตลอดจนราคาคาร์บอนเครดิต CER ตกต่ำลงมากเพราะประเทศที่พัฒนาแล้วมีความต้องการลดลง ประเทศไทยโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนา“โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย” (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศได้ ด้วยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้/หรือกักเก็บได้ ขายใน “ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ” ในประเทศไทยได้ ซึ่งการขอขึ้นทะเบียนโครงการ และการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกกลไก T-VER มีลักษณะคล้ายคลึงกับการดำเนินงานของกลไก CDM บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของการจัดตั้งกลไกคาร์บอนเครดิต T-VER ในประเทศไทย ตลอดจนวิธีการพัฒนาโครงการ T-VER เพื่อให้เกิดการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตได้ และสามารถนำไปสู่การซื้อขายถ่ายโอนแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ต่อไป รวมถึงตัวอย่างโครงการ T-VER ประเภทป่าไม้ ที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตแล้วในประเทศไทย</p> ณัฐริกา วายุภาพ นิติพน Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271774 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 ราชการส่วนภูมิภาคกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในรัฐไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271805 <p>บทความนี้บรรยายถึงราชการส่วนภูมิภาคของรัฐไทยที่มีพัฒนาการมาจาก “ระบบเทศาภิบาล” ของรัฐสยามในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับราชการส่วนภูมิภาคในระดับมณฑล จังหวัด และอำเภอของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในยุคปฏิวัติ ค.ศ. 1789 ( พ.ศ. 2332 ) ถัดมาเมื่อรัฐไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ต่อเนื่องถึงยุคเริ่มต้นการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 นั้น ราชการส่วนภูมิภาคได้ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการนำและติดตามนโยบายของรัฐบาลกลางไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลมาโดยตลอดในช่วง 5-6 ทศวรรษที่ผ่านมา<br />แนวคิดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบราชการไทยในปัจจุบันให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่โดยข้อเท็จจริงที่การเลือกตั้งในทุกระดับมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันอย่างแพร่หลายทั่วรัฐไทย ประกอบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐไทยเกือบทั้งหมดมีปัญหาฉกรรจ์เรื้อรังหลายเรื่องหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาคอร์รัปชัน ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ปัญหาการใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าเงินลงทุน ปัญหาการจ้างบุคลากรเกินปริมาณงาน และความไร้วินัยการคลังภายใต้บริบทการบริหารงานท้องถิ่นที่มีอิสระสูงมาก ผู้เขียนมีความเห็นว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดควรเป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่ไกลนักในการรอคอยให้วัฒนธรรมการเมืองใหม่เติบโตขึ้นมาเป็นเสียงข้างมากอย่างชัดเจนในสังคมไทย อันจะส่งผลให้เวทีการเลือกตั้งในอนาคตหลุดพ้นจากวิถีธนาธิปไตย และเมื่อนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยที่จะต้องเลือกตัดสินใจร่วมกันว่าควรเปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการให้เป็นไปตามตัวแบบของประเทศญี่ปุ่น หรือให้คงไว้ในรูปแบบเดิมตามตัวแบบของฝรั่งเศส </p> สุกิจ เจริญรัตนกุล Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271805 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการใช้อากาศยานไร้นักบินสนับสนุนระบบบริการสุขภาพโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่จังหวัดชลบุรี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271381 <p>การพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้นักบิน หรือ โดรน มีความก้าวหน้าและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น สามารถปฏิบัติภารกิจได้ด้วยความคล่องตัว พร้อมต่อการปฏิบัติงานตลอดเวลา และช่วยให้ลดต้นทุนการขนส่ง ในต่างประเทศนำมาปรับใช้สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากร และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการอย่างไร้รอยต่อ เมื่อทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชลบุรีของประเทศไทยพบว่า ประชาชนในเขตเมือง พื้นที่ห่างไกล และพื้นที่เกาะ มีความต้องการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีความรวดเร็ว ทันเวลา และต่อเนื่อง สามารถตอบสนองได้ด้วยการปรับใช้อากาศยานไร้นักบินประเภท VTOL และ Multirotor สำหรับขนส่ง ยา วัคซีน เลือด และเครื่องมือทางการแพทย์ ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มทุน และรวดเร็ว <br />แนวทางการใช้อากาศยานไร้นักบินสนับสนุนระบบบริการสุขภาพโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ควรจะดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดนโยบายการให้บริการสุขภาพด้วยระบบการแพทย์ทางไกลร่วมกับการปรับใช้อากาศยานไร้นักบิน 2) กำหนดค่านิยมความปลอดภัย ความคุ้มค่า และความรวดเร็ว 3) พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อากาศยานไร้นักบินสำหรับระบบบริการสุขภาพ 4) กำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงานและการควบคุมอากาศยานนักบิน 5) สนับสนุนให้มีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเดินอากาศ 6) สนับสนุนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และ 7) สนับสนุนการพัฒนาความรู้สำหรับผู้บริหาร บุคลากรมีประสบการณ์การปฏิบัติงานตามระบบการแพทย์ทางไกลเกี่ยวกับการปรับใช้อากาศยานไร้นักบินสนับสนุนระบบบริการสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชลบุรี</p> ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271381 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271750 <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์<br />1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) และ 2) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ <br />20 ปี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตยาธิราช และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความวิจัย วารสารสิ่งพิมพ์ รายงานผลการดำเนินงาน และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฯ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฯ <br />ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563 ได้มีการปรับเพิ่มรายวิชาที่มุ่งเน้นความรู้ใน 3 มิติ ประกอบด้วย มิติทางอากาศ (Air Domain) มิติไซเบอร์ (Cyber Domain) และ มิติอวกาศ (Space Domain) แต่ยังขาดการบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงขาดกิจกรรมที่เป็นการปลูกฝังทัศนคติด้านความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเข้าจนจบการศึกษา นอกจากนี้ในด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง พบว่า <br />สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษายังขาดประสิทธิภาพในการรองรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ รวมถึงยังขาดการส่งเสริมเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาทุกส่วนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งอาจารย์ นักเรียน หรือส่วนสนับสนุนการศึกษา ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกกองทัพอากาศ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี ได้แก่ การใช้กลยุทธ์ “SMART” ซึ่งประกอบด้วย 1) การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรตามหลัก STEM (Science + Technology + Engineering + Mathematics : S) 2) การบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศ (Management Excellence : M) 3) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ (Academic Facility Excellence : A) 4) การปรับปรุงหลักสูตรให้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา (Research &amp; Development Excellence : R) และ 5) การปรับปรุงหลักสูตรให้มีการฝึกอบรมหรือมีกิจกรรมที่เป็นการปลูกฝังทัศนคติทางทหาร (Training &amp; Military Education Excellence : T) เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนหลักสูตรของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี </p> ณัฐวุฒิ อจลบุญ Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271750 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจด้านความมั่นคงทางทะเลต่อ อ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271753 <p>บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางเชิงนโยบายต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจด้านความมั่นคงทางทะเล ต่ออ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสารของไทยและต่างประเทศ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ที่เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ Realism ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลของจีน สหรัฐฯ และพันธมิตร และประเทศสมาชิกอาเซียน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ และพันธมิตร<br />ด้านความมั่นคงทางทะเลในทะเลจีนใต้และเชื่อมต่อมายังอ่าวไทยและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ทางการแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจีนได้วางยุทธศาสตร์เชิงรุกในการส่งเสริมการขยายอิทธิพลทางทะเล<br />ด้านการสร้างกฎระเบียบและบรรทัดฐาน และโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบโดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เป็นหลักให้ความสำคัญกับพื้นที่ในทะเลจีนใต้เป็นหลัก ในเชิงนโยบายต่างประเทศ ไทยไม่ได้เป็นประเทศที่อ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีนใต้กับจีนในเชิงนโยบายต่างประเทศ ไทยไม่เป็นประเทศที่อ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลจีนใต้กับจีน อีกทั้งไทยยังสนับสนุนทั้งข้อริเริ่มสายแถบ สายเส้นทางของจีนและยุทธศาสตร์ FOIP ของสหรัฐฯ และผลกระทบของการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ต่ออ่าวไทยได้แก่ ความมั่นคงทางทะเล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทยกับจีน ไทยกับสหรัฐฯ ไทยกับกัมพูชา และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน ความร่วมมือในกรอบอาเซียน และกฎหมายระหว่างประเทศ</p> พินทุ์สุดา ชัยนาม Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271753 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 ยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิรูปการศึกษาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลสำหรับยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271754 <p>ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการดำเนินธุรกิจ ทำให้ทุกภาคส่วนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะแผนการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญคือ “การศึกษา” ที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญและร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงเศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุค 1.0 ที่เป็นเรื่องเกษตรกรรม มาจนถึง 4.0 ซึ่งเป็นยุคของข้อมูลและมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5.0 ซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ปัจจุบันระบบการศึกษาไทยยังอยู่ในยุค 2.0 ที่ครูยังเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ยังขาดการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อความพร้อมของทรัพยากรบุคคลในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต <br />ดังนั้น การจะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ควรมีการส่งเสริมให้เด็กไทยมีศักยภาพด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และปัญญาประดิษฐ์ ควบคู่กับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งต่อยอดการศึกษาตลอดชีวิต บทความนี้จะนำเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำหรับยุคเศรษฐกิจและสังคม 5.0 โดยนำเสนอเป็นโมเดลที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก </p> ศุภชัย เจียรวนนท์ Copyright (c) 2024 รัฏฐาภิรักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ratthapirak/article/view/271754 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700